จริงหรือไม่ แยกขยะ มันคือภาระและเรื่องไกลตัว

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 3 เม.ย. 2023
  • ปัจจุบันกระแสทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม Go Green, Sustainable กันมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันในอีกมุมหนึ่งของสังคมที่ผู้คนยังต้องสนใจเรื่องปากท้องเป็นหลัก อาจจะมองว่าการลุกขึ้นมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม การแยกขยะ นั้นมันเป็นการเพิ่มภาระและมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว
    วันนี้ The Attraction ได้มีโอกาสพูดคุยกับอินฟลูเอนเซอร์ด้านสิ่งแวดล้อม “Kong Green Green” หรือ ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ ที่มาร่วมงานแถลงข่าว ความร่วมมือผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยการเปิดจุดบริการรับทิ้งถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว (Battery Collection) เพื่อรีไซเคิล ผ่านร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 3 บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี (ประเทศไทย) จำกัด
    โดยประเด็นเรื่องที่หลายคนมองว่าการแยกขยะ และสิ่งแวดล้อมนั้นมันเป็นภาระและเป็นเรื่องที่ไกลตัว
    “ก้องกรีนกรีน” บอกกับเราว่า จริงๆ แล้วการทำเพื่อสิ่งแวดล้อมท้ายสุดแล้วมันก็คือการทำเพื่อตัวเอง เพราะเรากับโลกต่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ถ้าเราเผาขยะ เผานาเผาไร่ สร้างมลพิษฝุ่นควันที่ส่งผลกระทบออกไปในวงกว้าง ท้ายสุดมันก็วนกลับมายังอากาศที่เราหายใจ กลายเป็นฝนที่ตกลงสู่ผืนดิน เจือปนไปด้วยสารพิษที่เราทุกคนร่วมกันสร้างทั้งในทางตรงและทางอ้อม
    การหันมาทำเพื่อสิ่งแวดล้อมมันก็ไม่ได้ทำให้เราขาดทุนย่อยยับ และเบียดเบียนเวลาทำมาหากินอะไรขนาดนั้น การแยกขยะมันเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ทุกคนสามารถเริ่มทำได้เลย
    โดยก้อง-ชณัฐ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถ้าจะจัดการการแยกขยะในประเทศให้มีประสิทธิภาพสิ่งที่ควรจะต้องมีนั่นก็คือ “ระบบ” และ “กฏหมาย” ผมคิดว่าการแยกขยะควรจะต้องเป็นกฎหมาย เพราะเราจะคาดหวังกับวินัยและจิตสำนึกของคนไทยอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ”
    พอมี “ระบบ” และ “กฏหมาย” แล้ว ข้อต่อไปก็คือ “ความรู้” ผมเชื่อว่าถ้าเราลองไปถามคนไทยว่าขยะเหล่านี้ควรจะมีวิธีการแยก วิธีการทิ้งอย่างไร หลายหลายคนก็อาจจะยังไม่รู้เพราะเราไม่ค่อยได้มีการปลูกฝังความรู้ในด้านการจัดการขยะที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก
    ที่ญี่ปุ่นเขาจะสอนตั้งแต่เด็กเลยว่าขยะแต่ละชนิดต้องจัดการแยกประเภทอย่างไร เด็กเริ่มพูดได้ก็แยกขยะกันเป็นแล้ว ว่าอันนี้คือกระดาษ อันนี้คือพลาสติก อันนี้คือไม้ อันนี้คือโลหะ การรู้จักวัสดุแต่ละชนิดก็เป็นจุดเริ่มต้นของการแยกประเภทขยะ สำหรับประเทศเราก็เอาเท่านี้ก่อน ก็คือ “ระบบ”, “กฎหมาย” แล้วก็ “ความรู้”
    สำหรับผู้คนที่เริ่มสนใจการแยกขยะเราก็มีการก่อตั้งคอมมูนิตี้ชื่อว่า “กรุ๊ปแยกขยะกันเถอะ(กลุ่มใหม่)” บน Facebook ซึ่งเต็มไปด้วยคนที่สนใจเรื่องนี้มารวมตัวกัน
    เมื่อก่อน คนที่ลุกขึ้นมาแยกขยะอาจจะถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด ไม่ใช่แค่ประหลาดในวงเพื่อนนะครับแค่เริ่มต้นแยกขยะ คนในบ้านหรือในครอบครัวก็มองเราว่าแปลกแล้ว พอโดนทักโดนถามเราก็จะเริ่มรู้สึกท้อแท้ท้อถอยไปเอง
    แต่พอมีกลุ่มนี้เกิดขึ้นมาเราก็จะเห็นคนที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน มีการแชร์ข้อมูลเทคนิคการทิ้งขยะของแต่ละคนขึ้นมา ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ไม่ใช่กลุ่มเล็กๆ เลย แต่ละคนก็มีเหตุผลในการเริ่มต้นแยกขยะที่แตกต่างกัน บางเรื่องราวก็สร้างแรงบันดาลใจให้คนในกรุ๊ปหันมาทำตาม เกิดเป็นคอมมูนิตี้ที่น่ารักมากๆ มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยเรื่อย
    พอสังคมเห็นว่าการได้เป็นหนึ่งคนที่แยกขยะ และใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมันมีความเท่ความคูลอะไรบางอย่าง มันก็เป็นเหมือนซอฟต์พาวเวอร์ ดึงดูดให้ผู้คนหันมาแยกขยะตามได้อีกทางด้วย
    #TheAttraction #Panasonic #7Eleven #BatteryCollection #KongGreenGreen #SoftPower

ความคิดเห็น •