ไม่สามารถเล่นวิดีโอนี้
ขออภัยในความไม่สะดวก

การแสดงดนตรีชาติพันธุ์ ลัวะ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 6 ก.ค. 2024
  • การแสดงดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ที่จะนำมาแสดงในงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งนี้ มีแนวคิดที่จะนำเสนอถึง การขับร้องเพลงเกี่ยวพาราสีกันระหว่างชาย-หญิง หรือการขับร้องเพลงจ่ายปลั่ง และกิจกรรมประเพณีการแห่ครัวทาน (เครื่องไทยทาน) เข้าวัดเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แนวคิดนี้ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์จาก วิถีชีวิต ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยคาดว่าการแสดงครั้งนี้จะสร้างความเข้าใจต่อวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันงดงามของลัวะให้กับเยาวชน ผู้สนใจทั่วไปที่จะรับทราบ
    ประวัติความเป็นมาของคณะนักดนตรี และนักแสดงกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ ชุดนี้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดย รุ่งนภา ตาละปุง ภรรยาหัวหน้าชุมชน ที่มีแนวคิดต้องการที่จะรวบรวมพี่น้องชาวลัวะในแถบอำเภอแม่สาย เพื่อร่วมกันประกอบกิจกรรมการแสดง และต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมของลัวะให้สืบต่อไปยังกลุ่มเยาวชน และผู้สนใจ จึงได้เชิญผู้อาวุโสและผู้มีความสามารถด้านดนตรี และการแสดง โดยอ้างอิงจากบทเพลง และท่าทางการฟ้อนรำที่เคยได้เห็นในอดีตมาเป็นแบบอย่าง พร้อมทั้งพัฒนาท่าทางใหม่เสริมเข้าไปด้วย คณะนักแสดงลัวะ มีสถานที่ฝึกซ้อม เป็นศูนย์กลางประสานงานติดต่อและฝึกซ้อมอยู่ที่ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันคณะวงดนตรีและนักแสดงลัวะ ได้รับการเชิญชวนและทาบทามให้อออกแสดงในศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงราย และใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง
    ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ มีบทบาทสำคัญในงานประเพณีรื่นเริง และงานมงคลต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในชุมชน แม้ว่าจะไม่ค่อยปรากฏความแตกต่างของเครื่องดนตรีจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ มากนักโดยเฉพาะกลุ่มไตยวน และลัวะมีลักษณะดนตรีที่สำคัญ ที่ยังคงสืบสานกันอยู่ถึงปัจจุบันนี้คือเพลงร้องที่เป็นภาษาลัวะ หรือที่เรียกว่า “จ่ายปลั่ง” ซึ่งเพลงจ่ายปลังนี้สามารถบ่งบอกแหล่งที่มาของคนผู้นั้นได้ โดยแสดงออกผ่านสำเนียงการขับร้องที่แบ่งออกเป็น สำเนียงสิบสองปันนา และสำเนียงลุ่มน้ำโขง คนลัวะเมื่อได้ยินเพลงเหล่านี้จะเกิดความเข้าใจและซาบซึ้งถึงวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างลึกซึ้ง จึงสามารถกล่าวได้ว่า จ่ายปลั่ง เป็นบทเพลงร้องของคนลัวะที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของคนลัวะได้อย่างชัดเจน ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวในอดีต การเดินทางอันแสนไกล การหาเลี้ยงครอบครัว และความอดทนต่อความลำบากที่ผ่านมาในอดีตได้อย่างชัดเจน (องอาจ อินทนิเวศ, 2567)

ความคิดเห็น • 4