อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ (ตอนสุดท้าย)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 2 ต.ค. 2024
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีลักษณะพิเศษคือ การเรียงตัวของเกาะที่อยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ สามารถกำบังคลื่นลมได้ดีทำให้เกิดแนวปะการังริมฝั่งรอบเกาะ โดยเฉพาะเกาะสุรินทร์เหนือ และ เกาะสุรินทร์ใต้ที่ตั้งอยู่ชิดกันคล้ายเกาะแฝด มีพื้นน้ำตื้น ๆ กว้างประมาณ 200 เมตร กั้นอยู่ ในช่วงน้ำลงสามารถข้ามไปมาระหว่างเกาะได้ ลักษณะเหมือนทะเลแหวก เรียกว่า “อ่าวช่องขาด” ลักษณะของน้ำขึ้นและน้ำลงวันละ 4 ครั้ง และระดับสูงสุดและต่ำสุดต่างกันถึง 3 เมตร ทำให้กระแสน้ำเลียบฝั่งหมุนเวียนรวดเร็วและแรง เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพใต้ท้องทะเลที่หลากหลาย นอกจากปลาเล็ก ๆ สวยงามในกลุ่มปะการังแล้ว ยังมีโอกาสพบสัตว์ขนาดใหญ่อย่างฉลามวาฬ และเต่าทะเลขนาดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ส่วนบริเวณอ่าวแม่ยาย อ่าวไม้งาม และ อ่าวสุเทพ เป็นพื้นที่ที่สงบเงียบ และ สวยงามทั้งชายหาดและใต้ทะเล ส่วนเกาะขนาดเล็กอีกสามเกาะ ได้แก่ เกาะรี เกาะไข่ และ เกาะกลาง เป็นเกาะหินที่มีต้นไม้ขนาดเล็กลักษณะเป็นพืชป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลน และพืชอิงอาศัย เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าขนาดเล็ก รวมทั้งนกซึ่งพบมากกว่า 80 ชนิด โดยเฉพาะ “นกชาปีไหน” ซึ่งเป็นนกที่หายาก สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดในหมู่เกาะสุรินทร์ คือ การเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน “มอแกน” หรือ “ยิปซีแห่งท้องทะเล” ประมาณ 200 คน ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ยังดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม สร้างกระท่อมยกเสาสูงบริเวณชายหาดอ่าวบอนใหญ่ของหมู่เกาะสุรินทร์ใต้ ทำประมงเป็นหลัก และ ทำของที่ระลึกขายให้นักท่องเที่ยว บางส่วนเป็นลูกจ้างช่วยงานภายในอุทยานฯ

ความคิดเห็น •