เทศบาลเมืองสระบุรีและ วว วช อบรมการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และระบบรวบรวมวัสดุรีไซเคิล

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.ย. 2024
  • เทศบาลเมืองสระบุรีและ วว./วช.อบรมการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และระบบรวบรวมวัสดุรีไซเคิล ในโครงการพัฒนาต้นแบบการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเมือง เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้ง เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ที่ อาคารรวมใจ เทศบาลเมืองสระบุรี
    เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2567 ที่ อาคารรวมใจเทศบาลเมืองสระบุรี นายธีรรัตน์ จึงยิ่งเรืองรุ่ง นายกเทศมนตรีเมืองสระบุรี ให้การต้อนรับและให้ความร่วมมือกับ วว./วช. จังหวัดสระบุรีและหน่วยงานภาคีเครือข่าย Kick Off โครงการพัฒนาต้นแบบจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตร ชุมชนเมืองเชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน โดยมี นางสาวกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี กล่าวต้อนรับ ผู้เข้าร่วมงาน ศ .(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) กล่าวเปิดโครงการฯ ดร.ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. กล่าวรายงาน นางสาวสุภาพรรณ โทขัน ผอ.กลุ่มงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก วช. กล่าวแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ พร้อม ดร.สิริพร พิทยโสภณ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทน ผอ. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวแนวทางนโยบายต่อการพัฒนาโครงการให้บรรลุตามนโยบายการขับเคลื่อนเมื่อสระบุรีคาร์บอนต่ำ และ ดร.เรวดี อนุวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว. ดร.ศรวณีย์ สิงห์ทอง ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย เพื่อความยั่งยืน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
    ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครูนักเรียน โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี ผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก(อทล.)ผู้แทนกลุ่มคลัสเตอร์และผู้แทนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย กว่า 370 คน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
    วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อพัฒนาต้นแบบการจัดการและลดปริมาณของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและชุมชนเมืองในพื้นที่ นำร่องเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากการจัดของเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมและชุมชนเมืองในพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดขยะของเหลือทิ้งคัดแยกของเหลือทิ้งให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ สร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนภาครัฐ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้ประโยชน์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในในพื้นที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) จังหวัดสระบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี สถาบันการศึกษาชุมชน กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้บูรณาการขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่การเกษตรและชุมชนเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างงานสร้างอาชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรียนรู้เชื่อมโยงสู่การใช้ประโยชน์ของวัสดุเหลือทิ้งเพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่นำร่องจังหวัดสระบุรี เพื่อขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก ในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐภาคเอกชนให้บรรลุผลครอบคลุมทุกด้าน ภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ(SARABURI SANDBOX)
    ภายในกิจกรรม มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและบรรยายถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้เชียวชาญของ(วว.) เช่น"การคัดแยกวัสดุรีไซเคิลเพื่อสร้างรายได้และระบบการรวบรวมวัสดุรีไซเคิล" การบรรยายและกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การผลิตน้ำหมักชีวภาพและสารปรับปรุงดินจากขยะอินทรีย์" กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตถ่านมูลค่าเพิ่มจากชีวมวลและเปลือกผลไม้" และ "การผลิตจานรองแก้วจากเศษพลาสติก"เป็นต้น
    ร.ต.สุประวีณ์ บุญธิคำ บรรณาธิการข่าว รายงาน

ความคิดเห็น •