สวดอิติปิโส 19 จบ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 ม.ค. 2025
  • บทสวดอิติปิโส คือ บทสวดเพื่อสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรือที่รวมกันเรียกว่า "พระรัตนตรัย" การสวดอิติปิโส สามารถสวดอิติปิโสในเวลาใดก็ได้ ส่วนมากจะนิยมส่วนตอนเช้าและก่อนนอน เมื่อสวดจบแล้ว มักจะสวดบทแผ่เมตตาตาม เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
    อิติปิ โส ภะคะวา (เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)
    อะระหัง (เป็นผู้ไกลจากกิเลส)
    สัมมาสัมพุทโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง)
    วิชชาจะระณะสัมปันโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ)
    สุคะโต (เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี)
    โลกะวิทู (เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง)
    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ (เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า)
    สัตถา เทวะมนุสสานัง (เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
    พุทโธ (เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม)
    ภะคะวาติ (เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม (พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว)
    สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
    (เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง)
    (เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล)
    (เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด) (เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว)
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ (เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว)
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว)
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว)
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    (สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว)
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    (ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ) (คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ)
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ (นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า)
    อาหุเณยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา)
    ปาหุเณยโย (เป็นผู้ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ)
    ทักขิเณยโย (เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)
    อัญชะลีกะระณีโย (เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี)
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้)

ความคิดเห็น •