ตำนาน "พระร่วง" แห่งเมืองนครไทย : เรื่องนี้มีตำนาน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ก.ย. 2024

ความคิดเห็น • 7

  • @ritiprongparigran1382
    @ritiprongparigran1382 หลายเดือนก่อน

    นครไทยมีกำแพงเมืองที่ทำด้วยดินด้วยนะครับลองไปค้นหาดูครับหลังบ้านตาเหิน

  • @สุริยะจําปาสา-ล5ล
    @สุริยะจําปาสา-ล5ล 2 ปีที่แล้ว +2

    นคร ไ ทย

  • @naPakhai
    @naPakhai ปีที่แล้ว

    ขอบคุณ ... ได้ฟังสำเนียงคนเก่าคนก่อนพูด ภาษาถิ่นแท้ๆ

  • @กําธรเสนจันทร์ฒิไชย-ฑ7ค

    ตอนที่ 3 นครไทยยุคโบราณ จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีพบว่า“นครไทย”มีพัฒนาการตั้งแต่เป็นชุมชนขนาดเล็ก ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมอารยธรรมความเจริญ เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ หลักฐานเกี่ยวกับเมืองนครไทย เช่น ศิลาจารึกวัดสระศรี(หลักที่ 38)ลักษณะลักพาโจร กล่าวถึงเมืองนครไทย(บรรทัดที่ 5-10)ว่า..พีพรญาทานพงงนคอรไทย / จารึกวัดบูรพารามหลักที่ 286 ด้านที่ 1 กล่าวถึง..“เบื้องข้างหนอุดรลุนครไทปุพเพนครเทยย จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่า เมืองนครไทยเป็นเมืองที่ปรากฏชื่ออยู่ในทำเนียบของเมืองอยู่ในอาณาเขตการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีได้ปรากฏการสร้างสรรค์วัฒนธรรม เช่น พระพุทธรูปสำริดศิลปะสุโขทัย เครื่องถ้วยตะครันใช้ใส่น้ำมันตะเกียง พบเครื่องเคลือบถ้วยสีขาวสีเขียวในสมัยราชวงค์ซุงและราชวงค์หยวนของจีนและพบเครื่องเคลือบอันหนำของเวียดนาม มีแหล่งเตาเผา และมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับเมืองอื่น ๆ
    แผนผังเขียนโดยอาจารย์ปราณี แจ่มขุนเทียน รูปสลักที่ผากระดานเลข อ.ชาติตระการ
    มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับชุมชนในต่างแดนค้นพบซากกำแพงดินล้อมเมืองโบราณเป็นรูปยาวรี 3 ชั้นสลับกับคูเมือง กำแพงดินนี้มีความกว้างถึง 4 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างเป็นแนวป้องกันกันน้ำท่วม เพราะตัวเมืองตั้งอยู่บนที่ราบหุบเขา มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านเข้าไปในตัวเมืองและวกออกไปในพื้นที่รอบนอก
    ตอนที่ 4 ชุมชน“นครไทย”มาจากเมืองหลวงพระบาง “จารึกวัดศรีชุม” หรือ “จารึกสุโขทัยหลักที่ 2” ตอนหนึ่งกล่าวถึง..ลูกพขุนสรีนาวนำถํผูนี พรญาผาเมิองเปนขุนในเมิองราด ก ลงแสนชางหมากรอบบานเมิองอ กหลวงหลายแกกํ เมิอกอนพขุน บางกลางทาว ไป เมิองบางยาง..ฯ..สันนิษฐานว่า..มาสร้างบ้านแปงเมืองราวปีพ.ศ.1630 ข้อมูลทางนิรุกติศาสตร์ ภาษาถิ่นคนนครไทยสำเนียงคล้ายคนด่านซ้ายเมืองเลยและภาษาลาวหลวงพระบางล้านช้าง (อ้างอิง; พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 1 ตอนต้น , 2506 หน้า 136 - 316)จากวารสารอารยธรรมศึกษาโบราณคดี “ลุ่มนํ้าบนเส้นทางโขง-น่าน” ธีระวัฒน์ แสนคำ , ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2553) ว่า..ฯ..พบเส้นทางเก่าแก่มีร่องรอยการเดินทางของผู้คนจากลุ่มน้ำโขงสู่ลุ่มน้ำน่านไม่น้อยกว่า 2,000 ปีมาแล้วหนึ่งในสามเส้นทางคือ จากลุ่มน้ำโขงบริเวณปากน้ำเหื่อง (อ.เชียงคาน) ถึง ลุ่มน้ำหมัน(อ.ด่านซ้าย ณ ที่ตั้งพระธาตุศรีสองรัก) ก็จะถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำเฟี้ยเมืองนครไทย และสามารถไปถึงชุมชนลุ่มน้ำป่าสักสู่เมืองลุ่มเมืองหล่มเมืองบาจายศรีเทพ(อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์)จากหนังสือศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ 2549 หน้า 71 เรื่อง “เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอิสาน” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ..กล่าวว่า..บรรพบุรุษของชาวนครไทย มาจากรัฐล้านช้างที่เป็นกลุ่มไท(ยวน)ไทลาวได้เคลื่อนขยายเข้าสู่อีสานพร้อมกับประเพณีผีฟ้าพญาแถน บางกลุ่มได้เคลื่อนย้ายไปทางลำน้ำแควน้อยที่แอ่งนครไทย บางกลุ่มไปทางลำน้ำยมของเมืองเชลียง-ศรีสัชนาลัย-สุโขทัย ทั้งภาษา-วัฒนธรรมและหน้าตาและมักจะเรียกตนเองเป็น"ลาว"จึงประจักษ์ได้ถึงความยิ่งใหญ่ของชุมชนเล็กๆแห่งนี้ ว่าเป็นรากเหง้าดั้งเดิมของชนชาติไทยอย่างแท้จริง..ฯ

    • @jaitipnirvana7753
      @jaitipnirvana7753 ปีที่แล้ว

      💖💖💖

    • @tatiyachaiyamas1158
      @tatiyachaiyamas1158 ปีที่แล้ว

      คนไทย ก็ปะปนกันไปหลายเชื้อชาติเเหละครับ