เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 มี.ค. 2021
  • หากครูสอนภาษาไทยสอนเด็กแบบท่องจำ เด็กจะรู้สึกเบื่อกับการอ่านท่องจำอย่างเดียว แต่ถ้า การสอนภาษาไทย ผ่านกิจกรรมแบบ Active Learning หรือการสอนเชิงรุกเข้าช่วย เด็ก ๆ จะเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว ได้คิดและสำรวจได้มากขึ้น ซึ่ง วิธีการสอน แบบนี้ เป็นเรื่องท้าทายสำหรับครูส่วนใหญ่ที่ไม่เคยสอนแนวนี้มาก่อน จะเห็นว่าการเรียนรู้แบบดั้งเดิมจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการใช้หลักสูตรนวัตกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างราบรื่นและสนุกยิ่งขึ้น
    ความแตกต่างด้านภาษา พร้อมกับการปรับตัว
    เด็กที่ฟังภาษาไทยไม่ออก พูดก็ไม่ได้ เป็นเรื่องยากสำหรับครูที่ต้องหาวิธีสื่อสารกับเด็กให้รู้เรื่อง จำเป็นต้องปรับตัวกันทั้งสองฝ่าย นวัตกรรมการสอนภาษาไทยให้เข้าใจง่ายจึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงจุดนี้ ในเบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 4 เซ็ต ดังนี้
    1.พยัญชนะชุดสัตว์ มีทั้งหมด 12 ตัวอักษร คือ ก ค ง ช ต น ป ผ ม ล ส ฮ
    2.พยัญชนะชุดที่ใช้บ่อยที่สุด มี 12 ตัวอักษร คือ ข จ ด ท บ พ ฟ ภ ย ร ว ห
    3.พยัญชนะชุดที่ใช้ไม่บ่อย มี 8 ตัวอักษร คือ ฉ ซ ญ ณ ถ ธ ฝ อ
    4.พยัญชนะชุดที่ใช้น้อยมาก มี 12 ตัว คือ ฃ ฅ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ศ ษ ฬ
    ครูผู้สอนต้องบูรณาการว่าจะใช้กิจกรรมอะไรให้เด็กได้คิดหรือเคลื่อนไหวร่างกาย เทคนิคการสอนผ่าน active learning กระตุ้นให้เด็กสนุกสนานกับการเรียนควบคู่กับกิจกรรมหลายรูปแบบ สอดคล้องกับสัญชาตญาณของเด็กที่จะไม่อยู่นิ่ง หากจัดกิจกรรมนำตัวพยัญชนะมาผสมกับการเล่นช่วยสร้างบรรยากาศความสนุกและเกิดความสุข ได้ผลดีกว่าการสอนแบบท่องจำที่เด็กรู้สึกเบื่อและไม่สนใจจำ เทคนิคการสอน ที่ใช้กิจกรรมเข้าร่วมด้วยจะช่วยกระตุ้นให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว ได้คิด ได้สำรวจ เกิดการเรียนรู้แบบยั่งยืน ช่วยให้จดจำได้มากกว่าการสอนให้ท่องจำแบบตรง ๆ ซึ่งเด็กจดจำได้ช้า เมื่อการเรียนแบบเน้นกิจกรรมทำให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น ผลพลอยได้คือเด็กจะกล้าคิดกล้าแสดงออกยิ่งขึ้น
    ด้วยเหตุผลนี้ ครูภาษาไทย ต้องไปคิดว่าแต่ละชั่วโมงควรนำกิจกรรมอะไรมาสอนเด็ก เพราะการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เด็กเกิดพัฒนาการได้เร็ว ครูอาจถามเด็ก ๆ ว่ากิจกรรมวันนี้อยากเล่นอะไร เป็นการกระตุ้นให้เด็กคิดด้วยคำถาม เพื่อให้เด็กเสนอไอเดีย ออกความคิดว่าต้องการจะทำอะไรกันบ้าง เด็กมีความสนใจ พร้อมกับต่อเติมจินตนาการด้วยกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรมมากขึ้น เรียกว่าเป็น การจัดการเรียนรู้ แบบให้เด็กเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ เด็กจะมีความสุขกับการเรียนมากกว่า เพราะได้คิดและได้แสดงออกด้วยตัวเอง
    ลดบทบาทครู เพิ่มบทบาทให้ผู้เรียน
    สำหรับตัวครูแล้ว การสอนภาษาไทย ไม่ควรบังคับเด็ก กลับกันคือ อบรมครู ให้มีบทบาทให้น้อยที่สุด พร้อมกับกระตุ้นให้เด็กแสดงบทบาทมากที่สุด กล้าคิด กล้าเสนอไอเดีย เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการและทักษะที่ดีขึ้น ส่งเสริมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีผ่านการสั่งสอนแบบ Active Learning เกิดพัฒนาการการเรียนรู้ได้เร็ว เติบโตไปเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีต่อไป นั่นหมายความว่าผลผลิตที่งอกงามนั้นเริ่มต้นได้ที่ห้องเรียนและการสอนให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
    📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
    ✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
    ✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
    ✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
    ✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
    • FACEBOOK: / starfishlabz
    • FACEBOOK: / starfishacademy2019
    • TH-cam : Starfishlabz Channel
    • INSTAGRAM : / starfishlabz

ความคิดเห็น • 6

  • @PlayHigh
    @PlayHigh ปีที่แล้ว +2

    แล้วทำยังไงให้เด็กสามารถเขียนใส่สมุดได้ครับ วันที่ยังเขียนไม่เสร็จเลยครับ

    • @official8515
      @official8515 ปีที่แล้ว

      น่าคิดครับ

    • @starfishlabzchannel7261
      @starfishlabzchannel7261  ปีที่แล้ว

      ทาง Starfish เรามีนวัตกรรมการเรียนการสอน ที่เป็นของเราเอง เราช่วยให้ผู้เรียน มีพัฒนาการ และสามารถอ่านออกเขียนได้ค่ะ ดูเพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com

  • @user-ou2ms1kp9l
    @user-ou2ms1kp9l ปีที่แล้ว

    นักเรียนอ่านหนังสือไม่ออกทำไงครับ

    • @starfishlabzchannel7261
      @starfishlabzchannel7261  ปีที่แล้ว

      ทาง Starfish เรามีนวัตกรรมการศึกษาที่ช่วยในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ ของเด็กๆ ค่ะ รับชมเรื่องราว เพิ่มเติม ได้ที่ www.starfishlabz.com

  • @auauauauauau3549
    @auauauauauau3549 8 หลายเดือนก่อน

    😮I