220567 สุพรรณบุรีสีสันงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านดอนคาหนึ่งเดียวของสุพรรณบุรี

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 พ.ค. 2024
  • สุพรรณบุรีสีสันงานสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ บ้านดอนคาหนึ่งเดียวของสุพรรณบุรี
    ผู้นำชุมชน ชาวบ้านตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้นที่บริเวณลานสี่แยกบ้านตีนเป็ด-บ้านสระกร่าง ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง
    สำหรับประเพณีบุญบั้งไฟ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนคา ร่วมกับวัดโพคาราม ชาวบ้านตำบลดอนคา และผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน ได้ร่วมกันจัด ต่อเนื่องตามประเพณีโบราณ ของชาวตำบลดอนคา ซึ่งจะจัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการบูชาพระยาแถนและเทวดา ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำไว้ทำการเกษตร ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวตำบลดอนคา
    ประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ชาวบ้านตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง ได้ร่วมกันจัดต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 เวลา 17.30 น. ขบวนแห่บั้งไฟเอ้ จาก 20 หมู่บ้าน ตำบลดอนคา วัดโภคาราม วันที่ 22 พฤษภาคม ขบวนแห่บั้งไฟออกจากวัดโภคาราม (ดอนคา) มายังบริเวณที่จุด มีการแสดงดนตรีพื้นบ้าน การแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียงบ้านดอนคา และชุมชนทั้ง 20 หมู่บ้านของชาวตำบลดอนคา ณ บริเวณสี่แยกตีนเป็ด
    สำหรับกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสืบสานประเพณีและความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนตำบลดอนคา ที่จัดสืบทอดกันมากว่า 100 ปี เป็นหนึ่งเดียวของจังหวัดสุพรรณบุรี รวมถึงยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรีให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชนอีกด้วย สำหรับบั้งไฟที่นำมาจุดนั้นเป็นบั้งไฟเล็กไม่ ใช้ท่อพีวีซี ไม่เป็นอันตราย ไม่มีการแข่งขัน และไม่มีการพนัน เป็นบั้งไฟของแต่ละหมู่ นำมาจุดเพื่อถวายพระยาแถน และเพื่ออนุกรักษ์ประเพณีบุญบั้งไฟให้คงอยู่สืบไป
    ไฮไลท์ ของงานจะมีนางรำแต่ละหมู่แต่งชุดไทยพื้นถิ่น ชุดลาวเวียง สวยงาม มาร่วมขบวนแห่ และรำเชียร์ช่วงที่จุดบั้งไฟ นอกจากนี้ยังได้มีการน้ำไม้ท่อนทำเป็นปลัดขิกทาหัวสีแดง มีทั้งเล็กและใหญ่ บางคน มาเป็นหาบ เป็นการสร้างสีสัน ให้กับคนที่มาร่วมงานได้ยิ้มได้หัวเราะ และได้พบปะพูดคุยเชื่อมความสามัคคีและสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันด้วย
    ภัทรพล พรมพัก สุพรรณบุรี

ความคิดเห็น • 1

  • @phonbunthrik-2372
    @phonbunthrik-2372 7 วันที่ผ่านมา

    หลายคนยังไม่รู้ว่าที่สุพรรณบุรีมีหมู่บ้านที่แป็นคนไทยชื้อสายลาว