🔥🔥🔥มาดามฝรั่งเศส สามีตาย ได้อะไรบ้าง❓❓❓

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 พ.ย. 2023
  • 🔥🔥🔥เมื่อสามีฝรั่งเศสตาย เรามีสิทธิ์ได้อะไรบ้าง❓❓❓
    .
    ✅ มรดก (ทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตแล้ว ไม่อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกับสินสมรส) 100% คือ สินส่วนตัวก่อนสมรส ที่ดิน ธุรกิจ เงินลงทุน ที่เป็นชื่อเจ้าของคนเดียว
    .
    วิธีการแบ่งมรดก
    💯หากผู้ตายมีลูก มรดกจะถูกแบ่งระหว่างคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่และบุตร
    💯หากผู้ตายมีลูกจากการแต่งงานครั้งแรก คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่จะได้รับกรรมสิทธิ์เต็มจำนวนเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น ส่วนอดีตคู่สมรสไม่ได้รับอะไรเลย
    💯ในกรณีที่ไม่มีบุตรหรือหลาน: - คู่สมรสจะได้รับมรดกในมรดกที่เขาแบ่งปันกับบิดาและมารดาของผู้ตายหากยังมีชีวิตอยู่ ผู้ปกครองแต่ละคนจะได้รับหนึ่งในสี่ และคู่สมรสจะได้รับส่วนที่เหลือ (ครึ่งหรือสามในสี่กรณีที่เหลือเพียงบิดาหรือมารดา)
    ข้อมูลจาก www.justice.fr/printpdf/75313
    .
    ✅เงินแม่หม้าย (Allocation Veuvage)
    Votre époux(se) doit avoir été affilié(e) à l'assurance vieillesse au moins 3 mois, continus ou non, durant l'année précédant le décès.
    .
    เช็คได้ที่ www.service-public.fr/particu...
    .
    เงื่อนไข
    💯คู่สมรสจะต้องมีประกันชราภาพ (l'assurance vieillesse) อย่างน้อยต่อเนื่องจำนวน 3 เดือนระหว่างปีก่อนหน้าที่จะเสียชีวิต
    📌ผ่านทางประกันการเกษียณ l’Assurance retraite (CNAV และ AGIRC-ARRCO) เช็คที่ www.service-public.fr/particu...
    📌ผ่านทาง caisse de retraite เช็คที่ www.previssima.fr/lexique/cai...
    📌ผ่านทาง Mutualité sociale agricole (MSA). www.msa.fr/lfp
    💯คุณต้องอายุน้อยกว่า 55 ปี Vous devez avoir moins de 55 ans.
    💯คุณต้องอาศัยอยู่ที่ฝรั่งเศส
    💯คุณมีทรัพย์สินในช่วง 3 เดือนก่อนยื่นคำร้องจะต้องไม่เกิน €2,485.1250 หรือ €828.3750 ต่อเดือน
    .
    ✅เงินบำนาญของคู่สมรส Pension de réversion
    .
    เงื่อนไข
    💯เป็นคู่สมรสโดยมีการจดทะเบียนสมรส ไม่ว่าจะกี่ปีก็ตาม แต่ต้องไม่ใช่การจดปักส์หรือ Concubinage
    💯ทั้งคู่มีรายได้รวมกันไม่เกิน € 37,506.56 กรณีอาศัยอยู่รวมกัน
    💯คู่สมรสจะต้องมีระยะเวลาทำงานตามกำหนด
    .
    เช็คได้ที่ www.service-public.fr/particu...
    .
    ✅สิทธิการต่อบัตร Titre de Sejour ที่ฝรั่งเศส ยังคงอยู่เช่นเดิม ต้องเป็นการต่อบัตร ไม่ใช่การขอบัตรใหม่
    ข้อมูลจาก www.alexia.fr/questions/42254...
    .
    เจน กิเนล
    #วีซ่าฝรั่งเศส #จดทะเบียนฝรั่งเศส #แต่งงานฝรั่งเศส #จดปักส์ฝรั่งเศส #PACS #แฟนฝรั่งเศส #รับรองนิติกรณ์ #วีซ่าไม่ผ่าน #จดหมายอุทธรณ์ #ล่ามฝรั่งเศส #Sophrologie #Sophrology #ครูฝรั่งเศส #เช่าบ้านฝรั่งเศส #ซื้อบ้านฝรั่งเศส #ธุรกิจฝรั่งเศส #แปลหนังสือฝรั่งเศส #หย่าฝรั่งเศส
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 23

  • @wanlaphatutor1260
    @wanlaphatutor1260 2 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากๆเลยอ่ะ สำหรับความรู้ดีๆค่ะ

  • @wasinichuachit508
    @wasinichuachit508 6 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากค่ะ น้องเจน สำหรับข้อมูลดีดีค่ะ ❤❤

    • @janeguinel
      @janeguinel  6 หลายเดือนก่อน

      ยินดีค่ะ :)

  • @amphornsaraphorn8780
    @amphornsaraphorn8780 2 หลายเดือนก่อน +1

    ขอเข้าฟังด้วยคนค่ะ อยากรู้ว่าวันหนึ่งเกิดมีปัญหาว่าจะต้องทำอย่างไงคะ

  • @brimelowfarmbychon3329
    @brimelowfarmbychon3329 3 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีจ้าเจน รับชมรับฟังด้วยค่ะ เพื่อนใหม่ค่ะ 15:14

    • @janeguinel
      @janeguinel  3 หลายเดือนก่อน

      สวัสดีคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ค่ะ :)

  • @MaiUK
    @MaiUK 3 หลายเดือนก่อน +2

    เข้ามาฟังแล้วได้ความรู้มากๆเลยค่ะเจน
    อย่างไรก็แล้วแต่ ห้ามเซ็นเอกสารอะไรทั้งนั้นค่ะ ถ้าเราไม่เข้าใจในเนื้อหาเอกสารนั้นๆ และหาล่ามด้วยก็ดีค่ะ 😊

    • @janeguinel
      @janeguinel  3 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับฟี้ดแบกดีๆค่ะ :)

  • @captainhp4021
    @captainhp4021 2 หลายเดือนก่อน

    ย่าเสียชีวิตแล้วในพินัยกรรมเขาใส่ชื่อให้เงินผม ตอนนี้ติดต่อกับพ่ออยู่ กรณีแบบนี้จะรอนานไหมครับ พ่อบอกรอธนาคาร ผมมีสัญชาติฝรั่งเศสครับ มีชื่ออยู่ใน livret de famille

  • @MadamePatcha
    @MadamePatcha 2 หลายเดือนก่อน +1

    ในส่วนของเงินบำนาญ บุตรมีสิทธิ์รับไหมคะ

    • @janeguinel
      @janeguinel  2 หลายเดือนก่อน

      สวัสดีค่ะ แนะนำฟังจากปรึกษาด้านกฏหมายฝรั่งเศสโดยตรงนะคะ หรือติดต่อสอบถามไปที่ช่องทางนี้ค่ะ
      facebook.com/solidaritethaie/videos/2445670035634730

  • @wanlaphatutor1260
    @wanlaphatutor1260 2 หลายเดือนก่อน

    สวัสดีค่ะ ขออนุญาตสอบถามค่ะ ถ้าแฟนกับเรา จะเปลี่ยนสถานะจากการจด PACS เป็นแต่งงาน ต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างคะ (จดทะเบียนสมรสที่ไทย และมา updates สถานะที่ฝรั่งเศสจากPACS เป็นทะเบียนสมรสอันนี้ง่ายกว่าทำที่ฝรั่งเศสไหมคะ)

    • @janeguinel
      @janeguinel  2 หลายเดือนก่อน +1

      สวัสดีค่ะ การจดทะเบียนสมรสสามารถทำได้เลย แม้ว่าจะจดปักส์แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเลิกปักส์ก่อนค่ะ
      การจดทะเบียน สามารถเลือกจดที่ใดก็ได้ ไทย หรือฝรั่งเศส ตามความสะดวกของคู่สมรส หรือดูจากที่อยู่อาศัยที่คู่สมรสจะอยู่ร่วมกันเป็นหลักค่ะ
      ซึ่งปกติแล้ว การจดที่ไทยจะเหมาะสำหรับคู่สมรสที่ต้องการใช้ชีวิตคู่อยู่ที่ประเทศไทย
      จากประสบการณ์ หากฝ่ายชายมีหน้าที่การงานที่ฝรั่งเศส การมาจดที่ฝรั่งเศสจะอำนวยความสะดวกแก่ฝ่ายชายมากกว่าค่ะ เพราะไม่ต้องเดินทางมาไทยหลายรอบ หรือกรณีมาไม้ได้หลายรอบ ต้องอยู่ไทยได้อย่างน้อย 2-3 เดือนขึ้นไป

    • @janeguinel
      @janeguinel  2 หลายเดือนก่อน +1

      รบกวนขออีเมลล์หรือไลน์ สำหรับส่งขั้นตอนโดยละเอียดที่ไทย และฝรั่งเศสให้ค่ะ

  • @janratranipakemmawan
    @janratranipakemmawan 3 หลายเดือนก่อน

    อยากให้ ความรู้ กฏหมายของฝรั่งเศสค่ะ

    • @janeguinel
      @janeguinel  3 หลายเดือนก่อน

      สวัสดีค่ะ กฏหมายเกี่ยวกับด้านไหนหรือคะ

    • @janeguinel
      @janeguinel  2 หลายเดือนก่อน

      สวัสดีค่ะ แนะนำฟังจากปรึกษาด้านกฏหมายฝรั่งเศสโดยตรงนะคะ หรือติดต่อสอบถามไปที่ช่องทางนี้ค่ะ
      facebook.com/solidaritethaie/videos/2445670035634730

  • @thunyaluksintala8097
    @thunyaluksintala8097 3 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีคะคุณเจนแล้วถ้าเราอยู่เมื่องไทยละคะต้องทำอย่างไรต้องแต่งงานกี่ปีถึงจะยื่นได้หรืออายุเท่าไรถึงจะยื่นได้คะ

    • @janeguinel
      @janeguinel  2 หลายเดือนก่อน

      สวัสดีค่ะ แนะนำฟังจากปรึกษาด้านกฏหมายฝรั่งเศสโดยตรงนะคะ หรือติดต่อสอบถามไปที่ช่องทางนี้ค่ะ
      facebook.com/solidaritethaie/videos/2445670035634730

  • @-dosocial7595
    @-dosocial7595 3 หลายเดือนก่อน +1

    กรณีจดpace.ถ้าสามีเราเสีย
    เราจะได้มรดกส่วนไหนบ้างคะ

    • @janeguinel
      @janeguinel  3 หลายเดือนก่อน +1

      กรณีจดปักส์ จะไม่ถือว่าเป็นคู่สมรสค่ะ จึงไม่มีเรื่องของมรดกและค่าเลี้ยงดูกรณีเลิกปักส์
      1. Les personnes qui bénéficiaient d’une pension alimentaire : avec le pacs, cette pension n’est plus attribuée
      ไม่มีค่าเลี้ยงดูกรณีเลิกปักส์
      2. Le partenaire pacsé n’est pas héritier sauf si présence d’un testament,
      Il n’a vocation qu’à la quotité disponible.
      Il est exonéré de droits de succession depuis la loi TEPA.
      ไม่มีมรดกตกทอด กรณีคู่ปักส์เสียชีวิตค่ะ

  • @user-dl2cw3up5x
    @user-dl2cw3up5x 2 หลายเดือนก่อน +1

    ถ้่าแฟนเกษียนแล้วมาเสียชีวิตที่ไทยจะได้สิทธื์อะไรบ้างคะเราใช้ชีวิตที่ไทยค่ะ

    • @janeguinel
      @janeguinel  2 หลายเดือนก่อน +1

      สวัสดีค่ะ แนะนำฟังจากปรึกษาด้านกฏหมายฝรั่งเศสโดยตรงนะคะ หรือติดต่อสอบถามไปที่ช่องทางนี้ค่ะ
      facebook.com/solidaritethaie/videos/2445670035634730