เมืองไทยดี๊ดี : บ้านชินประชา อั่งม้อหลาว 119 ปี หลังแรกในภูเก็ต

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 พ.ย. 2022
  • เทปนี้ น้องเคียว พาไปชม "สถาปัตยกรรม ชิโนยูโรเปี้ยน หลังแรกของจังหวัดภูเก็ต"
    คือ "บ้านชินประชา" อังม่อหลาว หลังแรกบนเกาะภูเก็ต เป็นบ้านที่สร้างขึ้นช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดย พระพิทักษ์ชินประชา มีอายุ 119 ปีแล้ว ที่นี่นอกจากเป็นบ้านเก่าที่ทรงคุณค่า โบราณสถานสำคัญ ที่ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ยังเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเรียนรู้อัตลักษณ์งของชาวภูเก็ตด้วย
    บ้านโบราณสไตล์ฝรั่งหลังนี้ คือบ้านนายหัวเหมืองแร่ยุคก่อนของจังหวัดภูเก็ต หรือที่ชาวภูเก็ตรู้จักกันในนาม คฤหาสน์ชินประชา ถือเป็น สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2446 หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระพิทักษ์ชินประชา ปัจจุบัน “บ้านชินประชา” อายุมากกว่า 119 ปีและมีทายาทตระกูล
    ตัณฑวณิชสืบทอดกันมา เป็นรุ่นที่ 6 แล้ว.
    บ้านแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2466 โดยพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) บุตรชายของหลวงบำรุงจีนประเทศ (ตันเนียวยี่) ผู้เป็นข้าราชการทหารจีน ชาวฮกเกี้ยน ที่มาลงหลักปักฐาน ในการทำเหมืองแร่ดีบุก ที่เกาะภูเก็ต และค้าขายภายใต้แบรนด์ “เหลียนบี้” ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2397)
    พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) ได้สร้างบ้านหลังนี้ โดยมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สไตล์ชิโน-โปรตุกีส และถูกเรียกว่า สไตล์อังมอร์เลานจ์ (อังม่อเหลา)
    บ้านชินประชา อังม่อหลาว หลังแรกบนเกาะภูเก็ต ซ่อนตัวอยู่ในตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นบ้านที่สร้างขึ้นช่วงปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดย พระพิทักษ์ชินประชา หรือ ตันม่าเสียง บ้านหลังนี้ มีอายุ 119 ปีแล้ว เป็นสถาปัตยกรรม ชิโนยุโรเปี้ยน หลังแรกของจังหวัดภูเก็ต สไตล์จีนผสมผสานยุโรป ได้อิทธิพลมาจากมะละกา ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้รอบๆ ขอตัวบ้านยังมีสนามหญ้ากว้าง ที่ร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้ ภายใต้รั้วบ้านอันงดงามที่นำเข้าฮอลแลนด์
    เอกลักษณ์ของ บ้านชินประชา คือ จะเป็นบ้าน 2 ชั้น ออกแบบโดยใช้แสงอาทิตย์หรือแสงจันทร์มาช่วย มีประตูบ้านที่มีอักษรจีนลงรักปิดทอง ตามสไตล์บ้านคนจีน หน้าต่างทำจากไม้ เป็นบานเกล็ดเปิดปิดได้ เป็นหน้าต่างโบราณปัจจุบันหาดูยากแล้วครับ
    อีกส่วนที่โดดเด่นตรงกลางบ้านซึ่งชวนสะกดทุกสายตาคือช่องให้แสงสว่างตามธรรมชาติส่องลงมาได้เรียกกันว่า “ฉิ่มแจ้” มีลักษณะเป็นสระน้ำตกทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ช่วยให้มีอากาศหวุนเวียนภายในบ้าน ช่วยให้บ้านไม่ร้อนแล้วยังถูกหลักฮวงจุ้ยอีกด้วย
    ฉิ่มแจ้ จะมีสระน้ำเล็กๆ มีลักษณะเด่นที่ทำให้อากาศไหลผ่าน ช่วยให้อากาศเย็นสบาย ถือเป็นส่วนที่สวยงามที่สุดของบ้าน เต็มไปด้วยดอกไม้หลากสี ซึ่งถูกตกแต่งด้วยกระเบื้องอิตาลี บริเวณนี้เปิดโล่งเพื่อให้อากาศระบายได้ อีกทั้งปูนยังเป็นปูนโบราณที่ระบายความชื้นจากพื้นออกมา ทำให้บ้านเย็นสบายอีกด้วย ส่วนบันไดก็จะเป็นบันไดไม้ที่มีลวดลายสวยงามมาก และก็มีความหมายที่ลึกซึ้งมากๆ เช่นกัน
    ส่วนเครื่องเรือนต่างๆ ภายในบ้านนั้น จะเป็นไม้ฝังมุกที่นำมาจากเมืองจีน และวัสดุของบ้านส่วนใหญ่ก็จะนำเข้ามาจากต่างประเทศเช่นกัน เพราะเนื่องจากการค้าขายทางเรือผ่านเกาะปีนังมายังภูเก็ตในสมัยนั้นค่อนข้างเฟื่องฟูเลยทีเดียว อีกทั้งภายใน บ้านชินประชา ยังมีป้ายชีวประวัติที่เป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์ชิงที่ส่งมาจากทางจีนให้ไว้เมื่อเสียชีวิตอีกด้วย
    ภายใน บ้านชินประชา ที่นำมาจัดแสดงให้ชมนั้น จะบอกเล่าถึงเรื่องราวและประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภูเก็ต ผ่านข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ตในช่วงตลอด 100 ปีที่ผ่านมา มีทั้ง เครื่องใช้เครื่องครัวโบราณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชุดพื้นเมือง เครื่องประดับโบราณ เครื่องชาม เตาเผา และรวมไปถึง ภาพถ่าย ภาพวาดต่างๆ ผมเปี้ยของท่านพิทักษ์ ลอตเตอรี่รุ่นแรกของประเทศไทย ด้วยครับ
    อีกเอกลักษณ์ที่น่าสนใจก็คือ ประเพณีการแต่งงานของคนจีนกับคนพื้นเมือง หรือที่เรียกว่า เพอรานากัน เกิดมาเป็นชุดแต่งงานที่แปลกตาไปจากเดิมและมีความพิเศษ อีกทั้งยังมี มงกุฎดอกไม้ไหว ที่ออกแบบขึ้นมาโดยที่จะสื่อว่าเจ้าสาวเวลาจะแต่งงาน จะเกิดความรู้สึกหวั่นไหวนั่นเอง อีกทั้งเวลาขยับดอกไม้ก็จะเกิดการสั่นไหวขึ้นด้วย
    จึงเป็นที่มาของชื่อดอกไม้ไหว
    ที่นี่ยังเป็นศูนย์เผยแพร่ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์การแต่งกายของคนภูเก็ตสมัยก่อนที่เรียกว่า “การแต่งกายแบบบาบ๋า ย่าหยา ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถลองใส่ชุด ย่าหยา ถ่ายรูปได้เลย รวมทั้งเป็นสถานที่ในการถ่ายละคร ภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ ด้วย
    มาในส่วนของห้องครัวกันบ้าง จะเป็นแบบโบราณ สังเกตได้จากเตาที่มีความพิเศษมากๆ และยังมี เจ้าเตา ที่เป็นความเชื่อของคนจีน เวลาทำกับข้าวทานเมื่อก่อนนั้นจะต้องถวายกับข้าวทุกวัน นอกจากนี้ก็ยังมี เครื่องกรองน้ำ สั่วหลาว ปิ่นโตโบราณขนาดใหญ่ มีหลายชั้นมาก เป็นปิ่นโตแบบเก่าหาดูยากแล้วในปัจจุบัน โอ่งเขียวไข่กา แบบดั้งเดิมที่เอาไว้มักของดอง และที่นี่ยังมีให้เช่าชุดถ่ายภาพ ร้านคาเฟ่เล็กๆ ขายอาหารอีกด้วย
    คุณติว เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ของบ้านชินประชา ก็คือ ตระกูลตัณฑวณิช
    คุณติวเล่าว่า ลูกหลานได้ช่วยกันอนุรักษ์ตัวอาคารบ้าน และเครื่องเรือนเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอาไว้เป็นอย่างดี เพื่อต้องการให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตขึ้นมา และบอกเล่าเรื่องราวในอดีตส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังได้มาเยี่ยมชมกัน ไปอีกนานๆ ใครที่ได้แวะไปเที่ยวภูเก็ต ลองมาเที่ยวที่ บ้านชินประชา แห่งนี้ดูนะครับ โดยเฉพาะลูกหลานชาวภูเก็ต เพราะทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ และเหมือนกับได้ย้อนไปในอดีต ไปดูความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ ทวด ปู่ย่าตายายของเรา ว่ามีความเป็นอยู่กันอย่างไร
    บ้านชินประชา ภูเก็ต เปิดให้เข้าชม : 08.00-16.30 น.
    ค่าเข้าชม : คนไทย 100 บาท , ต่างชาติ 150 บาท
    โทร : 0-7621-1281

ความคิดเห็น • 4

  • @thekill682
    @thekill682 หลายเดือนก่อน

    บ้านนี้ สวยมาก สวยพอๆ. บ้านเถ้าแก่ ลิ้มหยอง แซ่ตัน เก้ดโฮ่ กระทู้. ลิ้มหยอง พ่อ เถิ่ยมหุ้ย...ราชาที่ดิน และนายเหมือง กระทู้ ที่ดินกว้างใหญ่ไพศาล ขนาดไหน...ก็คือบริเวณเขื่อนบางวาดทั้งอ่าวนั่นแหละไปดูเอง.สุสานท่าน ก่อนถึงสัดเก็ดโฮ่..

  • @thekill682
    @thekill682 หลายเดือนก่อน

    ปีนัง เป็นของสยาม.. เพื่อนผมนักเรียนปีนังรุ่น2506 พ่อเป็นแขกมาจากอินเดีย และเป็นพุทธ เพราะเพื่อนผม บวช วัดกลาง แถวย่านใกล้บ้าน..

  • @user-qw4zs5xc8y
    @user-qw4zs5xc8y หลายเดือนก่อน

    แล้วภูเก็ตสมัยก่อนไม่ใช่คนไทยหรือเห็นส่วนใหญ่เชื้อสายจีนเยอะมาก

  • @thekill682
    @thekill682 หลายเดือนก่อน

    ตึกเก่า..นาฬิกาเก่า อ่ะไรที่เก่าๆ..มีค่า สัมผัสด้วยจิตวิญญาณ.ยกเว้น เมียเก๋า ที่จากไปแล้ว.