วันสารทไทย | ทำบุญตักบาตรกระยาสารท | ไหว้บรรพบุรุษ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 ก.ย. 2024
  • วันสารทไทย คือ วันทำบุญกลางปีของคนไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ ขึ้น 10 บ้างก็นิยมเรียกวันนี้ว่า "วันสารทเดือนสิบ" หรือ "ประเพณีทำบุญเดือนสิบ" โดยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
    - ภาคกลาง : #วันสารทไทย
    - ภาคใต้ : #งานบุญเดือนสิบ, #ประเพณีชิงเปรต
    - ภาคอีสาน : #งานทำบุญข้าวสาก
    - ภาคเหนือ : #งานตานก๋วยสลาก
    ในปี พ.ศ. 2564 ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม ถือเป็นประเพณีสำคัญของคนไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน มักจะจัดขึ้นในราวเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี อีกทั้งยังเป็นวันรวมญาติที่สมาชิกในครอบครัว ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
    วันสารทไทยได้รับอิทธิพลมาจากคติอินเดีย เมื่อไทยรับเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีท้องถิ่นแล้ว ก็จะมีความยึดโยงกับความเชื่อเรื่องสังคมเกษตรกรรมและบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ จะช่วยดลบันดาลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่พอใจ แต่หากไม่เคารพบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะได้รับผลที่ตรงข้ามกันนั่นเอง
    จากหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เชื่อว่า ประเพณีวันสารทไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนสาเหตุที่สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและคติพราหมณ์ เนื่องจากในอดีตช่วงวันสารทที่จัดในเดือน 10 เมื่อเทียบกับช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของไทยแล้ว พบว่าเป็นช่วงที่ข้าวยังไม่สุก ไม่ใช่ฤดูเก็บผลผลิตของไทย จึงไม่สามารถทำขนมกระยาสารทขึ้นมาโดยใช้ผลผลิตในช่วงนั้นได้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น คนไทยจึงดัดแปลงด้วยการนำข้าวสารเก่า ผสมกับถั่วและงา เพื่อใช้ทำขนมกระยาสารท สำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา และผีสาง ที่คอยปกป้องคุ้มครองแทนนั่นเอง ต่อมาเมื่อคนไทยหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนิยมทำบุญกับพระสงฆ์ เพื่ออุทิศบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ รวมถึงผู้ตายที่ตกเป็น "เปรต" ให้ได้มีโอกาสมารับส่วนบุญในวันทำบุญสารทเดือนสิบนั่นเอง ซึ่งคนใต้จะเรียกวันนี้ว่า "วันทำบุญชิงเปรต" นั่นเอง โดยจะต้องมีการจัดสำรับอาหาร ผลไม้ ขนมพอง ขนมลา ฯลฯ นำไปทำบุญ เพื่อหวังให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รับผลบุญในช่วงเทศกาลดังกล่าว
    ความสําคัญวันสารทไทย สะท้อนแนวคิดเรื่องอะไรบ้าง?
    การแสดงความกตัญญูต่อบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว เชื่อว่าในช่วงวันสารทเดือนสิบ ญาติพี่น้องที่ตายจากไปแล้ว แต่ยังต้องชดใช้กรรมอยู่ จะได้กลับมาหาครอบครัวเพื่อรับส่วนบุญกุศล
    การแสดงความเคารพต่อผู้มีพระคุณ แสดงถึงความผูกพันระหว่างบรรพชนที่เสียชีวิตไปแล้ว และลูกหลานญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่
    การแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เนื่องจากในช่วงวันสารทไทย คนไทยมักจะนิยมนำขนมกระยาสารท หรือขนมตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ไปมอบให้แก่กัน
    การแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ แม่โพสพ ผีสาง เทวดา (ตามความเชื่อของแต่ละพื้นที่) ที่ช่วยปกป้องคุ้มครองให้พืชผลการเกษตรได้ผลดี
    การเสียสละ ทำบุญ บริจาคทาน ไม่โลภ ไม่ยึดติด อีกทั้งเป็นการอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา อนุรักษ์ประเพณีไทยสืบไป
    สำหรับกิจกรรมวันสารทไทยที่คนไทยยึดถือปฏิบัติกันทุกปี คือ การไปวัดทำบุญ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ด้วยการนำข้าวปลาอาหาร ผลไม้ ขนมตามประเพณี ไปร่วมตักบาตรที่วัด ซึ่งการประกอบพิธีวันสารทไทยในแต่ละพื้นที่ ก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
    ที่มา: www.m-culture.go.th
    #สารทไทย
    #ข้าวสาก
    #กระยาสารท
    #ประเพณีอีสาน
    #ประเพณีไทย

ความคิดเห็น • 5