สีธงชาติไทย ธงไตรรงค์ 4K

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 16 พ.ค. 2023
  • ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติของประเทศไทย มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้น หมายถึง สถาบันหลักทั้ง 3 ของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้ง 3 นี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) แทนธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติของสามัญชนเป็นแบบแรกตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำตัวช้างเผือกไม่สวยงาม โดยเริ่มแรกในปี พ.ศ. 2459 ได้มีการประกาศใช้ธงชาติสยามจำนวน 2 แบบ คือธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นเป็นธงสำหรับราชการ และธงแดง-ขาว 5 ริ้วเป็นธงค้าขายสำหรับสามัญชน ก่อนที่เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 จะเติมสีขาบลงไปบนแถบกลางของธงค้าขายเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร และเพื่อระลึกถึงรัชกาลที่ 6 และใช้เป็นธงชาติไทยทั้งสำหรับราชการและสามัญชนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
    : ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความคิดเห็น •