Physics : ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส : ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 พ.ค. 2024
  • ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
    ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ ใช้อธิบายสมบัติของก๊าซ เสนอว่า
    1. ก๊าซประกอบด้วยโมเลกุลที่มีขนาดเล็กมากและอยู่ห่างกัน และไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน
    2. แต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงอยู่ตลอดเวลาด้วยอัตราเร็วคงที่ (แต่ไม่จำเป็นต้อง เท่ากัน) จนกระทั่งชนกันเองหรือชนผนังภาชนะที่บรรจุ จึงจะเปลี่ยนทิศทางและอาจเปลี่ยนอัตราเร็วด้วย เมื่ออุณหภูมิคงที่อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของก๊าซชนิดหนึ่ง ๆ จะ คงที่
    3. โมเลกุลของก๊าซมีพลังงานจลน์ค่าหนึ่ง Ek = 𝟏/𝟐 𝒎𝒗^𝟐
    4. เมื่อโมเลกุลชนกันหรือชนผนังภาชนะ อาจจะมีการถ่ายพลังงาน แต่ไม่มีการสูญเสียพลังานรวม
    5. ที่อุณหภูมิเดียวกัน ก๊าซทุกชนิดจะมีพลังงานจลน์เฉลี่ยเท่ากัน พลังงานจลน์เฉลี่ยของก๊าซ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน
    ก๊าซที่มีสมบัติครบถ้วนตามทฤษฎีจลน์เรียกว่า ก๊าซสมบูรณ์ ซึ่งไม่มีจริง ก๊าซจริงอาจมี สมบัติใกล้เคียงกับก๊าซสมบูรณ์ได้ ถ้าอยู่ในระบบที่อุณหภูมิสูงและความดันต่ำ ก๊าซ ส่วนใหญ่โดยเฉพาะก๊าซเฉื่อยที่อุณหภูมิห้อง ความดัน 1 บรรยากาศ มีสมบัติใกล้เคียง กับก๊าซสมบูรณ์
    ผู้เขียน : อ.บัวแก้ว รัตนกมุท
    ที่มา : โครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษภาคฤดูร้อน BRAND'S SUMMER CAMP'97

ความคิดเห็น •