เพลงทยอยเดี่ยว ขับร้องโดยครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ4591

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 3 ธ.ค. 2023
  • กระบวนเพลงคีตศิลป์ไทยที่เปนเพชรน้ำเอกอันล้ำค่ายิ่งของสยามประเทศ ในญาณทัศนะของข้าพเจ้าผู้คร่ำหวอดในการขับร้องเพลงไทยมาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี ได้ตระหนักเปนอย่างดีแลถี่ถ้วนแล้วว่า นอกจากเพลงแขกมอญ เพลงเทพบรรทมแลเพลงพญาโศก ก็ต้องยอยกให้เพลงทยอยเดี่ยวเปนเพลงที่มีคุณลักษณะอันพิสุทธิ์พิเศษยิ่งในกระบวนการขับร้องเพลงไทย เปนที่แน่นอนว่าผู้ที่สามารถขับร้องเพลงไทยทยอยเดี่ยวได้ถึงแก่นแท้ของบทเพลงตามเนื้อหาสาระแลปณิธานของคีตกวี ต้องเปนผู้ที่สามารถกระทำกลวิธีของคีตศิลป์ได้ครบถ้วนแลงดงามในทุกแง่มุมของเพลงนั้น ๆ ได้เปนอย่างดี บทเพลงที่ขับร้องจึงมีความงดงามแลทรงคุณค่า สิ่งสำคัญที่ประเสริฐยิ่งของการขับร้องเพลงไทยคือการที่ผู้ขับร้องสามารถสำแดงบทบาทของผู้ขับร้องออกมาสู่สายตาของผู้ชมแลผู้ฟังได้ เปนการยากที่จะใช้วาทกรรมแห่งการอวยยศ ซึ่งปรากฎอยู่เนือง ๆ ในวงการดนตรีไทยในปรัตยุบัน มาเปนเครื่องเคลือบย้อมให้หลงผิดคิดว่าของทรามเปนของงามได้ ประดุจเพชรย่อมเปนเพชรหาได้เปนเม็ดกรวดเม็ดทรายไม่ เปนสัจธรรมที่ทำให้เห็นว่าผู้รู้จริงย่อมสำแดงได้ไปตามธรรม
    ย้อนเพลากลับไปเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา บทเพลงทยอยเดี่ยวทางขับร้องนั้นถือได้ว่าเปนบทเพลงที่หาฟังได้ยากยิ่ง แต่ทว่าข้าพเจ้านั้นมีความโชคดีเปนล้นพ้น ด้วยตั้งแต่ได้เข้ามาเรียนวิชาคีตศิลป์ไทยกับพระคุณแม่(คุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต) ก็ได้รับความกรุณาให้ได้ฟังแลทราบเรื่องราวประวัติความเปนมาของทางขับร้องเพลงนี้จากท่านเปนอย่างดี โดยทางขับร้องเพลงทยอยเดี่ยวนี้ได้สืบทอดมาทางสายของสำนักท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) โดยคุณครูจันทนา พิจิตรคุรุการ เปนผู้ได้รับการถ่ายทอดแลได้มอบไว้ให้กับคุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ ตั้งแต่ครั้งที่ได้ร่วมงานกัน ณ คุรุสภา โดยพระคุณแม่ได้เก็บรักษาแลหวงแหนไว้เปนสมบัติอันล้ำค่ามาเนิ่นนานหลายสิบปี จนกระทั่งได้ขับร้องบันทึกเสียงเผยแพร่ไว้ในบั้นปลายชีวิตของท่าน นับเปนแบบอย่างที่ดีของการธำรงรักษาแลต่อยอดสมบัติทางศิลปะวัฒนธรรมของชาติ ที่ได้สร้างสรรค์ไว้ตั้งแต่ยุคของท่านครูพระประดิษฐไพเราะ(มี ดุริยางกูร) เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาจนเถิงปรัตยุบัน
    สำหรับแถบบันทึกเสียงเพลงทยอยเดี่ยวที่ท่านกำลังสดับตรับฟังอยู่นี้ เปนเสียงการขับร้องของคุณครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ แลต่อด้วยการบรรเลงเดี่ยวซอสามสายฝีไม้ลายมือของคุณครูหลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดูรยชีวิน) ร่วมกับคุณครูโชติ ดุริยประณีต บรรเลงกลองสองหน้า แลคุณครูโองการ กลีบชื่น บรรเลงฉิ่ง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๙ เปนแถบบันทึกเสียงประวัติศาสตร์ที่ศาสตราจารย์นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ได้รับมาจากคุณครูเสรี หวังในธรรม ศิลปินแห่งชาติ เมื่อครั้งที่ได้ผลิตรายการสังคีตสยามเพื่อเปนคีตานุสรณ์แด่การจากไปของคุณครูหลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดูรยชีวิน) เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๘ โดยเปนผลงานการบันทึกเสียงการแสดงสด ณ กรมศิลปากร ในบั้นปลายชีวิตของคุณครูหลวงไพเราะเสียงซอที่มิได้มีการซักซ้อมมาก่อน โดยท่านอาจจะได้ยินเสียงของคุณครูหลวงไพเราะฯ บอกกับเครื่องประกอบจังหวะให้ตียืนจังหวะไว้เปนสำคัญ นับเปนเสียงแห่งอัจฉริยะบุคคลอันหาได้ยากยิ่งของวงการดุริยางคศิลป์ไทย แลเปนความภาคภูมิใจที่ข้าพเจ้าขอนำมาเผยแพร่ไว้เปนหิตานุหิตอุทิศแด่บรมครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระคุณยิ่งทุกท่าน ดังนี้.
    ห้องสมุด ตำรา แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียงแลภาพถ่าย คุณวริศ อัศวะไพฑูรย์4591

ความคิดเห็น • 1

  • @user-dp3jb7yv5e
    @user-dp3jb7yv5e หลายเดือนก่อน

    🌶🌶🌶🌶🌶🌶🌶🌶🌶90