เปิดโลกการชงชาเขียว ที่สุดในญี่ปุ่น ร้านในตำนาน 500 ปี 25 รุ่นแห่งนารา เที่ยวญี่ปุ่น Takayama Chasen

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ก.พ. 2021
  • วันนี้จะพาเพื่อน ๆ มาเปิดประสบการณ์ทดลองทำแปรงชงชามัทฉะกับช่างฝีมือระดับตำนานของญี่ปุ่น ที่ Suikaen Tanimura Yasaburo เมือง Takayama ในจังหวัดนารา ที่ใช้ทักษะและความชำนาญในการทำแปรงทุกชิ้นด้วยมือ การทำ Chasen นั้นต้องมีการใส่ใจในรายละเอียด และการทำมีขั้นตอนที่พิถีพิถันมาก ๆ กว่าจะมาเป็นแปรงชงชามัทฉะได้ในหนึ่งอัน กับองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดส่งต่อ ๆ กันมากว่า 500 ปี ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 25 แล้วและกำลังจะส่งต่อให้ผู้สืบทอดรุ่นที่ 26 ต่อ ๆ กันไป พร้อมเรียนรู้การชงชา และดื่มชามัทฉะ จากต้นตำรับญี่ปุ่นแท้ ๆ
    การทำ Chasen หรือไม้ไผ่ที่ใช้ทำชาเขียวที่มีการสืบทอดต่อ ๆ กันมาแบบรุ่นสู่รุ่น โดยใช้ไม้ไผ่ที่นำมาทำก็มีกรรมวิธีการทำทั้งการต้ม การตากให้แห้งเตรียมเพื่อนำมาทำ Chasen ต้องใช้เวลานานถึง 2 ปีกันเลยทีเดียว Chasen ทุกชิ้นเป็นงานที่ทำด้วยมือเท่านั้นเครื่องจักไม่สามารถทำได้ ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ที่บอกเลยว่าทำยากมากมาย ไม่ใช่แค่มีฝีมืออย่างเดียวเท่านั้น คนทำต้องมีทักษะที่ดี สายตาที่ดี และมีประสบการณ์ในการทำด้วยค่ะ
    ไม่ไผ่ทั่วโลกมีกว่า 600 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปแต่ละชนิด แต่สำหรับไม้ไผ่ที่ใช้ทำ Chasen ของที่นี่มี 4 ชนิดได้แก่ Hachiku (淡竹 ,はちく), Susutake (煤竹, すすたけ), shichiku (紫竹, しちく), Aodake (青竹, あおだけ) และ Madake (真竹, まだけ) ไม้ไผ่ที่ใช้ทำ Chasen ในวันนี้มีชื่อว่า ฮะจิกุ (Hachiku 淡竹 ,はちく) มีเนื้อสีขาว ตัวลำต้นไม่ใหญ่นักขนาดพอดีมือจับ แต่จริง ๆ แล้วไม้ไผ่ก็มีหลายสายพันธุ์ที่นำมาใช้เหมือนกันอย่างพันธุ์สีออกน้ำตาลดำมีชื่อว่า ชิจิกุ (shichiku 紫竹, しちく) ซึ่งไม้ไผ่ที่นำมาใช้ทำนั้นต้องผ่านการเก็บไว้หลายปีอย่างที่กล่าวไปข้างต้นจึงจะนำมาทำได้ อย่างในภาพที่เห็น ไม้ไผ่มีอายุ 150 - 200 ปี ซึ่งสีที่แตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่เก็บในสมัยก่อนจะเก็บในบ้าน แต่ละบ้านมีการหุงหาอาหาร ก็มีปัจจัยเรื่องอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องเลยทำให้ไม้ไผ่ที่เก็บไว้สีแตกต่างกัน ยิ่งเก็บไว้นาน ราคาก็ยิ่งแพงบางชิ้นก็เป็นหลักหมื่นเยนเลยทีเดียวค่ะ
    ถ้าเรามองกันดี ๆ จเห็นว่า Chasen แต่ละเส้นที่นั้นจะมีขนาด 0.4mm , 0.6mm ซึ่งเล็กและละเอียดมาก ๆ เหมือนกับเส้นผมมองด้วยตาเปล่าก็ไม่สามารถแยกได้ว่าขนาดเท่าไหร่ คนทำต้องมีทักษะจริง ๆ ซึ่งการทำจะตัดไม้ไผ่ให้มีขนาด 1mm แล้วจะใช้มือฉีกเส้นไม้ไผ่แบ่งออกเป็น 2 เส้นคือเส้นละ 0.4mm และ 0.6mm และกล่าวกันว่าไม้ไผ่ที่ดีนั้นจะมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นจึงทำให้ ไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบที่เหมาะต่อการทำ Chasen สำหรับ Chasen 1 ชิ้นจะใช้งานได้ประมาณ 500 ครั้ง เมื่อมีแขกมาเยือนชาวญี่ปุ่นมักจะใช้ Chasen อันใหม่มาชงชาในการต้อนรับแขก จึงทำให้บางบ้านต้องมี Chasen หลายอันเลยค่ะ
    Chasen ที่จำหน่ายในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มาจากที่เมือง Takayama ในจังหวัดนาราเสียส่วนใหญ่ และที่ Suikaen ผลิตได้ปีละ 12,000ชิ้น มีช่างฝีมือทั้งหมด 40 คน แต่ละคนผลิตได้วันละ 5 ชิ้นต่อวัน เนื่องจากเป็นไอเทมที่ต้องทำมืออย่างเดียวเท่านั้น เครื่องจักรไม่สามารถผลิตได้ เลยทำให้ Chasen มีราคาค่อนข้างสูง เมื่อใช้เสร็จแล้วก็ล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย และนำไปตากยังที่วาง Chasen เพื่อให้แห้งก่อนเก็บ และหลีกเลี่ยงการขึ้นรา
    เกร็ดความรู้เพิ่มเติม :
    พิธีชงชาในสมัยก่อนที่นิยมใช้รับแขก ห้องชงชามาตรฐานจะมีขนาด 4 เสื่อครึ่ง แต่บางห้องก็มีขนาดเล็กมาก ๆ แค่ 2 เสื่อก็มี ประตูสำหรับห้องชงชาส่วนใหญ่จะเตี้ยและบางห้องก็จะแคบมาก ๆ มีแค่ 2 เสื่อเพราะเนื่องจากสมัยก่อนเวลาซามูไรมาพบปะคุยกันหรือเจรจางานในห้องชา ก็อยากให้ทุกคนวางอาวุธไว้ข้างนอกก่อน และประตูที่เตี้ยกับห้องที่แคบจึงไม่สามารถนำอาวุธเข้ามาได้
    เวลาดื่มชา จะกินคู่กับขนมหวานญี่ปุ่นบ้างก็เป็นน้ำตาลก้อน บ้างก็เป็นขนมไส้ถั่วแดงจะมีรสหวานที่พอดื่มชาแล้วรสชาติจะกลมกล่อมลงตัวพอดี เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมก่อนดื่มชาต้องหมุนถ้วยด้วย สาเหตุที่ต้องหมุนถ้วยชาก็เพราะต้องการให้คนที่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามได้เห็นความงามของลวดลายของถ้วยชา ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจ้านายระดับสูงญี่ปุ่นเวลาชื่นชมนักชงชาท่านไหนก็จะเลี้ยงดู หรือตบรางวัลให้แก่นักชงชาผู้นั้นด้วยถ้วยชาลายสวยงามบ้าง หรือถ้วยชาเลอค่าบ้าง เหมือนกับกษัตริย์ในยุโรปที่ชื่นชมศิลปินนักวาดภาพก็จะตบรางวัลให้ เมื่อนักชงชาผู้นั้นกลับบ้านของตนก็อยากจะโชว์ถ้วยที่ได้ตบรางวัลมาให้แก่ผู้อื่น ให้ชาวบ้านเห็นด้วยก็เลยมีความจำเป็นต้องหมุนแก้วด้านที่สวยออกเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เห็นกัน นั่นเอง
    ค่าเข้าร่วมกิจกรรมทำ Chasen : เริ่มต้นที่ 3,500 เยน จะได้ Chasen ที่เราทำเองกลับไปเป็นที่ระลึก ต้องจองล่วงหน้าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ด้านล่าง
    🌐 รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: www.yasaburo.com/
    เว็บไซต์ : www.yasaburo.com/
    #ญี่ปุ่น #ชาเขียว #นารา

ความคิดเห็น • 64

  • @exploringengineeringworld1150
    @exploringengineeringworld1150 2 ปีที่แล้ว +1

    ตามหาความรู้เกี่ยวกับการทำchasen อยู่พอดีเลย ดีใจที่ได้เจอช่องนี้ค่ะ มีโอกาสจะต้องไปดูให้เห็นกับตาสักครั้ง มีคำถามเกี่ยวกับไม้ที่ทำเยอะเลยว่าสามารถดัดแปลงได้มั้ย

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  2 ปีที่แล้ว

      ดีใจที่ชอบคลิปของเรานะคะ เรื่องไม้ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ ลองสอบถามกับทางบริษัทอาจารย์ที่ทำได้ค่ะ เค้ามี IG ด้วยค่ะ

  • @s.punnee.6494
    @s.punnee.6494 3 ปีที่แล้ว

    เพิ่งรู้ว่ากรรมวิธีการผลิตไม้ชงชา ยากขนาดนี้เชียว ยังไม่มีโอกาสได้ดื่มชา จากพิธีกางชงชาญี่ปุ่นเลยค่ะ ปกติไม่ชอบกินชาเลยนึกรสชาดไม่ออกว่าชงแล้วมันจะอร่อยแบบไหน? เป็นกำลังใจค่ะ🇯🇵🇹🇭😍😍👍👍

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว +1

      รสชาแบบไม่มีน้ำตาล จะได้ความหอมของชาเขียว และเข้มข้นมาก ๆ แต่ถ้ากินคู่กับขนมหวานจะช่วยให้รสชาติเข้ากันได้ดีค่ะ

  • @isaosuzuki5341
    @isaosuzuki5341 3 ปีที่แล้ว

    ข้อมูลของอาจารย์สาวแซ่บและอปลุง ถึงระดับรายการทีวีที่มีคุณภาพดีแล้ว มีประโยชน์มาก

  • @lovejapan3659
    @lovejapan3659 3 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะสาวแซ่ป อปลุง แหมๆ งานละเอียดสวยงาม ก็ทำได้นะคะ สวยอยู่น๊า 🤔แต่ก็เห็นด้วยกับสาวแซ่ป ซื้อเหอะ🙄😜 ถ้าทำได้น่าภูมิใจอยู่👍 ถ้วยชาสวยมากๆจ้า😆

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ถ้าคนมีฝีมือก็น่าภูมิใจที่ได้ทำนะคะ ส่วนคนไม่ค่อยมีฝีมือแบบสาวแซ่บฯ ขอซื้อเป็นการอุดหนุนแทนดีกว่าค่ะ หุหุ

  • @supornkhantitumwong2676
    @supornkhantitumwong2676 3 ปีที่แล้ว

    ทั้ง2 ท่านพูดคุยเป็นแบยธรรมชาติดีค่ะ เข้าใจง่าย 👍👍

  • @BabyBabylovelove
    @BabyBabylovelove 3 ปีที่แล้ว

    ดีมากเลย ชอบคอนเทนต์ แบบนี้

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณที่ติดตามชมค่ะ

  • @user-rk1mq8ky7x
    @user-rk1mq8ky7x 3 ปีที่แล้ว

    Thank you for your nice voice, and intelligent family!

  • @torsakwanchana6146
    @torsakwanchana6146 3 ปีที่แล้ว

    ดูแล้วเสียว...กลัวมีดจะบาด
    ผูกเชือกลายธงชาติไทย...🇹🇭...😍

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว +1

      ใช่ค่ะ อาจารย์ให้มีดคล่องมาก

  • @nocountryforoldmen5070
    @nocountryforoldmen5070 3 ปีที่แล้ว

    เรื่องของวัฒนธรรมชงชาญี่ปุ่น ผมชื่นชอบมากเลยครับ ขอบคุณคลิปดีๆครับ 👍🏻

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่ติดตามชมนะคะ

  • @user-mc9zu3km5d
    @user-mc9zu3km5d 3 ปีที่แล้ว

    ขั้นตอนการทำ chasen ละเอียดมากค่ะ สมเป็นงานไม้ทำมือญี่ปุ่นแท้ เพิ่งเห็นไม้ไผ่หลายพันธุ์(หลายสี)ก็ตอนนี่แหละค่ะ อาจารย์มัดเชือกสีธงชาติไทยให้พี่ๆทีมงาน เห็นแล้วไม่กล้าใช้สมบุกสมบันแทน
    เปิดประสบการณ์ handmade แบบลืมไม่ลง ชอบบบบบค่ะ

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ใช่ค่ะ ได้เห็นสินค้า ได้ทราบเรื่องราว รู้เลยค่ะว่าฉะเซ็น หนึ่งชิ้นทำไมราคาสูง

  • @TOM-xr6ri
    @TOM-xr6ri 3 ปีที่แล้ว

    🧘🧘🧘ฝึกสมาธิดีมากเลยค่ะ💚

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ใช่ค่ะ มือต้องนิ่งด้วยค่ะ

  • @pomo8845
    @pomo8845 3 ปีที่แล้ว

    ขั้นตอนละเอียดมาก ถ้าอยากได้ซื้อเค้าดีที่สุด

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ถ้าลองแล้วไม่โอเค ก็อุดหนุนความตั้งใจของคนที่เค้าตั้งใจทำดีกว่าเนอะ อิอิ

  • @achitaka25
    @achitaka25 3 ปีที่แล้ว

    สนุกมากครับ ดูปราณีตมาก

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ใช่ค่ะ ใส่ใจมาก ๆ เลยค่ะ

  • @user-mx7wv8ch6r
    @user-mx7wv8ch6r 3 ปีที่แล้ว

    ดีงามมากๆค่ะ/แซ่บ/อปคลิปนี้ถูกใจจังค่ะเพราะเป็นคอชาจีน/ชาเขียวค่ะ... เพิ่งรู้ค่ะว่าไม้คนชามันทำยากนี่เองราคาถึงได้แพงอ่ะ​//สมราคาเค้าค่ะต้องมีสมาธิ​/ประณีต/ละเอียด​อ่อน.. ฝีมือ​จริงๆค่ะ... ชอบค่ะถูกใจ.. 👍👍👍🤟🥰🎌💞

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ดีใจที่ชอบคลิปนี้นะคะ ขอบคุณค่ะ

  • @user-vx4zy3yw6n
    @user-vx4zy3yw6n 3 ปีที่แล้ว

    สวยมากคับเหมือนคนทำเลย

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      อัยยะ ...อยู่เป็นนะคะเนี่ย หุหุ

  • @shutnalinkoolatutputrasiri9509
    @shutnalinkoolatutputrasiri9509 3 ปีที่แล้ว

    สวัสดีทั้ง2คนครับ

  • @SingleMomKoranit
    @SingleMomKoranit 2 ปีที่แล้ว

    ตอนนี้กำลังศึกษา เรื่องการคั่ว ชาเกนไมฉะ ค่ะ มีคลิปให้ชมไหมคะ ตั้งแต่นำข้าวกล้องไปอบไอน้ำ ก่อนคั่ว แล้วผสมกับชา เกนไมฉะ ..ขอบคุณคลิปดีๆ ค่ะ

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  2 ปีที่แล้ว

      ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ ต้องลองหาดูใน google นะคะ

  • @user-nf9no1ul9y
    @user-nf9no1ul9y 3 ปีที่แล้ว

    สวัสดีคะทั้ง 2 ท่าน วิธีการทำละเอียดมากฝีมือสุดยอด ได้เคยไปชงชาเขียวมาแล้วตอนไปเที่ยว
    ชอบมากเลยค่ะอร่อยด้วย

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ดีจังค่ะ ได้ประสบการณ์ด้วยเนอะ

  • @shutnalinkoolatutputrasiri9509
    @shutnalinkoolatutputrasiri9509 3 ปีที่แล้ว

    สวัสดีอปลุงกับสาวแซ่บครับ

  • @giftlavender1472
    @giftlavender1472 2 ปีที่แล้ว

    อยากให้เพิ่มคอนเทนต์ไร่ชา การผลิตมัตจะ ผลิตchawan ค่ะ รอชมนะคะ💜💚

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  2 ปีที่แล้ว +1

      ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอให้ชมนะคะ

  • @thaijapan5957
    @thaijapan5957 3 ปีที่แล้ว +1

    แม่ย่าก็เป็นอาจารย์สอนชงชาในโอซากะเขตซาไก เพิ่งเสียเมื่อกลางปีก่อน อุปกรณ์และถ้วยชาแม่เยอะมากเก็บไว้ให้เด็กรุ่นหลังดู

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      โอ้ว ดีจังค่ะ

  • @sripraphaeksitthikul6481
    @sripraphaeksitthikul6481 3 ปีที่แล้ว

    สวัสดีค่า สาวแซบ และ อปลุง อยากทราบว่า ใช้เวลานานไม๊คะในการทำไม้ชงชา

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ถ้าเป็นคอร์สแบบพวกเราก็ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม. หรืออาจจะเร็วกว่านี้ค่ะ เราชวนอาจารย์คุยเลยนานค่ะ

  • @supattradan8150
    @supattradan8150 3 ปีที่แล้ว

    ละเอียดอ่อนมากๆค่ะ อยากเห็นการทำเสื่อทาตามิบ้างจัง ขอบคุณมากๆที่พามาชมนะคะ

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ถ้ามีโอกาสดี ๆ ได้ไปชมการทำเสื่อทาตามิ จะทำคลิปมาให้ชมนะคะ

  • @oOMimizOo
    @oOMimizOo 3 ปีที่แล้ว

    ดูแล้วยากจัง แต่ก็ให้แง่คิดที่ดี จะทำอะไรต้องมีความอดทน ไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ 👍😅

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ใช่เลยค่ะ แต่ที่แน่ ๆ ฝึกสมาธิ และทำให้เรามีความพยายาม

  • @karnjapan
    @karnjapan 3 ปีที่แล้ว

    面白い

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่ติดตามชมนะคะ

  • @arayaha-upala3397
    @arayaha-upala3397 3 ปีที่แล้ว

    กินอาหารเช้า พร้อมชมศิลปะการทำที่ชงชา ตบท้ายด่วยศิลปะการชงชาและวิธีกินชา กะ ของหวาน ซู้ดบอดดดด

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      555 ครบรสเลยค่ะวันนี้

  • @GM-gf2rx
    @GM-gf2rx 2 ปีที่แล้ว

    มีอุปกรณ์ชงทุกอย่าง เคยหัดลองตีชาแล้ว กระจายเต็มพื้นเลย 555

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  2 ปีที่แล้ว +1

      ต้องหัดบ่อย ๆ ค่ะ

  • @sassypearry
    @sassypearry 3 ปีที่แล้ว +1

    Wow now I understand why Japanese bamboo whisks are so pricey.

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      Thanks for watching. Due to all of product made by hand and raw material keep for a long time.

  • @salisa1789
    @salisa1789 3 ปีที่แล้ว

    ตอนร้อยเชือกอาจตาเหล่โดยไม่รู้ตัวนะคะ

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว +1

      นั่นนะสิคะ ตาลายมาก ๆ

  • @user-sc4xb2is4s
    @user-sc4xb2is4s 3 ปีที่แล้ว

    25 รุ่น วุ่นวาย สายชงชา
    แห่งนารา วงการ ด้านชาเขียว
    ตำ ซะ นาน ตั้ง 5 00 ปีเชียว
    เรียนครั้งเดียว ไม่เห็น จะเป็นเอย
    เบื้องหลังการถ่าบทำคงจะเงอะๆงะๆแน่เลย
    ใช่ไหมครับพี่?

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว

      ไม้ชงชา ว่ากันว่า ราคาสูง
      เห็นคุณลุง ทำไม้ชง คงได้สอน
      ดูเหมือนง่าย แต่ทำจริง ต้องวิงวอน
      ครูคนสอน ช่วยหนูด้วย ช่วยพัน(ด้าย)ที
      ทำยากค่ะ งานฝีมือที่เราไม่ถนัดเลย ตาคนทำต้องดีมาก ๆ และมือต้องนิ่งด้วยค่ะ แต่ก็สนุกดี ครั้งหนึ่งในชีวิต

  • @kentakeda9424
    @kentakeda9424 3 ปีที่แล้ว

    กว่าจะทำเสร็จ...
    หน้ามืด

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว +1

      เค้าถึงบอกว่า งานฝีมือเนอะ หุหุ

  • @zantumsanzen_tatum9146
    @zantumsanzen_tatum9146 3 ปีที่แล้ว

    เป็นศาสตร์ที่ละเอียดอ่อนมากๆ

    • @KrobkruengJapan
      @KrobkruengJapan  3 ปีที่แล้ว +1

      ใช่เลยค่ะ ทึ่งในกรรมวิธี และชอบความใส่ใจละมุนละไม