โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จัดคลิปประชาสัมพันธ์เรื่อง "โรคฮีทสโตรก" ภาษาอีสาน เข้าใจง่าย..ไว้ไปปฎิบัติครับ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 8 เม.ย. 2024
  • 🚑#แจ้งเหตุฉุกเฉิน 1669
    🥵สัญญาณเตือน #ฮีสโตรก โรคอันตรายที่มากับอากาศร้อนจัด
    ☀️วิธีสังเกตอาการ
    -อุณหภูมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อออก
    -ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง
    -กระหายน้ำ
    -ใจเต้นแรง เป็นลม ชักหมดสติ
    🔥วิธีป้องกัน
    -สวมเสื้อผ้าบางๆ อยู่ในที่ๆมีอากาศถ่ายเทสะดวก
    -ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6-8 แก้วต่อวัน
    -ถ้าเล่นกีฬาเกิน 1 ชั่วโมง ควรดื่มเกลือแร่
    -หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมกลางแจ้ง
    ___________🥴🥵😶‍🌫️🌞🔥_____________
    #ฮีทสโตรก โรคลมแดด ดูแลตัวเองให้ห่างไกลเมื่อต้องอยู่ในที่โซนร้อน
    ในช่วงเดือนเมษายนหรือฤดูร้อน หลายจังหวัดในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนติด 1 ใน 15 ของเมืองที่ร้อนที่สุดในโลก อากาศที่ร้อนจัดทำให้เสี่ยงต่อโรคลมแดด โรคที่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งในปี 2561 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคฮีทสโตรกถึง 18 ราย และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะอากาศร้อนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
    โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร?
    ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการหรือไม่สามารถระบายความร้อนออกได้มากกว่า 2 ชั่วโมง อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ ซึ่งหากได้รับการรักษาที่ล่าช้า ก็มีอันตรายถึงชีวิตได้!
    #สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก ที่ควรระวัง
    ตัวร้อนมาก อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
    ผิวหนังแห้งและร้อน ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก
    ความดันโลหิตลดลง
    หัวใจเต้นเร็วมาก ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็ว
    กระหายน้ำมาก
    วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง หน้ามืด
    คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
    อาจถึงขั้นชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป
    #ใครที่มีความเสี่ยงโรคลมแดด ( Heatstroke )
    เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนหนุ่มสาว
    ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
    ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
    ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
    ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักกีฬากอล์ฟ เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
    ผู้ที่ทำงานออฟฟิศ ที่ทำงานในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
    ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม และในสภาพอากาศที่ร้อนจัด
    แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้
    พบคนเป็นลมแดด ควรดูแลให้ดีก่อนนำส่งโรงพยาบาล
    รีบนำคนป่วยเข้าไปอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด เพื่อลดอุณหภูมิในร่างกายลง
    ให้คนป่วยนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
    คลายเสื้อผ้าให้หลวม เพื่อระบายความร้อนได้ไวขึ้น
    ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด
    หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
    #วิธีป้องกันตัวเองจากโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก
    หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด
    สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา ระบายความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้
    จิบน้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน ถึงแม้ไม่กระหายน้ำก็ตาม เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิร่างกาย
    หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา รวมถึงกาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
    อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง ความร้อนภายในรถจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสูงมาก เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ไม่ควรอยู่ในที่อากาศร้อนและไม่ควรอยู่ตามลำพัง
    สำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย แนะนำออกกำลังกายในที่ที่อากาศถ่ายเท ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง
    #ผู้ที่มีโรคประจำตัวหากมีอาการผิดปกติ หรืออาการที่บ่งบอกตามข้างต้น ขอให้รีบพบแพทย์โดยทันที
    🧃รักษาสุขภาพดูแลคนรอบข้างให้ปลอดภัยนะครับ

ความคิดเห็น •