EP.5 ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่ คำเทศนา " สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี " (จบตอน)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 เม.ย. 2024
  • EP.5 ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่ คำเทศนา " สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี " รู้งี้เปิดดูตั้งนานแล้ว (จบตอน)
    .
    " บุญเราไม่เคยสร้างใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า "
    .
    ลูกเอ๋ย !!! ก่อนจะไปเที่ยวขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
    เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน
    เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย
    มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด
    .
    เพราะหนี้สินบุญบารมี ที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัวเมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา
    ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด
    ไม่มีอะไรเหลือติดตัว
    แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า
    .
    " หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง "
    .
    จงจำไว้นะ.. เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใด
    จะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    “ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่ ”
    จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย
    จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า
    .
    นี่คือ คำเทศนา ของเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์
    โต พรหมรังสี ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิต
    หลังจากที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อประมาณ 100 กว่าปีก่อน
    อันเป็นปฐมเหตุที่ พวกเราต้องสร้างความดี อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
    .
    มีท่านใด “ไม่เข้าใจ” คำเทศนา
    ของเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์
    โต พรหมรังสี นี้หรือไม่ ? ครับ
    .
    ลองอ่านดูอีกรอบหนึ่งนะครับ
    .
    บุญเราไม่เคยสร้างใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า
    ลูกเอ๋ย !!! ก่อนจะไปเที่ยวขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง
    คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ
    จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด
    .
    เพราะหนี้สินบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว
    เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด
    ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า
    หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
    .
    จงจำไว้นะ.. เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่
    จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย
    จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า
    .
    หากเราไปอธิบาย คำเทศนาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
    ให้เด็ก 10 ขวบฟัง เด็ก ๆ ส่วนมากก็อาจจะยังไม่เข้าใจบทคำเทศนา
    เนื่องจากว่าเด็ก ๆ ในวัยนี้ ยังมีความรู้ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตมาน้อยมาก และประกอบกับเด็กในวัยนี้กำลัง มีความสนใจแต่ในเรื่องความสนุกสนานจึงไม่แปลกครับ ที่เด็กในวัยประมาณนี้
    จะไม่เข้าใจคำเทศนา ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
    .
    ที่นี้ ทำไม ? กระผมถึงถามคุณว่า
    มีใครไม่เข้าใจ “คำเทศนา” นี้หรือไม่ ?
    .
    คุณเคยได้ยินคำว่า “บัว 4 เหล่า” หรือไม่ครับ ?
    กระผมเชื่อว่าพวกเราส่วนมากทราบดี และเคยได้ยินมาบ้าง
    .
    “บัว 4 เหล่า” ก็คือ สิ่งเปรียบเทียบ “มนุษย์” อย่างพวกเราทุกคน
    ที่พระพุทธเจ้าได้คิดวิเคราะห์ว่า “ธรรม” ที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก
    ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จึงได้พิจารณาจำแนกเหล่าบุคคล
    ที่จะสามารถรับ “พระสัทธรรม” ได้ หรือ รับไม่ได้
    (พระสัทธรรม เป็นคำสอนที่เป็นไปเพื่อสงบจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง)
    .
    มีอยู่ 4 จำพวก เปรียบได้ดังดอกบัวสี่เหล่า
    อันหมายถึง ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย
    ที่สร้างสมมาแต่อดีตของบุคคล
    .
    ขยายความคำว่า ปัญญา วาสนา บารมี
    และอุปนิสัย ที่สร้างสมมาแต่อดีตของบุคคล
    .
    หากเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ การที่แต่ละบุคคล จะมีนิสัยใจคอ
    ไม่เหมือนกันนั้น ก็จะมาจากการเติบโต การเลี้ยงดู ที่แตกต่างกันไป
    ตามบริบทครอบครัว สังคม จึงทำให้แต่ละคนมีนิสัยไม่เหมือนกัน
    .
    แต่หากเป็นไปตามความเชื่อในหลักพระพุทธศาสนา การที่เรามี
    ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากการสะสมบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อน หรือ สะสมมาหลายหลายภพหลายชาติ
    .
    ฉนั้น พระพุทธเจ้าทรงเข้าใจว่า แต่ละบุคคลจึงมี
    ปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่ไม่เท่ากัน
    .
    พระองค์จึงได้จำแนก “มนุษย์” ออกเป็น 4 จำพวก
    เปรียบได้ดังดอกบัวสี่เหล่า นั้นเองครับ
    .
    มาดูบัวประเภทที่ 1 “ดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว”
    เพียงรอแสงพระอาทิตย์จะบานทันทีวันนี้
    .
    บัวประเภทที่ 1. อุคฆฏิตัญญู
    คือ กลุ่มที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว
    เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
    เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
    .
    บัวประเภทที่ 2 “ดอกบัวที่ปริ่มน้ำ” จะบานวันพรุ่งนี้
    .
    บัวประเภทที่ 2. วิปจิตัญญู คือ กลุ่มที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติมจะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป
    .
    บัวประเภทที่ 3 “ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ” ยังอีก 3 วันจึงจะบาน
    .
    บัวประเภทที่ 3. เนยยะ คือกลุ่มที่มีสติปัญญาไม่มากเท่าที่ควร
    เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ
    มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา
    .
    ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อย ๆ โผล่ขึ้น
    เบ่งบานได้ในวันหนึ่ง
    .
    บัวประเภทที่ 4 “ดอกบัวที่เพิ่งงอกใหม่จากเหง้าในน้ำ”
    จะยังไม่พ้นภัยจากเต่าและปลา
    .
    บัวประเภทที่ 4. ปทปรมะ คือ กลุ่มที่ไม่มีสติปัญญา
    แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้
    ทั้งยังขาดศรัทธา ไร้ซึ่งความเพียร
    .
    เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน
    .
    บุคคลที่เปรียบได้กับดอกบัวดอกที่ 1, 2, 3 นั้น
    เมื่อได้รับความรู้ถึงจุดหนึ่งแล้ว
    สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน ได้เร็วช้า แตกต่างกันออกไป
    ก็ด้วยปัญญา วาสนา บารมี และอุปนิสัย ที่ต่างกันในอดีต
    .
    ส่วนบุคคลซึ่งเปรียบเป็นบัวประเภทที่ 4
    ไม่สามารถบรรลุอะไ

ความคิดเห็น •