ใส่ Diode กันย้อนได้ครับ DC มีทิศทางการไหลที่แน่นอน ถ้ากลัวมันย้อนจากแบตไป Power ใส่ Diode กันย้อนจะเป็น One way ครับ ตัวใหญ่หน่อยนะ ตามขนาดกระแสใช้งาน
ใช้กับแบตเตอรี่ DC ทุกชนิดเลยครับ ปรับ V ตามที่จะใช้กับแบตแต่ละขนาดได้เลย จุดสำคัญอยู่ที่ Switching power supply จะต้องจ่ายไฟได้สูงสุดเท่ากับ หรือมากกว่าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเราต้องการครับ
กี่ A ต้องดูว่าคุณใช้งานรวมๆ กี่ Watt ครับ ถ้าวัดการใช้งานสูงสุดที่ขาออก 220V เป็น W แล้ว ให้เอามาคำนวณเป็น A ที่ฝั่ง battery (Watt ที่ฝั่งไฟ 220V และฝั่งไฟ 48V มันจะเท่ากันครับ) โดยเอา W / V = W / 48 = A แอมป์รวม เผื่อเพิ่มไปกว่าค่าที่ได้สักหน่อยครับ
ตอนที่แบตเตอรี่ไฟหมดจนถึงระดับที่ V เท่ากับ V ของสวิชชิ่งที่เราตั้งไว้ ไฟจะจ่ายออกจากสวิชชิ่งเข้าระบบแทนแบตเตอรี่ กระแสไฟที่จ่ายจะเท่ากับไฟในบ้านครับว่าดึงไปกี่วันวัตต์ ถ้าเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมันก็ดึงเยอะไม่มีค่าตายตัว เป็นไปตามกำลังวัตต์ที่อุปกรณ์ในบ้านต้องใช้ ซึ่งก็ไม่เกินกำลังวัตต์ที่ตัวอินวอเตอร์จะทำได้ครับ ส่วนกระแสเท่าไหร่ก็เอากำลังวัตต์หารด้วย V ของระบบก็จะได้กระแสที่สวิชชิ่งจ่าย
คลิปนี้แนะนำวิธีเสริมไฟให้ระบบ Solar Cell DC 24V นะครับ
🔥ร้านสินค้า Meanwell มือสอง 24V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.YcWvs9
🔥มือสอง 12V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.Yc28RC
🔥ร้านสินค้ามือ1 ของใหม่ Meanwell 24V: c.lazada.co.th/t/c.YcWFm4
🔥Meanwell 12V : c.lazada.co.th/t/c.Yc28Qc
* แนะนำร้านขาย Switching power supply MeanWell ยี่ห้อดัง ใช้ดีมากๆ
* มือสอง Meanwell 150W 320W 500w 24v หม้อแปลง สวิตซ์ชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย LED Strip กล้องวงจรปิด เครื่องCNC Power Supply
✴จุดเด่นของ Switching Power Supply Meanwell ✴
📌สินค้ารุ่นนี้ดีมากดีกว่าตัว Noname Low โปรไฟล์
📌กำลังดีกินแอมน้อยกว่า
📌ความร้อนน้อยกว่า
📌พัดลมระบายความร้อนดี เย็นเร็ว
Meanwell สวิทชิ่ง เพาเวอร์ซัพพลาย 24V LRS ตัวเลือก 2.2A(LRS-50-24) 3.2A(LRS-75-24) 4.5A(LRS-100-24) 6.5A(LRS-150-24) 8.8A(LRS-200-24) 14.6A(LRS-350-24) สวิทช์ชิ่ง ไฟฟ้า สวิทชิ่ง 24V หม้อแปลง Switching Power Supply สวิตช์ ชิ่ง 24V สวิตซ์ ธันไฟฟ้า
ตัวเลือกสินค้า
2.2A รหัสสินค้า LRS-50-24
3.2A รหัสสินค้า LRS-75-24
4.5A รหัสสินค้า LRS-100-24
6.5A รหัสสินค้า LRS-150-24
8.8A รหัสสินค้า LRS-200-24
14.6A รหัสสินค้า LRS-350-24
ผมใช้งานแบบนี้ มา4ปีกว่า สวิทช์ชิ่งของผม 24v 1500w 61a(แต่ผมปรับชาร์จที่ 30a) แบตผม nmc 24v 180ah ตั้งชาร์จที่24.7v และคัดออฟออก 26.7v อินเวอร์เตอร์ 2400w 24v อ่านแรงดันแบตเตอรี่จ่ายไฟนิ่งๆ ac 228v (ดีกว่าเอาการไฟฟ้ามาขายพาสโหลด เพราะขางครั้งกระแสไฟฟ้าที่บ้านผมมา240-247v เป็นอันตรายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า)ให้อินเวอร์เตอร์ แปลงไฟจากแบตเตอรี่ ไฟจะเสถียรกว่าครับ ใช้มา4ปีกว่าแล้วครับ)
ถือว่าตอบโจทย์หลายทางเลยครับ ถ้าไฟบ้านมาเกินนี้เรื่องใหญ่ สวิชชิ่ง 1500 วัตต์แพงมาก ไม่กล้าสั่งซื้อเลย ขอเอาพอใช้ครับผมใช้อยู่ไม่เกิน 500 วัตต์ เอาแค่นี้ไปก่อนไม่กล้าซื้อมากกว่านี้🤣😅 ตอนแรกคิดว่าโซล่าชาร์จเจ้อ มันจะตัดไปใช้ไฟบ้านอย่างเดียวเมื่อแบตหมดแต่ที่ไหนได้ชาร์จแบตด้วย ก็เลยค้นหาต่อเลยมาเจอไอเดียแบบนี้ครับ ถือว่าลงตัวที่สุดแล้วในตอนนี้ ขอบคุณคอมเม้นต์ยาวยาวครับ
@@ithomez มือ2ครับ ราคาไม่เกิน3,000บาท. งานคัดเกรดแล้ว
ถือว่าราคาถูกกว่าของมือหนึ่งเยอะมาก ผมเห็นราคา 750 วัตต์ยังเกือบ 2000 เลยนะครับ
สุดยอดครับ ต้องแบบนี้ให้การไฟฟ้า รู้สึกบ้างเราไม่ยอมแพ่
สิ่งที่ผมทำคือการหาเพาเวอร์ซัพพลายมาชาร์จแบต V ใกล้เคียงกับที่แบตใกล้หมด มันจะทำให้แบตไม่หมดและไม่ตัด โดยมีอุปกรณ์จ่ายไฟแทนนั่นเอง ไฟมันไม่ย้อนอยู่แล้วครับมันเหมือนเปิดคอมเครื่องนึง มันคือหม้อแปลงไฟฟ้าหรือเรียกว่าอาแดฟเตอร์ หลายหลายคนกลัวมันย้อนยืนยันอีกทีว่าไม่ย้อนครับ เราชาร์จแบตด้วยสวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายแล้วมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามาดึงจากแบตเตอรี่ไปมันก็ไม่เห็นจะผิดอะไร😆☺️😊 ความรู้สึกส่วนตัวอาจ🤣🤣 ครับผม
สุดยอดครับช่าง เราอย่าไปโทษไฟฟ้าเขาเลยเราหาวิธีที่ถูกต้องดีกว่าครับ หน้าที่ไฟฟ้าเขาขายครับ เพราะระบบของเราแตกต่างจากการไฟฟ้า ของผมก็ถอดออกแล้วไม่อยากจะยุ่งกับการไฟฟ้าใช้ออฟกริดสบายใจกว่า จะรอระบบของกระทรวงพลังงาน ตามที่ท่านพีระพันธ์เสนอข่าว จะรอครับ
ขอบคุณคอมเม้นต์ครับ ผมก็เตรียมถอดไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ถอดนะครับ แต่ถอดเมื่อไหร่ก็ได้เพราะว่าสายที่มาจากไฟบ้านเข้าโซล่าชัดเจ้อ มันไม่ได้จำเป็นแล้วตอนนี้ ผมมีสองระบบใหม่ก็คือเสริมไฟให้แบตเตอรี่ แล้วก็ระบบสลับไปใช้ไฟบ้านที่ปลายทาง เช็คจากโวลต์ของแบตเตอรี่ถ้าต่ำกว่า 25.4 ให้สลับไปใช้ไฟบ้านเลยทั้งชุด ไม่ผ่านอินวอเตอร์นะครับ ประมาณว่าใช้ATS สลับไปโดยที่มียูพีเอสสำรองไฟอยู่ ซึ่งถัดจากนี้ไปอาจจะมีระบบเดิม DC coupling ที่เป็นเสริมไฟให้แบตเตอรี่ เป็นระบบสำรองเผื่อแดดหมดหลายวันมันก็ยังจำเป็นจะต้องเสริมแบตเตอรี่อยู่ครับ กำลังนำเสนอไอเดียเพิ่มเติมเป็นทางเลือกเอาไว้ให้เกี่ยวกับการสลับไฟที่ขาออกของ Solar charger ครับ☺️
สุดยอดครับ Hybrid DC การไฟฟ้าไม่เกี่ยว เปรียบเสมีอน Switching ก็เป็น Load ตัวหนึ่งที่ใช้ไฟบ้านและเป็นกำลังสำรองได้ดี ชอบมากครับจะลองทำตามดูขอบคุณครับ
Switching Power supply เปรียบเสมือนแบตชุดนึงที่ต่อขนานอยู่กับแบตชุดเดิมครับ แล้วจ่าย V ที่ต่ำ เป็นค่า V ที่อยากให้แบตหยุดอยู่ที่ V นั้นครับผม
ผมต่อแบบนี้้มาเกิน 7 ปีแล้วครับ เพราะเป็นอินเวอร์เตอร์ใบ้ แต่ผมเพิ่มวงจรต่ำ-ตัดที่สวิตชิ่งให้มันพักการทำงาน สวิตชิ่งไม่จ่ายไฟถ้าไม่ถึงแรงดันที่ตั้งไว้ก็จริง แต่มีค่าสแตนบายที่เลี้ยงวงจรอยู่ครับแต่อาจไม่กี่วัตต์หลังๆมานี้เพิ่มแผง เพิ่มแบต และคำนวณโหลดให้บาลานต์ ตอนนี้สวิตชิ่งแทบจะไม่ทำงานเลย ยกเว้นวันฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันครับ
ขอบคุณครับ ผมก็ประมาณนี้กลางวันสวิชชิ่งไม่จ่ายเลย สังเกตจากกำลังไฟที่วัดจากสมาร์ทปลั๊ก ไฟขาเข้าสวิชชิ่งเป็นศูนย์เลยครับ ผมสังเกตจากตรงนี้ก็เลยคิดว่ามันคงไม่ดึงไฟมาจ่ายแน่นอนส่วนไฟเลี้ยงสวิชชิ่งก็ช่างมันครับ มันไม่อุ่นไม่ร้อนแล้วก็พัดลมไม่หมุน แสดงว่ามันก็คงไม่ได้จ่ายโหลดอะไรเลยหรือไม่ได้ทำงานครับ☺️
ไอเดียดีครับ😊 ไม่ต้องไปออนกริด ใช้แบตเดิมเพิ่มเติมคือพาวเวอร์ซัพพลาย ลืมคิดวิธีนี้ไปเลย อาจจะสูญเสียกระแสตอนไฟบ้านเป็นDCไปบ้าง แต่ถ้าระบบแบ็ตพอก็แทบไม่่ไดเ้ใช้กระแสจากซัพพลายเยอะ แต่สงสัยว่าจะจัดการไม่ให้ไฟจากแบตย้อนไปพาวเวอร์ซัพพลายยังไงหรือระบบมันป้องกันให้อยู่แแล้ว ถ้าแบบนั้นเราตั้งโมดูลต่ำตัดหรือต่อ ให้พาวเวอร์ซัพพลายทำงานก่อนที่แบตจะต่ำจนตัดก็น่าจะได้ ก็จะประหยัดไฟไม่ต้องเสียบเปิดพาวเวอร์ซัพพลายทิ้งไว้ได้นะนี่😄 ขอเก็บงบ จะลองทำดู บ้านผมใช้ระบบ12V ไม่ใช่24V เดินสายยากเปลืองค่าสายไฟมาก ใหญ่เบ่อเริ่ม เสียดายน่าใช้ระบบ24 ที่บ้านใช้ อินเวอร์เตอร์12V3000w2ตัวสลับเปิดปิดพักเครื่อง ตตตอนแรกคิดจะใช้ไมโครอินเวอร์เตอร์ต่อใช้ร่วมกับอออฟกริดช่วยจ่ายไฟตอนเช้าซึ่งใช้ไฟเยอะ ส่วนระบบที่ในคลิปนี่เหมาะกับช่วงเย็นเผื่อแบตไฟไม่พอจริงๆ ขอบคุณไอเดียเจ๋งๆครับ
เป็นไอเดียของการชาร์จแบตตลอดเวลาครับ คือเราจ่ายไฟชาร์จแบตไว้เลย แบตจะไม่ลดลงไปกว่านี้ เมื่อไหร่ที่ระดับแบตลดลงมาถึงสายชาร์จมันก็ดึงจากไฟชาร์จไปใช้ ไม่มีโอกาสย้อนกลับเข้าไฟด้วยแน่นอน มันคือการชาร์จแบตเท่านั้น ส่วนตัว Power Supply มันก็มีการย้อนในตัวอยู่แล้วสบายใจได้ครับ
ใส่ Diode กันย้อนได้ครับ DC มีทิศทางการไหลที่แน่นอน ถ้ากลัวมันย้อนจากแบตไป Power ใส่ Diode กันย้อนจะเป็น One way ครับ ตัวใหญ่หน่อยนะ ตามขนาดกระแสใช้งาน
คล้ายการทำงานของ ups แบบ true online เลยครับใช้หลักการนี้ จะแปลง ac > dc > ac อีกรอบ ตรงdcจะมีทั้งแบตและจากภาคแปลงไฟที่มาจากac ด้านoutput inverter จะแปลงไฟออกมาตลอดเวลาซึ่งจะไม่มีรอยต่อไฟเลย
ขอบคุณครับ จริงๆผมไม่รู้ concept ของ ยูพีเอสแบบทรูออนไลน์เลยครับ ไม่เคยเข้าใจ แต่เรื่องนี้ด้วยความต้องการให้เป็นแบบนี้ทำไปทำมาคล้ายกันเฉยเลย😊🥰
ผมใช้เข้ามาปีที่3 ในลักษณะผสมไฟด้วยไดโอด ครับ เสถียรมาก ใช้ไฟหลวงที่มาผสมผ่านสวิตชิ่งน้อย แถมรักษา แรงดันแบนได้ด้วยแจ่มเลย
ผมยังใหม่มากเกี่ยวกับโซล่าเซลล์และแบตเตอรี่ครับ เจอวิธีนี้ดีมากแล้วก็เสถียรด้วยจริงๆ ตอนนี้ไฟจากสวิชชิ่งมันจะเสริมเองถ้าไฟแบตไม่พอ เสริมบ้างเป็นบางครั้ง ซึ่งถ้าเพิ่มแบตเตอรี่ก็น่าจะครอบคลุมเวลาทั้งหมดไม่ต้องเสริมแล้ว ขอบคุณสำหรับ คำอธิบายเพิ่มเติมและคำยืนยันมากครับ
จุดเสียของการต่อสายหางปลา เข้าหางปลา คือการคลายตัวของหัวน๊อต ตรวจเช็คประจำ กันอาร์ทในจุดต่อ ครับ
ขอบคุณครับ พูดได้ถูกต้องมากเลย ผมเจอกับตัวในชุดนี้แหละ ประกอบแล้วใช้งานผ่านไปหนึ่งเดือน ตอนแรกคิดว่าหมุนแน่นแล้ว ลองเอาไขควงมาหมุนเพิ่มหมุนต่อได้อีกซะงั้น อยู่ดีดีน็อตก็หลวมหรือว่าคลายตัวนิดนึงเองเฉยเลยครับ 🥰🙏🤟
คุณอาจจะเข้าใจเรื่อง cycle แบตเตอรี่ผิดพลาดนะครับ การจะนับเป็น 1 cycle คือการใช้ความจุจนครบ Ah ของแบตแล้วกลับมาชาร์จใหม่จนเต็มอันนี้ถึงจะนับเป็น 1 cycle
ตัวอย่าง แบต 100Ah ใช้จนเหลือ 70Ah แล้วชาร์จ 30 Ah เติมกลับไปคืนให้กลายเป็น 100 Ah แบบนี้แค่ 0.3 cycle อีกตัวอย่าง แบต 100 Ah มีไฟเหลืออยู่ในแบต 50Ah ใช้จนเหลือ 20Ah แล้วกลับมาชาร์จเติม 30Ah จนเป็น 50Ah แบบนี้ก็เรียก 0.3 cycle เช่นกัน เราไม่ได้นับ cycle แบตจากจำนวนครั้งของการ ชาร์จหรือคายประจุ จะถี่กี่ครั้งแค่ไหนก็ได้ ไม่ได้ทำให้เสื่อมเร็ว
แบตเต็ม 100Ah ใช้ไป 80Ah เหลือ 20Ah ชาร์จเติมครั้งเดียว 80Ah ให้กลับไปเป็น 100Ah แบบนี้ 0.8 cycle
หรือจะเป็นแบตเต็ม 100Ah ใช้ไป 10Ah เหลือ 90Ah ชาร์จเติม 10Ah ให้กลับไปเป็น 100Ah แบบนี้ 0.1 cycle แล้ววน คายประจุ-ชาร์จ ทีละ 10Ah ไป 8 ครั้ง แบบนี้ถึงจะ 0.8 cycle เท่ากรณีแรก ถึงบอกว่าจะ คายประจุ-ชาร์จ ถี่กี่ครั้งแค่ไหนก็ได้ ไม่ได้ทำให้เสื่อมเร็ว จะเสื่อมเร็วหรือช้า cycle ความเสื่อมจะลดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความลึกการดึงประจุ (ดึง Ah มาใช้ในแต่ละรอบ คายประจุ-ชาร์จ) หรือที่เรียกว่า %dod depth of discharge ซึ่งการชาร์จบ่อยๆถี่ๆทีละ Ah น้อยๆจะทำให้เสื่อมช้า เพราะ %dod จะน้อย
โอ้โหสุดยอดเลยครับเข้าใจชัดเจนมาก 🤟🙏🥰
จริงๆผมก็แค่ไม่อยากให้เวลาที่สามารถข้ามการชาร์จได้เช่นตอนกลางคืน ระบบก็ไม่ควรจะเพิ่มรอบในการชาร์จแบตเตอรี่ให้ขึ้นสูงแล้วมาดึงใช้แบตเตอรี่ตัวเอง ตอนกลางคืนครับอยากให้บายพาสไปใช้ไฟบ้านเลย แต่ดูเหมือนตัวที่ผมใช้อยู่มันจะแตกมันเหมือนงงๆ ถ้าถอดโซลาร์เซลล์ออกดันกลับมาใช้งานปกติได้🤣
เข้าใจอีกคน😊😊😊
🎉🙏🙏🙏ขอบคุณคับ.😁😁😁
ขอบคุณมากเลยครับ ผมกำลังหาวิธีแก้ปัญหาเเบตใช้งานทั้งคืนไม่พอใช้งาน
วิธีนี้ใช้งานได้ดีมากครับ ผมลองแล้ว แต่ผมก็กำลังจะสลับไฟออกจาก Solar Charger เลย เมื่อแบตอ่อนเราสามารถสลับไฟใช้งานไฟบ้านเลยก็ได้ครับ เหลือวิธี DC coupling ไว้เป็นการสำรองอีกชั้นนึงครับ
@@ithomez ขอบคุณมากเลยครับสำหลับข้อมูล ทุกวันนี้ ผมจ่ายค่าไฟเดือนหนึ่ง 5000ขึ้น มีคนบอกว่าเสาร์ไฟถึงหน้าบ้าน ไม่ต่องใช้โซล่าเซลล์ ผมไม่รู้นะว่าจะคุ้มกับการลงทุนหรือป่าว เเต่เท่าที่ผมรู้ ผมจ่ายค่าไฟต่อเดือน 1600 เเละผมก็มีความสุขที่ได้ใช้ไฟ ที่เราผลิตได้เอง สาธุอนาคตค่าไฟหลวง หน่วยละ35บาทเท่าน้ำมัน รถผมยังเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า ใครจะว่าไม่ดีก็ตาม
คิดเหมือนกันเลยครับ ทยอยสลับเริ่มต้นจากเล็กน้อยค่อยค่อยเพิ่มความสามารถ เพิ่มจำนวนแผงเพิ่มแบตเตอรี่ แล้วก็ทยอยเปลี่ยนรถเป็นรถไฟฟ้า🤣😂 มาแน่ครับ ถ้าการไฟฟ้าและระบบขนส่งไทย ไม่ยอมปรับ ค่าไฟแพงน้ำมันแพงการที่เราปรับตัวเองมันก็ไม่แปลกนะ55😂👍🥰
ถ้าจุดประสงค์คือไม่ต้องการเปลือง cycle แบต
พอแบตอ่อนแล้ว ใช้ ATS หรือ magnetic ตัดไปใช้ PEA เลยก็ได้ครับ
หรือไม่ก็ใช้ magnetic ตัดแบตออกจาก อินเวอร์เตอร์ แทน
แล้วใช้สวิตช์แสงเป็นตัวสั่งให้ต่อแบตกลับไปตอนเช้า
ตั้งได้นี่ครับให้โซลาชาร์ทอย่างเดียว ตั้งcut off ไว้ ระบบก็สลับไฟบ้านเลย ไม่มีการชาร์ทจากไฟบ้าน แต่ถ้าไฟดับตอนแบตหมดก็ดับตาม ท่านตั้งต่ำตัดไว้สูงจัง แต่ก็ดีกับแบต ผมตั้ง 24v ต่อเซลล์ก็เซลล์ละ 3v ผมก็ทำนะครับ ถ้าแบตหมดจะใช้ไฟจากสวิทซิ่ง เพราะผมต่อหลอด dc ในบ้านเลย
ของผมมันไม่เป็นแบบนั้นลองหลายแบบแล้วครับ พอตอนถึงโวลต์ระดับที่มันต้องสลับไปไฟบ้าน จะไปใช้ไฟบ้านก็จริง มันก็ดันดันชาร์จแบตด้วยเฉยเลย จนแบตไปถึงโวลต์ที่กำหนด มันก็สลับสลับไปใช้แบตจนแบตหมดวนไปแบบนี้ ผมก็ไม่รู้จะทำยังไงก็เลยหาทางออกอื่นครับ
@@ithomez ถ้าตั้งค่าแผ่นแอฟก็เมนู Battery setting แล้วไปที่ Charger Source Priority เลือกชาร์ทแหล่งเดียวจากโซล่าก็เลือก Solar only กด Issued เพื่อยืนยัน แต่ถ้าผ่านเครื่องลืมไปละ ทำครั้งเดียวแล้วไม่ได้ทำอีก ผมไปค้นหาคู่มือก่อนครับ
อยากจะบอกตามตรงว่าทำไปแล้วครับ ผมก็งงเหมือนกันตั้งถูกทุกอย่าง ถามคนอื่นก็แล้วไม่แน่ใจว่าผิดตรงไหนอีก 🤣 หมดหนทางก็เลยต้องออกมาเป็นแบบนี้😅
@@ithomez ถ้าทำทุกอย่างยังไม่ได้ก็ลองส่งซ่อมดูครับ ผมดูการตั้งค่าจากคลิปช่างเอ๋ ลำพูน รุ่นไม่ตรงแต่เมนูเหมือนกันเลย
ขอบคุณครับผม ผมมีโซลูชั่นต่อก็คือถ้าแบตเตอรี่แบตเตอรี่ของระบบโซล่าเซลล์ลดต่ำกว่าโวลต์ที่ตั้งไว้ จะให้ตัดไฟออกจากระบบโซลาร์เซลล์ไปใช้งานไฟบ้านแทน ตั้งแต่ช่วงเข้าบ้านครับ ไม่น่าจำเป็นจะต้องส่งซ่อมแล้ว
wow so good คับ แจ่มๆๆ
ลองเอาไอเดียไปประกอบใช้เองเลยครับ เป็นหลักการที่เขาใช้ทั่วไปผมก็ศึกษามาก่อนอีกทีและถามผู้รู้มารวบรวมมาให้เรียบร้อยแล้วใช้งานได้จริงและใช้อยู่ปัจจุบันครับ
ไม่ต่อเข้า hybrid inverter แต่ต่อให้ load ปกติเอาไปช๊าตแบ็ต ยังไงก็ไม่ผิดครับ แจ่มๆ
ขอบคุณครับ ผมก็ได้ไอเดียมาจากคนอื่นเหมือนกัน รู้สึกว่าเวิร์คมากๆ ตอนนี้เพิ่มระบบสลับไฟโดยเช็คแบตเตอรี่ก่อนถ้าแบตอ่อนให้สลับไปต่อไฟบ้านแทน ให้ไฟบ้านจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรงเลยครับ จะได้ให้อินเวอร์เตอร์พัก
สุดยอดครับตามครับ
ขอบคุณที่รับชมครับผม
เก่งมากครับ
😍🥰
ขอบคุณที่รับชมครับผม
ใช้ m602 ดิครับ สวิทชิ่งจะได้ไม่ต้องติดตลอดเวลา อยู่ที่เราตั้งแบตใว้มันถึงจะทำงานครับ ประมาน ต่ำต่อ เต็มตัด
ขอบคุณครับ น่าสนใจ ขั้นต่อไปเดี๋ยวปรับปรุงต่อครับผม
ถ้าระบบโซล่ากลับมาผลิตไฟได้และชาร์จลงแบตเตอรี่ มันจะชาร์จไฟเข้าสวิทชิ่งไหมครับ และสวิทชิ่งจะเสียไหมครับหรือต้องทำอย่างไรครับ
กระแสไฟไม่มีทางกลับเข้าสวิชชิ่งครับ มันทำหน้าที่เป็นพาวเวอร์ซัพพลายหรืออาแดฟเตอร์แปลงไฟนั่นแหละ แปลงไฟจากไฟบ้านมาชาร์จแบตอย่างเดียวครับ มันจะชาร์จแบตที่ V ที่เราตั้งค่าไว้ซึ่งผมตั้ง 25.4 ถ้าไฟแบตชาร์จมากกว่านี้มันก็จะหยุดทำหน้าที่ แล้วก็รอจนไฟแบตลดลงมันมันก็จะเสริมทันที หน้าที่ของสวิชชิ่งคือแบบนี้ครับ มันไม่ปล่อยให้ไฟย้อนกลับเข้าตัวเนื่องจากมันมีไดโอดกันย้อนอยู่แล้ว
@@ithomez ขอบคุณมากครับ
@@ithomez น่าสนใจมากครับ ผมพึ่งใส่แผงเสร็จครับอยากนำระบบนี้ไปใช้ดูครับ จะติดต่อแอดมินทางไหนได้บ้างครับเผื่อว่าจะรบกวนปรึกษาเพิ่มเติมครับ
ปรึกษาได้สองช่องทางก็คือคอมเม้นต์นี่แหละครับ หรือไม่ก็ทาง Facebook แชทก็ได้ทักมาคุยกัน ผมก็เพิ่งเริ่มต้นเหมือนกันแต่ตอนนี้ มีครูดีก็เลยไปเร็วหน่อยครับ อย่างที่เห็นนี่แหละลองเข้าไปค้นหาดูก็ได้มีอยู่หลายเรื่องมากๆ แล้ว
ตอนแผงโซล่าชาร์ตไฟได้ โวลจะสูงกว่า 25.4
เช่นได้ 28 อ
มันอัดไฟเข้าเพาเวอร์ซัพพลาย ไหมครับ
เพาเวอร์ซัพพลาย จะเสียหายไหมครับ
ยืนยันครับไม่ย้อนเข้าสวิชชิ่งพาวเวอร์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมใช้อยู่ก็ปกติดี ปกติแล้วสวิชชิ่งหรืออาแดฟเตอร์หรือพาวเวอร์ซัพพลายทั่วไปมันมี กันย้อนอยู่แล้วครับ มันเป็นหน้าที่ของตัวจ่ายไฟที่ห้ามไฟย้อนกลับ มันจะจ่ายไฟออกมาก็ต่อเมื่อโวลต์ ในระบบ = หรือต่ำกว่า 25.4 ครับผม
@@ithomez ผมก็จะลองทำเหมือนกันครับ แต่กลัวไฟย้อนนี่แหละ😅 วันนี้ได้ power supply มาแล้ว
แอปที่เอา ค่าDC COUPLING มาโชว์ ที่โทรศัพท์มือถือ มันดึงข้อมูล มาจากไหนครับ หรือมาจากช่อง แบตเตอรี่ ของ อินเวอเตอร์ครับ
ผมใช้ตัวนี้วัดไฟครับ เอาเสียบกันปลั๊กไฟเข้า switching power supply เลย มันจะวัดการดึงไฟของ switching ครับ
รีวิว th-cam.com/video/ua5kJmQrM8Q/w-d-xo.html
แนะนำร้านญาติผมเองครับ
✔ร้าน Shopee ก็มี shope.ee/7zbsDSsxm4 (มีสวิตช์ Sonoff, เฟือง swash ขายดี)
✔ร้านนี้เลย Lazada s.lazada.co.th/l.bmLq
ดูแล้วใช้งานไหลลื่นมากๆ สลับกันได้เนียนดีไอเดียเยี่ยมมากกกๆ ค่ะ
ผมว่ามันเป็นทางออกที่ดีนะ เหมือนการรวมกระแสไฟเข้าด้วยกันไฟกระแสตรงรวมกันง่ายมาก ขอแค่V เท่ากัน ต่อให้ถูกขั้ว ก็รวมกันได้แล้ว
เยี่ยมเลยครับ เป็นอีกหนึ่งทาวเลือกที่ดี ใช้กับระบบ 48V ได้ไหมครับ
ได้ครับผมมีสวิชชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย 48 โวลต์ให้เลือกซื้อ ใช้งานได้เหมือนกันเลยครับ ผมแนะนำยี่ห้อมินเวล ร้านตามลิงค์ใต้คลิปเลยนะครับ ถึงจะเป็นของมือสองแต่ก็ใช้งานได้ดีร้านดูแลดี
@@ithomez ขอบคุณครับ เดี๋ยวผมลองเข้าไปดูก่อนนะครับ
สอบถามเพิ่มเติม ครับถ้า power supply ทำงาน load ใช้งาน แอมป์ จะต้องน้อยกว่า แอมป์ power supply ไหมครับ (หรือไม่จำเป็นต้องมากหรือน้อย)
ต้องให้ สวิชชิ่งซัพพลายรองรับการใช้งาน W สูงกว่าW ที่เป็นไปได้ที่จะถูกดึงใช้งานสูงสุดครับ เช่นถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมีโอกาสดึงไปได้ถึง 1000W ก็ควรจะซื้อสวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายสเปคมากกว่า1000W นะครับ ถ้าเค้าจ่ายไฟสุดแล้วยังไม่ถึง ก็ต้องคิดต่อว่าจะดึงกระแสไฟจากไหน เค้าจะต้องไปดึงที่แบตเตอรี่ หรือดึงที่โซล่าชาร์จเจ้อ อาจจะต้องยังเชื่อมไฟบ้านไว้ให้เค้าอยู่ หรืออาจจะต้องสวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายหลายชุดช่วยกันก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ
สอบถามหน่อยครับ ตรงไฟออกจากชาร์จเจอร์ ต้องใส่ไดโอดกันไฟย้อนใหมครับ และเวลาชาร์จ ตัวมันเองจะร้อนมากมั้ยครับ
ถ้าต่อแบบนี้สมบูรณ์แล้วจะไม่มีการชาร์จนะครับ ผมก็ไม่ได้ใส่ไดโอดตรงไหนเลย จะมีการชาร์จแบตเตอรี่ก็ต่อเมื่อไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์มีกำลังวัตต์สูงพอ ที่จะเหลือจากการใช้งานในบ้านจึงเอามาชาร์จแบตครับ
การทำงานทั่วไปเมื่อไฟแบตเตอรี่หล่นลงมาถึงไฟที่ตั้งเอาไว้ที่สวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย ไฟจะถูกจ่ายจากเพาเวอร์ซัพพลายแทนครับ แบตเตอรี่ก็จะค้างอยู่ที่ต่ำสุด = สวิชชิ่งนั่นแหละ รอจนกว่าพรุ่งนี้แสงอาทิตย์ขึ้นแผงโซลาร์เซลล์จ่ายไฟได้ก็จะมีไฟ V สูงกว่า สวิชชิ่งมาจ่ายไฟชาร์จแบตครับ ลองอ่านคอมเม้นต์ของท่านอื่นละเอียดมากๆ อธิบายเข้าใจกว่าผมอีก ต้องขอบคุณคอมเม้นต์นั้นลองไล่อ่านคอมเม้นต์ หากเข้าใจชัดเจนแล้วทุกอย่างมันจะไหลลื่นจริงๆครับ รถรอบการชาร์จแบตเตอรี่ได้เยอะเลย
ซึ่งตอนที่ฟิชชิ่งจ่ายไฟ แทนแบตเตอรี่ตอนแบตอ่อนแล้ว ตัวสวิชชิ่งก็ร้อนเป็นเรื่องปกติครับไม่มาก ขึ้นอยู่กับการดึงไฟว่ากี่เปอร์เซ็นต์ของตัวสวิชชิ่ง ถ้าดึงไฟสูงแนะนำให้ซื้อกำลังวัตต์สูงกว่าที่ใช้จริง ประมาณว่าใช้จริงไม่เกิน 70% ของที่ตัวชีวิตชิ่งจ่ายได้ถือเป็นดีที่สุด อย่างผมซื้อมา 500W ใช้จริงประมาณ 300W เองครับ
การใส่ไดโอดขั้นระหว่างเพื่อกันย้อนนั้นผิด เพราะชาร์จเจอร์จะสื่อสารเข้าออกระหว่างแบตเตอร์ตลอดการทำงานเพื่อให้ระบบมันเสถียน
ใส่ไดโอดกันย้อนให้สวิชชิ่งด้วยนะครับ เพราะไฟแบตตอนสูงกว่าสวิชชื่งมันอาจทำให้สวิชชิ่งเสียครับ
ไม่ต้องใส่ครับต่อพ่วงกันดื้อดื้อเลย เนื่องจากว่าตัวสวิชชิ่ง พาวเวอร์ซัพพลาย มันกันย้อนในตัวอยู่แล้วครับ ผมก็ต่อเลยโดยตรงไม่มีไดโอสมากั้นนะครับ สามารถใช้งานได้ดี ตัวสวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายของผมมีระบบพัดลมออโต้ด้วย พัดลมจะไม่หมุนถ้าไม่มีความร้อน และถ้าไม่มีการดึงไฟระบบก็จะนิ่งมาก ลองวัดพลังงานขาเข้าดูสวิชชิ่งไม่ดึงพลังงานจากไฟบ้านเลยครับ รู้สึกว่ารุ่น Meanwell RSP 24V 500W ออกแบบมาได้ดีมากครับ
🔥ร้านสินค้า Meanwell มือสอง 24V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.YcWvs9
🔥มือสอง 12V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.Yc28RC
ผมสงสัยครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ผ่านอิน มี.... เวลาแบตหมด แล้วอิน ดึงไฟจากสวิทย์ชิ่ง หนักๆ สวิทย์ชิ่งดับไหมครับ กรณีใช้โหลดจากการดึงไฟจากแบต และดึงไฟจากสวิทย์ชิ่ง
Switching มันะไม่ดับครับ มันก็จะจ่ายได้เท่านั้นตาม max แต่ตัวที่ควรจะต้องรู้คือ Inverter ต้องเจอว่ากระแสจากแบตไม่พอปั๊มกำลังวัตต์ ตามที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องการ ก็จะต้องเจอเป็น Overload จะ reboot ตัวเอง หรือ Bypass อันนี้แล้วแต่จะตั้งไว้ครับผม
ผมเจอว่าหากผมใช้เกิน 500W ซึ่งมีแว็บนึงเผลอไปต่อปั๊มน้ำร่วมด้วย มันดึงไป 600W สิ่งที่เจอคือ มันไปดึงไฟที่ยังมีจากแบตมาร่วมด้วย แต่ที่ผมเจอก็แค่แป๊บเดียวนะครับ
@@ithomez เข้าใจว่าเมื่อใช้โหลดเกินจากสเปคสวิทชิ่ง แต่ไม่เกินสเปคอินเวอร์เตอร์ มันจะดึงไฟจากแบตมาร่วมด้วย ใช้ได้จนอินเวอร์เตอร์ตัดตามที่เราตั้งค่า V ไว้ แต่ในระหว่างนั้นหากเราใช้โหลดลดลง สวิทช์ชิ่งก็จะไปชาร์ทแบตทดแทนที่ดึงไปใช้จนแบตมี V คงที่ (25.4 V) ใช่ไหมครับ
ใช่ครับมันจะประมาณนั้น แต่ถ้าใช้โหลดเกินนานๆ ดึงเกินจากสวิชชิ่ง แถมยังดึงจากแบต V ลดลงด้วย
ซึ่งเมื่อไหร่ที่แบตลดลงจนถึง V ของแบตในระดับ Cut-off แบตก็จะตัดตัวเองออก คราวนี้ก็น่าจะจ่ายไฟไหม้ไม่พอจริงๆครับ ซึ่งตัวอินเวอร์เตอร์ก็น่าจะแจ้งว่าโอเวอร์โหลด แล้วเข้าสู่โหมดบาย Pass ตามที่ตั้งไว้ หรือไม่ก็ตัดรีบูทใหม่ครับ
@@ithomez ดับ คือ ดับแบกระพริบครับ ผมใช้โหลด เกินกระแสสวิทย์ชิ่ง จ่ายไหว สวิทย์ชิ่งเลยดับ แบบกระพริบครับ ผมเลยสงสัยว่า เจ้าของคลิป เคยมีอาการสวิทย์ชิ่งกระพริบไหมเวลาแบตหมดแล้วดึงไฟจากสวิทย์ชิ่ง
ผมไม่เคยดึงไฟจากสวิชชิ่งเกินเป็นเวลานานครับ เคยดึงเกินเล็กน้อยระบบก็ตรวจวัดแล้วแจ้งเตือน สวิชชิ่งผม 500 วัตต์ ผมดึงไป 650 วัตต์ โดยเครื่องปั๊มน้ำปั๊ม ที่ปั๊มแป๊บเดียวแล้วหยุด เป็นรอบไป มันก็เลยไม่เห็นผลว่ามันจะมีอาการแบบไหน ซึ่งผมเข้าใจว่าที่ผมเคยเผลอไปใช้เกิน คือผมไม่รู้ว่าปั๊มน้ำมันจะดึงกำลังวัดมากขนาดนี้ ตอนที่กำลังวัดสูงขึ้น 650W โดยปั๊มน้ำรวมกับอุปกรณ์อย่างอื่น ตอนที่ลงมาเหลืออยู่ 250W จังหวะที่มันขึ้น 650 มันยังไหวอยู่ก็คิดว่ามันดึงจากแบตมาได้ แบตไม่ได้รถถึงคัดอ๊อฟครับ
ตั้งค่าโวล์ทในระบบทำงานที่ 25.4 V ในขณะนั้นแบต(ลิเธียมฟอสเฟต) เหลือกี่เปอร์เซ็นต์ครับ
แบตลิเที่ยมจะจ่ายไฟเองออกมาไปเรื่อยเรื่อยจนเหลือ 25.4 โวลต์ครับ ซึ่งเป็นโวลต์ที่เท่ากันกับที่สวิชชิ่งจ่าย แล้วมันจะค้างอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ลดลงต่อเพราะว่าสวิชชิ่งเติมไฟตลอดเวลาครับ รอจนกว่าจะมีแดดออกและชาร์จไฟเข้าแบต ซึ่งก็จะไม่ย้อนเข้าสวิชชิ่งเพราะว่ามีกันย้อนอยู่ในระบบสวิชชิ่งอยู่แล้ว
@@ithomez อาจจะถามไม่เคลียร์ครับ อยากทราบว่าในขณะที่แบตลิเธียมจ่ายไฟออกมาจนเท่ากับสวิทชิ่ง ที่ 25.4 v แบตฯ ของท่านจากความจุเต็ม 120 Ah เหลือความจุในขณะนั้นกี่ Ah ครับ คืออยากจะตั้งค่า V ให้ใช้งาน DOD ไม่มากเกินครับ
เท่าที่ผมสังเกตใน BMS จริงๆรู้สึกว่ามันไม่ค่อยตรงครับ แต่มันก็บอกอยู่นะว่าตอนที่สวิชชิ่งจ่ายไฟ ความจุมันโชว์ว่าเหลือ 45% ซึ่งลองคำนวณแล้วเหลือประมาณ 45 แอมครับ แล้วใน BMS เองก็โชว์ว่าเหลือ อยู่ประมาณ 42 แอมป์ครับ ส่วนตัวแล้วมองว่ามันไม่ค่อยตรง มีคนบอกว่าแบตเตอรี่ชนิดนี้มันจะลดเร็วและเพิ่มเร็วในส่วนที่เป็น หมุนVต่ำและ V สูง ส่วนช่วงระยะกลางประจุมันจะแน่นและเยอะมันจะไม่ค่อยเปลี่ยนครับ
@@ithomez ต้องดูที่ LFP characteristic graph ครับจึงจะเข้าใจแบตนี้ ช่วงที่แรงดันมันแข็งมากๆ จะแคบมากครับ ประมาณ 3.2-3.4 V
ศึกษาจากรถแค้มเปอร์แวนมา ถ้าเป็นระบบ 24 โวลท์ 600 แอป์ จะสามารถ ใช้ไฟฟ้าใด้สองคืนและระบบคล้ายกัน ปัญหาต่างๆก็น้อยครับ
โอ้โห 600 แอมเยอะมากเลยครับ คิดว่าต้นทุนคงสูงเหมือนกัน เนื่องจากผมมีงบไม่เยอะก็เลยได้เท่านี้แหล่ะ😂 ขอบคุณมากนะครับ🤟
สอบถามหน่อยครับ หลักการแบบนี้ทำให้แบตเตอรี่เคลียดไหมครับ ผมเห็นบอกท่านพูดไว้ประมาณนี้
แบตเตอรี่เครียดเป็นยังไงเหรอครับ ปกติแล้วถ้าความต่างศักย์เท่ากันมันก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดว่าไฟแบตเตอรี่ลด ก็จะถูกชาร์จ หรือถ้าโซล่าเซลล์ไฟสูงกว่าไฟก็จะชาร์จแบตเตอรี่ด้วย ไม่น่าจะมีอะไรทำให้แบตเตอรี่ร้อนหรือเป็นอันตรายนะครับ ที่เหลือเหลืออยู่ก็เป็นเป็นการใช้งานทั่วไป ห้ามชาร์จแบตเตอรี่เร็วเกินสเปคเท่านั้นครับ ตั้งค่าที่โซลาร์เซลล์ แล้วก็ BMS
การทำ DC Coupling ไม่ใช่ การ ไม่ใช่การ Charge ไฟ เอาแบตเตอร์รี่ ถูกมั้ยครับ คล้ายกันการขนานแบตถูกมั้ยครับ
จริงๆมันก็ใช่ถูกต้องแล้วครับ มันคล้ายคล้ายกับการขนานแบต ซึ่งเมื่อแบตเตอรี่ตัวใดตัวหนึ่งมากกว่ามันก็จะเทไปทั่วที่ V ต่ำกว่าอยู่แล้ว ต่างกันตรงที่เมื่อไหร่แบตเตอรี่ถูกชาร์จจนV สูงกว่ามากๆตอนกลางวันมันจะไม่วิ่งไปชาร์จ สวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายครับ เพราะมันมีไดโอดกันย้อนอยู่
วิธีนี้ใช้กับแบตน้ำแบตกรดได้ไหมครับ หรือได้เฉพาะแบตเหมือนในคลิปครับ
ใช้กับแบตเตอรี่ DC ทุกชนิดเลยครับ ปรับ V ตามที่จะใช้กับแบตแต่ละขนาดได้เลย จุดสำคัญอยู่ที่ Switching power supply จะต้องจ่ายไฟได้สูงสุดเท่ากับ หรือมากกว่าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าเราต้องการครับ
ทำแบบนี้ใช้แบตรถยนตื 12v ได้ไหม
ใช้วิธีนี้กับแบต แบตเตอรี่ทั่วไปได้ครับ แบตเตอรี่รถยนต์เอามาใช้กับโซลาร์เซลล์ก็ทำได้ เป็นเพียงการผสมไฟมันไม่มีผลอะไรต่อถูกต้องก็ใช้งานได้ ไฟจะไม่ลดไปต่ำกว่าค่าที่เรากำหนดจากสวิชชิ่ง พอเช้ามาแดดออกระบบโซลาร์เซลล์ก็เติมไฟมา พอไฟแบตเตอรี่มากขึ้นสวิชชิ่งก็หยุดจ่ายไฟครับ
ก็แค่ใช้สวิทชิ่ง24Vแทนแบตหรือเวลากลางวันเป็นตัวช่วยเสริมแอมแปให้แผงโซล่าเซลแทน220Vผสมไฟบ้านไม่ต้องขนาน220โดยตรงก็แค่แปลง220ACเป็นDCแทนใช้ในระบบออฟกริด
จริงครับมันคือการเสริมไฟเลย ประมาณว่ากลางคืนถ้าแบตไม่พอก็เสริมไฟเข้าแบตเตอรี่ แทนที่จะเดิมเราใช้โหมด UPS แล้วต่อไฟ 220 โวลต์เข้าไฮบริดอินเวอเตอร์ ซึ่งอาจจะกำลังมีประเด็นครับ ก็เลยเปลี่ยนใหม่แปลงไฟพ่วงเข้าแบตเตอรี่ แบบนี้ไฟไม่ย้อนชัวร์ 100% ครับผม😊
loss เพิ่มขึ้นกี่ % ครับ
การสูญเสียผมไม่เคยวัดจริงจังครับ จากการแปลงไฟบ้านเป็นไฟ DC แล้วแปลงไฟกับไปเป็นไฟบ้านผ่านอินเวอร์เตอร์อีกที ส่วนตัวประเมินว่าสูญเสียประมาณ 15-20% ครับ แต่ก็เพื่อให้ระบบมันราบรื่นช่วงเวลาที่จำเป็น ต้องชดเชยแดดก็โอเคอยู่😂
ติดต่อการไฟฟ้า เปลี่ยนมิเตอร์ ตามระเบียบการไฟฟ้า ไม่ง่ายกว่าเหรอครับ ขายไฟให้ดารไฟฟ้าได้ด้วย
ไม่ได้ใหญ่และกำลังไฟสูงขนาดที่จะขายครับ ก็เลยไม่อยากยุ่งยากติดต่อให้วุ่นวาย สุดท้ายเสียเวลาเปล่าไม่ได้อะไร😂😅☺️
@@ithomezครับ พอดีเห็นว่า ติดต่อการไฟฟ้าน่าจะยุ่งยากน้อยกว่า อันนี้ความเห็นส่วนตัวครับ
ขอบคุณครับ เดี๋ยวหากมีการปรับปรุงเพิ่มเติมว่าจะดำเนินการเป็นสเต็ปต่อไปครับ
ค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตสูง บางกรณีหาคนเซนต์แบบยาก คนที่สะดวกพร้อมจ่ายก็ทำได้ครับ
@@silapachaisa-ngob2262 การไฟฟ้าไม่แตกต่างกับอะไรกับ ตร.ตั้งด่านหรอกครับ
ไฟจากแบต จะย้อนเข้า เครื่องไหมครับ
ไม่ย้อนครับ switching power supply มีไดโอดกันย้อนในตัวนะครับ ใช้งานแบบนี้ได้ปกติ ผมทดสอบแล้วครับ ใช้งานดีนิ่งๆ เลย
การไฟฟ้าช่างกีดกัน ยิ่งทำระบบยุ่งยากแพงขึ้นอันตรายขึ้น อนาคตต้องเก็บค่าใช้แสงอาทิตย์แบบเขมรแน่ๆ
มีโอกาสขึ้นราคาไฟฟ้าอีกเยอะครับ คงหาทุกอย่างเพื่อเพื่อให้คงรายได้เท่าเดิม คนที่ติดโซลาร์เซลล์ได้ก็รอดไป ลดค่าไฟฟ้าได้ แต่เพื่อคงรายได้เท่าเดิมที่แน่แน่ผมคิดว่าอาจจะไปขูดรีดเอากับคนที่ยังใช้ไฟฟ้าอยู่แบบเต็ม 100% 😂😂
แล้วถ้ากำลังวัตต์ที่ระบบต้องการสูงมากๆ มีระบบเพาเวอร์ซัพพลาย จ่ายได้สูงสุดเท่าไหร่เหรอครับ
อยากจะบอกว่าพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีเยอะมากยี่ห้อนี้ดีที่สุด ส่วนกำลังวัตต์สูงสุดแค่ไหนมีไปเรื่อยเรื่อยเรื่อยครับ ยังไม่เจอว่าสูงแค่ไหนขอแค่ใช้เพียงพอกำลังวัดสูงสุดที่มีโอกาสเป็นไปได้จากการใช้อุปกรณ์อุปกรณ์ทางบ้าน ลองประเมิน W รวม ดูครับ
ก็เพิ่มหลายๆตัวแต่ต้องตั้งแรงดันให้เท่ากัน มันจะสูญเสียค่าตัวอุปกรณ์ที่มันตัวมันเองไม่เท่าไร
มีปัญหา ไฟกระชากตอนปั๊มน้ำทำงาน
รบกวนหน่อยครับแก้ยังไงดี
มันกระชสกก็ปกตินะครับ inverter spec ที่ใช้รองรับ W สูงสุดได้มั๊ย ของผมได้ปกติสบายๆ ผมใช้ inverter 3.2KW รับโหลดปั๊มนี้ผม +600W ครับ วัตต์รวมจะพุ่งเลย แนะนำให้ upgrade Inverter ก่อนเลยคัรบ
ใช้วงจรซอฟสตาร์ท
ถ้าใช้invtขนาด6.2k 48v ต้องทำยังไงครับ
ได้ครับ มีสวิชชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย 48 โวลต์ให้เลือกซื้อ ใช้งานได้เหมือนกันเลยครับ
ผมแนะนำยี่ห้อ Meanwell ร้านตามลิงค์ใต้คลิปเลยนะครับ
s.shopee.co.th/8UpYeX0PRC
c.lazada.co.th/t/c.YclKMx
ถึงจะเป็นของมือสองแต่ก็ใช้งานได้ดีร้านดูแลดี
ช่วงแดดแรง..ไฟโซล่าเซลล์มาเต็ม
แบตก็เต็ม โหลดไม่มี
ไฟจะย้อนเข้าสวิชชิ่ง ป่าวครับ
ไม่ย้อนครับ เนื่องจาก switching มี diode ในตัวอยู่แล้วครับ ยังไงยืนยันว่าไม่ย้อนแน่นอนครับผม
@@ithomez อ๋อ..ขอบคุณมากครับ ที่แบ่งปันความรู้ กดติดตามแล้วครับ
ขอบคุณมากครับผม
ถ้าอินเวอร์เตอร์ดึงกำลังไฟเกินจากswitching ก็จะดึงไฟจากแบตมาร่วมด้วยใช่มั้ยครับ
ใช่ครับ จะดึงไฟจาก Battery จนถึงค่า Battery Cut-Off แบบขาดๆ หายๆ เหมือนไฟตกครับ ถ้าดึงไปเรื่อยๆ เมื่อ Battery ตัด ก็จะเป็นการ overload ครับ อยู่ที่เราตั้งค่าว่า Inverter รับ Overload แบบไหนครับ
การที่ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้ามากขึ้น ผลประโยชน์ของหน่วยงานย่อมลดลงตามไปด้วย แทนที่จะเห็นใจคนรากหญ้านี่ ไม่ได้เลย ตลกมากครับ การลดภาระของชาวบ้านนั่นคือสิ่งที่ดี
ผมก็พูดแซะบุคลากรการไฟฟ้าไปว่า เอาเปรียบกับประชาชน ดิ้นเลยครับ
เป็นธรรมดาของคนที่เห็นอนาคตว่ารายได้จะหดหายครับ เอารัดเอาเปรียบมานานคิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าทุกสิ่ง คงคิดว่ายังไงก็ไม่มีทางเลือก ซึ่งสมัยก่อนก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แต่สมัยนี้ไม่ใช่แล้ว แม้แต่ผมเองอนาคตก็อาจจะเพิ่มไปเรื่อยเรื่อยจนไม่ได้ใช้ไฟหลวง ก็เป็นได้นะครับ 😅🤣
@@tanongpoti
เอาเปรียบตรงไหนครับ
ไฟฟ้ารับภาระทางสังคมมากมาย เช่น ให้โค้วต้าไฟฟ้าสาธารณะหมู่บ้าน 10% ของการใช้ไฟฟ้ามวลรวมในแต่ละชุมชน ซึ่งสรุปแล้วแทบจะไม่ได้จ่ายค่าไฟสาธาระณะกันเลย แทบจะทั้งประเทศ ไฟสนามกีฬาเยาวชนทุกสนามทั่วประเทศ
ให้สิทธิ์ชาวบ้านที่ใช้ไฟไม่เกิน 50 หน่วยหรือ 90 หน่วย ฟรีหากใช้แบบประหยัดติด่อกัน 3 เดือน ซึ่งชาวบ้านที่มีรายได้น้อยเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เยอะก็แทบไม่ต้องจ่ายค่าไฟเลย
และที่สำคัญค่าไฟฟ้าที่คิดต่อหน่วยสำหรับที่พักอาศัย การไฟฟ้าขายแบบขาดทุน แต่จะมีกำไรกับจากสถานประกอบการธุระกิจ
และเชื่อหรือไม่ว่า รายได้บางตำบล อำเภอ ภาพรวมแล้วยังขาดทุนเลย
และอื่นๆ อีกมากมาย
ผลกำไรก็ต้องส่งเข้ารัฐแบบไม่ตกหล่น
รองรับนโยบายรัฐทุกอย่างที่จะเอื้อประโยชน์ให้ ปชช.
การต่อออนกริด มีทั้งผลดีและผลเสีย
ต้องยอมรับว่าบางคนที่มีความรู้สูงๆ แต่ไม่สื่อสัตย์ก็โกงการใช้ไฟ
ส่วนที่บอกว่าการไฟฟ้าตั้งใจโกง อันนี้ในระบบไม่มีแน่นอน
แต่ถ้าเป็นความผิดพลาดของอุปกรณ์แล้วสามารถคำนวณได้ การไฟฟ้าก็ชดเชยคืนให้อยู่แล้ว
ยังมีรายละเอียดอีกมากซึ่งบอกได้เลยว่า การไฟฟ้านี่แหละที่เป็นหน่วยงานปิดทองหลังพระหน่วยงานหนึ่งที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจเดินหน้า และร่วมพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศอยู่เงียบ
พวกเรายังโชคดีแค่ไหนที่ ทักษิณ ขายหน่วยงานไฟฟ้าไม่สำเร็จตั้งแต่พร้อมๆ กันกับ ปตท. ภายใต้คำสวยหรู ว่าแปรรัฐวิสาหกิจ
ถ้าทำสำเร็จ
ป่านนี้ ปชช.จะน้ำตานองหน้าขนาดไหนแ
@@Nid-Lanamคุณตอบกลับแบบถามกลับว่า การไฟฟ้าเอาเปรียบตรงใหน และยังชมเชยการให้ใช้ไฟฟ้าฟรีแก่คนที่ใช้ไม่เกิน50หน่วยอะไรนั่นอีก และยังพูดอีกว่าการไฟฟ้าขาดทุน ผมขอถามกลับว่า ค่าไฟฟ้าฐาน(ft)ที่บวกมากับบิลค่าไฟมีแนวคิดจากอะไรบ้าง 50หน่วยที่ให้ใช้ฟรีเป็นแนวคิด ของการไฟฟ้าหรือ
ประชาชนที่เดือดร้อนที่ได้ต่อไฟฟ้าชั่วคราว(หม้อพิเศษ)มาเป็น3-4ปีไปขอการไฟฟ้ามาขยายเขตถูกบอกปัดให้ไปเดินเรื่องกับทางเทศบาล (บอกเทศบาลเป็นสิบๆครั้งแล้ว)เงียบไม่มีอะไรคืบหน้า (ค่าไฟฟ้าหม้อชั่วคราวเก็บเงินเพิ่ม2เท่าของหม้อทั่วไป) กรณีเกิดอุบัติเหตุรถไปชนเสาไฟฟ้าหักโค่นจนสายไฟขาด ซักหนึ่งต้นคุณคิดว่าการไฟฟ้าเรียกค่าเสียหายเท่าไหร่(ทั้งๆที่ผู้ประสพเหตุอุบัติเหตุบ้างก็ตายคาที่หรือไม่ก็บาดเจ็บสาหัส) ดินสไลด์ ไม้โค่นใส่สายไฟหรือเสาไฟขาดไฟช๊อตลงดิน ไฟช๊อตที่หม้อแปลงใหญ่ หม้อแปลงใหญ่ระเบิด กระแสไฟที่หายไปกับเหตุการณ์ประเภทนี้คุณคิดว่าการไฟฟ้าปล่อยให้เสียฟรีเหรอ คุณช่วยตอบผมทีสิว่าที่ผมรู้มาในสิ่งที่ผมถามมานี้ให้ทราบหน่อยเผื่อว่าผมยังเข้าใจในสิ่งที่ผิดมาตลอด
@@Nid-Lanamไฟฟ้าฯ ทำมาจากพลังงาน เขื่อนไม่ใช่หรอครับ..ผมไม่เห็นว่ามันจะแบกรับภาระอะไร...เดือนหนึ่งมีกำไรเป็นพันๆล้าน..ไม่ใช่หรอครับ...ถ้าดูจากราคาค่าไฟแล้วก็ไม่ต่างจากอะไรกับรัฐวิสาหกิจหรอกครับ
ผมว่า แทบไฟ300โวล จากวิทชิ่งแล้วต่อเข้าช่องเดิมac ของไฮบีท ได้จะง่ายกว่าครับ
ควรจะต้องเป็นสวิชชิ่ง 300 โวลต์เหรอครับ ผมไม่เคยใช้ปกติแล้วสวิชชิ่งมันก็น่าจะแปลงไฟเหลือวนต่ำกว่า 220 นะ แสดงว่าคุณต้องแปลงขึ้น มันก็ยอมเปลืองไฟ😅 จริงๆมันได้ทุกรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้ตอบโจทย์ประมาณไหน แต่ผมก็ยังไม่เคยใช้แบบที่คุณคอมเม้นต์ไว้ครับ มันทำงานได้ดีจริงจริง☺️
@@ithomez วงจรสวิทชิ่งจะมีภาคกริดกรู แปลง ac to dc 300 volt ครับ แทบเอาจากตรง คาปา ไปใช้เลยครับ
มีบางคนเค้าก็เติมเข้าไปทางฝั่งโซล่าเซลล์ก็มีนะครับ ประมาณว่าแรงแบบที่คุณทำเลย เป็นDC = แผง แล้วเติมเข้าไปเสริมกับแผงโซล่าเซลล์ ก็เหมือนมีไฟเข้าโซล่าเซลล์ตลอดเวลา ถ้ามีกระแสมาจากแดดแรงก็ทำงานได้ พอแดดหมดก็มีกระแสจากไฟบ้านมาเสริมสุดยอด
ผมว่าแบบพี่ในคลิปนี้ดีกว่า เพราะ ปกติ inverter ฝั่ง pv มันจะมีกำหนด volt สูงสุด, amp สูงสุด รวมถึงจำนวนแผงสูงสุด เพื่อให้ mppt charger ไม่พัง ถ้าพี่ต่อแผงเต็มประสิทธิภาพ mppt แล้ว เทคนิค กริดกรู ก็ใช้ไม่ได้ แต่เทคนิคพี่ในคลิปนี้ยังใช้ได้
แบตเตอรี่กี่แอมป์ครับ แล้วสายแบตเตอรี่ขนาดกี่AWGครับ
แบตผม 120Ah ครับ ใช้สายแบต 16sq.mm หรือ 6AWG
เครื่องนี้หาซื้อได้ที่ไหนครับ
ตามลิงค์ใต้คลิปนี้เลยครับ
🔥ร้านสินค้า Meanwell มือสอง 24V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.YcWvs9
🔥มือสอง 12V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.Yc28RC
🔥ร้านสินค้ามือ1 ของใหม่ Meanwell 24V: c.lazada.co.th/t/c.YcWFm4
🔥Meanwell 12V : c.lazada.co.th/t/c.Yc28Qc
ทำไม ไม่ใช้ไฟบ้านโดยตรงล่ะครับ
ถ้าแบตเตอรี่สำรองหมด ก็ปิดระบบอินเวอเตอร์ไปใช้ไฟบ้านไปเลย เครื่องจะได้พักงานบ้าง
แบบนี้ควรใช้ช่วงกลางวันที่แดผลุบๆโผล่ ๆ มากกว่าครับ
จริงๆก็ต้องการแบบนั้นครับ แต่เบื้องต้นต้องการให้มันสมูทสลับอัตโนมัติ ก็เลยชดเชยแบตเตอรี่ด้วยวิธีนี้ไปก่อน และสุดท้ายก็เจอว่ามันสลับสลับโดยตรงไม่ได้ใช้ ATS 220V โดยตรงก็ไม่ได้เพราะเราไม่สะดวกอยู่สลับตลอดตลอดเวลาและอีกอย่างหนึ่งไฟมันจะวูบครับ เสมือนดับไป 2 วินาทีประมาณนั้น
ซึ่งผมกำลังคิดวิธีเพิ่ม ก็คือเราจะจะใช้UPS กำลังวัตต์สูงมาจ่ายไฟให้อุปกรณ์ในบ้านเพื่อรับโหลด ตอนที่เราใช้ ATS สลับไฟจากชุดโซล่าเซลล์ไปเป็นไฟบ้านโดยตรง 220 โวลต์ ก็น่าจะไม่ติดอะไรครับแต่ก็ยังติดว่าต้องสลับเองอยู่ดี ผมก็จะใช้วงจรทำตัดเต็มต่อ มาเป็นเป็นตัวสั่งงานเมื่อแบตเตอรี่ต่ำกว่า 25.5V ให้สลับไปใช้ไฟบ้านแทน แล้วก็ปล่อยให้โซล่า ชาร์จเจอร์ อยู่ในโหมดนิ่งๆ ครับ เดี๋ยวทำเรียบร้อยแล้วจะเอามาให้ชมเป็นคลิปต่อไปต่อไปครับ
@@ithomezใช้ชุดแมคเนติกสลับไฟเร็วทนatsแทบไม่รู้สึกอะไรเลยเหมือนในกรณีไฟแบตหมดแล้วอินเวอรเตอรสลับไฟบ้านให้เรา ชุดรีเลย์สลับไฟที่อยู่ในตัวอินเวอรเตอรเราก็ทำการาลับไฟไม่รู้สึกเลยครับ
ขอบคุณสำหรับแนวทางพี่แล้วค่าสูญเสียเยอะไหมพี่จากการแปลง 230vac ไป 24vdc แล้วกลับเป็น 230vac
ส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีการสูญเสียแน่นอน แต่คิดว่าเน้นฟังก์ชันครับ เพื่อความสะดวกและราบรื่นในการใช้งานแบตไม่ลดด้วย ตอนนี้ผมเพิ่มอีกวิธีในการสลับไปใช้ไฟบ้านเพื่อลดการสูญเสียนี่แหละ ลดการสูญเสียพลังงานพลังงานจากการระบายความร้อนของตัวcharger / inverter เอง เนื่องจากตราบใดที่ยังแปลงไฟอยู่มันก็พัดลมเป่าตลอดเลยครับก็เลยสลับไฟไปใช้ไฟบ้านซะเลยตามคลิปนี้
th-cam.com/video/dakMxP9Xh-8/w-d-xo.htmlsi=jsfy8RPYfhxttOW2
ถ้าเป็นระบบ 48 โวต์ มี ขายไหมครับ
มือ1 เห็นขายแต่ 12V และ 24V ครับ
🔥Meanwell 48V มือสอง : c.lazada.co.th/t/c.YceXNT
🔥Meanwell 48V ใหม่ : s.shopee.co.th/30UDj1jYUC
🔥ร้านสินค้า Meanwell มือสอง 24V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.YcWvs9
🔥มือสอง 12V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.Yc28RC
🔥ร้านสินค้ามือ1 ของใหม่ Meanwell 24V: c.lazada.co.th/t/c.YcWFm4
🔥Meanwell 12V : c.lazada.co.th/t/c.Yc28Qc
ผมใช้อยู่ แบตต่ำหรือแดดหุบผมก็ออนเลย
48v 2000w 34-37ah ราคา1000-1500บาท.(ตามสภาพ เป็นสวิทช์ชิ่งถอดออกจาก เบสเสาโทรศัพท์
ระบบ 48 v. มีนะครับ สั่ง ลาซาด้า ร้านอยู่ที่จีน
@@ธัญญาแมลงภู่ปรับโวลน์ได้มั้ยครับ มีขายที่ไหนครับ
การไฟฟ้าห้าม ก็ควรหาทางชี้แนะแก้ไขหรือวิธีอื่นๆมาแนะนำด้วย ไม่ใช่ห้ามอย่างเดียว ทั้งที่อุปกรณ์เขามาตรฐานระดับโลกมาตรฐานยูโรก็มี ควรเป็นแบบนี้ใช่หรือไม่
เค้าก็ห้ามไปตามเรื่องครับ ห้ามสำหรับคนที่ไม่รู้ก็ไม่โต้แย้ง แต่สำหรับคนที่พอจะเข้าใจและผมด้วยการตอบแบบผมก็ไม่เห็นเป็นไรมันก็คือแปลงไฟมาใช้นั่นแหละ ผมก็ไม่ได้ต่อ On grid หรือตอบแบบ Hybrid ด้วยซ้ำก็ไม่มีทางที่จะกระแสไฟจะออกย้อนกลับ ไปยังการไฟฟ้าแน่นอน😀
ทำคลิปสอนวิธีต่อให้ดูได้ไหมครับ ขอบคุณครับ
เดี๋ยวผมดูก่อนนะครับถ้ามีรอบถัดไปเดี๋ยวผมทำวิธีต่อดูแต่จริงๆอยากให้เห็นตามอธิบาย การต่อก็เข้าใจว่าไม่น่ายากเกินไปเลยไม่ได้ทำให้ดูครับผมตัดออกหมดเลย☺️
@@ithomezผมว่ามีประโยชน์สำหรับมือใหม่นะครับคนที่อยากลองทำระบบแบบนี้ครับ
อันนี้เป็นคลิปประกอบแบตเตอรี่นะครับ
th-cam.com/video/dMuREhmvyB8/w-d-xo.htmlsi=4zE-wuH3PS_LGDPC
ประหยัดเพิ่มขั้นไหม
ใช้โซลาร์เซลล์ประหยัดไฟขึ้นครับแต่มันต้องใช้เวลานานกว่ามันจะคุ้มทุน หวังว่าสักห้าปีคุ้มคุ้มค่าก็โอเคแล้ว ส่วนเรื่องการทำเสริมแบตเตอรี่ด้วยไฟบ้าน อันนี้ไม่ได้ทำให้ประหยัดนะครับ ทำให้สะดวกและแบตเตอรี่ไม่ลด เหมาะกับกรณีที่ไม่อยากให้ชาร์จแบตเตอรี่บ่อยหรือกรณีแดดลดแดดหมด ไฟแบตชาร์จไม่พอก็เสียบแบบนี้ก็ได้ครับ แต่สุดท้ายอย่าลืมว่ามันก็ไปใช้ไฟบ้านอยู่ดี จุดที่จะทำให้คุ้มค่าคือติดแผงโซลาร์เซลล์ให้เพียงพอและใช้งานจากแดดให้ได้มากที่สุด
ช่วยขยายให้ฟังหน่อยครับ ว่าการไฟฟ้าห้ามต่อแบบไหนนะครับ ลองอธิบายช้าๆว่า คนทั่วไปต่อแบบไหน แล้วการไฟฟ้าห้ามแบบไหนครับ อย่างล่าสุด…ผมไปถามการไฟฟ้ามา บอกเขาว่ากำลังมองหาแบตเตอรี่มาต่อกับ hybridge inverter การไฟฟ้าบอกไม่ได้ ผิดกฎหมาย ถึงแม้ว่าคนทั่วไปจะใช้กันอยู่
เท่าที่เห็นจากการนำเสนอและการแชร์ต่อกันมาคือ การไฟฟ้าไม่อยากให้ต่อไฟเสริมโดยตรงให้กับ Hybrid Inverter เพราะเพื่ออยากให้มั่นใจว่า ตัว Hybrid ไฟไหม้ย้อน ชาวบ้านบางคนไม่รู้ต่อไฟเข้าโดยตรงจริงๆมันคือการต่อไฟคืนการไฟฟ้า เค้าก็เลยตัดจบโดยไม่ให้ต่อครับ แค่นั้น
แต่ผมนำเสนอการชาร์จแบต เราเอาสวิชชิ่ง เป็นหม้อแปลงแปลงจาก 220 โวลต์ มาชาร์จแบตเตอรี่ ชาร์จ concept ตามคลิป เอาไว้ใช้กรณีแบตหมดเท่านั้น เพื่อไม่ให้แบตเตอรี่ตัด ซึ่งกระแสไฟจะไม่ย้อนกลับแบตกลับเข้าการไฟฟ้าผ่านสวิชชิ่งแน่นอนครับ วิธีนี้เหมือนแปลงไฟมาใช้ทั่วไป
ขออนุญาติตอบเสริมครับ ปกติ เครื่อง HyBridge Inverter จะมีช่องต่อไฟ AC IN (ไฟจากการไฟฟ้า) เข้าเพื่อจ่ายเป็นไฟสำรองในกรณีไฟจากโซล่าเซลล์ หรือจากแบตเตอรี่ไม่พอ ตัว Inverter นี้ ก็จะจ่ายไฟจากการไฟฟ้าออกมาแทน เพื่อให้เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้งานได้ต่อเนื่องไม่สะดุด
-ในปัจจุบันเครื่อง HyBridge Inverter มีทั้งแบบ Off Grid , On/Off Grid ปัญหาอยู่ที่แบบ On/Off Grid ที่สามารถผลิตจ่ายไฟออกมาได้ทั้งทางจุดต่อโหลด และออกทางจุดต่อ AC IN ที่รับไฟมาจากการไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าไม่ยอมให้มีการผลิตไฟออกที่จุดต่อไฟ AC IN เพราะไฟนี้สามารถย้อนกลับไปเข้าระบบของการไฟฟ้าได้ เพื่อตัดปัญหาเรื่องนี้เพราะมองจากภายนอกจะไม่รู้ว่าเครื่องไหนเป็น Off grid หรือ On/Off Grid ทางการไฟฟ้าจึงไม่ไห่มีการต่อไฟเข้าที่จุด AC IN ของเครื่อง Inverter(ยังไม่เป็นทางการ เพียงแต่เป็นการบอกต่อกันมา ยังไม่มีระเบียบที่ชัดเจน)
-วิธีในคลิป ก็เป็นทางแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง โดยการแปลงไฟบ้านเป็นไฟ DC ก่อน(เหมือน AC/DC Adapter) และต่อมาจ่ายไฟแทนแบตเตอรี่เพื่อ Back Up ระบบไว้ให้ทำงานต่อได้เมื่อไฟจากโซล่าเซลล์หรือจากแบตเตอรี่ไม่พอและไม่ใช้ ATS เป็นวิธีเลี่ยงการห้ามต่อไฟ AC เข้า Inverter โดยต่อไฟ DC เข้าแทน
-ในอนาคต หากระเบียบที่ว่าออกมาจริง ก็คงจะต้องไปใช้ Inverter Off Grid ธรรมดาแทน (ซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่อง HyBridge On/Off Grid มาก ) และใช้ AC/DC Adapter มาจ่ายไฟสำรองแทนโดยไม่ใช้ ATS /MTS เหมือนในคลิปนี้......
ถ้าไฟแผงลงมาแรงกว่าสวิทชิ่งมันจะย้อนเข้าสวิทชิ่งมั้ย....เห็นไมต่อไดโอดเลย
ไม่ย้อนครับ สวิชชิ่งหรือเพาเวอร์ซัพพลายหรืออาแดฟเตอร์ทั่วไป มีไดโอสกันย้อนอยู่ภายในภายในอยู่แล้วครับ เป็นหลักการจ่ายไฟทางเดียวของสวิตชิ่งอยู่แล้วครับผม
การไฟฟ้าก็จะหาวิธีห้ามแบบอื่นมาใช้บังคับ
แทนที่จะร่วมกันพัฒนาระบบโซล่าเซลล์ให้เสถียร ปชช.ได้ประโยชน์สูงสุด
คนเราเคยอยู่สุขสบาย กำไรมากมายมหาศาล พอกำไรลดก็ไม่พอใจหาทุกวิถีทางห้ามประชาชนได้ดีแบบนี้แหละครับ ทุกวันนี้องค์กรของรัฐมักจะสู้องค์กรเอกชนไม่ค่อยได้หลาย มุมมอง แต่อย่างไรประชาชนก็ต้องพึ่งรัฐอยู่แล้ว ควรจะพัฒนาไปพร้อมกันครับ
เสียดายโบนัสครับ!
ระยะหลังถึงไม่แปรรูป นักธุรกิจการเมืองมันก็หาทางแปรผันเอาเงินเข้ากระเป๋าแล้วให้ประชาชนรับภาระแทน ... มันเป็นคนไทยแต่ตัวเท่านั้น!!!
พ่อแม่มันคงจะภูมิใจมากที่ทำลูกให้เกิดมาโกงชาวบ้านได้เนียน ๆ...
ใจเย็นๆครับ 😄🤣 เรื่องแบบนี้ข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจมันเป็นมาตั้งแต่อดีต พวกองค์กรของรัฐสมัยก่อนมันก็มีภาษีฝากเอา มีพวก 10 หยิบหนึ่ง มีภาษีนู่นนี่เต็มไปหมด มันไม่เรียกว่าภาษีสมัยก่อนมันเรียกว่าค่าอะไรซักอย่างผมก็จำไม่ได้ พอเป็นมาตั้งแต่อดีตมันก็เป็นมาถึงปัจจุบันครับมันไม่หายหรอก😅🤣🥹
เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของช่างซ่อมบำรุงด้านสายจ่าย ใครจะรู้ว่าเมื่อปลดด้านแรงสูงหม้อแปลงแล้วจะมีไฟฟ้าจากบ้านหลังไหนก็ไม่รู้จ่ายสวนออก ที่แย่คือย้อนเข้าไปด้านแรงต่ำของหม้อแปลงแล้วมีช่างขึ้นไปซ่อมบำรุงหม้อแปลง อะไรจะเกิดขึ้น ถึงแก่ชีวิตเลยนะ
เขาให้ติดตัว ATS เลือกด้านก็ถูกต้องแล้ว
ง่ายจะตายถ้าไม่อยากให้พาเวอร์ชาร์จแบตก็แค่ขั้นด้วยได้โอดกันไฟย้อน ถ้าไม่กันย้อนแบตก็จะถูกกะตุ้นอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากโวลตกตอนมีโหลดนิดเดียวแบตก็ต้องจายไฟออกไปช่วยแล้วกลับมาชาร์จเมื่อไม่มีโหลด ช่วงVบวกลบเล็กน้อยผมจึงเรียกแบตโดนกะตุ้นอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะยืดอายุแบตจริงๆต้องกันย้อนไปเลย (แนวคิดนี้ใช้ได้เฉพาะคนที่มีอินเวอเตอรและเครื่องชาร์แยกออกจากกันเท่านั้น)
ขอบคุณมากครับ
กันไฟย้อนเข้าสวิชชิ่งยังไงครับ
ไม่ต้องกันครับ เพราะว่าสวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายมีไดโอดอยู่แล้ว ไฟจะไม่ย้อนจากแบตเตอรี่เข้าไปยังสวิชชิ่งครับถึงแม้ว่าแบตเตอรี่ไฟสูงกว่าก็ตาม ส่วนใหญ่ พาวเวอร์ซัพพลายรวมถึงอาแดฟเตอร์ มีไดโอดอยู่ฝั่งขาออกอยู่แล้วครับ
@@ithomez ผมมีสวิชชิ่ง12v 2อัน เอามาอนุกรมได้มั้ยครับ
คิดว่าไม่ได้ครับมันไม่เหมือนแบตเตอรี่ ที่จ่ายประจุอนุกรมกันได้ ลองก็ได้นะครับแต่ผมไม่เคยลองเลยคิดว่ามันไม่ได้อยู่แล้ว แนะนำว่าซื้อตัวใหม่สบายใจกว่าครับผม
ขอคลิปต่อไวไฟหน่อยครับ
คลิปนี้ครับผม th-cam.com/video/EDiBMU57DE8/w-d-xo.html
ทำไม เวลาไฟแบต สูงก็ว่า power supply 25.3. ถึงไม่ย้อนเข้า เพาเวอร์ซัพพลาย ครับ
ในเพาเวอร์ซัพพลาย มันมีไดโอดอยู่เเล้วครับ
ใน Power supply หรือพวก adapter charge มีไดโอดกันย้อนเสมอครับ
@@chayananbuakhli2786ถ้าเป็นพาวเวอร์ชัพพลาย มีไดโอดหมดใช่มั้ยคับ
ขอรายละเอียดเพิ่มเติมครับ
รายละเอียดอยู่ในคลิปนี้หมดแล้วนะครับ หรือไม่ก็ลองเข้าไปดูในเพลย์ลิสต์ที่เกี่ยวกับโซล่าเซลล์ที่ผมทำเอาไว้ให้มีรายละเอียดครบทุกอย่างตั้งแต่เริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์เองเลยครับผม
แบตจะเสี่อมไวมั้ยครับแบบนี้
ผมทำแบบนี้เพื่อให้แบตเตอรี่เสื่อมช้าลงครับ มันจะมีไฟเข้ามาเสริม ทำให้แบตเตอรี่ไม่ลดลดลงต่ำแล้วก็ลดรอบการชาร์จจากการขึ้นลงแบบสวิงของแบตเตอรี่ครับ
สนใจมากครับ
ลองเข้าไปดูรายละเอียดในเพลย์ลิสต์นี้ครับ
th-cam.com/play/PLV3pQqLnn0Zfm2D5c_ytpsxPPV4uOx9sj.html&si=UsCOlxJ_yKQC25HQ
มีรายละเอียดครบทุกอย่างตั้งแต่เริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์ประกอบแบตเตอรี่รวมถึงการติดตั้ง เครื่องชาร์จโซลาร์เซลล์ครับ
การตั้งv สวิตช์ชิ่ง11.7 สมมุติไฟบ้านดับ เราต้องมาตั้งv ที่สวิตช์ชิ่งอีกไหมครับหรือตั้งแล้วตั้งเลยครับ กรณีไฟบ้านดับ
ตั้งแล้วตั้งเลยครับ สวิชชิ่งจะจ่ายออกมาที่ 11.7 โวลต์เท่านั้น ถ้าไฟแบตสูงกว่ามันจะหยุดจ่าย ค่าไฟ = หรือต่ำกว่าจะเริ่มจ่ายออกครับ คุณจะต้องซื้อสวิชชิ่งรุ่น 12 โวลต์นะครับ
ทำไปเพื่่ออะไร?
เพื่อไม่ให้แบตหมด แล้วระบบตัดครับ แล้วก็ solar charger รุ่นนี้มันแปลกๆ มันชาร์จแบตจนถึงกำหนด แต็มแล้วก็ discharge ใช้แบตจนหมด แล้ว มันก็ชาร์จใหม่วนไปครับ ไม่ยอมใช้ไฟบ้านแบบ Hybrid ต่อเนื่อง
แก๋ว
ใช้งานได้ดีครับ สวิชชิ่งออกแบบมาได้ดีมาก สามารถใช้กับบ้านที่ไฟตก รวมกับการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์ด้วยก็ได้ครับ
ขอไอดีลายติดต่อหน่อยครับ
สามารถทักมาคุยกันทาง Facebook แชทได้เลยครับ
ถ้าเราใส่ กันย้อน DC ทั้งสอง ชุดจะดีมั้ยครับ ทั้ง PSU และ แบตเตอรรี่ เผื่อ อนาคต มี ฝ่ายนึงฝ่ายใด เสีย ไฟจะได้ไม่วิ่งไป ถล่มอีกฝ่ายนึง
มันก็ไม่น่าจะมีผลครับ ไฟไหม้ย้อนกลับสวิชชิ่งอยู่แล้ว แล้วก็ไฟทางเดียวจากสวิชชิ่งไปหาแบต โอกาสที่มันจะเสียส่วนใหญ่ก็เป็นสวิชชิ่งเสียครับ ส่วนใหญ่แบตก็น่าจะเป็นแค่แบตเสื่อมปกติ ส่วนตัวมองว่าสวิชชิ่งมันมีมีการย้อนกลับไปหาตัวเองอยู่แล้ว ส่วนแบตเตอรี่มันก็รับไฟตลอดอยู่แล้ว ผมมองว่ามันไม่น่าจะต้องใส่กันนะครับหรือเป็นไอเดียแบบไหนที่ผมเองยังมองไม่ออกหรือเปล่า
ถ้าไฟจากแบตเตอรี่หมดช่วงตี 3 ตี 4 และเจ้าของช่องบอกว่า ดึงไฟจากสวิตชิ่งมาใช้แทน สมมุติเราเปิดแอร์ปกติถึง 7 โมง ยังงั้นเราก็ใช้แอร์ไม่ได้ใช่มั๊ยครับ เพราะว่า ตัวสวิตชิ่ง แค่300 วัตต์ เทียบการกินกระแส 1.3 แอมป์กว่าๆเอง
ใช่ครับ ใช้ไม่ได้ มันจะต้องออกแบบไว้ตั้งแต่ก่อนล่วงหน้าแล้วครับว่าสวิชชิ่งจะต้องรองรับกระแสที่แอร์ต้องการ คำนวณกำลังวัตต์ให้ครอบคลุมอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยครับ เช่นสวิชชิ่งจะต้องจ่ายไฟได้กำลังวัตต์สูงครอบคลุมอุปกรณ์ที่มีโอกาสใช้ได้สูงสุดทั้งหมดในบ้าน บางคนที่ผมรู้จักใช้สวิชชิ่งกำลังวัตต์รวมกัน 5000 วัตต์เลยครับ อาจจะใช้สวิชชิ่ง 3 ตัวต่อขนานกันก็ได้นะครับ
เสียบไฟจากแผงเฉยเลย ใช้ไฟฟ้าทำไม
แผงผมมีเท่านี้ครับ มันได้กำลังไฟไม่พอพ้นคืนเลย ด้วยความจำเป็นครับเลยต้องพึ่งไฟหลวงอยู่ดี 😁 จึงออกมาอย่างที่เห็น แต่ก็ไม่ได้ต่อตรงนะครับผ่านหม้อแปลงสวิชชิ่งก่อน ยืนยันว่าแปลงเป็นไฟโวลต์ต่ำ มาชาร์จแบตครับ ไฟไม่มีทางย้อนกลับแน่นอน😂 หากมีความสามารถในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากกว่านี้ ค่อยว่ากันครับเรื่องการปรับเพิ่มเอาไว้ทีหลังครับ 😅😆
เมื่อมีไฟหลวงเข้ามาผสม ต้องขอการไฟฟ้าทุกกรณี เพราะถ้าอุปกรณ์ช๊อต ไฟฟ้าของคุณจะย้อนไปไฟหลวง
อุปกรณ์ตัวนี้คือตัวแปลงไฟเท่านั้นครับ มันคือเพาเวอร์ซัพพลายเช่นเดียวกับของโน๊ตบุ๊กหรือคอมพิวเตอร์ ไม่มีทางย้อนกลับแน่นอน หากต้องขอแสดงว่าเวลาที่คุณจะซื้อคอมใหม่ก็ต้องไปขอด้วยหรือเปล่าครับ ลองทำความเข้าใจหลักการเพิ่มของพาวเวอร์ซัพพลายดูนะครับ
คลิปนี้นำเสนอการต่อเข้าฝั่งทางแบตเตอรี่ มันคือการชาร์จแบตเท่านั้น ไม่ได้ต่อเข้าอินเวอเตอร์ครับผม
อันนี้ดีครับ ปิดจุดบอดไฟแบตไม่พอ ตัวนี้ก็เข้าไปจ่ายให้แทนแบต อุปกรณ์ น่าจะดี ผมก็พึ่งเคยเห็น กันไฟย้อนเข้าได้ แถมจ่ายให้ชาร์เจอร์ได้ด้วย
ผมมีข้อสงสัย ถ้าแบตเต็ม ชาร์จเจอร์จะดึงกระแส จาก ตัวเครื่องหรือจากแบตครับ หรือตั้งให้ v. ตัวเครื่องต่ำกว่าแบต เมื่อแบต ต่ำกว่าตัวเครื่อง ชาร์จเจอร์ก็จะเอากระแสจากแบต ไหมครับ
กระแสจากแผงเข้าตัวเครื่องไม่ได้เพราะเครื่องมีกันย้อน แต่ขนานแบบนี้กระแสจากตัวเครื่องจะเท่ากับไปชาร์จให้ แบตไหมครับ เพราะกระแสผ่านตัวขนานระหว่างแบตกับชาร์จเจอร์ด้วยโดยไม่มีสะพานกั้น
ผมทดสอบแล้ว ตราบใดที่โวลต์ของแบตเตอรี่ไม่มีทางต่ำไปกว่า ซูชิงเพาเวอร์ซัพพลายตัวนี้แล้วจะไม่มีการชาร์จแบต จากสวิชชิ่ง Power Supply ตัวนี้ อีกต่อไปครับ เพราะเมื่อไหร่ที่แบตเตอรี่ต่ำลงมาถึง 25.4 สวิชชิ่ง Power ซัพพลายจะจ่ายไฟเข้าไปทันที เมื่อแดดมาระบบโซลาร์จะชาร์จแบต ไฟเข้าแบตแต่ไม่เข้าสวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายครับ เพราะโวลต์แบตขึ้นสูง สวิชชิ่งพาวเวอร์ก็จะเหมือนไม่มีตัวตนไม่จ่ายกำลังไฟเลย ผมสังเกตจากสมาร์ทปลั๊กที่วัดไฟได้ตามคลิป จนกว่าผ่านไปตกดึกที่แบตเตอรี่จ่ายไฟจน V ต่ำลง ประมาณว่าไฟเกือบหมดจน V ลดลงมาถึงระดับเดียวกันกับที่สวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจ่าย ไฟก็จะถูกดึงมาจากสวิชชิ่งทันที แบตเตอรี่ก็เหมือนหยุดทำงานครับ รอจนกว่าพรุ่งนี้จะแสงอาทิตย์ขึ้นอีกรอบ ดูเหมือนว่าตอบโจทย์การสำรองไฟอีกแบบนึงไปในตัวครับ
@@ithomezหลักการทำงานของระบบนี้ คือเมื่อ แบตไม่พอ สวิตจะจ่ายกระแส เข้าชาร์จเจอร์แทนแบต แต่กระแสจะไม่เข้าแบต เพราะ v. แบตกับ v. สวิตที่ตั้วไว้เท่ากัน จนมาตอนเช้า เมื่อแผงรับแสงได้ กระแสจาก สวิตชิ่ง จะค่อยๆดึงมาใช้น้อยลง ไปใช้กระแสจ่ายแผงแทน โดนขณะเดียวกันเมื่อกระแสเหลือ ก็ใช้ชาร์จให้แบตไปด้วยจนแบตเต็ม พอแดดหมด ก็ไปดึงไฟจากแบตมาแทน ตรงนี้ ชาร์จเจอร์จะไม่ดึงไฟจากสวิตชิ่ง เพราะ v. สวิตชิ่งจะ ต่ำกว่า แบต ที่ชาร์จเต็มแล้ว พอใช้ไฟจนแบตไม่พอ สวิตถึงจะทำงานจ่ายกระแสแทน วนลูปอยู่แบบนี้
ผมพอเข้าใจหลักการถูกไหมครับ
ถูกต้องครับเป๊ะมาก ตรงกับที่ผมอยากอธิบายร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ แต่ผมพูดไม่ได้แบบนี้ มันจะวกไปวนมาหน่อย คุณอธิบายมาให้ชัดเจนมากและเข้าใจในรอบเดียวเลยครับ 👍😂🙏🥰
@@ithomez เป็นระบบที่น่าสนใจเลยครับ ผมก็ไม่คิดว่ามีแบบนี้ด้วย ไม่ต้องกังวลเรื่องแบตจะไม่พอใช้ เพราะ เมื่อแบตหมด มี สวิตชิ่งสแตนบายรอ สำรองไฟให้ระบบอยู่แล้ว ทีนี้เราก็ต้องมาคำนวนกระแสที่เราใช้ ว่าใช้มากแค่ไหน เพื่อหา สวิตชิ่งที่จ่ายกระแสได้มากกว่าที่เราใช้ เพื่อให้ชาร์จเจอร์ดึงกระแสเอามาใช้ให้เพียงพอ เราก็จะเพิ่มแบตช่วงไหนก็ได้ เพราะยิ่งแบตเยอะ กระแสที่ชาร์จเจอร์ดึงจาก สวิตชิ่งก็จะน้อยลง ทั้งนี้แบตก็ต้องสัมพันธ์กับแผงด้วยครับ
ใช่ครับถูกต้องตรงเป๊ะเลย ผมก็คำนวณแล้วต้องซื้อแบตเพิ่มซักชุด ได้ไอเดียมาถือว่าลงตัวดูดีมากเลยครับ มีคนแนะนำมาอีกที😊
ระบบ48vต้องใช้กี่ampครับ
กี่ A ต้องดูว่าคุณใช้งานรวมๆ กี่ Watt ครับ ถ้าวัดการใช้งานสูงสุดที่ขาออก 220V เป็น W แล้ว ให้เอามาคำนวณเป็น A ที่ฝั่ง battery (Watt ที่ฝั่งไฟ 220V และฝั่งไฟ 48V มันจะเท่ากันครับ) โดยเอา W / V = W / 48 = A แอมป์รวม เผื่อเพิ่มไปกว่าค่าที่ได้สักหน่อยครับ
เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของช่างซ่อมบำรุงด้านสายจ่าย ใครจะรู้ว่าเมื่อปลดด้านแรงสูงหม้อแปลงแล้วจะมีไฟฟ้าจากบ้านหลังไหนก็ไม่รู้จ่ายสวนออก ที่แย่คือย้อนเข้าไปด้านแรงต่ำของหม้อแปลงแล้วมีช่างขึ้นไปซ่อมบำรุงหม้อแปลง อะไรจะเกิดขึ้น ถึงแก่ชีวิตเลยนะ
เขาให้ติดตัว ATS เลือกด้านก็ถูกต้องแล้ว
เดี๋ยวรอให้เกิดอุบัติเหตุก่อน แล้วไล่เช็คตามบ้านที่ติดระบบนี้ ้าย้อนเข้าระบบกลาง แจ้ความคดีอาญาติดคุกไปเลย
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมครับ ของผมไม่มีย้อนแน่นอน มีแต่รับไฟเข้าจากไฟหลวง เมื่อไฟดับระบบก็หยุดจ่ายครับ ที่ผมใช้มีแค่ Power Supply ซึ่งดึงไฟจากหลวงอย่างเดียว ส่วนระบบสลับไฟก็ดึงไฟมาใช้เช่นเดียวกัน ก็น่าจะดึงไฟมาใช้ส่วนที่เป็นเสริมแบต แล้วก็ส่วนที่เป็นสลับใช้เมื่อแบตหมดครับ ไม่เข้าข่ายจ่ายไฟย้อนเลยซักกรณี😊 และที่สำคัญไม่มีการเชื่อมไฟกับอินเวอร์เตอร์ด้วยครับ😁
เขาห้ามด้วยเหรอครับ เขาแค่บอกว่า ให้แจ้งขออนุญาตการไฟฟ้า และให้มี ats ด้วย เนื่องจากอุปกรณ์ที่เป็น Hybrid เมื่อต่อเข้ากับการไฟฟ้าแล้ว หากต่อไม่ถูกวิธี จะทำให้มีผลกระทบ หากไฟย้อนกลับกลับไปที่สายเมน บ้านอื่นที่ระบบกราวด์ไม่ดี เขาอาจเดือดร้อนเพราะพวกเราได้นะครับ เขาออกกฎมาเพื่อความปลอดภัยก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ หากเราต่อแบบออฟกริด ก็ยังต่อได้เป็นปกตินะครับ
เห็นมีกระแส มีจดหมายมาเลยหาวิธี ทางออกอื่นเลยดีกว่าครับผม
เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของช่างซ่อมบำรุงด้านสายจ่าย ใครจะรู้ว่าเมื่อปลดด้านแรงสูงหม้อแปลงแล้วจะมีไฟฟ้าจากบ้านหลังไหนก็ไม่รู้จ่ายสวนออก ที่แย่คือย้อนเข้าไปด้านแรงต่ำของหม้อแปลงแล้วมีช่างขึ้นไปซ่อมบำรุงหม้อแปลง อะไรจะเกิดขึ้น ถึงแก่ชีวิตเลยนะ
เขาให้ติดตัว ATS เลือกด้านก็ถูกต้องแล้ว
ผมเชื่อคนทำงาน it เก่า คน it มักคิดลึก
ขี้กลัวครับผม หาทางออกอ้อมไปเรื่อย แต่ก็ยังอยู่บนโจทน์และเงื่อนไขเดิม เรายังใช้ไฟหลวงอยู่นะ แต่อยากใช้โซล่าเซลล์ อยากสร้างไฟฟ้าเองบ้าง😆☺️
ทำไมการไฟฟ้า ไม่หาวิธีหรือหาอุปกรณ์ มาช่วยให้ประชาชนคนใช้ไฟในระบบแบบนี้ ซึ่งสามารถทำได้ การไฟฟ้าควรทำไม่ใช่จะมาห้ามห้ามห้ามห้ามห้ามห้ามห้ามห้ามห้ามอย่างเดียว มันมองได้ว่า หวังแต่ผลประโยชน์เห็นคนใช้ระบบแบบนี้มากขึ้น ก็กลัวเสียผลประโยชน์ ใช่หรือไม่ ระวังประชาชนจะหมดศรัทธา อย่าคิดว่าเป็นองค์กร ที่ยังไงประชาชนก็ต้องใช้ ผลกระทบด้านอื่นมันจะตาม มาแทนใช่หรือไม่
ก็เป็นธรรมดาครับ เมื่อการไฟฟ้าเป็นระบบผูกขาด ยังมีประชาชนอีกเยอะที่ไม่สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ ถึงจะขึ้นค่าไฟกลุ่มคนเหล่านั้นก็ยังต้องใช้อยู่ดี คนที่ติดตั้งได้ก็เป็นคนส่วนน้อยครับ แต่ก็เริ่มจะเยอะขึ้นมาแล้ว คราวนี้ก็คงต้องหาวิธีอื่นที่จะกันการติดโซล่าเซลล์แล้วล่ะ ผมก็ลุ้นอยู่ว่าเค้าจะหาทางไหนมาทำให้คนติดโซลาร์เซลล์ไม่ได้ อย่างผมติดแล้วโคตรคุ้ม ในมุมระยะยาวนะครับแต่มันก็ต้องลงทุนเยอะอยู่
ผมมองต่าง การไฟฟ้าทำอะไรผิดเนี่ย เขาห้ามจ่ายย้อนกริดก่อนขออนุญาติ มันก็ถูกแล้ว ถ้า รัฐบาลเปลี่ยนกฎ ให้จ่ายย้อนได้ การไฟฟ้าเขาก็ต้องทำตาม แค่นั้นเอง ส่วนราคา การไฟฟ้าไม่เกี่ยวอะไร กกพ เป็นคนกำหนด ถ้ากำหนดให้การไฟฟ้าขาดทุน ก็เอาภาษีมาอุ้มเหมือน การรถไฟ หรือ ขสมก ถ้ากำหนดให้กำไร ก็ส่งกำไรให้ กระทรวงการคลัง ไม่มีการไฟฟ้าก็ไม่มีกริดแค่นั้นเอง
หาตัวต่ำต่อไปสวิตช์ชิ่งน่าจะดีนะ ไม่ต้องแช่ไฟที่สวิตช์ชิ่ง พอแบตเตอรี่ต่ำค่อยต่อไฟเลี้ยง
เห็นด้วยเลยครับ แต่ผมสังเกตแล้วสวิชชิ่งมันไม่ดึงไฟเลยถึงแม้ว่าจะเสียไฟไว้ตาม สังเกตผ่านปลั๊กวัดไฟได้ ก็เลยช่างมันครับ ปล่อยไว้แบบนั้นแหละ ส่วนผมมาเล่นด้านหน้าตอนแปลงไฟเป็น 220 โวลต์แล้ว กะว่าถ้าแบตเตอรี่ต่ำลง ให้มันสลับไปใช้ไฟบ้านเลยทั้งชุด บน 220 โวลต์นี่แหละครับ แต่ผมใส่ยูพีเอส ตัวใหญ่ด้านหน้า ตอนมันสลับไฟมันก็ดึงจากยูพีเอสอยู่ไฟไม่วูบครับ ที่ต้องทำแบบนี้เพื่อจะลดการกินไฟของชาร์จเจอร์/อินเวอร์เตอร์ ตอนที่มันแปลงไฟมันกินไฟเยอะพัดลมมันดังด้วยครับ ก็เลยเป็นสเต็ปถัดไป สลับไฟออกจากระบบโซลาร์เซลล์มันซะเลย😅🤣
รัฐมนตรีพลังงานก็ออกมาพ่นปาวๆว่าส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่ลูกน้องก็พยายามออกกฎมาสกัดกั้น ....เตะปากเจ้านายชัดๆ
😂 มือถือถือศีล เจ้านายแกล้งทำไปอย่างนั้นแหละให้ดูดีเพราะรู้อยู่แล้วว่าบอกลูกน้องทำอีกแบบ ถ้าปล่อย ให้ประชาชนมีอิสระมันก็ขาดรายได้😆😂 ไม่มีทางได้อิสระแน่นอนก็ยึดยื้อไปแบบนี้แหละ ไม่เป็นไรมีทางออกต่อไปได้แล้วครับ 😆😆😆
ผมว่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ถ้าการไฟฟ้ามันหิวขนาดนั้น สั่งให้ปชช.เลิกใช้solarไปเลย ทำอะไรโง่ๆให้เดือนร้อนเปล่าๆ
ใจเย็นๆนะครับ 😅 ผมว่าเค้าก็กลัวอนาคตเค้าจะรายได้หดหาย เมื่อไหร่ที่ประชาชนทำเองได้รัฐก็ดูมีอำนาจน้อยลง รายได้หดหายจากที่เคยได้เท่าเดิม ก็เป็นธรรมดาที่จะต้องหาทางกันจุดนั้นจุดนี้ ซึ่งเราเองก็พบกันครึ่งทางมีทางออกครับ ห้ามต่อก็ไม่เป็นไรก็ใช้วิธีอื่น จังหวะที่ตัดการไฟฟ้าทั้งหมดออกไม่ได้ก็ใช้วิธีนี้ไปก่อน พบกันครึ่งทางครับผม☺️
เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของช่างซ่อมบำรุงด้านสายจ่าย ใครจะรู้ว่าเมื่อปลดด้านแรงสูงหม้อแปลงแล้วจะมีไฟฟ้าจากบ้านหลังไหนก็ไม่รู้จ่ายสวนออก ที่แย่คือย้อนเข้าไปด้านแรงต่ำของหม้อแปลงแล้วมีช่างขึ้นไปซ่อมบำรุงหม้อแปลง อะไรจะเกิดขึ้น ถึงแก่ชีวิตเลยนะ
เขาให้ติดตัว ATS เลือกด้านก็ถูกต้องแล้ว
@@yutkijsamnong3202 เพื่อท่านอาจจะยังไม่ทราบหรือไม่เคยใช้hybrid ถ้าไฟmainดับหรือโดนตัดมันไม่จ่ายไฟย้อนหรอกนะครับ ถึงจะย้อนได้แต่กำลังการผลิตไม่พอที่จะย้อนหรอก loadบ้านอื่นก็มี ไม่มีทางที่จะย้อนไฟตอนไฟmainตัดหรอก
อย่าใสไฟบ้าน ออฟไลน์ไปเลย เดียวการไฟฟ้าขโมยของเราไป
ผมใช้ Adapter Switching แปลงไฟมาครับ ไม่ได้เชื่อมตรง
🔥ร้านสินค้า Meanwell มือสอง 24V ที่ผมซื้อ : c.lazada.co.th/t/c.YcWvs9
มันไม่มีทางย้อนแน่นอน 100%
แทนที่จะซื้อpower supply อักตัว เราสามารถหาpower supply ตัวใหญ่กว่าที่มีแอมป์สูงแทนจะได้ไหมครับ
จริงๆตัวใหญ่ตัวเดียวก็ได้ครับขึ้นอยู่กับว่าต้องการกำลังไฟกี่วัตต์ ถ้าตัวเดียวเพียงพอก็จบสวยงามสามารถรองรับกำลังไฟของอุปกรณ์ได้ทั้งบ้าน แต่ยังขาดมุมของการสแปร์กรณีกรณีเสียก็จะต้องกลับไปต่อใช้ไฟบ้าน ผ่านทางเครื่องชาร์จเจอร์เหมือนเดิม ส่วนผมใช้กำลังไฟอยู่ที่ไม่เกิน 400W ครับ ก็เลยซื้อตัวแรกมาเท่านี้ อีกตัวคิดว่าจะซื้อซัก 750W มาต่อเชื่อมเป็นสแปร์ไว้ มีสองตัวเผื่อเสียก็จะได้ทดแทนทันทีครับผม🥰
ขอถามครับสวิทชิ่งปรับโวลล์แอมป์ได้ใช่ใหม และแบ้ตโวลล์สูงไม่ย้อนเข้าสวิทชิ่งหรือต้องใส่ไดร์โอดกันย้อน
สวิชชิ่งเป็นเหมือนหัวชาร์ททั่วไปครับเหมือนหม้อแปลงชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าสำเร็จรูป ซึ่งจะได้โอนมาให้อยู่ในวงจรแล้วไฟไหม้ย้อนกลับแน่นอน ต่อใช้งานได้เลยครับ ส่วนเรื่องการปรับV สามารถปรับได้นิดหน่อยในช่วงสั้น บวก+5V -5 โวลต์ โดยประมาณนะครับผมจำค่าไม่ได้ ส่วนเรื่องกระแสจ่ายตามที่อุปกรณ์ต้องการครับแต่มีจำกัดที่ค่าที่เค้าเขียนไว้
เราสามารถใช้สวิชชิ่งที่มีวัตสูงๆเข้าอินเวอร์โดยไม่มีแบตได้ไหมครับ
ยังไม่เคยลองครับ แต่คิดว่าได้ครับเอาไว้ใช้งานเหมือนแบบดึงไฟ solar cell กลางวัน กลางคืนก็ใช้ไฟบ้าน
ของผมก็รื้อไฟacออกจะใส่สวิทชิ่งไว้ชาร์ทเช่นกัน
วิธีนี้ใช้งานได้ดีครับผมก็เพิ่งรู้ จริงๆผมก็ยังไม่ได้ตัด ไฟบ้านออกซะทีเดียวแต่พร้อมตัดแล้วครับ ตอนนี้ระบบแบตเตอรี่มีไฟสำรอง และไฟขาออกก็มี ATS พร้อมสลับไปใช้ไฟบ้านเมื่อแบต ลดลงเหลือ 25.4 โวลต์ครับ ผมใส่ระบบเพิ่มเติมเข้าไปวันนี้เดี๋ยวทำคลิปอยู่เดี๋ยวเอามาให้ชมเป็นทางเลือกนะครับ
เพาเวอร์กินกระแสเท่าไรครับเมื่อชาร์จ
ตอนที่แบตเตอรี่ไฟหมดจนถึงระดับที่ V เท่ากับ V ของสวิชชิ่งที่เราตั้งไว้ ไฟจะจ่ายออกจากสวิชชิ่งเข้าระบบแทนแบตเตอรี่ กระแสไฟที่จ่ายจะเท่ากับไฟในบ้านครับว่าดึงไปกี่วันวัตต์ ถ้าเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะมันก็ดึงเยอะไม่มีค่าตายตัว เป็นไปตามกำลังวัตต์ที่อุปกรณ์ในบ้านต้องใช้ ซึ่งก็ไม่เกินกำลังวัตต์ที่ตัวอินวอเตอร์จะทำได้ครับ ส่วนกระแสเท่าไหร่ก็เอากำลังวัตต์หารด้วย V ของระบบก็จะได้กระแสที่สวิชชิ่งจ่าย
หลังจากผูกขาดมานานกลัวขายไฟไม่ได้เยอะล่ะซิ
ผมว่าน่าจะใช่ครับ ถ้าสนับสนุนคงรายได้หายไปเยอะ ตอนนี้สิ่งที่เห็นคือกีดกันอย่างเดียว ถ้าจะขายไฟฟ้าคืนขออนุญาต ใช้เวลานานมาก ยุ่งยากด้วย ก็เลยใช้วิธีนี้ครับ เอาจริงๆเราก็แค่ลดค่าไฟฟ้าไม่ได้ตัดออกนะครับ ผมเตรียมการเผื่อแล้วเพราะว่าค่าไฟมันจะแพงขึ้นอีกเยอะ😅
พึ่งจะเข้าใจระบบไฟฟ้าเพื่อชาร์จไฟแบตเตอรี่แทนแผงโซลาร์ตอนกลางคืนครับ❤
ขอบคุณที่รับชมครับ แบบผมใช้ได้เป็นการเสริมไฟเข้าไปในระบบ เพื่อรักษาระดับไม่ให้แบตเตอรี่ลดลงต่ำเกินไปครับ แต่ก็มีวิธีอื่นด้วยนะหลายอย่างเลย
เพราะอะไรไฟจากแผงจึงไม่ย้อนไปสวิตช์ชิ่งครับเวลาไฟแผงมีกำลังมาก
หน้าที่ของสวิชชิ่งคือหม้อแปลงไฟชนิดหนึ่งครับ เหมือนอ่ะแดฟเตอร์ชาร์ทมือถือหรือชาร์จอุปกรณ์ทั่วไปหลักการเดียวกัน จะมีไดโอดกันย้อนอยู่ในตัวอยู่แล้ว ฉะนั้นไม่มีทางที่จะไฟย้อนกลับแน่นอนครับ😊
@@ithomez เดี๋ยวต้องลองดูครับ
ถามอีกนิดครับพอแบตอ่อน ละอินเวอเตอร์ทำงานโดยใช้กำลังไฟจากสวิตช์ชิ่ง โหลดจึงต้องใช้ไฟไม่เกินจากที่สวิตช์ชิ่งผลิตเพื่อป้อน
ห้อินเวอเตอร์ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
ถูกต้องครับ ต้องเผื่อเรื่อง switch จะต้องแปลงไฟได้ครอบคลุมกับโหลดครับ เช่น Switch 1000W ก็สามารถจ่ายไฟให้กับโหลดที่ต่อเข้า inverter 220V ไม่เกิน 1000W เช่นกันครับ
แต่จริงๆ แล้วต้องเผื่อๆ 20%-50% นะครับ ต้องใช้ Switching 1500W ก็ดีกว่า
ถ้าหาไม่ได้ก็เอา Switching V เท่ากันมาต่อขนานกันก็ได้ครับ ให้ได้กระแสไฟพอ ที่จะเอาไป inverter กลับเป็น 220V ได้กำลัง W เท่าที่ต้องใช้
อยากคุยกับคุณมากเลยสนใจมากและอยากสอบถามว่าถ้าใช้วัตต์มากจะทำอย่างไรขอช่องทางติดต่อด้วยครับ
ทักมาสอบถามคุยกันได้ทาง Facebook แชทนะครับ เดี๋ยวตอบคำถามเท่าที่ผมพอเข้าใจผมก็เป็นมือไม่เก่ามาก เริ่มแล้วพอเข้าใจบ้าง หากคุณต้องการกำลังวัตต์สูง ฝั่งที่เป็นตัวจ่ายไฟจะต้องจ่ายกระแสไฟสูงมาก ให้ขยับไปเล่นระบบไฟ 48 โวลต์ครับ
ขอสนทนาทางเฟสบุคด้วยครับขอเฟสบุคด้วยครับ
ค้นหาเพจชื่อไอทีประจำบ้านแล้วกดแชทมาได้เลยครับ สามารถตอบคำถามช่วยเหลือได้แต่ว่าอาจจะช้านิดหน่อย ตอนนี้ผมยุ่งมากๆเลยครับ