แผงวงจรควบคุมโคมไฟ LED พลังงานแสงอาทิตย์: แนะนำการใช้งานสำหรับงาน DIY หรืองานซ่อม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.ย. 2024
  • คลิปนี้แชร์ประสบการณ์การทดลองใช้งานโมดูลควบคุมแผงไฟ LED พลังงานแสงอาทิตย์ โดยเลือกมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กับแบตเตอรี่ LiFePO4 3.2V มาพร้อมกับอุปกรณ์รีโมทอินฟราเรด แต่ไม่มีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ในคลิปมีการอธิบายหลักการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และสาธิตการต่อวงจรทดลองใช้งาน
    แก้ไขข้อผิดพลาด:
    - ตามผังวงจรในนาที 19:05 ในคลิปมีข้อผิดพลาดในการวาดวงจร และที่ถูกต้องคือ ไฟจากแผงโซลาร์เซลล์จะชาร์จเข้าที่ขั้วแบตเตอรี่โดยไม่ผ่านตัวต้านทาน R1=10 โอห์ม ถ้าสังเกตจากลายวงจรบนแผ่น PCB จะเห็นได้ว่า ขั้ว Anode ของ SS56 ต่อกับขััว S+ และขั้ว Cathode ของ SS56 ต่อกับขั้ว BAT+

ความคิดเห็น • 13

  • @Chalee2151
    @Chalee2151 3 หลายเดือนก่อน +4

    แบ่งปันได้ดีและมีประโยชน์ครับ

  • @pongpitwipasuramonton4092
    @pongpitwipasuramonton4092 3 หลายเดือนก่อน +1

    ออกแบบได้ลงตัวดีมาก ไม่ทราบพอจะบอกราคาคร่าวๆได้มั้ยครับ สำหรับ แผงควบคุม+รีโมท

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668  3 หลายเดือนก่อน +1

      แผงควบคุมที่มีรีโมท ตามตัวอย่างในคลิป ซื้อมาราคาประมาณ 170 บาท (2 ชิ้น) ลองดูใน shopee ถ้าสั่งจากต่างประเทศ ก็จะถูกกว่าครับ

  • @mekhinthongjerm1104
    @mekhinthongjerm1104 2 หลายเดือนก่อน +1

    ใด้ความรู้และเข้าใจขึ้นเยอะเลยครับ

  • @user-ex8ky7bv7k
    @user-ex8ky7bv7k 11 วันที่ผ่านมา

    ขอสอบถามหน่อยครับผมอยากรู้เรื่องแบตตรี่ LifePo4 5000ah 3.2v
    ต่อขนานกัน4ก่อนเป็น20.000ahv
    แล้วผมจะต่อชาร์จผ่านแผงโชลาเชล6vที่20w 1.66ah
    ช่างคิดว่าเต็มมันครับ
    ผมจะเอามาทำพาเวอแบงค์ระบบ5vครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668  3 วันที่ผ่านมา

      จากคำถาม หากมีแบตเตอรี่ LiFePo4 3.2V 5000mAh (เช่น ขนาด 26700) นำมาต่อขนานกัน 4 ก้อน จะได้ 20,000mAh หรือ 20Ah
      และถ้าคิดว่าต้องการจะชาร์จประจุ เริ่มต้นจาก 2.5V หรือต่ำกว่า (คิดเป็น 0%) จะได้แรงดันไฟฟ้า 3.6V (ชาร์จเต็ม คิดเป็น 100%) หรือมีพลังงานไฟฟ้าในตัวแบตเตอรี่ 3.6V x 20Ah = 72Wh โดยประมาณ
      แผงโซลาเซลล์ 20W / 6V สมมุติว่า ให้เอาต์พุตแรงดันไฟฟ้า 5V สำหรับกระแสไฟฟ้า 4A (หรือ 20W peak power) แต่เมื่อนำไปชาร์จแบตเตอรี่ แรงดันจะต้องลดต่ำลงมา และกระแสไฟฟ้าด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวงจร BMS ของแบตเตอรี่ที่ใช้
      ถ้าคิดแบบง่ายๆ ชั่วโมงในการชาร์จ จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 72Wh/20W = 3.6h แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กำลังไฟฟ้าที่ได้จากแผงจะต่ำกว่า 20W และมีการสูญเสียในระหว่างการชาร์จประจุ เช่น ที่ตัวไดโอด หรือวงจรส่วนอื่นของ BMS ที่ใช้กับแบตเตอรี่ เป็นต้น และยังขึ้นอยู่กับสภาพแสงในแต่วันด้วยครับ ดังนั้นระยะเวลาในการชาร์จจึงใช้เวลามากขึ้น
      คงต้องทดลองดูครับ

  • @p.amdonlymuk2558
    @p.amdonlymuk2558 หลายเดือนก่อน

    ขอถามหน่อยครับ ใช้เซ็นเซอร์ด้วยคลื่นไมโครเวฟเรดาร์จะอันตรายต่อร่างกายไหมครับ เห็นบางคนบอกว่าใช้คลื่นประมาณ 9 จิกะเฮิรตซ์ (GHz)

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668  29 วันที่ผ่านมา

      ถ้าเป็นโมดูลหรือวงจรที่ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวสำหรับโคมไฟโซลาร์เซลล์ กำลังไฟฟ้าของวงจรส่วนนี้ไม่ได้สูงมาก และโดยปรกติแล้ว คนก็ไม่ได้อยู่ในบริเวณตรวจจับเป็นเวลานาน เช่น แค่เดินผ่าน และไม่ได้อยู่ใกล้เซ็นเซอร์ ดังนั้นโดยส่วนตัวคิดว่า ในกรณีนี้ไม่น่าจะมีผลต่อร่างกายครับ

    • @p.amdonlymuk2558
      @p.amdonlymuk2558 28 วันที่ผ่านมา

      @@rsponlinethailand6668 ขอบคุณมากครับ พอดีผมติดใช้ในห้องน้ำเพื่อนมาเจอเข้าถามว่ามันเป็นคลื่นไมโครเวฟใกล้เคียงกับคลื่นที่ใช้ในเตาไมโครเวฟมันจะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อเช่นดวงตาหรือไม่เลยไม่ค่อยสบายใจ

  • @sekdanana91
    @sekdanana91 2 หลายเดือนก่อน

    เพิ่มแบตต้องเปลี่ยนตัวชาร์จไหมคับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668  2 หลายเดือนก่อน

      ถ้าเพิ่มแบต หมายถึง การนำแบตเตอรี่ LiFePO4 มาต่อขนานกัน เช่น จากเดิมหนึ่งก้อน เป็นสองก้อน ก็อาจจะใช้แผงวงจร BMS เดิมก็ได้ครับ ถ้าไม่ได้เปลี่ยนแผงโซล่าเซลล์ และใช้แผง LED เดิม

  • @นายรุ่งโรจน์ปันแจ่ม
    @นายรุ่งโรจน์ปันแจ่ม 2 หลายเดือนก่อน

    วงจรแบบนี้เราแผงหลอดledต่อขนานได้กี่แผงครับ

    • @rsponlinethailand6668
      @rsponlinethailand6668  2 หลายเดือนก่อน +1

      ถ้านำแผง LED แบบเดียวกันมาต่อเพิ่มมากกว่าหนึ่งอัน ซึ่งเป็นการต่อแบบขนานกัน ก็เป็นการเพิ่มโหลดไฟฟ้าให้แบตเตอรี่และวงจร MOSFET ควบคุมการจ่ายกระแส.. ในกรณีนี้ ปริมาณกระแสไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ควรเกิน spec ของแผงควบคุม และอาจก็จะถูกจำกัดด้วยวงจร BMS และแบตเตอรี่ด้วยเช่นกันครับ... แนะนำว่า ให้ลองนำแผงต่อมาต่อเพิ่มทีละหนึ่งอัน แล้ววัดปริมาณกระแสด้วยมัลติมิเตอร์ดูครับ