ระบำดาวดึงส์ - ชมรมนาฏศิลป์ และวงพรพนรัตน์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 ธ.ค. 2018
  • งานเสนาะเสียงมโหรี ฟังดนตรีในสวน ครั้งที่ 1
    วันที่ 15 มิถุนายน 2561
    อำนวยการแสดง - บรรเลง
    ดร.ปรเมษฐ์ โมลี ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
    ควบคุมการฝึกซ้อมโดย
    ฝ่ายดนตรี
    อาจารย์นงค์ลักษณ์ ฉิมพาลี
    อาจารย์เอกสิทธิ์ การคุณี
    อาจารย์เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี
    อาจารย์ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์
    อาจารย์สมพร ตรีเดชี
    อาจารย์วาทิต นวลฉาย
    ฝ่ายนาฏศิลป์
    อาจารย์ลัดดา ฉิมพาลี
    อาจารย์พรพิมล พันธุ์พืช
    อาจารย์ปิยะ แสงทับ
    อาจารย์สุกัญญา คนจริง
    ขอขอบคุณ
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษยา ชิดท้วม
    อาจารย์พัฒนี พร้อมสมบัติ
    อาจารย์ชัยภัค ภัทรจินดา
    อาจารย์นิธิ ศรีสว่าง
    รายนามผู้บรรเลง และแสดง
    ผู้แสดง นางสาวทรรษพร ศรีเมฆ
    นางสาวบัว สินบัวทอง
    นางสาวมินญาฎา เนตรครุฑ
    นางสาวธัญรัศม์ บุรทัตเธียรพงษ์
    ขับร้อง นางสาวศิรนภา ชัยประภา
    นางสาวกลันทิกา อมรวรสิน
    นายธนวัฒน์ ยังทน
    นางสาวณัฐชนัน เกษธำรง
    นางสาวฟ้างาม บัวลอย
    นายนัทธวัฒน์ สมภักดี
    ระนาดเอก นางสาวพัชนิดา บูรพงศ์
    ระนาดทุ้ม นางสาวณัฏฐา ไพบูลย์รัตนากร
    ฆ้องวงใหญ่ นายกิตตินันท์ หิรัญพฤกษ์
    ฆ้องวงเล็ก นายกษิดิ์เดช อยู่เจริญ
    ตะโพน นายก้องเกียรติ จรพงษ์
    กลองทัด นายชินาวัตร ประฐมธานี
    ขลุ่ย นายอิสิทัต พันธุ์พงศ์พิพัฒน์
    ซออู้ นายฐิติพัฒน์ ซีประเสริฐ
    ฉิ่ง นางสาวณิชชยา กิจเจริญ
    กรับพวง นางสาวทรรศญา ตลับเพ็ชร
    ระบำดาวดึงส์
    เป็นระบำที่ได้ประดิษฐ์ปรับปรุงขึ้น เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่วงทำนองมีทั้งจังหวะช้าและเร็วตามลำดับ กล่าวกันว่าท่ารำที่ผู้แสดงยกมือประสานไขว้ไว้ที่ทรวงอก พร้อมทั้งขยับฝ่ามือขึ้นลงเป็นจังหวะพร้อมกับเต้นย่ำเท้า เป็นท่ารำที่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี โดยเลียนแบบมาจากท่านเต้นทุบอกในพิธีเจ้าเซ็นของชนนับถือศาสนาอิสลามนิกายเจ้าเซ็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์บทร้องขึ้นประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี บทร้องพรรณนาถึงความสวยสดงดงามเทพบุตรเทพธิดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และทิพยสมบัติอันมโหฬารตระการตาขององค์อัมรินทร์ นอกจากนี้ยังได้ทรงปรับปรุงท่วงทำนองเพลงและดนตรี ลีลาท่ารำประกอบบทร้องของระบำชุดนี้ หม่อมเข็ม กุญชรฯ ได้ปรับปรุงขึ้นจากท่ารำเจ้าเซ็น ของเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี รวมทั้งลีลาท่ารำ นับเป็นนาฏศิลป์ที่มีศิลปะสวยงาม เป็นแบบแผนได้อีกชุดหนึ่ง
    ปี่พาทย์ทำเพลงเหาะ
    ร้องตะเขิ่ง
    ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
    สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง
    เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
    นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองแลเพชรนิล
    ร้องเจ้าเซ็น
    สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์
    รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา
    อันอินทรประสาททั้งสาม ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
    สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
    ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด บราลีที่ลดมุขกระสัน
    มุขเด็ดทองดาษกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนท
    ราชยานเวชยันรถแก้ว เพริศแพร้วกำกงอลงกต
    แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
    รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย
    ดุมพราววาววับประดับพลอย ประแหลกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
    เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดังสีสังข์
    มาตลีอาจจะขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา
    ปี่พาทย์ทำเพลงรัว

ความคิดเห็น •