โหมโรงราโค

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ต.ค. 2024
  • โหมโรงราโค (เครื่องสายผสมปี่ชวา)
    เพลงราโคสองชั้น ทำนองเก่าสมัยอยุธยา รวมอยู่ในเพลงตับเรื่องทำขวัญซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๗ เพลงคือ เพลงมอญแปลง เพลงสรรเสริญพระจันทร์ เพลงมหาชัย เพลงมโนราห์โอด เพลงราโค เพลงเหรา และเพลงหงส์ใช้ดอกบัว เฉพาะเพลงราโคเป็นเพลงท่อนเดียวมี ๒ ทาง คือ ทางพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)ได้รับทอดมาและทางฝั่งธนฯ เพลงทั้ง ๒ ทางนี้ เป็นเพลงเดียวกันแต่มีสำนวนทำนองต่างกัน นายมนตรี ตราโมท ได้ต่อเพลงราโคนี้จากพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์) และต่อทางฝั่งธนฯด้วย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ นายมนตรี ตราโมท จึงได้นำทำนองทั้ง ๒ ทาง มาแต่งขยายเป็นอัตราสามชั้น ใช้บรรเลงเป็นเพลงโหมโรง โดยบรรเลงติดต่อเป็นเพลงเดียวกัน

ความคิดเห็น • 9

  • @sapeurpompierF5
    @sapeurpompierF5 12 ปีที่แล้ว

    วงฟองน้ำเล่นดีจริงครับ ผมมีอัลบัมนี้อยู่ เพราะทั้งหมด

  • @Oldtimeinlove
    @Oldtimeinlove 13 ปีที่แล้ว

    ชอบตรงมีเสียงปีชวา ฟังแปลกหูดี

  • @ปัญญาศรีนาค-ด1ฝ
    @ปัญญาศรีนาค-ด1ฝ 10 ปีที่แล้ว

    ราโค คือ กริยาที่ทำให้ โค เดินช้าลง ความมีอยู่ว่า พระอิศวรท่านมีสัตว์พาหนะชื่อโคนนทิ เมื่อเสด็จไปที่ใด ท่านจะทรงโค(พระอิศาวรทรงโคหรือชงโคเป็นโหมโรงหนังตลุง) โคนนทิเหาะเหินเดินอากาศรวดเร็วมาก พระอิศวรท่านคงอยากดูวิวทิวทัศน์จึงบอกให้โคนนทิ เหาะเดินให้ช้าลงด้วยเพลงโหมร้องบทนี้๕๕๕๕๕๕

  • @TheOngkhaphayop
    @TheOngkhaphayop  13 ปีที่แล้ว

    @scprof02 แหะๆ ขึ้นชื่อว่า Thai classic ก็ต้องทำให้คลาสสิคขอรับ

  • @nontanat80
    @nontanat80 8 ปีที่แล้ว

    นักดนตรี - ซออู้ : ประเวศ กุมุท, ปี่ชวา : ปิ๊บ คงลายทอง, ซอด้วง : ธีระ ภู่มณี, ขลุ่ย : ประสาน วงศ์วิโรจน์รักษ์, จะเข้ : ดุษฎี สว่างวิบูลย์พงษ์, กลองแขก : สมาน น้อยนิตย์, ฉิ่ง : ละมูล เผือกทองคำ

  • @apaiwong3914
    @apaiwong3914 12 ปีที่แล้ว

    ไม่ใช่วงฟองน้ำครับ....บรรรเลงโดยกรมศิลปากกรครับ...ครูปิ๊บ คงลายทองเป่าปี่ชว่าครับ...

  • @malangpou
    @malangpou 12 ปีที่แล้ว

    สำเนียงแปลกดีครับ ^^

  • @TheOngkhaphayop
    @TheOngkhaphayop  13 ปีที่แล้ว

    @tanutsu วงฟองน้ำขอรับ ^^

  • @tanutsu
    @tanutsu 13 ปีที่แล้ว

    วงไหนครับ