เพลงพระราชนิพนธ์ ยิ้มสู้ พระราชทาน วงดนตรีจุฬารัตน์ บรรเลงถวาย นคร ถนอมทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติ ขับร้อง
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 22 ม.ค. 2025
- เพลง ยิ้มสู้
พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชทาน วงดนตรีจุฬารัตน์ บรรเลงถวาย
นคร ถนอมทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติ ขับร้อง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานราชานุญาต
ให้นายมงคล อมาตยกุล และ วงดนตรีจุฬารัตน์ เชิญเพลง ยิ้มสู้
เรียบเรียงดนตรี และขับร้อง เพื่อการเผยแพร่
หนึ่งในเพลงพระราชนิพนธ์ที่เป็นที่ซาบซึ้งของคนไทย อีกหนึ่งบทเพลงคือ เพลง ยิ้มสู้ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชนิพนธ์ในปี 2495 เพื่อให้กำลังใจคนตาบอดโดยเฉพาะ ซึ่งเพลงนี้มีความหมายและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพวกเขา
กลุ่มคนตาบอดในมูลนิธิช่วยเหลือคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกันร้องเพลง ยิ้มสู้ หรือ Smiles เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 16 ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองใน พ.ศ.2495 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องภาษาไทย เพื่อเป็นการปลอบขวัญ และให้กำลังใจแก่โรงเรียนสอนคนตาบอด จากนั้นพระราชทานให้นำไปบรรเลง ในงานสมาคมช่วยคนตาบอดในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2495
จากบทเพลงพระราชนิพนธ์ทีมีทำนองดนตรีสนุกสนาน และมีเนื้อร้องเน้นให้กำลังใจ ให้สู้ชีวิต แม้หนทางข้างหน้าจะมีอุปสรรค แต่ถ้ายิ้มรับ จะผ่านพ้นไปได้ ซึ่งคนตาบอดหลายคนรับรู้ถึงความหมายของเพลง และมีอีกหลายคนที่ใช้เพลงนี้บรรเทาจิตใจเวลาพบความยากลำบาก ความท้อแท้ในชีวิต
สำหรับคนตาบอด ที่ไม่มีโอกาสได้ชื่นชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เหมือนคนปกติทั่วไป เพลง "ยิ้มสู้" กลายเป็นตัวแทนสื่อกลางที่เชื่อมร้อยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ที่พวกเขาบอกว่าจับต้องได้ ทั้งโครงการพระราชดำริ ส่งเสริมการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี และทักษะอาชีพให้กลุ่มคนพิการ ทำให้พวกเขาไม่เป็นภาระ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศ มีสิทธิ์ทัดเทียมเท่ากับคนปกติทั่วไป
จัดทำ MV เชษฐ์ สิรวิชญ์ 082-418-5026