วัดปงยางคก จ.ลำปาง ตามรอยโขงพระเจ้าอายุ1315 ปี พระวิหารไม้โบราณ Ep26

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 ต.ค. 2024
  • #วัดปงยางคก#ลำปาง #ประวัติศาสตร์ วัดปงยางคกเป็นวัดที่มีความเป็นมาเก่าแก่มากๆ แห่งหนึ่งของจังหวัดลำปางตั้งอยู่ที่ตำบลปงยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ภายในวัดเต็มไปด้วยคุณค่าแห่งศิลปกรรมที่ควรค่าแก่การเก็บรักษา และเปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังได้เข้าไปเรียนรู้ และชมวิหารจามเทวี ที่มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี เมื่อ พ.ศ. 1253 เป็นวิหารไม้ที่สวยงามเป็นแบบฉบับของลักษณะสถาปัตยกรรมสกุลช่างลำปาง
    พระวิหารมีขนาดกว้าง 3 ห้อง ยาว 5 ห้อง ไม่มีประตูหน้าต่าง หลังคาลดชั้น ด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น ผืนหลังคา 2 ตับ ช่อฟ้าป้านลม
    ลักษณะของหลังคาสามชั้น เดิมเป็นแป้นไม้เกล็ดแต่ได้ผุกร่อนไปจึงได้เปลี่ยนมามุงด้วยดินขอเกล็ดไม่มีฝ้าเพดาน โครงสร้างของวิหารทั้งขื่อคาเสาเขียนลายทองซึ่งต่างจากวิหารทั่ว ๆ ไปซึ่งเป็นภาพเขียนลายน้ำแต้ม ภายในมีซุ้มมณฑปพระประธานซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า "โขงพระเจ้า '' ประกอบด้วยซุ้มขนาดเล็ก ฐานซุ้มมณฑปเป็นฐานก่ออิฐ ทำลายปูนปั้น ย่อมุมไม้สิบสองอย่างประณีตสวยงาม และในซุ้มประดิษฐานพระประธานปางสมาธิเพชร ผนังด้านซ้ายมือของมณฑปก่อสร้างเป็นซุ้มลายปูนปั้น และมี พระพุทธรูปปางสมาธิ
    ในวิหารบนผนังด้านหลังเขียนลายทองบนพื้นสีแดงแต่งลายรูปต่าง ๆ ด้วยลายเขียนน้ำรักปิดทองบนพื้นสีแดงเรียกว่า ลายคำ
    ธรรมาสก์โบราณฐานก่อสร้างเป็นด้วยอิฐฉาบปูน ทำลวดลายปูนปั้นติดกระเบื้องเคลือบดินเผาสีต่าง ๆ ตกแต่งแบบชาวล้านนา ซึ่งปัจจุบันหลุดร่อนไปเกือบหมดแล้ว ตัวธรรมาสก์ทำด้วยไม้ลงรักปิดทองลวดลายเป็นรูปดอกไม้ และภาพเขียนบนผนังด้านหลังพระประธานซึ่งเป็นภาพต้นศรีมหาโพธิ์สามต้น
    มีเทวดาถือฉัตรและช่อดอกไม้ประดับทั้งสองข้างของพระประธานและลายเขียนตามผนังเสาขื่อคานของวิหารทั้งหมด ภาพลายดอกไม้หรือลายหม้อดอกหรือภาพแจกันดอกไม้ตามคติพุทธเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปูรณฆฎะ(ปูระนะคะตะ) ปูรณกลศ(ปูระนะกลด) หมายถึงหม้อน้ำที่มีน้ำเต็มเปี่ยม ส่วนไม้เลื้อยนั้นหมายถึงความงอกงามของชีวิตและการสร้างสรรค์ ซึ่งแต่ละภาพเขียนลวดลายดอกใบกิ่งก้านเป็นลวดลายต่างกันออกไป และถือว่าเก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ
    ฝาผนังวิหารด้านขวามือ จะมีรอยดาบที่เกิดจากรอยดาบของการรบระหว่างหนานทิพย์ช้างกับท้าวมหายศ เมื่อปี พ.ศ 2273สันนิ ษฐาน
    ว่าอาจจะมีการต่อสู้ ที่วัดปงยางคกก่อนเกิดการ
    ต่อสู้ กันอีกครั้งที่วัดพระธาตุลำปางหลวง
    วัดปงยางคกนี้ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อัน ยาวนาน เพราะเป็นถิ่นกำเนิดของเจ้าหนาน ทิพย์ช้าง (เจ้าพระยาสุรวฤาชัยสงคราม) วีรบุรุษแห่งเขลางค์นคร ผู้กู้อิสระภาพ จากพม่าข้าศึก อันเป็นต้นตระกูลของเจ้าผู้ครอง นครในภาคเหนือมาตั้งแต่อดีต อีกประการหนึ่งก่อนที่เจ้าหนานทิพย์ช้างจะได้ปราบดาภิเษกเป็นเจ้ าพระยาสุลวะลือชัยสงคราม ขึ้นปกครอง เขลางค์นครลำปางพระองค์ก็ได้เคย ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดปงยางคกนี้มาก่อนจึงถือว่าเป็นวัดประวัติศาสตร์ของลานนาไทย ที่มีความสำคัญยิ่งที่เดียว
    ประวัติโดยย่อุและเกียรติคุณของเจ้าหนานทิพย์ช้าง มีพระนามตามยศฐาบรรดาศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำปางว่า พระยาสุลวะลือไชยสงคราม เดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันคือ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง) มีนามเดิมว่า “ทิพย์จักร” เกิดในราวปี พ.ศ. 2217 ได้บวชเรียนที่วัดปงยางคก และสึกออกมาประกอบอาชีพพรานป่า มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้อาวุธ มีความสามารถในการขับไล่และตัดหางช้างที่มารบกวนพืชผลของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงขนานนามว่า “หนานทิพย์ช้าง”
    จากความสำคัญของวิหารจามเทวีหลังนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทาน เกียรติบัตรให้แก่วิหารจามเทวีในฐานะสถาปัตยกรรมด้านอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม เมื่อปี พ.ศ. 2543
    วัดปงยางคกเป็นวัดโบราณที่มีอายุพันกว่าปี ยาวนานมากๆค่ะ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อปี พ.ศ.1253 เจ้าแม่จามเทวีกษัตริย์ผู้ปกครองนครหริภุญไชย(ลำพูน) เสด็จมาเยี่ยมพระเจ้าอนันตยศ...ราชบุตรมาครองนครเขลางค์ลำปาง ขณะที่่จะเดินทัพนำฉัตรทองไปบูชาพระธาตุลำปางหลวง ปรากฎช้างพระที่นั่ง หมอบยอบตัวลง พร้อมทั้งชูงวงในท่าคารวะ เจ้าแม่เห็นก็เกิดความอัศจรรย์
    จึงได้ให้มีการพักทัพ ณ บริเวณที่แห่งนี้ พอตกกลางคืน จึงทรงอธิษฐานว่า ถ้าสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขอให้เกิดปาฎิหารย์ขึ้น สิ้นคำอธิษฐานก็ปรากฎแสงฉัพพรรณรังษีแห่งพระบรมสารีริกธาตุ พวยพุ่งออกมาจากจอมปลวกแห่งหนึ่ง เจ้าแม่จามเทวี จึงได้สร้างมณฑปปราสาทขึ้น ครอบจอมปลวกไว้ ตลอดจนสร้างสิงห์คาบนาง สร้างกู่จ๊างนบ ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ก่อโขงประตูไว้พร้อมสรรพ พร้อมให้นามอารามแห่งนี้ว่า “วัดปงจ๊างนบ”
    ซึ่งหมายถึงวัดที่ช้างแสดงความเคารพ
    ต่อมาหลายร้อยปีนามนี้ก็เพี้ยนเป็น “วัดปงยางคก” วัดนี้มีความลำค่าทางพุทธศิลป์มากค่ะ
    ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนวิหารและกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 159 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2523 และได้รับการดูแลรักษาจากทางวัดและชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้บริเวณโดยรอบ สะอาด เรียบร้อย เป็นแบบอย่างของชุมชนที่มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ ที่ควรได้รับการยกย่องเป็นอย่างยิ่ง

ความคิดเห็น • 19

  • @หยดน้ํา-ภ8ฮ
    @หยดน้ํา-ภ8ฮ 2 ปีที่แล้ว +1

    ตามๆ

  • @nichnana4907
    @nichnana4907 2 ปีที่แล้ว +1

    งดงามมากค่ะ งานศิลปะ สมัยโบราณที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ยิ่ง ขอบคุณมากค่ะที่พาไปชม เปลี่ยนพิธีกรหรือเปล่าคะ? ดูเด็กลง สาวขึ้นค่ะ สวยขึ้น ขอชมนะคะ มีโอกาสจะไปตามรอยค่ะ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณค่ะ พิธีกรคนเดิมเจ้าประจำค่า😊🥰

    • @nichnana4907
      @nichnana4907 2 ปีที่แล้ว +1

      @@goodtotravel246เยี่ยมค่ะ ชอบมากค่ะ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  2 ปีที่แล้ว

      @@nichnana4907 ขอบคุณค่ะ

  • @siwapromtravel3299
    @siwapromtravel3299 2 ปีที่แล้ว +1

    ใช้เทคนิคอะไรในการถ่ายคลิปครับ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  2 ปีที่แล้ว +1

      ใช่โหมดภาพยนตร์ในโทรศัพท์ไอโฟน 13โปรค่ะ

    • @siwapromtravel3299
      @siwapromtravel3299 2 ปีที่แล้ว +1

      @@goodtotravel246 ขอบคุณมากๆครับ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  2 ปีที่แล้ว +1

      ติดตามดูอีกหลายคลิปนะคะที่ใช่หมวดภาพยนตร์ค่ะ

    • @siwapromtravel3299
      @siwapromtravel3299 2 ปีที่แล้ว

      @@goodtotravel246 ได้ครับผม

    • @siwapromtravel3299
      @siwapromtravel3299 2 ปีที่แล้ว +1

      ช่องของผมใช้โทรศัพท์ Android ธรรมดาท้ายครับ

  • @zatoemonkeyluv
    @zatoemonkeyluv 2 ปีที่แล้ว +1

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๗ ตรงกับ จ.ศ. ๑๐๔๖ ซุ้มประตูโขงของวัดปงยางคก จะเป็นซุ้มประตูโขง แบบวัดไหล่หินหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดห้างฉัตรหลวง และวัดเวียงหรือวัดศรีกลางเวียง อำเภอเถิน ลำปาง โดยมีองค์ ครูบาพระมหาป่าเจ้าเกสรปัญโญ แห่งวัดไหล่หินหลวง เกาะคา ได้นำช่างจากเชียงใหม่ และรัฐฉานเชียงตุง คราวที่เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง มาสร้างพระวิหาร ซุ้มประตูโขง และบูรณะองค์พระธาตุเจดีย์ ในปี พศ. ๒๒๒๖ ตรงกับ จ.ศ. ๑๐๔๕ ถวายแก่ครูบาพระมหาป่าเจ้าเกสรปัญโญ วัดไหล่หินหลวง ต่อมาทางวัดปงยางคกได้รื้อ สร้างซุ้มประตูแบบที่เห็นปัจจุบัน เป็นรูป ช้างนบ และทางวัดห้างฉัตรหลวง ก็ได้รื้อทั้งพระวิหาร ของครูบาพระมหาป่าเจ้าเกสรปัญโญ ในภายหลังโดยไม่ได้ทำการบูรณะพระวิหารพร้อมซุ้มประตูโขงเดิม และในคราวเดียวกัน องค์พระมหาป่าเจ้า แห่งวัดไหล่หินหลวง ได้ไปสร้างและบูรณะวัดอีกหลายวัดในลำปาง ปรากฏว่าท่านครูบายังได้ไปบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระเจ้าทันใจ ในเมืองลำปาง และปี พ.ศ. ๒๒๗๒ ครูบามหาป่าเจ้า ได้หล่อลำทอง(ปลีพระธาตุ) ใส่ยอดองค์พระธาตุลำปางหลวง อีกด้วย ขอเล่าความเป็นมาเพื่อเป็นวิทยาทานแก่อนุชนรุ่น ต่อ ๆ ไปเพื่อศึกษาค้นคว้าของสกุลช่างลำปาง ได้คัดจาก ประวัติวัดไหล่หินหลวง เปิดประตูสู่วัดไหล่หินถิ่นลานนา และประวัติวัดปงยางคก ของสามเณรดวงจันทร์ ครุขยัน (๔ กันยายน ๒๕๑๒) ก็มีด้วยประการฉะนี้แล ขอกราบอนุโมทนาสาธุ

    • @goodtotravel246
      @goodtotravel246  2 ปีที่แล้ว

      สาธุค่ะ

    • @nichnana4907
      @nichnana4907 2 ปีที่แล้ว +1

      สาธุ 🙏 กราบโมทนาบุญกับทุกท่านทุกองค์ค่ะ

  • @ตาสว่างครับผม
    @ตาสว่างครับผม 2 ปีที่แล้ว +1

    👍👍👍