เอกสารเวียดนาม เรียก อาณาจักรเจนละ/ลือ ส่วนสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ยังเรียกว่า ซีม/เซียมละ/ลือ อยู่เลยครับ Chao Phraya Nakhon Ratchasima (Thong-in Na Ratchasima) (tiếng Thái: เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา), 1780-1845) là một hoàng tử Xiêm La (Thái Lan), sau này là thống đốc tỉnh Nakhon Ratchasima. Ông là con trai út của vua Taksin (Trịnh Quốc Anh). Mẹ là một con gái của Chao Phraya Nakhon Si Thammarat (Nu).
Chola คือจามปา เจนละคือปัลลวะ พวกบาพนมคือคนป่าด้านล่าง ไม่เหมือนกัน Chola and Pallava มาพร้อมกัน ไม่งั้นพวกคนป่า บาพนมจะมายึดเมืองเราได้ไง องค์จิตนเสนเกรียงไกร เราคือเจนละไม่ใช่ฟูนัน คนละพวก
เราอย่าอ้างอิงประวัติศาสของฝรั่ง เราควรค้นหาและ แปลภาษาจากการบันทึกของจีนโดยตรง ด้วยตาของเราเอง ให้ฝรั่งแปลให้เขาอาจแปลเข้าข้างเขมร ด้อยค่าประเทศไทย
ขอบคุณค่ะ แจ้งข้อมูลไปที่กรมศิลปากรเลยนะคะ
บันทึกโบราณของไทย อย่างภาษาลายสือ ชัดเจนกว่าบันทึกของชนชาติอื่นอีกครับ
บ้านเชียง. รุ่นเดียว. กับอิจิปต์
โบราณๆๆ
สมเด็จย่า ท่านมีเชื่้อพระวงศ์
จากหลวงพระบาง. โน่น
เห็นด้วยครับ...เคยอ่านเจอจาก...ม.ล.ปราโมชย์😊😊
❤(อาณาจักรเจนละ)❤ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอีสาน (แอ่งโคราช) มีถิ่นกำเนิดไม่น้อยกว่า (3;000) ปี มาแล้ว มีประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์ เช่น (1) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม คือ กลุ่มโนนชัย/กลุ่มทุ่งสัมริด/และกลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้ (2) ชนเผ่า(ลาว) (2) ชนเผ่า(จาม ) (3)(ชนเผ่า(กูย) เป็นต้น มีหลายยุค เช่น ยุค (ตระกูล(เสนะ)/(ชัยวรมัน) มีหลายเมือง เช่น (เมือง/อาณาจักรศรีเทพนครชัยปุระ) มี (พระเจ้าชัยวรมัน) เป็นกษัตริย์ปกครอง และยุค (พระเจ้าจิตเสน/มเหนทรวรมัน) ปกครองอาณาจักรเจนละ(ราชอาณาจักรสยาม) มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่ (ปราสาทวัดภู/แคว้นจำปาศักดิ์)
ขอบคุณมากเลยค่ะ
ไทยกุ๊ก. คือ. กองทัพสยามก๊ก
จาก. ละโว้ๆ
อินเดียจากแคว้นกลิงคะ(ทางเหนือของอินเดีย)เป็นพวกแรกที่เข้ามาในสุวรรณภูมิ เป็นผู้ครอบครองดินแดนที่เรียกว่า อาณาจักรฟูนัน
ต่อมา อินเดียจากแคว้นทมิฬนาดู(ทางใต้ของอินเดีย)ขึ้นบกที่เขมร ตีเมืองแถบนั้นและยึดครองมาจากพวกกลิงคะ สร้างอาณาจักรขอม และอาณาจักรจามปา
ตรงกับราชวงศ์โจฬะของทมิฬนาดู คำว่า เจนละเป็นบันทึกจากจีน ออกเสียงตามอักษรจีน ความจริงน่าจะเป็น โจฬะ เสียมากกว่า....
ราชวงศ์โจฬะ เป็นผู้พัฒนา และสร้างปราสาทหิน สร้างเมืองต่างๆในแถบนี้ทั้งหมด
ความแตกต่างระหว่างพวกกลิงคะกับทมิฬนาดู คือ นับถือศาสนาไม่เหมือนกัน
ดังนั้น
หากขุดเจอพระพุทธรูป สถูป แสดงว่าพวกกลิงคมาถึงดินแดนแถบนั้น
หากเจอปราสาทหิน ศิลปฮินดู แสดงว่าพวกทมิฬนาดูมาถึง
ราชวงศ์โจฬะ(ขอม)ตีรุกขึ้นครอบครองอีสาน ลาว
เมื่อปกครองไประยะหนึ่ง จึงพบว่าผู้คนอีสานกับเขมรเป็นคนละพวกกัน
จึงแบ่งการปกครองออกเป็น2ส่วน กลายเป็น2อาณาจักร
ที่ราบสูงอีสานเรียกโจฬะบก ที่ราบต่ำเขมรเรียกโจฬะน้ำ
นอกจากนั้นยังเข้ามาทางภาคกลางของสยาม สร้างเมืองละโว้ ยึดครองไปถึงมะริดและทวาย กาญจนบุรี สุพรรณ อู่ทอง สุโขทัย หริภุญชัย
ที่บันทึกกันว่า มะริด ทวาย ตะนาวศรีเป็นของไทยก็ตั้งแต่นี้แหละ
กษัตริย์ขอมไปตีไว้ ให้ขึ้นกับละโว้ และขอมอยู่ละโว้ พม่าเลยเข้าใจว่า ขอมคือ ไทย
ภายหลังขอมละโว้เป็นดองกับราชวงศ์ไทยเมืองสุพรรณ อู่ทอง กลายเป็นไทยไปจริงๆ มะริด ทวาย ตะนาวศรีของขอมจึงเป็นของไทยไปด้วย
มีบันทึกกล่าวว่า กษัตริย์องค์หนึ่งของโจฬะ หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว ได้พูดกับบริวารว่า
ตอนนี้ก็ได้รับชัยชนะและได้ครองเมืองแล้ว ยังเหลือที่อยากได้อยู่สิ่งเดียว คือ หัวของกษัตริย์กลิงคะ
ยังความโกรธกริ้วให้กับกษัตริย์กลิงคะที่อยู่อาณาจักรตามพรลิงค์อย่างมาก จึงได้ยกทัพเข้าตีเขมร
จับกษัตริย์โจฬะตัดหัวและนำโอรสกลับอาณาจักรตามพรลิงค์ไว้เป็นตัวประกัน โดยมิได้ยึดครองเมืองหรือทำลายเมืองแต่อย่างใด
การครอบครองดินแดนในย่านนี้ ดูเหมือน พวกโจฬะจะครอบครองแถบสยาม ลาว เขมร เวียตนาม นับถือฮินดู
จากเพชรบุรีลงมาถึงแหลมมาลายู ยังคงเป็นเมืองของพวกกลิงคะเหมือนเดิม นับถือพุทธ
ทั้งสองพวกปกครองอาณาจักรต่างๆต่อไปอีกราว 800ปี จึงสูญสลายไปในที่สุด
คงเหนือแต่คนพื้นถิ่นสร้างประเทศในแต่ละพื้นที่ ในเวลาต่อมา
เรื่องราวในยุคแรกของดินแดนแถบนี้ ลักษณะการปกครองจึงมีรูปแบบมาจากอินเดีย
รวมทั้งภาษา วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ที่ปะปนเข้าสู่สยามก็มาด้วยเหตุนี้
ไม่ได้มากับแขกขายโรตีหรือขายถั่ว และไม่ได้เกิดจากพ่อค้าเรือแต่งงานกับลูกสาวหัวหน้าเผ่า
สยามเรียกพวกอินเดียโจฬะที่ปกครองเขมรว่า ขอม
พวกนี้ไปสร้างปราสาทหินที่อีสาน เราก็เรียกพวกขอมมาสร้างไว้
ไปสร้างอาณาจักรละโว้ เราก็เรียกอาณาจักรพวกขอม
จนเมื่อนายแตงหวานและพวกทาสลุกฮือฆ่ากษัตริย์ขอมตายและตั้งตนเป็นอิสระในพศ.1879
สยามไม่เรียกพวกนี้ว่าขอมอีกเลย แต่เรียกว่า พวกเขมร
คำว่า ขอม จึงจำกัดไว้เรียกพวกอินเดียโจฬะเท่านั้น
ฟูนันกับเจนละคนละอาณาจักรครับ
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถาน อุบลราชธานี จะเข้าใจมากขึ้นครับ
...เจนละ มาจากไหน
...ลิงคะบรรพต ลิงปัลวะ ลิงคะคุปตะ ศึกษาจาจารึกโวคาญ เข้าใจเลย
...อักษรไทยมามีมานนแค่ไหน ศึกษาจากกระเบื้องเผาที่ค้นพบใหม่ มีรอยจารึกเป็นตัวอักษรไทยชัดเจน แต่อาจจะเรียงไม่เหมือนปัจจุบัน เกี่ยวของกับเมืองสุวรรณภูมิเดิม ก่อนย้ายลงสู่แดนใต้ที่มีชื่อเสียง นครแห่งธรรม (นครศรีธรรมราช หรือ อาณาจักรตามพรลิงค์)
...
@@wiwioto6898กระเบื้องดูเหมือนไม่มีน้ำหนัก เหมือนของทำขึ้นใหม่ครับ
และดูเหมือนว่านักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ก็ไม่เป็นที่สนใจ
พวกเขาบินข้ามประเทศไทยไปว่างั้นเถอะ
@@daa6857 มันอยู่ที่ว่า อายุ คาร์บอน ต่างหากที่ว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน ต้องพิสูจน์ ด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ความเชื่อของใคร และ จอร์ทเซเด ก็ไม่ใช่คนพื้นที่แถมหลักฐานยุคนั้นก็ยังไม่แน่ชัดด้วยวิทยาศาสตร์ยืนยัน ถึงอายุที่แท้จริง
บ้านเชียง. อนู่มาก่อน. แร้วๆๆ
5~6. พันปี. หลักฐานชัดเจน
ในวิชาภาษาไทย ในหลักสูตรมีให้เรียน คำใดคำไทย คำใดมาจากบาลี สันสกฤต หรือ เขมร เนื่องจากประเทศไทยติดต่อกับต่างประเทศค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้าวัฒนาธรรม คำใดมีในภาผาไทย ก็ใช้คำใด คำใดไม่มี อาจสร้างคำศัพท์มาใหม่หรือยืมคำมาใช้ เมื่อไทยติดต่อกับชาติตะวันตกก็มีคำศัพท์ที่ต้องแปล หรือ สร้างคำศัพท์เพื่อความเข้าใจตรงกัน ตัวอย่าง ศาสนาพุทธเผยแพร่เข้าไปในจีนในข่วงราชวงศ์ถัง ต้องแปลคำสอนเป็นภาษาจีน แต่บางคำแปลไม่ได้ เช่น บทสวด เพื่อความขลัง ก็สวด บาลี สันสกฤต
เจนละจะเป็นพันธมิตรกับทราวดี และอาณาจักรศรีจนาศะ(ทราวดีอีสานใต้ เส-มา เมืองฝ้าย ศิลปะประโคนชัย) ซึีงอาณาจักรเหล่่นี้คือมรดกของสยาม ราชวงศ์อิศานปุระ(เดิมชื่อเจนละ) ก็กลายมาเป็นราชวงศ์มหิธรปุระและอินทรวรมันละโว้ขึ้นบรรลังก์จักรวรรดิเขมรโบราณ ซึ่งในอาณาจักรนี้ก็มีประมาณ 4ราชวงศ์ที่ช่วงชิงกัน เช่นราชวงศ์พระเจ้าชัยวรมันที่4 จากชวา พระเจ้าสุริยวรมันที่1 ราชวงศ์ไศเลน กลุ่มราชวงศ์พระบรมนิพพานบท เชื้อสายจามและเขมรเจนละน้ำหรือฟูนันเดิม( พระบาทสมเด็จพระศรีสุริโยพันธุ์ที่ 1(พระเจ้าแตงหวาน) ราชวงศ์ตะซ็อกปะแอม) )ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจพระเจ้าอินทรชัยวรมันและขับไล่เชื้อพระวงค์ตระกูลอินทรวรมัน (สายเมืองละโว้ อโยธยา) และตระกูลชัยวรมัน (สายเมืองพิมาย มหิธรปุระ) ออกจากศรียโสธรปุระ
อารมณ์ประมาณอาณาจักรอยุธยาเลยครับ สยามเพิ่งมาใช้ภาษาไท เป็นภาษากลางสื่อสารการค้าขายช่วงราชวงศ์สุพรรณภูมิครับ
ศิลาจารึกในประเทศไทยมีมากมาย แต่อ่านให้เขมรฟังมันก็หาว่าเราโกหก แถมบอกว่าเราเอาภาษา สันสกฤต ของมันมา เหมือนมันอยู่โลกคู่ขนานกับเรา
เฮอ!! .. สันสกฤต ไปเอาของมันมา บ้าไปแล้ว ต้นกำเนิดมันก็คืออินเดียนั่นแหละอินเดียใต้ก็ใช้สันสกฤต อินเดียเหนือนี้ไม่ต้องบอกเลยค่ะ ขนาดพุทธศาสนายังมีจารึกเป็นสันสกฤต ทีมเจริญรุ่งเรืองเป็นวัชรยานมหายาน บันทึกด้วยสันสกฤตทั้งสิ้น😅😅
ฟูนันในบันทึกจีนคือเมืองสังกะตาหรือกลิงคะราชหรือศรีวิชัยหรือสุวรรณภูมิ คือที่เดียวกัน
เมืองหลักเจนละอยู่บริเวร วัดท่าวารีจังหวัดอุบล อำเภอเขื่องใน
เจนละยังมีอยู่ถึงปัจจุบัน
ในไทยคือบริเวณอิสานใต้
เช่นเขตเขาพระวิหาร
เขตจังหวัดสุรินทร์ศรีสะเกษ อ.สังขะ ลำดวน อ.ขุขันธ์ุชัดเจนมาก
อ.ศีขรภูมิ
คนแถบศีขรภูมิ สังขะ ขุขันธ์ คือพวกเจนละเลยแหละครับ รูปร่างหน้า ไม่ได้ดำ ตัวเล็ก ๆ เลย ออกน้ำตาล ขาว เข้มด้วยซ้ำ หน้าตาไม่ออกแขกอินเดียจ๋า รูปร่างสรีระจะใหญ่กว่ากลุ่มไทลาว
ซึ่งคนเจนละดั้งเดิมจะอีกแบบนึง ส่วนตัวเมืองศีขร ตัวเมืองสุรินทร์ เมืองบุรีรัมย์ เมืองศีสะเกษ จะเป็นเมืองใหม่ กลุ่มใหม่ มาอยู่ทับเมืองเก่า ช่วงต้นรัตนโกสินทร์
คนแถบนั้นเขายังเรียกตัวเองว่า Siem เอกสารเวียดนามก็บันทึกว่า Seim La มาจาก Siem Chenla คนซีมก็พูดเขมรแบบอีสานใต้มาก่อน เพิ่งจะเริ่มพูดอย่างจริงจังและใช้ภาษาไทยช่วงราชวงศ์สุพรรณภูมิครองบัลลังก์นี้เองครับ
พวกเขมรยังเรียกไทยเราว่าสิมยุเลยทุกวันนี้
@@pk-wp8vuผมไม่ได้ดู😂❤คนนะครับ ผมดูที่ประเพณีวัฒนธรรม กานับถือ
ภูมิศาสตร์ ปราสาท ภาษา
การใช้ยา การรักษาโรค
เช่น บายศรีเฮาปลึง(เรียกขวัญ) มีครูไสยขาวรักษาโรค
ก็ารนับถือ การดูฤกษ์ต่างๆ
... 6:19
ขอบคุนมาก. ผมสนไจอานาจักจำปาที่ตั้งขื้นก่อน อานาจักพุนัน .เจนลาชื้งข้าพะข้าพะเจัาเป้นคนลาว. เคึยอ่านไนหนังสือเลื่องต่างๆไนใบลานเป้นใตหนังสือทำได้ก่าวเลื่องลาวต่างๆที่พวพ้นเถึงอสนาจักจำปา..แต่ไม่รุ้อานาจักจำปา
อาณาจักรเจนละ ใช่อาณาจักรเดียวกันกับอาณาจักรอิศานปุระ มั้ยคะ🙏🏼🙏🏼
ยุคสมัยถูกแบ่งโดยนปศ.ความจริงคือเรื่องราวที่สืบเนื่องกันนั่นเอง
อาณาจักรเจนละ ต้นตระกูล สุริยวงศ์ และ จันทราวงศ์ ราชวงศ์ แห่งอิศานปุระ อาณาจักรเจนละ พระเจ้าศรุตวรมัน เกิดในตระกูล ศรีกัมพู( กัมโพช) ปกครองเมืองเศรษฐปุระ ในเขตลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ลุ่มน้ำมูลอีสานใต้ มีเมืองหลวงทาง จิตวิญญานอยู่ที่วัดภู จำปาสัก มีความรุ่งเรื่องมากในช่วง พ.ศ.600-900 (ปราสาทวัดภู สร้าง เพื่อเป็นการถวาย พระภัทเรศวร ของชาวจามปา) ตัวเมืองเศรษฐปุระ( ที่คนพักอาศัย)ตั้งอยู่ที่ราบเชิงเขา มีคูน้ำล้อมรอบตัวเมืองไว้2ชั้นกว้าง-ยาว 2x2 กม. ด้านทิศตะวันออกของเมืองเศรษฐปุระ จะขนานไปกับแม่น้ำโขงพระเจ้าศรุตวรมัน เป็นลูกของ พระสยัมภูมิ และ นางอัปสรมีราพระเจ้าศรุตวรมันมีลูกชายชื่อ เศรษฐวรมัน ใน ราชวงศ์ สุริยวงศ์ (สุริยัน) ปกครองแคว้นเศรษฐปุระ และเมืองในบริวาณอีกเกือบ30เมือง ช่วง พ.ศ.1100 ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง และสถาปนาราชวงศ์ปาลวะขึ้นใหม่ มีการจลาจลทำลายล้างทางศาสนากันขึ้นมาอีก ทำให้พราหมณ์จากอินเดียได้ลี้ภัยหนีมายังดินแดนของชนชาติขอม(ลุ่มน้ำโขง-อิสาน-ลาว-เขมร-ญวน) ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรฟูนันกำลังเสื่อมอำนาจพอดี จากจารึกอักษรปาลวะ กล่าวถึง พราหมณ์กัมพูสวยัมภูว ได้เดินทางมายังอาณาจักรฟูนัน และ ได้แต่งงานกับพระนางมีรา ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดราชวงศ์ขอม - ราชวงศ์กัมโพช หรือ สุริยวงศ์ มาถึงยุค เศรษฐวรมัน(ลูกชาย ศรุตวรมัน )ปกครองฟูนัน ท่านสุดท้าย ขณะที่..เจ้าชายภววรมัน และเจ้าชายจิตรเสน สองพี่น้องก่อการกบฏ ทวงสิทธิ์แห่งความเป็นรัชทายาท(ราชวงศ์โกทัญยะ-จันทรวงศ์) ทำสงครามจนชนะอาณาจักรฟูนันแห่งราชวงศ์กัมโพช เจ้าชายภววรมันเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า “พระเจ้าภววรมันที่1” และได้ก่อตั้ง “อาณาจักรเจนละ” ทรงแต่งงานกับเจ้าหญิงลักษมีแห่งราชวงศ์กัมโพช จึงทำให้สุริยวงศ์ เกี่ยวดองกับ จันทรวงศ์ ทำให้อาณาจักรเจนละยิ่งใหญ่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ในสุวรรณภูมิ ช่วงปี พ.ศ.1100 มีเมืองเล็กๆชื่อเมืองภวปุระ มีพระเจ้าวีระวรมัน เป็นผู้ปกครอง เมื่อสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าภววรมันที่ ๑ แล้ว เจ้าชายจิตรเสนจึงได้ครองราชย์ต่อทรงพระนามว่า “พระเจ้ามเหนทรวรมัน” พระองค์ทรงเข้มแข็งในการศึก ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ในช่วงปลายรัชกาลของพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้มีการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่างราชวงศ์โกณฑัญญะ (ซึ่งมีการเรียกใหม่ว่า จันทรวงศ์) กับราชวงศ์กัมโพช (เรียกใหม่ว่า สุริยะวงศ์) จนในที่สุดเมื่อเจ้าชายจิตรเสนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอีศานวรมันที่ ๑ (ไม่ทราบว่าเป็นราชวงศ์ใด) ทรงแข็งเมืองและทำการยึดอาณาจักรเจนละไว้ได้ และย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ อีศานปุระ บริเวณลุ่มแม่น้ำสตรึงเตร็ง
อาณาจักรเจนละมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีก ๒ พระองค์นั่นคือพระเจ้าภววรมันที่ ๒ และพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ ในช่วงนี้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่สงบ และอ่อนแอ เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ ๑ สวรรคต พระองค์ไม่มีรัชทายาทจึงต้องให้พระเมหสีที่ชื่อ “พระนางชัยเทวี” ขึ้นครองราชย์ บ้านเมืองจึงวุ่นวายหนักขึ้นกว่าเก่าจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายจันทรวงศ์ และฝ่ายสุริยะวงศ์ พระนางไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ อาณาจักรเจนละจึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ เจนละบก คือดินแดนฝั่งแม่น้ำโขงตอนเหนือ พระเจ้าอนินทิตยปุระ(ฝ่ายสุริยะวงศ์) ยึดอำนาจตั้งตนเป็นกษัตริย์ มีเมืองหลวงอยู่ที่ “สัมภูปุระ” (ปัจจุบันมีซากเมืองอยู่ที่เมืองสัมบอร์ ในประเทศลาว) และเจนละน้ำ คือดินแดนที่ครอบคลุมบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบลุ่มทะเลสาบเขมร ลงไปจรดชายฝั่งทะเล มีเมือง “อนินทิตปุระ” เป็นเมืองหลวง มีพระเจ้าพลาทิตย์ (ฝ่ายจันทรวงศ์)ขึ้นปกครองแทนพระนางชัยเทวี หลักฐานของจีนกล่าวว่า ฟูนานตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธัญญะ (Kaundinya) ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับนางพระยาหลิวเหย่ (Lieo-Yeh) ของแคว้นนี้ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนานอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ วยาธปุระ (Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter king) ชื่อของฟูนานเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนาน เรียกว่า กูรุง บนม (Kurung Bnam) คือ เจ้าแห่งภูเขา (King of the Mountain) วยาธปุระ อยู่ใกล้เขาบาพนม (Ba Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกแก้ว มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตรต่อเชื่อมเมืองท่าออกแก้วกับเมืองวยาธปุระ เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนาน ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่งคั่ง และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง ทำให้ฟูนานมีอำนาจปกครองเหนือเมืองลังกาสุกะ (Langkasuka มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปัตตานี) และเมืองตามพรลิงก์ (Tambralinga มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือไชยา) เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ ฟูนานยังมีอำนาจเหนือเจนละ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนาน ฟูนานปกครองเหนือดินแดนในอินโดจีนส่วนใหญ่ถึงห้าศตวรรษ
จารึกปราสาทเสร็ยกรุบเลีย จารึกถูกเขียนไว้ที่กรอบประตู ใช้อักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ เขียนเป็นภาษาสันสกฤต 24 บรรทัด ผู้ที่ให้เขียนจารึกคือเจ้าเมืองประเทศราช (สามนฺตนฤป) นามว่า นรสิงหคุปตะ ผู้เป็นเจ้าเมือง อินทรปุระ เป็นขุนนางของพระเจ้าอีศานวรมัน (ที่ 1) เนื้อหาในโศลกแรกเป็นการกล่าวคำบูชาพระวิษณุ โศลกที่ 2-3 จึงได้กล่าวถึงผู้เขียนจารึกนี้ว่าเป็นขุนนาง (ภฺฤตฺย) ของกษัตริย์ 3 พระองค์ คือ พระเจ้า ภววรมัน (ที่ 1), พระเจ้ามเหนทรวรมัน และพระเจ้าอีศานวรมัน (ที่ 1) จารึกหลักนี้จะเขียนหลังรัชสมัยของพระเจ้าอีศานวรมัน (ที่ 1) แต่ก็มีข้อความเล่าย้อน ถึงกิจกรรมของนรสิงหคุปตะนั้นได้สร้าง “พระศรีกปิลวาสุเทวะ” ในรัชสมัยของพระเจ้าภววรมัน (ที่ 1)
วันเดือนปีที่สร้างพระศรีกปิลวาสุเทวะนั้น เมื่อคำนวนตามปีปฏิทินแบบปัจจุบันแล้ว ตรง กับวันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ.1141 เวลา 14.25 น. ซึ่งนับเป็นศักราชที่เก่าที่สุดที่มีการบันทึกในศิลา จารึกเขมรโบราณ แต่ก็ไม่นับเป็นจารึกที่เก่าที่สุดที่ปรากฏศักราช เพราะเป็นการเล่าย้อนหลัง และ จารึกหลักนี้ยังกล่าวถึงชื่อเมืองอินทรปุระ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญที่ถูกกล่าวถึงในศิลาจารึกอีกครั้งคือในจารึกสด๊กก๊อกธม ที่กล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมเทวะะ (ที่ ๒) กลับมาจากชวาแล้วครองเมืองอินทรปุระ เป็น เมืองแรกก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปที่หริหราลัยแม้ข้อมูลในจารึกหลักนี้จะไม่ได้กล่าวถึงพระเจ้ามเหนทรวรมันโดยตรง แต่ก็ทำให้เราได้ ทราบถึงเรื่องราวและกิจกรรมของพระองค์ในบริเวณนี้ และข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมืองภว ปุระซึ่งเป็นเมืองหลวงที่พระองค์ครองราชย์นั้น ก็น่าจะตั้งอยู่บริเวณนี้ด้วย
จารึกอ็องจุมนีก ในรัชกาลของพระเจ้ารุทรวรมัน มีพี่น้องสองคน คนหนึ่งชื่อ พรหมทัตต์ อีกคนหนึ่งชื่อ พรหมสิงหะ ทั้งสองคนนี้เป็นหัวหน้าหมอผู้มีชื่อเสียง (ภิษงฺมุขเยา) ในจารึกเปรียบทั้งสองเหมือนกับเทพ อัศวิน ลูกของพี่สาว (หลานของทั้งสองคน) คือ ธรรมเทวะ และสิงหเทวะ เป็นขุนนางของพระเจ้าภววร มัน (ที่ 1) และพระเจ้ามเหนทรวรมัน ซึ่งสิงหเทวะนั้น ในรัชสมัยพระเจ้ามเหนทรวรมัน ได้ถูกส่งไปเป็น ทูตที่เมืองจามปา ส่วนลูกของธรรมเทวะ ชื่อ สิงหวีระ เป็นกวีและเป็นขุนนางสมัยพระเจ้าอีศานวรมัน และลูกของสิงหวีระ ชื่อว่า สิงหทัตต์ ได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าชัยวรมัน (ที่ 1) และเป็น เจ้าเมืองอาธยปุระ ได้สร้าง “พระศรีวิชเยศวร” ในปีมหาศักราช 589 (พ.ศ.1210) หลานทั้งสอง (ธรรมเทวะและสิงหเทวะ) นั้น ผู้เป็นปรัตยะ (เชี่ยวชาญ) ในกฤตยะ (กิจการ) และวัสตุ (ทรัพย์) ทั้งหลาย ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดินพระนามว่า มเหนทรวรมันอีก สิงหเทวะ ผู้เป็นน้องชาย ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตโดยพระเจ้าแผ่นดิน (พระเจ้ามเหนทรวรมัน) ผู้รู้ จักสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ถูกส่งไปสู่ (สำนัก)พระเจ้าแผ่นดินจัมปา เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี จารึกหลักนี้เล่าย้อนถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้ามเหนทรวรมันได้ชัดเจนที่สุดคือ ได้ส่ง ทูตที่ชื่อว่าสิงหเทวะไปยังเมืองจัมปา อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีกับอาณาจักรเพื่อนบ้าน หมายความว่าพระองค์ได้ครองราชย์ประทับอยู่ในเมืองหลวงแล้ว และนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลว่าต่อมา เจ้าชายของอาณาจักรจัมปาจึงได้มาแต่งงานกับธิดาของพระเจ้าอีศานวรมัน (ที่ 1) ซึ่งเป็นพระโอรส ของพระองค์
จารึกอาณาจักรจัมปา ข้อความในจารึกกล่าวถึงกษัติรย์แห่งจามปาในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าคังคาราช ซึ่งสละสมบัติสันนิษฐานว่าอาจจะเดินทางไปแสวงบุญที่อินเดีย จากนั้นกล่าวถึงกษัตริย์ของจามปา ตามลำดับ เช่น พระเจ้ารุทรวรมัน ผู้เป็นหลานของพระเจ้ามโนรถะ (ลูกของน้องสาว) นามว่าพระเจ้า รุทรวรมัน โอรสของพระเจ้ารุทรวรมันมีนามว่า ศัมภุวรมัน ได้สถาปนาศิวลิงค์นามว่า ศัมภุภัทเรศะ จากนั้นกล่าวถึงพระโอรสของพระองค์นามว่า กันทรปธรรม และโอรสคือ ประภาสธรรม และน้องสาว ของท่านมีโอรสนามว่าภัทเรศวรวรมัน หลังจากนั้นเจ้าชายศรีชคัทธรรม ซึ่งมีเชื้อสายของพระองค์ได้เดินทางไปเมืองภวปุระ จารึกเล่าย้อนถึงพราหมณ์เกาณฑินยะได้รับหอกจากอัศ วัตถามันซึ่งเป็นบุตรของโทรณาจารย์ ได้มาแต่งงานกับลูกสาวพระยานาคนามว่า โสมา และได้สร้างวงศ์ กษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อมาจนถึงพระเจ้าภัทรวรมัน จารึกด้านที่ 2 จารึกกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นนามว่า ศรีภววรมัน และพระ อนุชานามว่า มเหนทรวรมัน ซึ่งมีอำนาจเทียบเท่ากับพระอินทร์ รวมทั้งกล่าวถึงพระเจ้าอีศานวรมัน (ที่ 1) ซึ่งมีพระธิดานามว่า สรวาณี นางได้แต่งงานกับ ศรีชคัทธรรมซึ่งสืบสายตรงมาจากนางโสมา ให้ กำเนิดโอรสนามว่า ศรีประกาศธรรม ซึ่งเมื่อขึ้นครองราชย์ในอาณาจักรจามปาแล้วได้เฉลิมพระนามว่า “ศรีวิกรานตวรมัน” พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ได้สถาปนาศิวลึงค์นามว่า ศรีประภาเสศวระ เมื่อมหา ศักราช 579 (พ.ศ.1200) พระเจ้าแผ่นดิน พระนามว่าศรีภววรมัน พระองค์นั้นผู้น่าสรรเสริญเพราะ อำนาจ 3 ประการ ผู้ทำลายความหยิ่งผยองในการแข่งขันในสมรภูมิของหมู่ศัตรูผู้ฮึก เหิมเพราะความเก่งกล้า พระองค์นั้น มีพระอนุชา(ในที่นี้หมายถึง พระเจ้ามเหนทรวร มัน) ผู้เป็นเหมือนสิงห์บนแผ่นดิน ผู้ทำลายปีก(ของกองทัพ)ของศัตรูที่หยิ่งผยอง ผู้มีการปกครองเพิ่มพูนขึ้นเพราะอำนาจ เหมือนพระอาทิตย์ที่อุทัยแสงแรงกล้าเพิ่มพูน ขึ้นเป็นลำดับพระเจ้าศรีมเหนทรวรมันนั้น ผู้มีความเก่งกล้าเสมอด้วยพระอินท์ ผู้เป็นที่รู้จักกัน ทั่ว ได้ให้กำเนิดพระโอรสผู้เป็นที่รัก ผู้ก่อให้เกิดความสุขจากนางสุธี เหมือนพระนยะ พระองค์ (พระเจ้าศรีอีศานวรมัน) ได้ให้กำเนิดพระโอรสที่เป็นที่รัก ทรงพระ นามว่า ศรีชคัทธรรมะ ผู้มีความกล้าหาญมาก จากพระนางศรีศรรววาณี ผู้ยึดถือ ความสัตย์ ผู้ประสูติในวงศ์ของนางโสมาข้อความจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้ามเหนทรวรมันมีความสำคัญมาก เพราะแสดงให้เห็นถึง ความเกี่ยวข้องกันระหว่างกษัตริย์จามปาและกษัตริย์ของเจนละ และจารึกหลักนี้ ไปอธิบายจารึกช่องสระแจงในสมัยของพระองค์ได้ ในด้านที่เปรียบเทียบกับพระองค์เสมอกับ พระอินทร์
จารึกร่วมสมัยในอินเดีย ช่วงประมาณ พ.ศ. 900-1200 บริเวณแถบอินเดียตอนใต้ มีราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ปกครองคือ ราชวงศ์ ปัลลวะ ศิลปวิทยาการต่างๆ ในสมัยราชวงศ์นี้เองที่ถูกส่งมาถ่ายทอดให้กับผู้คนในอาณาจักรบริเวณ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือกลุ่มประเทศอาเซียนในปัจจุบัน และเป็นที่น่าสนใจว่า ในอินเดียใต้ช่วงสมัย เดียวกับอาณาจักรเจนละ อาณาจักรปัลลวะก็มีพระเจ้าแผ่นดินพระนามว่าพระเจ้ามเหนทรวรมัน ปกครองเช่นเดียวกัน พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 แห่งราชวงศ์ปัลลวะ ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์คือ พระเจ้าสิมหวรมัน เมื่อราว ค.ศ.600 - 630 (พ.ศ.1143 - 1173) (The Pallavas : 164) พระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 แห่งราชวงศ์ปัลลวะมีช่วงเวลาครองราชย์เป็นระยะเวลายาวนาน คือ ตั้งแต่ ประมาณก่อน ค.ศ.600 (พ.ศ.1143) - ค.ศ.630 (พ.ศ.1173) หรือประมาณ 30 กว่าปี ทำให้ พระองค์มีเวลาในการสร้างสรรผลงานต่างๆ ได้มากมาย ส่วนพระเจ้ามเหนทรวรมันแห่งอาณาจักรเจนละ พระองค์จะครองราชย์เป็น ระยะเวลาไม่นานคือประมาณ ค.ศ. 607 (พ.ศ.1150) - ประมาณ ค.ศ. 616 (พ.ศ.1159) แต่จารึกใน สมัยของพระองค์ก็พบเป็นจำนวนมาก คือปัจจุบันพบแล้ว 21 หลัก กระจายอยู่ในเขตที่เป็นประเทศ กัมพูชาตอนเหนือ ประเทศลาวตอนใต้ และที่พบมากที่สุดคือ บริเวณที่เป็นประเทศไทยทางภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เพียงแต่จารึกส่วนใหญ่จะมีเนื้อความซ้ำๆ กัน คือประกาศถึงชัยชนะที่พระองค์มี ในบริเวณนั้นๆ เนื้อหาส่วนใหญ่ของจารึกพระเจ้ามเหนทรวรมันแห่งอาณาจักรเจนละ ส่วนใหญ่มีเนื้อหาสั้นๆ คล้ายกับจารึกเทวาลัยถ้ำหินขุดสมัยแรกๆ ของพระเจ้ามเหนทรวรมันที่ 1 แห่งปัลลวะ
❤(อาณาจักรเจนละ)❤ มี (เมือง/อาณาจักรศรีเทพนครชัยปุระ) เคยเป็น (เมืองหลวง/เมืองลูกหลวง) มี (ชนเผ่า(กูย) ) เป็น ชนเผ่าพันธุ์ ของมนุษย์ (ต่างดาว) มาอาศัยอยู่นานแล้ว เป็นต้น (หว้า)
@@duangkaejanikorn6394 ขอบคุณมากเลยค่ะ
กะลังคิดอยู่เลย ชัยภูมิเกี่ยวข้องกับชื่อพระเจ้าชัยวรมันรึป่าว แบบอาจเดินทัพผ่านมาชอบแถวนี้เลยคิดตั้งชื่อชัยภูมิ เพราะพระเจ้าถูกใจ
ชัยภูมิ เกิดขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ เกี่ยวกับลาวค่ะ ไม่เกี่ยวกับขอม
เว็บเจัาขึ้นป้ายบอร์ด โดนเยียบย้ำทุกภาค นามสกุลเจ้าสาย ใครจะรับผิดชอบ ถามเจ้าไทยหน่อย
ยุคเจนละ_ศิลปปาปวน.อาณาจักรเขมรโบราณ.ยุคนั้นยังไม่มีสยามมีแต่เขมรขอมโบราณล้วนๆ
อณาจักรโบราณคือเมือง มีราชาครองภายใต้ประเทศหรือ กุก
ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ประวัติศาสตร์
ขอบคุณมากเลยค่ะ
การประกาศอิสรภาพของคนไตในอดีต เป็นเมืองขึ้นบ่อยๆ เสียเปรียบจุดภูมิศาสตร์
ศาสนาพุทธมายังไงในแคว้นเจนละ?
ศาสนาพราหมณ์มายังไงในแคว้นเจนละ
ทำไมพระราชาบางองค์นับถือพุทธ บางองค์นับถือพราหมณ์ อะไรเป็นแรงจูงใจ?
3 แคว้นขึ้นไปรวมตัวกันตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นปกครอง
หลายอาณาจักรรวมตัวกันตั้งสหราชอาณาจักรขึ้นควบคุม มีสภาปุโรหิตและสภาโพธิ์ในการกำหนดวิธีการและกฏหมาย เป็นการปกครองของชมพูทวีปสมัยพระเจ้าอโศกที่สุวรรณภูมินำมาใช้ ถ้าเจนละเป็นแคว้นก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของอาณาจักรและสหราชอาณาจักรที่เปลี่ยนไปตามอาณาจักรที่ถูกแต่งตั้งในแต่ละยุค หากหาสหราชอาณาจักรไม่พบ การเชื่อมต่อคงยากและสับสน ทำไมอาณาจักรหนึ่งเข้าไปยุ่งเรื่องของอีกอาณาจักรหนึ่งได้นอกจากความเป็นญาติแล้วคืออะไร? ชวาเข้าไปยุ่งเรื่องเจนละได้อย่างไร? ถ้าเขาไม่มีอำนาจสูงกว่าในช่วงเวลานั้น สมัยก่อนขอบเขตของแคว้นและอาณาจักรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงและมีการทับซ้อนกันหรือเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา แล้วจะเช็คความสัมพันธ์กันได้อย่างไร?
...ลิงคะบรรพต คำนี้น่าสนใจครับ
...การบูชายันด้วยคน มีชนเผ่าเดียวที่ทำคือ ชาวลิงคะ อพยพเดินทางมาดินแดนนี้ราว 3,000 ปี
...แถบลุ่มน้ำมูล พบอิฐมอญหลายแห่ง และมีศูนย์การเลี้ยงหม่อนไหม เพื่อทอผ้าไหม การสักยันต์ การเลี้ยงช้าง การเกษตร และที่สำคัญคือ ผีปอบ
ขอบคุณแอดมินมากเลยที่นำให้ชม ได้ความรู้ น้ำเสียงน่าฟังมาก
ขอบคุณมากเลยค่ะ
เอกสารเวียดนาม เรียก อาณาจักรเจนละ/ลือ ส่วนสมัยอยุธยา กรุงธนบุรี ยังเรียกว่า ซีม/เซียมละ/ลือ อยู่เลยครับ
Chao Phraya Nakhon Ratchasima (Thong-in Na Ratchasima) (tiếng Thái: เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา), 1780-1845) là một hoàng tử Xiêm La (Thái Lan), sau này là thống đốc tỉnh Nakhon Ratchasima. Ông là con trai út của vua Taksin (Trịnh Quốc Anh). Mẹ là một con gái của Chao Phraya Nakhon Si Thammarat (Nu).
เจนละน้ำหมายถึงชวาและสุมาตรา
ไม่น่าใช่นะครับ ชาวเจนละมักจะเรียกพวกเดียวกันแยกตามลักษณะถิ่นที่อยู่ครับ เช่น พวกบรูคือพวกที่อาศัยบนภูเขา พวกที่อยู่ทางเหนือก็จะเรียกเจนละบกพวกที่อยู่ติดทะเลสาบก็เรียกว่าเจนละน้ำครับ
ถ้าเราสังเกตุการย้ายเมืองหลวงจากวัดภูจำปาสัก มาเมืองกระแต้ ท่านผู้บรรยายเรียกว่าเมืองกระเตี้ยนั้นคือลักษณะที่ตั้งเมืองเป็นพื้นราบ จากนั้นย้ายไปตั้งเมืองซัมบรูไปกวนผู้บรรยายเรียกสัมโบรไพรกุกตั้งอยู่บนภูเขา 3 ลูก จากนั้นไปตั้งเมืองโลณะหลวย ลักษณะเหมือนเล้าไก่แล้วไปตั้งเมืองซัมเรียวแปลว่าเมืองสวยงามจนกระทั้งล่มสลายด้วยความเข้าใจผิดของเขมรเองเพราะคำว่าเซียมทีจารึกบนกำแพงวัดนั้นหมายถึงชาวสยามเพราะชาวเจนละจะเรียกชาวเจนละทางตะวันตกว่าเซียมเกาหมายถึงน้องของเราเขมรจึงเข้าใจผิดว่าคำว่าเซียมก็คือสยามจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเสียมเรียบสยามเปลี่ยนเป็นเสียมราชแล้วแต่ใครมีอิทธิพล
@@พิทักษ์สิงห์คํา-อ9ฏ เจนละหรือเฉินละในบันทึกจีนคือละโว้ครับ ส่วนฟูนันหรือฝูหนานในบันทึกจีนคือสุวรรณภูมิแต่ชาวมาเลเซียเรียกรวมๆว่าศรีวิชัยตามศูนย์กลางอำนาจล่าสุด ตามประวัติศาสตร์บอกว่าเจ้าชายภววรมันร่วมกับเจ้าชายจิตเสนหรือที่เรารู้จักในนามขุนเจืองธรรมมิกราชได้ยกทัพย์ไปตีศรีวิชัยเพื่อแก้แค้นพระเจ้ารุททรวรมันที่ฆ่าน้องเพื่อชิงบัลลังค์จึงทำให้ศูนย์กลางอำนาจไปอยู่ที่ละโว้หรือเฉินละในบันทึกจีนและฝ่ายที่พ่ายแพ้ก็พากันย้ายไปตั้งเมืองใหม่ที่เกาะชวาซึ่งเป็นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสยามและนั่นแหละน่าจะเป็นที่มาของคำว่าเจนละน้ำเพราะแยกออกไปและไม่ขึ้นกับสยามและราชวงศ์นั้นก็คือราชวงศ์ไศยเลนด์
มันก็อันเดียวกันกับประวัติศาสตร์ไทยนั่นแหละครับแค่นักวิชาการนักประวัติศาสตร์รุ่นเก่าตีความไม่แตกคิดว่าฝูหนานในบันทึกจีนอยู่ในเขมร
ทมิฬถูกตีแตกที่ลานันทา จึงลงใต้และบางส่วนลงเรือมาสุวรรณภูมิ
ชื่อเมืองสัมโบรไพรกุก มีความหมายว่าอย่างไร เรียกชื่อเพี้ยนหรือไม่ คำว่า สัมหรือซัม แปลว่าเท่ากับ หรือสวยงาม คำว่าโบรหรือบรู แปลว่าภูเขา คำว่าไพรน่าจะเพี้ยนมาจากคำไปร ซึ่งแปลว่าลูกผลไม้ เมืองนี้จึงถูกเรียกตามลักษณะของเมืองว่า มีขนาดเมืองเท่าภูเขาสามลูก สันนิษฐานนะครับผมยังไม่เคยสำรวจเมืองนี้ครับ
ทำไมมนุษย์ต่างดาวไทยชอบดูถูกเพื่อนรอบๆข้างโดยไม่ดู...ตัวเองบ้าง
ไทยจะไม่ดูถูกใคร ถ้าชาตินั้นมันรู้เรื่อง รู้กาละเทศะ รู้จักสังคม รู้จักการอยู่รวมกัน ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้งกลับกลอก พูดดำให้เป็นขาว สร้างความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน คิดว่าตัวเองเป็นจักรวาล โยนขี้ให้คนอื่น เหมือนเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น สันดานนี้ติดตัวพวกเขา ดูจากคำพูดก็รู้ เหมือนสำเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุล
คนไร้ตัวตน แต่อยากมีตัวตน เลยจ้องเคลมเพื่อนบ้าน คนแบบนี้ สมควรที่ไทยจะดูถูกหรือไม่?
โอ้ย ขำ คุณไปอ่านเพจเขมรก่อน ว่าเขมรดูถูกคนไทยขนาดไหน ว่าโจรสยามบ้าง คุณไปดูวัฒนธรรมไทย ชุดไทย มันเอาขึ้นโพสต์แล้วบอกว่าไทยขโมยวัฒนธรรม อย่าโลกสวย อินเตอร์เน็ทมี หาดูใน เพจ culture ต่างๆแล้วตาจะสว่าง
ก็ลองดูพฤติกรรมพวกมันสิครับ
ข้างบ้านมีความประพฤติชั่ว (อยากได้ของๆผู้อื่น) มีสันดานเนรคุณ (อกตัญญู) ใครที่ไหนจะอยากคบด้วย 😣😣
แล้วเพื่อนบ้านคุณมันเคยศึกษาประวัติศาสตร์ที่แท้จิงบ้างมั้ยคอยแต่จะเอาแต่ของคนอื่น วันๆนั่งมองแต่กำแพง 🤭🤭🤭
คำว่าเจนละถ้าแปลตามภาษาของคนท้องถิ่น ซึ่งคนสวนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ ซึ่งประกอบด้วยชาวบรู ชาวโส้ ส่วย ข่า กูย หรือกวย มีความหมายว่า "อาหารที่ปรุงสุกแล้ว" ซึ่งตรงกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาวพื้นเมืองดังกล่าวนิยมรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สันนิษฐานนะครับ
ขอบคุณมากเลยค่ะ
ภาษาเขมร เรียกคำว่า สุก ว่า จะเอิน ในขณะที่ทูตจีนเรียกเจนละว่า เจิ่นล่า บางทีก็จินตนาการได้หลายอย่าง แต่ส่วนตัวคิดว่าคนสมัยก่อนน่าจะเรียกตัวเองตามภูมิศาสตร์ หรือ อ้างสถานที่สำคัญเป็นหลัก เช่น ลิงคบรรพต บาพนม วนำรุง สตึงเตรง อังกอเบร็ย....ซึ่งแปลว่า เขา ป่า น้ำ ซะเป็นส่วนมาก ความน่าจะเป็นของเจนละ ซึ่งอยู่ทิศเหนือของฟูนัน จากปากทูตฟูนันที่ไปเยือนจีน ก็คือคำว่า เจินเลอ หรือ เจือนเลอ ซึ่งเปลว่า ข้างบน ชั้นบนหรือดืนแดนที่อยู่ด้านบนของฟูนัน คำว่า เลอ แปลว่าบน ส่วน กรอม แปลว่า ล่าง
โจฬะ แผลงเป็นเจนละ เมื่อย้ายมาอยู่นอกเขตอินเดียครับ
@@พัฒนศักดิ์จุติมูสิก-ฑ6ล โจฬะก็ไปหลายที่...ทำไมไม่เรียกว่าเจนละทั้งหมดครับ
@@s.bantungna4303 ผมก็คิดเหมือนกันเลยครับ เจือนเลอ หมายถึง ชั้นบน
SRIWIJAYA BUDDHA EMPIRE 💪🔥💪🔥
📌แก้ไขนิดนึงครับแอด ที่บอกว่าสร้างสระในเขตอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี จริงๆอรัญประเทศอยู่จังหวัดสระแก้วนะครับ
ขอบคุณมากเลยนะคะที่แนะนำค่ะ...เป็นบทความของท่านอาจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ที่เขียนขึ้นก่อนที่อรัญประเทศจะไปรวมอยู่ในจังหวัดสระแก้วค่ะ...
เดิมสระแก้ว เดิมเป็นตำบลหนึ่งใน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดกบินทร์บุรี ต่อมาได้เป็นอำเภอปี 2501 ได้เป็นอำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี
และ 1 ธ.ค.2536 ได้ยกเป็นจังหวัดที่ 74
@@นางพิมพ์เติมสมบัติบวร ขอบคุณมากเลยค่ะ
เจน. คือ. ชะวา. ละ. คือ. ละว้า
ขอมเป็นใครมาจากไหนหน้าตาเป็นอย่างไรทำไหมไม่มีใครยอมรับว่าตัวเองเป็นขอมไทสยามหรือมอญเขมรแต่คนเผ่าไทสยามจำเป็นอะไรถึงเอาภาษามอญเขมรมาพูดแล้วก็โกหกลูกหลานไทยมาตลอดว่าเป็นภาษาทั้งๆที่เป็นภาษามอญเขมรมีตั้ง2000กว่าคำเช่นจมูกตูดเดินกะบาลกะดอสะพานกะเพาฉะเชิงเทรากังวนกังหังกะทอ้มขนนขนาดทอดทิ้งชอ้นโปรยปรายจำรองคลองลฯลเป็นเขมรทั้งนั่นตอบชิใครคือขอม
ก็นั่นมันแค่คนภาคกลางไง ไม่ใช่ไทยแท้ไงราชวงไทยก็เป็นมอญไม่ใช่ไทยแท้
คุณเข้าใจคำว่าการผสมภาษาหรือไม่ ไทย เผ่าไท นั้นคือตระกูลภาษา ไท-กระได เราไม่ได้มีรากภาษามาจากมอญเขมร แต่ทำไมไทยภาคกลางจึงมีคำภาษาต่างประเทศค่อนข้างมาก ไม่ว่า มอญ เขมร จีน ตะวันตก เนื่องจาก ถิ่นที่อยู่ภาคกลาง คือปากแม่น้ำ และทางออกสู่ทะเล มีชาวต่างชาติต่างภาษามาค้าขายอลกเปลี่ยน จึงมีคำปะปนยืมมาผสม ซึ่งจะแตกต่างจากชนที่อยู่บนภูเขา แถบภูเขา เช่น คนภาคเหนือ คนอยู่พื้นที่ห่างไกลทะเลเช่นอีสาน ที่จะมีภาษาบริสุทธิ์กว่า เพราะขาดการผสมผสานของใหม่ เพราะอยู่ลึกเข้าถึงยาก ขาดปฏิสัมพันธ์กับชนต่างชาติต่างภาษา
แต่ไม่ว่าจะผสมเป็น 1,000 2,000 แต่รากไม่มีวันเปลี่ยนยังเป็นภาษาตระกูลไท
ดูแค่ ภาษา ก็ทราบไปแล้วว่า คนไทยโบราณเคยอยู่กับใครบางในอดีต! แต่กลับไปว่า มาจาก ขอม! มาได้อย่างไร? ทั้งๆที่คำเหล่านั้น เขมรก็ยังสืบสานกัน และใช้งานถึงบัจจุบัน จะ ขอม ยังไงได้? ง่ายเข้าใจ แต่ไม่ยอมทำความเข้าใจ เมื่อเราเรียกจีนว่า เจ็ก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า คือ จีน? คตินี้เกิดมาจากลัทธิชาตินิยม เมื่อแบ่งเขตแดน ใครอยู่ที่ไหน มักจะรักที่นั่น และเมื่อเห็นเขมรบัจจุบันตกต่ำ ไร้พัฒนา ก็ดูถูกว่า ขอม คือ เขมรได้อย่างไร! ถ้าเป็น ขอม จะต้องเจริญกว่านี้!
ทั้งๆที่ขีดการพัฒนา หรือเจริญ มันไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ถ้าจะเกี่ยวข้องกัน แล้วทำไม ทั้งมอญ ทั้งจาม กลับสิ้นชาติ ไร้ประเทศ? เพราะการเปลี่ยนแปลง มันไม่ได้เกี่ยวข้องกันสักนิด
@@champaputih4568 เขาไม่ได้ดูถูก แต่ DNA และภูมิปัญญามันติดตัวมาจากบรรพบุรุษ
@@champaputih4568 คนไทยสยามนันจริงๆเป็นลูกผสมมอญเขรแต่คนพวกนี่ไม่ยอมรับความจริงไงดันไปโยนความผิดให้ขอมว่าล้มสหลายไปแล้วท้ังที่ภาษาพูดก็ยังเป็นมอญเขมรอยู่ดีประเทศเขมรก็มีคนพูดภาษาจามอยู่เขมรจะเรียกพวกมอญว่าพวกเขมรเดิมคนไทสยามก็เรียกมอญอยู่อิสานก็มีเยอะเพชรบูรณ์คือยกรูอยู่โคราชเรียดไทบลและอยู่ปักธงชัยและอยู่ชัยภุมิสุรินสีเกษบุรีรัมย์เรียกสว่ยอยู่ประเทศลาวจำปาสักและอัตปือเรียกตัวเองว่ามะกองบลูข่าโสตะโอ้ยคนพวกนี้กินข้าวเรียกว่าจาโดยจาเปยมอญที่อยู่พม่าก็เรียกกินว่าจาเปยจาโดยเหมือนกันแต่สำเนียงแตกต่างกันไปแต่ที่แน่คนพวกนี้คือมอญบัวขาวนักมวยชือดังเรียกตัวเองเป็นชาวกูยกวยสว่ยครับกินข้าวเรียกจาโดยคนมอญนี้มีทั้งไทยพม่าลาวเขมรไทสยามตั้งประบอกว่าอาณาจักขอมล้มสหลายในความคืดของผมไทสยามโยนความให้ขอมแต่ไม่ว่าเป็นใครเหมือนคนลาวล้านนาเปลี่ยนชือคำเมืองเหมือนลาวล้านช้างก็เปลียนให้เป็นอิสานเปลี่ยนจีนให้เป็นเจ็กเปลียนการปกครองไงจริงๆแล้วถ้าผลการตรวจดีเอ็นเอของไทสยามภาคกลางนี้มีสายเลือดเป็นพวกกลิงคะพวกเดียวกันกับมอญเขมรคือo2aคือพกออดโตเอเซียติกสรุปไทยลาวผสมมอญเขมรเป็นไทสยามเลยโยนความผิดไปให้ขอมไม่รู้ขอมเป็นใครแต่ประเทศเขมรเขาไม่รู้ว่าขอมคือใคร
แอดมินเอาภาพเขียนสมัยราชวงค์หมิง ที่การแต่งกาย เสียมกับเขมรมาให้ความรู้บ้างค่ะ
จิตรเสน ได้สร้างกู่ร้อยเอ็ด
อุบล ที่ดอนมดแดง
@@สมบัติเหิมทะยาน-ฎ5ษ ขอบคุณมากค่ะ
Banchieng. Heritage
Over 5-6ooo.years
(1/3)เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคต พระเจ้าศรีนฤปตีนทรวรมันได้ขึ้นครองราชย์เมืองพระนครหลวง (นครธม) ทรงเฉลิมพระนามว่าพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 สืบทอดสายสกุลแห่งเมืองละโว้ (อ้างอิง: หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี) เมื่อพระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 ยังทรงครองเมืองละโว้อยู่นั้น พระราชธิดาของพระองค์ได้แต่งงานกับพ่อขุนศรีนาวนำถม กษัตริย์เมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย มีหลานชายพระนามว่า "พ่อขุนผาเมือง"
ราชสกุลอินทรวรมันเคยเป็นกษัตริย์แคว้นเจนละ (อีศานปุระ) และเมืองพระนครหลวง (นครธํม) และเมืองละโว้
สมัยพระเพทราชา “เกิดกบฎ นครราชสีมา” เพราะไม่ยอมรับการขึ้นครองราชของพระองค์ สายตระกูลอินทรวรมันจากเมืองละโว้ ก็ถอยร่นไปที่โคราชและถอนร่นลงมาสุรินทร์อีกเมื่อแพ้กองทัพอยุธยาของพระเพทราชา
สุรินทร์->สุระ+อินทร= สุรินทร์, ตราจังหวัด ตราโรงเรียนคือพระอินทร์ด้วย เขาจะเรียกตัวเองว่าลูกพระอินทร์ ลูกหลานวรมัน
ไปเขียนประวัติว่า พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) มาจากอัตปือ ประเทศลาว เป็นพวกชาวกูยเลี้ยงช้างมาสร้างเมืองสุรินทร์ ช่วงนั้นยังไม่ยกเลิกระบบทาส จากทาสส่วยมาเป็นพระยาเลยไม่ได้…. และในเมืองสุรินทร์มีแต่เขมรเจนละ100% ไม่มีชุมชนกูยในตัวเมือง ใครจะกล้าให้คนอพยพจากต่างถิ่นเป็นเจ้าเมืองปกครอง ภาษาก็ไม่เหมือนกันแล้ว บ้านเมืองสมัย ร.1 ยังไม่ได้เป็นปึกแผ่นขนาดนั้นและล้านช้างก็แผ่อำนาจมาด้วย สมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงเชื่อใจเชียงปุมให้แม่เป็นทัพหน้าไปปราบเขมรต่ำ รัชกาลที่ 1 ด้วย จึงได้อวยยศให้เป็น พระยา ให้ขึ้นตรงต่อทางกรุงเทพ ไม่ต้องผ่านมลฑลพิมายอีกต่อไป ถ้าย้อนไปดูประวัติ ร.1 พระนามเดิม ของพระองค์คือ ด้วง หรือทองด้วง เป็นบุตรพระอักษรสุนทร (ทองดี) ข้าราชการกรมอาลักษณ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีกรมพระคลังในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับท่านหยก ธิดาเศรษฐีจีน
(2/3)ตั้งแต่ ร.2 มา เหตุการณ์กลับตาลปัตร ประวัติศาสตร์จังหวัดสุรินทร์เขียนบอกว่าจับช้างเผือกได้และได้อวยยศเป็น”พระยา”มันไม่ใช่ ไม่เนียน
ชื่อเต็มคือ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)” ยศ “จางวาง”คือยศหัวหน้ากรมช้างของกษัตริย์แล้ว ฝั่งพระเพทราชา พระองค์ก็มียศเป็น “จางวาง” ในพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมเป็นพงศาวดารฉบับแรกสุดกล่าวถึงพระราชประวัติของพระเพทราชา ระบุว่า “พระเพชญราชาจางวาง” กรมช้างเปนช้าวบ้านพลูหลวงแขวงเมืองสุพรรณ์บูรียมีบุญาธิการมาก แลกระทำการชำนีชำนารในการศิลประสาตขี่ช้างแกล้วกล้านักยิ่งนัก แล้วก็มีฝีมือในสงครามกระทำความชอบมาเปนหลายหน”
เรื่องกบฎนครราชสีมาคือฝั่งพระนารายณ์มหาราช ในพงศารดารกล่าวว่า อ้ายคิดมิชอบกับพวก 28 คน บอกเป็นคนลาว จับตัวไม่ได้นะ หนีไปทั้งหมด สยามชำระประวัติศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับ”กบฏนครราชสีมา” โดยตามพระราชนิพนธ์ พงศาวดารกรุงสยามที่ชำระภายหลังขยายความว่า “อ้ายคิดมิชอบ” มีชื่อว่า “บุญกว้าง” เป็นลาวอยู่แขวงหัวเมืองลาวตะวันออก เป็นผู้มีความรู้วิชาการดี สามารถใช้คุณวิชาไสยศาสตร์ของตนเองยึดเมืองนครราชสีมาได้โดยง่ายแม้ว่าจะมีกำลังเพียง ๒๘ คน จนกรมการเมืองและราษฎรเกรงกลัวยอมเข้าร่วมทั้งสิ้น
อันนี้คือคำบันทึกตามพงศาดารเก่า
“จึ่งพญานครราชศรีมาก็ขี่ข้างพังตัวหนึ่งมีบ่าวไพร่ทนายตามออกมา ๒๐ เศศ ครั้นออกมานอกเมืองเกือบจถึ่งณสาลา แลบุญกวางขบถก็ลุกออกมายืนอยู่นอกม่าน แล้วชีนีวร้องตวาดด้วยเสิยงเปนอันดัง ด้วยอำนาจ์คุณวิชาบันดานให้พญานครราชศรีมาสดุงตกใจกลัวยิ่งนัก แลขับช้างหันหวนแล่นหนีเข้าประตูเมืองทังบ่าวไพร่ด้วยกัน แลไอ้คิดหมิชอบกับสมักพักพวกไล่ตามเข้ามาในเมืองไพร่พลเมืองแลกรมการเมืองทังหลาย ก็เกรงกลัวมันด้วยอนุภาพคุนวิชาการมิได้มีผู้ใดจอาจ์หาญเข้าจับกุมมันได้ ต้องอยู่ในอำนาถไอ้ขบถสิ้น”
- จากข้อมูลจากพงศาวดารของสยามระบุว่า”ผู้นำกบฏเป็นลาว”
- รายงานของ กิเดโยน ตันต์ (Gideon Tant) หัวหน้าสถานีการค้าบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (Vereenigde Oostindische Compagnie; VOC) ประจำสยาม
“อ้ายคิดมิชอบ” สามารถยึดเมือง นครราชสีมาอย่างง่ายดาย
- จดหมายของ”บาทหลวงโบรด์”ที่ระบุว่ากองกำลังกบฏในเมืองนครราชสีมามีจำนวน ๔๐๐-๕๐๐ คน ส่วนใหญ่เป็นคนหลากหลายเชื้อชาติ ใช้คำว่า “differentes nations”(มีมากกว่าหนึ่งเชื้อชาติ)
“คนลาวและภาษาลาว คนสยามและภาษาไทย” ไม่ใช่นิยามของคำว่า “differentes nations” แต่คือ “different accent” มากกว่า อนึ่ง รูปร่าง ลักษณะสีผิวต้องแตกต่างกับคนสยามอย่างชัดเจน บาทหลวงโบรด์จึงระบุในบันทึกว่า “differentes nations” ไว้แบบนั้น
ชื่อ “อ้ายคิดมิชอบ” ก็ถูกจดบันทึกเองจากทางสยามเอง ดังจะเห็นประโยคการบันทึกของพงศาวดารที่ว่า “ แลไอ้คิดหมิชอบกับสมักพักพวกไล่ตามเข้ามาในเมือง”
คนที่ยึดเมืองโคราชคือ คนกลุ่มขี่ช้างเก่ง แค่ขี่ช้างออกมาแล้วนั่งชี้นิ้ว กลับเข้าเมือง ก็ยึดเมืองโคราชได้ มันง่ายเกินไปไหม ถ้าเทียบกับกรุงอยุธยาที่ใช้เวลานานมาก 3 ปี กว่าจะปราบโคราชลงได้
(3/3)พระราชนิพลพงศาวดาร กรุงสยาม ยังกล่าวถึงการใช้ “เพลีงอังแพลม”
ซึ่งยังไงก็ไม่ใช่ภาษาลาว
ดังต่อไปนี้ “แลท้าวพญานายทับนายกองซึ่งตั้งลอ้มอยู่นั้น ก็ปฤกษากันเหนว่าจแหกหักเอาหมิได้ ด้วยช้าวเมืองรบพุ่งต้านทานแฃงมืออยู่ จึ่งคิดกลอุบายเปนหลายหย่างแลทำให้ลูกปืนกลยิงตกแล้วก็สงบอยู่ ต่อเพลีงติดลามเข้าไปถึงดีนเรัวจึงแตกออกผู้คนล้มตาย อุบายอนึ่งนั้นให้ผูกว้าวจุลาใหญ่ชักขึ้น แล้วเอามอดีนผูกแฃวนสายปั่นอันไหญ่หยอนเข้าไปในเมือง แลจุดเพลิงฉนวนล่ำมไว้ ครั้นเพลีงฉนวนติดถึ่งดินแล้วให้ตกลงไหม่ในเมือง แลอุบายอนึ่งนั้นให้เอา”เพลีงอังแพลม”ผูกลูกธนูยิงระดมเข้าไปเผาเมือง ครั้นจัดแจงแต่งการทังปวงนั้นพร้อมแล้ว เพลากลางคืนดึ่กประมาณสามยาม ก็ให้ยิงปืนกลชักว้าวจุลาแลยิงธนูระดมเข้าไปพร้อมกัน แล้วแต่งพลอาษาหนุนเข้าไปปล้นเอาเมือง”
วลีที่ว่า “เพลิงอังเแพลิม” คือ “เพลิงอังเพลง” การจุดลูกไฟธนู แล้วยิงธนูออกไป ไม่ใช่ภาษาลาว อย่างแน่นอน วิธีการเหล่านี้ก็ล้วนไม่ประสบความสำเร็จ กองทัพกรุงศรีอยุทธยาต้องทำศึกยืดเยื้อมาอีกหลายเดือน
ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงการรบพุ่งบนเชิงเทินแบบเจนละ อนุเสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม) ข้างกายก็คือหอกและกล่าวถึงฝั่งอยุธยาใช้วิธีพิศดารมากมาย เช่น ใช้ว่าวจุฬาผูกหม้อดินไปเผาเมืองเช่นเดียวกัน และยังกล่าวถึงการใช้ “ปืนกล” ที่สันนิษฐานว่าเป็นปืนครก (mortar) บรรจุกระสุนลูกแตก (explosive shell) ติดชนวน ซึ่งเป็นวิทยาการที่ไทยได้รับมาจากกองทหารฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ยิงเข้าไปทำลายเมือง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะชาวเมืองสามารถแก้ทางได้ ดังต่อไปนี้
“อ้ายคิดมิชอบก็มิได้ออกรบพุ่งนอกเมือง รักษาแต่เชิงเทินและกำแพงไว้มั่นคง ทรงพระกรุณาสั่งให้เอาปืนกลขึ้นไปตั้งจุดยิงเข้าไปในเมือง ลูกปืนกลตกลงในเมือง ชาวเมืองนครราชสีมาหาเคยเห็นไม่ จึงมายืนล้อมดู ครั้นลูกปืนวูบเข้าไปถึงดินเร็วแตกออก ถูกคนเจ็บปวดเป็นอันมากและเหย้าเรือนในเมืองนั้น มันให้รื้อแฝกหลังคาลงเสียสิ้นแล้ว ให้ขุดหลุมรายไว้ ครั้นยิงปืนกลเข้าไปอีกตกลง ชาวเมืองเอาไม้คัดรุนลงเสีย เอาหนังใหญ่และไม้ปิดเสียแตกออกในหลุมก็หาถูกผู้คนไม่ และทรงพระกรุณาสั่งให้เอาว่าวคุลาใหญ่ขึ้นไปชัก เอาหม้อใส่ดินตกลงให้ไหม้เมือง และหย่อนว่าวให้หม้อดินตกลงในเมืองหลายครั้ง ก็หาไหม้เมืองไม่”
มาจากคำว่าจำปา
ประวัติซาสตร์. หน้าใหม่
ทำไมต้องเชื่อบทความของต่างชาติที่เป็นศัตรูกับเราอย่างเช่น ฝรั่งเศส ที่เข้ามายึดดินแดนไทยไปให้เขมร
เมืองกระเตี้ยแปลว่าอะไร เป็นคำเพี้ยนหรือไม่ ขอตั้งข้อสังเกตุนะครับ คำที่ใกล้เคียงกับคำว่ากระเตี้ย คือคำว่า กระเที้ยะ แปลว่ารักแร้ หรือเพี้ยนมาจากคำว่า กระแต้ แปลว่า แผ่นดินพื้นราบ ครับ
รุ่นเดียวกับ. อิจิปต์. โบราณ
ชนชาติสยามกุกก็คือชนชาติคนที่อยู่ในประเทศไทยสุวรรณภูมินี่แหละ..และกระจายกว้างขวาง..แต่ชนชาติสยามมีการประดิษฐ์สร้างและใช้วัฒนธรรมต่างๆปรับเปลี่ยนพัฒนาผสมผสานเกิดวัฒนธรรมองทัพมีร่มฉัตรเรียกชื่อต่างๆตามยุคสมัยที่วัฒนธรรมใหม่นั้นนิยมและเข้มแข็ง เช่น อินเดียทมิฬ ทวารวดี ขอม ศรีวิชัย ละโว้ พิมาย พนมรุ้ง ศรีเทพ อู่ทอง สุพรรณบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ จนปัจจุบัน..แยกให้ออกชนชาติสยาม..กับวัฒนธรรมต่างๆ..มีหลักฐานเด่นชัดบอกความจริงชัดแจ้งสลักอยู่บนกำแพงนครวัดบอกว่า..ข้า(เนะ)คือชนชาติสยาม(สยามกุก)กองทัพอันเกรียงไกร(ภาพทหารสยามกุกมี15ร่มฉัตร)..ส่วนชนชาติเขหม็นคือทาส(ภาพชนชาติเขหม็นมีเชือกล่ามคอ)..และชนชาติสยามคือชนชาตินักรบที่ชาญฉลาดจึงสืบเชื้อสายDNAผสมผสานหลากเชื้อชาติได้จนถึงปัจจุบันไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของใคร..
พูดได้เข้าข้างตัวเองมากเลยครับ เหมือนจะมีความรู้
แต่ไม่มีเลย ถามประโยคง่ายๆ
คนไทยมาจากไหนตั้งแต่แรก
ต้นกำเนิดแท้จริง เริ่มต้นจุดไหน
แล้วทำไมทุกวันนี้
แล้วทำคนไทยไม่ใช่ภาษาเดียวกัน เพราะอะไร
แล้วทุกวันนี้คุณใช้ภาษาอะไรล่ะ อยู่จังหวัดอะไร
มั่นใจหรอว่าคุณเป็นคนไทย
ไม่ใช่เฉลยศึก ที่ถูกเกณฑ์มาหลอกเหรอ😂😂😂
ประเทศไทยเขียนประวัติศาสตร์ย้อนแย้งกับความจริงมาก รู้ป่าว
Same Period. Of. Egypt
ชอบๆๆ
ฮะริฮะรัน. คุ้นหู ที่ได้ยิน ฮะรันฮะรุ จาก ความเบลอๆ ของพระศิวะที่บอกข้างหู มันเกี่ยวไรกัน มันน่าค้นหา
จดหมายเหตุจีนบอกเจนละสู้รบกับฟูนัน และถล่มฟูนั้นได้จนล้มสลาย แต่ในบันทึกจารึกที่ค้นพบอยู่ภาคตะวันออกกัมพูชาจึงกลับเขียนต่างกัน ฉะนั้น เอกสารจีน จึงไม่มีความหมายอีกแล้ว เพราะนักประวัติศาสตร์เขาจะยกย่อง หรือเอาหลักฐานคนพื้นเมืองเป็นหลัก เจนละ คือเวอร์ชั่นของจีน ไม่ใช่คนท้องถิ่น บางหลักฐานก็ระบุว่า เจนละ เป็นคำภาษาจีน บางก็ว่า คำภาษาเขมร ไม่รู้จะเชื่อใคร
ท่าน Paul Pelliot ให้สันนิษฐานว่า เจนละ น่าจะมาจากคำเขมร จนเรียบ เพราะแผ่นดินเจนละติดจีนตรงมณฑลยูนาน ที่เคยรบกับชาวจีน และก็รับชัยชนะ และก็ตั้งชื่อที่นั่นว่า จินเรียบ จีนออกเสียงไม่ชัดก็เลยเป็น เฉินหลา (ชาวเวียด ในเวียดนามตอนเหนือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า เฉินลับ)
-ในอีกหนึ่งหลักฐาน มีตำนานชาวจีน ระบุว่า ตอนเหนือฟูนัน มีป่าทึบอย่างหนาแหน ที่มีผึ้งเยอะ ที่จีนเอามาทำเทียน ชาวจีนเดินเรือมาชื่อผึ้งไปเมืองจีน ที่เขาเรียกขานกันว่า ผึ้งแท้ ในภาษาจีน เจน หรือ จึง แปลว่า แท้ ส่วน หลา แปลว่า เทียน หรือผึ้ง ภาษาจีน
ขอบคุณมากเลยค่ะ
ลำพังสินค้าของป่าไม่น่าทำให้เจนละยิ่งใหญ่ได้ครับ ผมว่าชาวเจนละมีความรู้และวิทยาการพอสมควร ทั้งการทอผ้า ถลุงเหล็ก ทองแดง เป็นสินค้าหายาก จึงมีเศษฐกิจดีก่วาฟูนัน จึงรวมฟูนันได้
เจนละ มาจากรากศัพท์เดิมคือ เจือนเลือน
หมายถึงไขผึ้ง ผึ้ง
เดิมผู้คนที่ราบสูงจรดทะเลสาบหลวงนั้นบูชาสักการะบรรพชนด้วยไขผึ้ง ปราสาทผึ้ง ทำพิธีกรรมต่างด้วยไขผึ้ง
โจฬะ= เจนละ
ขอบคุณค่ะ
🙂
ข้างบนผมได้กล่าวถึงคำว่าเจนละไว้แล้ว ต่อไปก็จะขอถึงลึงคะโปโปบรรพตถ้าเราไปถามชนชาติเดิมที่อาศัยอยู่ในแถบจำปาสักเราจะรู้ความหมายของคำว่า "ลึงคโปโป" ลึงค หมายถึง ศิวะลึงค คำว่า โป แปลว่า ใหญ่ ดังนั้น คำว่า โปโป จึงแปลว่ายิ่งใหญ่มาก
"ลึงโปล์"อ่านไม่สะกดแม่กน ออกเสียง"ล"แปลว่า"ในที่รกๆหรือป่ารกๆ คำว่าป่าคือเกาะห์ ภาษา"กูย"ลึง"เป็นคำสรรพนามเท่านั้น แปลว่าข้าง ข้างใน ในนั้น "โปล์"แปลว่า ที่รกๆ ร่มรื้นต้นไม้เยอะๆ ส่วน"กะโปล์"จะออกเสียงต่างกันนิดนึง ต้องให้ผมพูดให้ฟังถึงจะเข้าใจ ความหมายคือ ที่บังแดด ที่ร่มเย็น เหมือนมีใบใม้บังแดด ประมาณนั้นแหละ
@@จอมยุทธอินทรีย์-ผ8น คำที่มีความหมายว่าใหญ่ในภาษากวย มีอยู่สองคำคือ ผึดและคำว่าโป แล้วบริเวณปราสาทวัดภูในแขวงจำปาสักก็มีชาวกวยอาศัยอยู่เยอะมาก และที่อาจารย์ท่านบรรยายว่าภูเขาดังกล่าวเมื่อมองขึ้นไป จะเห็นแท่งหินขนาดใหญ่คล้ายศิวะลึงค์ ประกอบกับคนแถวนั้นเรียกชื่อภูเขาดังกล่าวว่า "ลีงเคียโปโป" จึงน่าจะมีนวามหมายว่าภูเขาที่ประดิษฐานศิวะลึงค์ที่ยิ่งใหญ่ครับ
@@พิทักษ์สิงห์คํา-อ9ฏ คำน่าจะเพี้ยนคับ ผมเข้าใจล่ะคำว่า"ลึงเคียโปโบ"น่าจะมาจากคำว่า"ลึงกูหรือกัวโปงโบร"แปลว่าลึงค์อยู่บนภูเขา
"ลึงค์"คือ"ศิวลึง
"กูหรือกัว"แปลว่า"อยู่
"โปงหรือปอง"แปลว่า"บนหรือข้างบน
"โบหรือโบรหรือบรู"แปลว่าภูเขา . แบบนี้ถูกแน่นอนคับ100% เพราะผมฟังภาษาของผมมาหลายสำเนียงล่ะ คำนี้ถ้าคุณอธิบายยาวๆแบบนี้แต่แรก ผมแปลให้ถูกแต่แรกล่ะ คำนี้ใช่ใหมคับที่นักวิชาการไทยเขาแปลว่า"ลิงคบรรพต"
ภาษา"กูย"กวย"ศัพท์คำเดียวแปลได้หลายความหมายคับ ขึ้นอยู่กับสำเนียงคับ มันต้องมีเรื่องราวมาช่วยคับ ถึงจะแปลถูกคับ ที่ผมแปลถูก100000%คับ
@@จอมยุทธอินทรีย์-ผ8น ผมเคยดูคลิปอาจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ พานักศึกษาดูงาน ท่านอธิบายถึงความสำคัญของภูเขาลูกนี้ จึงคิดว่าคำที่ใกล้เคียงกับความหมายและความสำคัญน่าจะเป็นคำว่า "ลึงคะโปโป"ที่ผมกล่าวถึง และที่ท่านว่ามาน่าจะถูกต้องครับ
@@พิทักษ์สิงห์คํา-อ9ฏ ผมบอกเลยภาษาของพวกผม นักวิชาการไม่มีทางแปลถูก เพราะการพูดออกเสียงมันยากมาก นอกจากเจ้าของภาษาเท่านั้นคับ ไม่งั้นผิดหมด มันไม่เหมือนภาษาไทยมีวรรณยุกต์ พวกผมมีแต่ภาษาพูด ขนาดผมเห็นในจารึกที่นักวิชาการเอาออกมาเป็นคำๆ มันศัพท์ภาษาผมเยอะมาก แต่นักวิชาการแปลเป็นไทยมั่วมาก ผมยังเมนต์บอกเลย ให้ไปถามเจ้าของภาษาถึงจะแปลถูก คุณคิดดูดิ"คำราชาศัพท์บางคำ คำศัพท์ที่ใช้ทุกวันนี้ 12ปีนักษัตรไทย เป็นภาษา"กูย"เยอะแยะ นักวิชาการยังบอกเอามาจาก(เขมรโบราณ)แค่"กูย"กับ"เขมร"ยังแยกไม่ออกเลย จะแปลอะไรได้ ผมดูมาหลายจารึกแล้ว ผิดเพี้ยนไปหมดแล้ว
ขอมโบราณ. คือ. คนไทยในปัจจุบันๆๆ
แล้วขแมร์จะเอาไว้ไหน
ត្រូវទាំងអស់បង❤❤
นักประวัติศาสตร์ไทยไม่ควรยึดถือ ประวัติศาสตร์ ของฝรั่งเศส เพราะฝรั่งเศส อังกฤษ เขาเป็นนักล่าอนานิคม เขาคงไม่เขียนให้ไทยยิ่งใหญ่ เขาจะสร้างให้เขมรยิ่งใหญ่ เพื่อความชอบธรรมในการ ยึดดินแดน
ผมไปอ่านของนักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเขียนมา มีอีกเยอะเลยครับ
(Page 1 of 7)
ประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โบราณที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 20 เต็มไปด้วยความผิดพลาดและความเข้าใจผิด นักประวัติศาสตร์ตะวันตกจำนวนมากมีความรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับอักษรจีน และไม่สามารถอ่านข้อความภาษาจีน “ประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของราชวงศ์จีน (正史)” ได้อย่างถูกต้อง แน่นอนว่ามีการแปลข้อความภาษาจีนบางส่วน แต่ผู้แปลไม่เข้าใจสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์อย่างถ่องแท้ แหล่งที่มาหลักของตำราจีนเหล่านี้คือรายงานของทูตต่างประเทศ มีการพูดเกินจริงและโกหกอยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปรายงานของพวกเขาถูกต้องและเชื่อถือได้เมื่อเทียบกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ
หลังจากที่ G.Coedès ได้ตั้ง "สมมติฐานของปาเล็มบัง" นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้ติดตามเขาและไปผิดทาง และพวกเขาก็หลงทางไปในทิศทางที่ไม่สมจริง ประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ของศรีวิชัยเต็มไปด้วยความผิดพลาด มีการสอนประวัติศาสตร์ผิดๆ แก่นักเรียนชาวโลกมาเป็นเวลา 100 ปีแล้ว ทุกวันนี้หลายคนเชื่อว่าเมืองหลวงของศรีวิชัยตั้งอยู่ที่ “ปาเล็มบัง” ในเกาะสุมาตรา อย่างไรก็ตาม ฉันได้ค้นพบว่าทฤษฎีปาเล็มบังนั้นเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง ที่ตั้งของ “ศรีวิชัย (ชิ-ลี-โฟ-ชิ)” อยู่ในคาบสมุทรมลายูและเมืองหลวงอยู่ที่ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีของประเทศไทย ใน Xin Tang Shu (ประวัติศาสตร์ใหม่ของราชวงศ์ถัง) กล่าวอย่างชัดเจนว่า "ทางตะวันตกของ Shi-li-fo-shi (ศรีวิชัย) คือหมู่เกาะนิโคบาร์ (Lang Balus = 婆露斯)" ดังนั้น Shi-li-fo-shi จึงอยู่ในคาบสมุทรมาเลย์ ไม่ใช่ปาเล็มบัง
“室利佛逝,一曰尸利佛誓。過軍徒弄山二千里,地東西千里,南北四千里而遠。有城十四,以二國分總。西曰郞婆露斯”
郎婆露斯 (Lang Po Lu Si) = Lang Barus เป็นคำสำคัญ ในอดีดมีนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่เพียงไม่กี่คนที่เข้าใจคำนี้ ฉันเกือบจะเลิกอ่านคำนี้ ฟังดูเหมือน Barus ฉันเลยเข้าใจว่านี่คือ 'Barus' ของสุมาตราตะวันตก แต่วันหนึ่งเพื่อนชาว Facebook ชาวมาเลเซียถามฉันถึงความหมายของคำนี้ ดังนั้น ฉันตรวจสอบอีกครั้งและพบว่า 'Lang Barus' คืออะไร ในศตวรรษที่ 9 พ่อค้าชาวอาหรับใช้คำนี้บ่อยๆ ในกรณีนี้ Lang Barus เป็นชื่อเกาะที่อยู่ระหว่างศรีลังกาและเคดาห์ ซึ่งเรียกว่า 'หมู่เกาะนิโคบาร์' Ibn Khordadbeh กล่าวว่าจาก Serendib (ศรีลังกา) ถึง 'Langabalus' ต้องใช้เวลา 10-15 วันจึงจะครอบคลุมระยะทาง จาก Langbalus ถึง Kalah (Kedah) เป็นเวลา 6 วัน” พระชาวจีน Fa Xian (法顕) เขียนแผนการเดินทางที่คล้ายกันจาก Ceylon ไปยัง Yabadvipa (คาบสมุทรมลายู) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 5 Yabadvipa (Malay Peninsula) หมายถึง คาบสมุทรมลายู ไม่ใช่เกาะชวา ในศตวรรษที่ 9 พ่อค้าชาวอาหรับและเปอร์เซียใช้คำนี้บ่อยๆ ในกรณีนี้ 郞婆露斯= Langbalus เป็นชื่อเกาะที่อยู่ระหว่างศรีลังกาและเคดาห์ หรือเรียกว่า 'หมู่เกาะนิโคบาร์'
(Page 2 of 7)
ศรีเทพ
ศรีเทพเคยถูกเรียกว่า 'ศรีเทพ' หรือ 'ศรีเทพ' ซึ่งหมายถึง 'เมืองแห่งศาล' ซึ่งเต็มไปด้วยศาลฮินดูและรูปเคารพของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เช่น สุริยะ พระกฤษณะ พระวิษณุ และพระศิวะ แม่น้ำป่าสักไหลอยู่ใกล้ศรีเทพและไหลลพบุรีและไหลลงสู่อ่าวไทยผ่านอยุธยา อีกทั้งจากศรีเทพยังสามารถเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงได้ทาง “แม่น้ำชี” และ “แม่น้ำมูล” เมืองนี้ตั้งอยู่ที่จุดสำคัญที่สุดของการสัญจรซึ่งกลุ่มฟูนันปกครองมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 เจ้าเมืองศรีเทพยุคแรกนับถือศาสนาฮินดู ในทางกลับกัน ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญ ในตอนแรกรับศาสนาฮินดู แต่ต่อมาภายหลังอาจเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 เมื่อพิจารณาจากขนาดของซากปรักหักพังแล้ว ศรีเทพเป็นเมืองที่ใหญ่มากซึ่งล้อมรอบด้วยคูน้ำ ในอดีตเมืองศรีเทพมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองการค้าของชาวมอญซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาและสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ไว้ในเมือง มีซากปรักหักพังของวัดแบบทวาราวดีด้วย และ 'ธรรมจักร' ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใจกลางอุทยานประวัติศาสตร์
เจนละ
M. Vickery ชี้ให้เห็นถึงความอ่อนแอของการปกครองแบบ Chenla กล่าวคือ ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อ certain poň ( fan =king or ruler) การสะสมทรัพย์สมบัติมากมายผ่านการค้า และจากนั้นก็พยายามควบคุมดินแดนให้มั่นคงและเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม บางทีอาจถึงขั้นใช้สิทธิพิเศษทางศาสนา-การเมือง-เรือปอนด้วยซ้ำ เพราะ ครอบครัวและลูกหลานโดยตรงของราชวงศ์เจนละ(Chenla Royal) ความขัดแย้งประเภทนี้ทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน (Funanan) เมื่อผู้ปกครองในแผ่นดินเริ่มพัฒนาชุมชนของตนผ่านการจัดระเบียบที่ดินและผู้คนที่มากขึ้น อาจถูกกระตุ้นโดยความมั่งคั่งจากประสบการณ์ และความตระหนักในการปกครองที่มากขึ้นซึ่งได้รับในช่วงรุ่งเรืองของฟูนัน Jiu Tang Shu กล่าวว่า ปี 706 เจนละ (Chenla) ถูกแยกออกเป็นสองรัฐ ทางตอนเหนือมีภูเขาและหญ้าลึกมากมายเรียกว่า " ChenlaLand เจนละบก" และทางตอนใต้ใกล้ทะเลและมีน้ำมากมายเรียกว่า "ChenlaWater เจนละน้ำ” เจนละน้ำมีความกว้าง 800 ลี้ พระราชวังของกษัตริย์ตั้งอยู่ที่ Baladityapura เรื่องเดียวกันนี้เขียนไว้ใน Xin Tang Shu ซึ่งเพิ่มเติมว่า ChenlaLand ถูกเรียกว่า 'Wen-tan” อย่างไรก็ตาม 'Wen-tan” อาจเป็นรัฐย่อยของดินแดนเจนละ ซึ่งมักจะส่งเครื่องบรรณาการย่อยไปตามเส้นทางบก ด้วยข้อยกเว้นนี้ เจนละบกจะได้ส่งบรรณาการไปยัง ราชวงศ์ถัง ผ่านเส้นทางบนบกซึ่งไกล้และสะดวกกว่า
ศรีเทพเป็นฐานเดิมของเจนละไม่ได้มาจากวัดภู พื้นที่ปกครองเจนละเป็นเส้นทางบกของฟูนัน เริ่มต้นจาก ศรีเทพ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล อุบลราชธานี และจำปาศักดิ์ (วัดภู) เจนละไม่สามารถสะสมกำลังทหารที่วัดภูได้เพียงพอเพื่อโจมตีฟูนัน เนื่องจากพื้นที่วัดพูแคบเกินไป ฐานเศรษฐกิจและการเมืองของเจนละตั้งอยู่คนละแห่ง นั่นคือทางเหนือของพื้นที่ภูเขาดงรัก
ศรีเทพเป็นศูนย์กลางการค้าของชาวมอญตั้งแต่สมัยโบราณที่ชาวอินเดียเข้ามาตั้งรกรากและมีอำนาจเหนือเมือง การมีส่วนร่วมของคนอินเดียที่มีต่อผู้อยู่อาศัยนั้นสำคัญมาก พวกเขาสอนหลายสิ่งหลายอย่างแก่ชาวมอญโบราณและชาวเขมรโบราณ นอกเหนือจากศาสนาถึงวิธีการจัดการน้ำ การเกษตร ทอผ้าไหม วิธีผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก และขายส่วนที่นำเข้าจากตะวันตก ในขณะเดียวกันอินเดียก็นำเข้าศาสนาฮินดูและเผยแพร่ในหมู่คนในท้องถิ่น มีเทวรูปเทพเจ้าในศาสนาฮินดูมากมาย รูปพระสุริยะ พระกฤษณะ พระศิวะ และพระวิษณุ จำนวนมากถูกค้นพบที่เมืองศรีเทพ และบางส่วนจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร Quaritch Wales กล่าวว่ามีรูปพระศิวะที่คล้ายกันที่วัดภุมราในอินเดีย รูปปั้นต้นฉบับอาจนำเข้ามาจากอินเดีย แต่ช่างฝีมือในท้องถิ่นทำให้ประดิษฐ์ขึ้นมาจำนวนมาก รูปพระวิษณุจึงแพร่หลายไปยังแหลมมลายูและปริมณฑล
(Page 3 of 7)
ฟูนัน
อาณาจักรฟูนันแห่งลุ่มน้ำโขงเก่าเคยหายไปในกลางศตวรรษที่ 6 รัฐใกล้เคียงก็เริ่มส่งคณะผู้แทนไปยังจีนพร้อมกัน เนื่องจากอำนาจการควบคุมของฟูนันลดน้อยลงอย่างกระทันหัน และได้รับอิสรภาพอย่างคาดไม่ถึงแก่ลังกาสุกะ ทวาราวดี กันดารี และเฉินตู (Langkasuka, Dvaravathi, Kandari and Chi-tu)
อาณาจักรฟูนันที่ถูกเนรเทศ ( (Ban Ban บันบัน) ได้รวม Chi-tu (赤土= Red Earth) ซึ่งอาจจะก่อนกลางศตวรรษที่ 7 และจัดตั้งการปกครองใหม่ Shi-li-fo-shi (室利佛逝) Chi-tu เคยเป็นอดีต Kan -da-ri (干陀利) ซึ่งมีท่าเรือสำคัญคือเคดาห์และสงขลาทั้งสองฝั่งของคาบสมุทรมลายู
Shi-li-fo-shi อธิบายไว้ใน "Xin Tang Shu" ว่าตะวันออก-ตะวันตก กว้าง 1,000 ลี้ และยาวจากเหนือไปใต้ 4,000 ลี้ จำนวนรัฐ (รองลงมา) คือ 14 ประเทศถูกหารด้วย 2 (二國分総) เพื่อปกครอง ชิ-ลิ-โฟ-ชิเป็นประเทศแคบๆ ยาว ดังนั้นฝั่งตะวันออก (หันหน้าไปทางอ่าวไทย) อาจอยู่ภายใต้การปกครองของไชยา และฝั่งตะวันตกอยู่ภายใต้การปกครองของเคดาห์ ซึ่งหันหน้าเข้าหาช่องแคบมะละกา
ศรีวิไชยยา
ศรีวิไชยยา (Srivijaya) ต้องการควบคุมช่องแคบมะละกาทั้งหมดและส่งกองทัพเรือไปยังมลายู จำปาและปาเล็มบัง (Melayu, Jambi, Palembang) และเกาะบังกา (Bangka) ในปี 683 ศรีวิชัยยึดครองปาเล็มบังและทิ้งจารึก 'Kedukan Bukit' ไว้ที่นั่น ในปี 686 ศรีวิชัยรวบรวมกองเรือที่เกาะบังกา และเริ่มรุกรานอาณาจักร ข่าลิง (Kha-ling kingdom) ในชวาตอนกลาง ผู้บัญชาการคือ Dapunta Selendra (Śailendra) และพวกเขาก็เอาชนะ Kha-ling ได้อย่างง่ายดาย เมืองหลวงคือ Pekalongan ผู้บัญชาการได้ทิ้งคำจารึกที่เรียบง่ายไว้ที่หมู่บ้าน Sojometo ในเวลานี้อาณาเขตของศรีวิชัยกลายเป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ศรีวิชัยได้ก่อตั้ง 'อาณาจักรไซเลนทรา' ‘Śailendra kingdom’ ในภาคกลางของชวา แต่พวกเขาไม่ได้ทำลายอาณาจักร 'คาลิง (ซันจายา)' “Old Kha-ling(Sanjaya) kingdom” พวกเขาอยู่ร่วมกันใน Jawa ตอนกลาง Śailendra อาจดูแลกองทัพเรือและการค้า และ Sanjaya ดูแลการบริหารภายในอาณาจักร Śailendra ส่งบรรณาการในปี 768 ไปยังราชวงศ์ถัง ภายใต้ชื่อ 'Kha-ling (訶陵)' เป็นปริศนาอีกประการหนึ่งว่าทำไมศรีวิชัยจึงกระทำการเช่นนี้ ? เป็นเพราะศรีวิชัยกลัวกฎของศาลราชวงศ์ถังที่จะห้ามความขัดแย้งระหว่างรัฐข้าราชบริพาร (the Tang Court regulation) อาณาจักรไศเลนทราจึงต้องใช้ชื่อ 'ข่าลิง' เพื่อปกปิดความจริงในการพิชิตสันจายา (ข่าลิงเดิม) ( Old Kha-ling(Sanjaya) kingdom)
ครั้งแรก G.Coedès คิดว่าผู้ปกครอง “ฟูนัน” หนีไปที่เกาะชวาหลังจากที่ “เจนละ” ขับไล่ออกจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง อย่างไรก็ตาม พวกเขาหลบหนีไปยัง “ไชยา (盤盤=บัน-บัน หรือ ปัน-ปัน)” ซึ่งเคยเป็นรัฐย่อยของฟูนันตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 นักประวัติศาสตร์ชาวยุโรปส่วนใหญ่ไม่ได้สังเกตเห็นความสำคัญของคาบสมุทรมลายู พวกเขาละเลยความสำคัญทางธรณีวิทยาของคาบสมุทรมลายูและอิทธิพลของลมมรสุม ในศตวรรษที่ 4 พ่อค้าชาวตะวันตกเริ่มใช้ประโยชน์จากมรสุมและข้ามอ่าวเบงกอลโดยตรงจากซีลอน (ศรีลังกา) และอินเดียใต้ และพวกเขาอาจมาถึงท่าเรือของคาบสมุทรมลายู เช่น เคดาห์และตะกั่วป่า อย่างไรก็ตามในฤดูร้อนพวกเขาไม่สามารถลงไปที่ช่องแคบมะละกาโดยตรงทางใต้ได้เนื่องจากลมใต้ เลยต้องรอลมตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงฤดูหนาวนานเกือบ 5-6 เดือน ดังนั้นพวกเขาบางคนจึงพัฒนาเส้นทางข้ามคาบสมุทรไปยังชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเพื่อลดเวลาว่าง จากท่าเรือชายฝั่งตะวันออก พวกเขาใช้เรือลำอื่นและไปจีนในปีเดียวกัน G. Coedès ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของเส้นทางข้ามคาบสมุทรมาเลย์ และเขาคิดว่าจุดกึ่งกลางของการค้าตะวันออก-ตะวันตกอยู่ที่ช่องแคบซุนดา เขาประเมินความสำคัญของหมู่เกาะชวาสูงเกินไป
(Page 4 of 7)
ความเข้าใจผิดครั้งที่สองของ G. Coedès คือความหมายของจารึก Kedukan Bukit ปี 683 เขาเข้าใจว่าจารึกนั้นเป็นความทรงจำของ 'การก่อตั้งศรีวิชัย' ดังนั้นเขาจึงคิดว่าศรีวิชัยก่อตั้งขึ้นในปี 683 ที่ปาเล็มบัง อย่างไรก็ตาม กองกำลังศรีวิชัยมาจากคาบสมุทรมลายูพร้อมกองเรือพายและเข้ายึดครองอาณาจักรปาเล็มบังในปี 683 และคำจารึกดังกล่าวคือ 'อนุสาวรีย์แห่งชัยชนะ' ของศรีวิชัย อันที่จริง ศรีวิชัยได้ส่งภารกิจแรกไปยังราชวงศ์ถังระหว่างปี 670-673 ตาม Xin Tang Shu Yi-Jing (義浄) ออกจาก Canton ไปอินเดียเพื่อแสวงบุญในปี 671 ในเวลานั้นเขารู้เรื่องศรีวิชัยอยู่แล้ว ซึ่งเขาได้ศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตเป็นเวลา 6 เดือน
ฉันเขียนเรื่อง "The History of Srivijaya" (Mekong Publishing Co., Tokyo) ในปี 2012 ในเรื่องราวของฉันได้นำเสนอหลายมุมมองที่แตกต่างจากทฤษฎีก่อนหน้านี้ แต่ฉันเชื่อว่าหากไม่มีความรู้เรื่อง 'Lang Barus' ฉันสามารถพิสูจน์ว่าไชยาเป็นเมืองหลวงของศรีวิชัยได้โดยใช้ข้อความภาษาจีนอื่น ๆ เช่น "Nan-hui Chi-kuei Nei-fa Chuan" ของ Yi-Jing “ประวัติศาสตร์มาตรฐานของราชวงศ์จีน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Xin Tang Shu และ ‘สารานุกรม’ คลาสสิกของจีน เช่น “Tong-Dian” เป็นต้น แน่นอนฉันสามารถใช้คำแปลของจารึกได้ ฉันอ่านภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร และภาษาจามไม่ได้ แต่ฉันสามารถอ่านอักษรจีนได้ นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเคยสร้างผลงานไว้มากมายในอดีต ดร. Toyohati Fujita, ดร. Rokuro Kuwata, ดร. Naojirou Sugimoto, ดร. Jyunjirou Takakusu และคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่สามารถทำลายทฤษฎีของ G.Coedès ได้ นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะเคารพประวัติศาสตร์ตะวันตก เช่น หลักสูตรประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว
เมื่อเราศึกษาประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จารึกท้องถิ่นและพงศาวดารจีนเป็นแหล่งสำคัญ แต่ข้อความภาษาจีนเป็นเรื่องยากมากสำหรับนักประวัติศาสตร์ตะวันตกที่จะอ่านโดยตรง โชคดีที่พวกเราชาวญี่ปุ่นมีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาจีนไม่มากก็น้อย และอ่านข้อความภาษาจีนได้ง่ายโดยเปรียบเทียบ แต่ในกรณีนี้ คำว่า 'Langbalus' นั้นยากและถูกมองข้ามในบางครั้ง บางที G.Coedès ตัดสินใจว่า 'ศรีวิชัยคือปาเล็มบัง' ดังนั้นนักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นอาจติดตามเขาและไม่ได้สงสัยในทฤษฎีของเขา
ใน Sui Shu(『隋書』= History of Sui) คำว่า 'Balus (婆羅娑)' ใช้สำหรับประเทศ Chi tu (赤土國、) ในกรณีนี้ Balus ก็เหมือนกับ Langbalus (郎婆露斯) ดังนั้น Chi-tu จึงตั้งอยู่ที่คาบสมุทรมาเลย์ด้วย ดังนั้น ฉันคิดว่า Chi-tu ถูกรวมเข้ากับ Shi-li-fo-shi (ศรีวิชัย) ในศตวรรษที่ 7 หลังจากนั้น Shi-li-fo-shi ได้รวมกลางคาบสมุทรมลายูเป็นปึกแผ่นก่อนปี 670
หลังจากปี 741 อาณาจักรศรีวิชัยก็หยุดส่งบรรณาการไปยังราชวงศ์ถัง แต่ไม่มีบันทึกอธิบายเหตุผล อาณาจักรศรีวิชัยซึ่งอยู่ที่ไชยาอาจถูกอาณาจักรเขมรโบราณ (เจนละน้ำ) (Khmer Water Chenla) โจมตีราวปี 745 นั่นเป็นเหตุผลเดียวที่เป็นไปได้ว่าทำไมศรีวิชัยจึงหายไปจากพงศาวดารราชวงศ์ถัง อย่างไรก็ตาม ศรีวิชัยมี 14 รัฐที่เป็นข้าราชบริพาร อาณาจักรไสเลนทรา (เกาะชวาตอนกลาง) (The Sailendra kingdom (central Jawa Island) ได้จัดทัพเรือขนาดใหญ่และโจมตีตอบโต้เจนละน้ำ และยึดเมืองไชยาและนครศรีธรรมราชกลับคืนมาได้ราวปี 760
(Page 5 of 7)
หลังจากได้รับชัยชนะ กลุ่มศรีวิชัยได้ตั้งอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่ไชยา นั่นคือ 'จารึกเมืองลิกอร์' ปี 775 (Ligor inscription dated 775) หลังจากได้รับชัยชนะกลุ่มศรีวิชัยเดินทางต่อไปยังกัมพูชาและเมืองหลินยี่ (จำปา) และยึดครองท่าเรือสำคัญของแม่น้ำโขงและทำลายสิ่งอำนวยความสะดวกของหลินยี่ ต่อมาศรีวิชัยได้ส่งกองทัพไปยังเจนละเพื่อยึดครองแผ่นดินกัมพูชา โดยมีแม่ทัพคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (Jayavarman II) ซึ่งน่าจะมาจากราชวงศ์ฟูนันเก่า (ศรีวิชัย) พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นผู้ก่อตั้ง 'ราชวงศ์อังกอร์' และพระองค์ได้ประกาศเอกราชจาก 'ชวา' ตามจารึกสด๊กก๊อกธม ปี1053 ในกรณีนี้ 'ชวา' หมายถึงคาบสมุทรมลายูซึ่งก็คือศรีวิชัย Quaritch Wales มีความคิดเห็นที่คล้ายกัน แต่ Michael Vickery และ Claude Jacques ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่อิทธิพลของศรีวิชัยเหนืออาณาจักรอังกอร์
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 “ทรงตรัสความเท็จ” แก่หัวหน้าท้องถิ่นของเขมรโบราณ ว่าพระองค์ประกาศ 'เอกราชจากอาณาจักรศรีวิชัย' แต่จริง ๆ แล้วพระองค์เชื่อฟังคำสั่งของกลุ่มศรีวิชัย หลักฐานประการหนึ่งคือ อาณาจักรอังกอร์ไม่ได้ส่งคณะทูตและบรรณาการไปยังจีนระหว่างปี 815 ถึงปี 1116 เหตุผลอาจเป็นเพราะอาณาจักรศรีวิชัยห้ามอาณาจักรอังกอร์ไม่ให้ส่งคณะทูตไปยังจีน นอกจากนี้ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนานิกายมหายาน (Mahayana Buddhism) ในอาณาจักร ราชวงศ์กษัตริย์เจนละโบราณ (Chenla Kingdom) ห้ามนับถือศาสนาพุทธ ตามคำอธิบายของ Yi-Jing ราชวงศ์อังกอร์อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มศรีวิชัยจนถึงรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (ปี 1002-1050) เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตาม หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (ปี 1080~) บัลลังก์ของศรียโสธรปุระก็ถูกยึดครองโดยกลุ่มพิมาย (Phimai group) ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มศรีวิชัย กลุ่มศรีวิชัยสูญเสียกำลังทหารที่แข็งแกร่งหลังจากการรุกรานของโจละ ปี 1025 (the invasion of Chola)
Lin-yi (จำปา) ซึ่งเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งของฟูนัน (Funan) และศรีวิชัย (Srivijaya) จู่ๆ ก็หยุดส่งบรรณาการ การเป็นเมืองขึ้นไปยังราชวงศ์ถัง หลังจากปี 749 ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้และไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดพูดถึงเหตุผล แต่ฉันคิดว่าหลินยี่ (Lin-yi) ถูกโจมตีโดยกองทัพเรือศรีวิชัยไศเลนท์ (Srivijaya Sailendra navy) ในราวปี 760 บางทีศรีวิชัยอาจจะทำลายโรงงานขนส่ง (เรือสินค้า) ของ Lin-yi และ Lin-yi ไม่สามารถฟื้นตัวจากความเสียหายได้
นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่าศรีวิชัยได้ทำลายสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าของ Lin-yi ในทางตรงกันข้ามพวกเขาเชื่อว่า กองทัพเรือศรีวิชัยไศเลนท์ (Srivijaya Sailendra navy) ถูกขับไล่โดยพระราชารา Satyavarman ซึ่งทิ้งจารึกปี 774 ได้สำเร็จ ที่จริงแล้วราชวงศ์ไศเลนท์ (Sailendra) (ภายใต้ชื่อ Kha-ling) ส่งบรรณาการแรกไปยังราชวงศ์ถังในปี 768 ดังนั้นก่อนที่ Sailendra ผงาดขึ้นมา ก็อาจจะทำลายการค้า สิ่งอำนวยความสะดวกและกองทัพเรือของ Lin-yi (จำปา)
(Pagr 6 of 7 )
Michael Vickery วิพากษ์วิจารณ์ G.Coedès อย่างถูกต้องเกี่ยวกับทฤษฎีประวัติศาสตร์ของเขาเกี่ยวกับอาณาจักรเขมรโบราณ แต่ M. Vickery อาจจะยอมรับทฤษฎี Palembang ส่วน Q. Wales ต่อต้าน G.Coedès ในหลายประเด็น แต่เขายอมรับว่า Yi Jing เคยไปที่ปาเล็มบัง ที่จริงแล้ว Yi Jing ไม่เคยไปสุมาตรา (Sumatra) มาก่อน เขาแค่แวะที่อาณาจักรมลายู (Mulayu 末羅瑜) ในการเดินทางของเขา อาณาจักร Mulayu โบราณตั้งอยู่ที่เกาะ Riau ข้างหน้าสิงคโปร์ในศตวรรษที่ 7 และเป็นรัฐกลางแลกเปลี่ยนการค้า 'ตะวันออก-ตะวันตก' (an intermediary state of ‘East-West’ trade)
ดร. Junjiro Takakusu (高楠順次郎) ได้เสนอแผ่นแผนที่ไว้ในคำแปลของ Yi-Jing (義浄) Nan-hui Chi-kuei Nei-fa Chuan (南海寄帰内法伝) แผนที่ของเขามีข้อผิดพลาดร้ายแรง Yi-Jing ไม่เคยไปปาเล็มบัง และเขาแวะที่ Kedah ไม่ใช่ที่อาเจะห์ เส้นทางการเดินทางที่แท้จริงของ Yi-Jing คือไชยา(ไชยา)(室利仏逝)⇒ Mulayu มูลายู(末羅瑜=ด้านหน้าของสิงคโปร์)(in front of Singapore) ⇒ เคดาห์ (Kedah)(羯茶)⇒หมู่เกาะนิโคบาร์ (裸人國= Naked people island เกาะคนเปลือย)⇒แทมราลิปตี (ท่าเรือเบงกอล) Tamralipti (Bengal port) ⇒เส้นทางบนบกสู่นาลันทา (อินเดีย) Nalanda (India)
อย่างไรก็ตาม ดร. Takakusu เชื่อตามนักประวัติศาสตร์ชาวจีน หม่า ฮวน Ma Huan (馬歓) เขาเข้าใจผิด เขาเชื่อสิ่งที่ Ma Huan เขียนว่า “Ying-Yai Sheng-Lan (瀛涯勝覧)”
ในปี 1416 ซึ่ง Ma กำหนดให้ Ku-kang (旧港 = ท่าเรือเก่า) เป็นอาณาจักรเดียวกับที่เคยเรียกว่า San- fo-chi (三佛斉) และ Ku-kang เรียกอีกอย่างว่า Palembang (浡淋邦) ภายใต้อำนาจของ Jawa
「旧港、即古名三佛斉是也。番名曰浡淋邦、属爪哇国所轄。」
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณมี 'การเชื่อมโยงที่ขาดหายไป' มากมาย เป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ที่จะต้องชดเชย 'ความชื่อมโยงที่ขาดหายไป (missing links)’ ปัจจุบันการวิจัยทางโบราณคดีได้รับการพัฒนาอย่างน่าทึ่ง แต่การบูรณาการกระบวนการทางประวัติศาสตร์ยังไม่เพียงพอ ความผิดพลาดมากมายได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก ฉันต้องการชี้ให้เห็นว่ามุมมองของ 'ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ economic geographical’ จะต้องได้รับการแนะนำมากขึ้นในการวิจัยประวัติศาสตร์สมัยโบราณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แน่นอน นักประวัติศาสตร์ในอดีตก็แนะนำองค์ประกอบทางภูมิศาสตร์เช่นกัน แต่นักประวัติศาสตร์จำนวนมากกลับถูกลากไปผิดทาง เป็นเพราะพวกเขายอมรับทฤษฎีของ G. Coedès เพียงเท่านั้น
ดังนั้นเราจึงไม่ควรลืมหรือละเลยที่จะศึกษาแนวโน้มของการพัฒนาและวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจ ถึงเวลาแล้วที่ประวัติศาสตร์โบราณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ควรได้รับการแก้ไขและเขียนใหม่
คำว่า เจนละ น่าจะมาจากคำว่า
จิตะ เสนะ ต้นราชวงศ์ขอม แห่งลุ่มแม่น้ำมูล
เจนละมาจากคำว่าจุล(จุลศักราช)โจฬะแปลว่าจุดศูนย์รวม,ใจกลางหรือเล็ก,น้อย
@@พจน์บัวนาค เจนละ เป็นชื่อกลุ่มนครรัฐ และ ชื่อเมืองพระนคร ที่มีต้นตระกูล คือ พระเจ้าจิตเสนครับ
จึงแค่เดา
@@bas9599 ในทางประวัติศาสตร์คุณยังเก่งสู้ผมไม่ได้หรอก ต้องศึกษาให้มากกว่านี้นะ
@@พจน์บัวนาค ผมไม่ไปแข่งกับใครหรอกครับ
แค่ผมเดาจากหลักฐานที่มี อีสานมันบ้านเกิดเมืองนอนผม
ผมมีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น
@@พจน์บัวนาค เมืองขอม เขาใช้ มหาศักราชไม่ใช่เหรอครับ
ชื่อของกษัตริย์และราชวงค์ รวมทั้งเมืองต่างๆในศิลาจารึกเป็นชื่อออกเสียง ทางไทยทั้งหมด ไม่มีออกเป็นทางเขมรเลย
มันเป็นภาษาบาลี-สันสกฤต อย่าเอาชาตินิยมมาตัดสิน ปวศ.
ชาตินิยมไม่นิยมก็ อ่านได้ ไม่ใช่ กัมสเบาบวงเปย เปียปาเกา คมอซาวดอง
เจนละมาจากภาษาเขมร เจินเลอ แปลว่าชั้นบน
ขออนุญาติครับ.ในข้อสัญนิสฐาณส่วนตัวครับ.ผิดถูกอย่างไร.เป็นเพียงข้อสัณนิสฐาณครับ.ขอกล่าวคำว่าเจนละน้ะครับ.ต้องท้าวความจากอินเดียก่อนน้ะครับ.คือว่าอินเดียใต้มีแคว้นทมิฬนาฑู.ซึ่งชาวทมิฬนาฑูนับถือศาสนาฮินดูและใช้อักษรหลายชนิดเช่นมคธ_สันสกษต_ปัลวะ.ภาษาที่ใช้พูดก็ใช้ภาษาสันสกฤษต_ภาษาปันลวะ.ส่วนภาษามคธอาจจะไม่ใช้พูดเพราะแคว้นมคธในสมัย๒,๐๐๐_๓,๐๐๐ปีอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย.วกเข้าสู่ทมิฬนาฑูต่อเมื่อชาวทมิฬนาฑูอพยบเข้าไปตั้งรกรากที่ดินแดนใต้สุดของแผ่นดินใหญ่เอเชีย.จึงตั้งอาณาจักรหนึ่งขึ้นมา.และนำศาสนาฮินดู_อักษรปัลวะ_บาลี_สันสกฤษต_มคธ.เข้าไปด้วยณ.ดินแดนตั้งใหม่อาณาจักรใหม่.ซึ่งชาวจีนเรียกว่าอาณาจักรฟูนัน.เป็นปฐมอาณาจักร.เมื่ออาณาจักรฟูนันล่มสลาย.ก็มีอาณาจักรชื่อใหม่เกิดขึ้นต่อมาคืออาณาจักรเจลละน้ำกับอาณาจักรเจลละบก.อาณาจักรทั้งสองใช้อักษปันลวะ.ส่วนอาณาจักรเจลละบกอยู่ตอนบนของอาณาจักรเจลละน้ำ.และอาณาจักรเจลละบกได้สร้างศาสนสถานทางศาสนาฮินดู.จารึกอักษรปัลวะในแท่งศิลา_ก้อนศิลาแลง.ไว้มากมายในอาณาจักรเจลละบก.เมื่อล่มสลายลงจึงเกิดแคว้นอิศานปุระแทนที่อาณาจักรเจลละบก.ก็คือภาคอีสานไทยในปัจจับัน.คำว่าเจลละ.น่าจะมาจากคำว่าปัลลวะ.ต่อมาในยุคพระเจ้าสุริยะชัยวรมันที่๗แห่งอาณาจักรเมืองพระนครธม(ทมแปลว่าใหญ่ในภาษาเขมร)หรืออาณาจักรใต้ที่ยิ่งใหญ่(ใต้แปลว่ากรอมหรือขอมตามสำเนียงพูดของคนสยามโบราณ)ส่วนคำว่าเขมรหรือขะแมร์เป็นคำพูดของคนสยาม.ออกเสียงเป็นภาษาสยามหรือไทย.ก็มีความกมายเดียวกันคือขอม_เขมร_ขะแมร์_กัมพูชา.ซึ่งมีความหมายว่าชนชาติที่มีอาณาจักรอยู่ต่ำกว่าอาณาจักรสยาม(พื้นแผ่นดิน).
ขอบคุณมากเลยค่ะ
ไม่ใช่สันนิฐานแต่ถูกแล้วแต่แค่คนไทยส่วนมากไม่ค่อยเชื่อไม่มีความรู้ทางชนบทไม่มีประสบการการได้ยินหรือเรื่องร่าวต่างๆเกียวกับที่นี้อ้างแต่เอกสารแต่ไม่รู้อะไรเลย
แถว ภาคอีสาน มีคนอยู่ตั้งแต่ยุคหิน น่าจะเป็นคนเชื้อสายทางอินโดนีเซียหรืออินเดีย ต่อมาช่วงสามสี่พันปีก่อน มีชนเผ่ามองโกเลียอพยบมาตั้งถิ่นฐานแถวภาคอีสาน เขาคงผสมเชื้อชาติกัน ต่อมาก็เกิดเป็นเผ่าลาวเผ่าขอม มีอารยธรรมขึ้นมา
Same. Egypt. Period
❤️🇰🇭❤️🇹🇭
Esan. Call. Khom that is. Meaning man
เจนละมาจากภาษาเขมรว่าเจือนลือแปลว่า,ชั้นบน,ชั้นสูง,คนจีนเรียกเป็นสำเนียงจีนว่าเจนล้า
เวียตนามเรียกเซียมละหรือเสียมละครับ
@@สมชายดีกว่า-ศ1บใช่เลยครับ ที่จริงกษัตริย์ไทยมาจากเชื้อสายราชวงศ์ฉิน มีส่วนรวมการออกแบบกำแพงเมืองจีน แต่รุ่นหลังมาค้าขายแล้วขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะฉะนั้นกำแพงเมืองคนไทยออกแบบ แต่ใช้ทาสคนจีนเป็นคนสร้าง 😂
ต้นภาษาเป็นบาลีครับ...สมัยพุทธกาลเป็นภาษาเดียวกันทั้งหมด....
สรุป ขอมคือใคร คนไทยหรือเปล่า หรือ Khamer 😮
"ตะบองคะมุม ซกเปรี้ํยะ" อยู่ๆคำนี้ก็ผุดขึ้นมาในสมอง ไม่รู้แปลว่าอะไร
...ท่านใดเข้าใจความหมาย หรือแปลได้ช่วยแปลให้ด้วยนะครับ
...
มีหนุ่มๆสาวๆในเมืองนี้เต็มเลย
@@จอมยุทธอินทรีย์-ผ8น เป็นคำแปลหรือครับ เป็นภาษาอะไร
@@wiwioto6898 มันเคยเป็นเมืองของชาว"กูย"มาก่อน
ตะบองคะมุมคือชื่อเมือง
ซกคือคำว่าเซาะแปลว่าหมู่บ้าน อำเภอ ตำบล ก็ได้
เปรี๊ยะ,เปี๊ยะห์,ปิหย์ คือคำเดียวกันแล้วแต่สำเนียงของแต่ล่ะที่ แปลว่า"เยอะ มาก เต็มเลย
ภาษา"กูย"
@@จอมยุทธอินทรีย์-ผ8น ขอบคุณมากครับ ไม่เคยรู้ภาษากูยเลยแม้แต่คำเดียว แต่จู่ๆก็มีคำนี้ขึ้นมาในสมอง และไม่ทราบว่ามาจากไหน
...วันนี้ทราบแล้ว
Siam cook is. Khomboran
พศ. 1200
D
ขอบคุณมากเลยค่ะ
คนไทยยังแยกไม่ออกเลยระหว่างจามปา(จากราชวงศ์Chola) อาณาจักรหมู่บ้านพนม ฟูนัน(จากChalukya มั่ง) อาณาจักรเจนละ(จากราชวงศ์Pallava) อาณาจักรทราวดี(มอญ รามัญ) ไม่ออกเลย
กลุ่มพูดออสโตรเอเชียติกก็ใช่ว่าจะต้องเป็นกลุ่มพูดสำเนียงเดียวกันทั้ง เฉกเช่น ไท กะได
จารึกจัมปา(Chola) (C.96) ที่มีความเกี่ยวข้องกับคแมรเจือนเลอ เศรษฐปุระ (จีน เจนละ)(Pallava)
แล้วเมืองท่าออกแก้ว หมู่บ้านบาพนม ของฟูนัน อยู่ข้างล่าง ปากแม่น้ำโขงไม่ใช่เหรอครับ มายึดเจนละ แสดงว่าเจนละมีมาก่อนพอๆกับจามปา แล้วเจนละก็ยึดคืน แล้วอ้างตัวเองว่าเป็นคแมรเจนละไม่ได้ พวกเรามีองค์จิตเสนปฐมกษัตริย์ ก่อนจะเข้ามาเป็นราชวงศ์มหิธรปุระจากวิมายะอาณาจักรอังกอร์ เราคแมรเจนละ ไม่ใช่ฟูนัน เราพูดสำเนียงไม่เหมือนกัน จะมาแอบอ้างว่าเป็นเราได้อย่างไร
เจนละกับคะเมร์คนละพวกกันครับ เกิดต่างสมัยกันครับ ม่ควรเอาคะเมร์หรือเขมรมาปนกันครับ ทำให้สับสนแยกไม่ออก
อะไรคือใช้คำว่าคนไทย
ตอบให้ก็ได้ไม่เจริญหรอกเพราะอะไร?
เจนล่ะ จีนทิ้ง ภาษาเขมรสะเรน 🙏😂
Ancient khmer. Is khomboran
ผมว่าเจนระ น่าจะมาจากคำว่า โจฬะ เป็นอินเดียทมิฬ
ใช่ครับ โจฬะ อยู่ในอินเดียตอนใต้ พอออกมาอยู่นอกเขตอินเดียจึงยังคงคำเดิมเอาไว้ คือเจนละครับ
Chola คือจามปา เจนละคือปัลลวะ พวกบาพนมคือคนป่าด้านล่าง ไม่เหมือนกัน Chola and Pallava มาพร้อมกัน ไม่งั้นพวกคนป่า บาพนมจะมายึดเมืองเราได้ไง องค์จิตนเสนเกรียงไกร เราคือเจนละไม่ใช่ฟูนัน คนละพวก
ลองค้นหาคำว่า แลงแสปน ถ้ำบรรพบุรุษของคนพวกนั้น คนละกลุ่มกับพวกอารยะธรรมลุ่มน้ำมูล
@@Jammie781 เจนละเป็นญาติกับราชวงศ์ปัลลวะ ของอินเดีย ตัวหนังสือก็ใช่ ทับหลังปราสาทโต๊ะโม๊ะ ทับหลังปราสาทหนองจี่ คือศิลปะแบบเดียวกันกับของปัลลวะที่อินเดีย เช่น เดียวกับชื่อกษัตริย์ก็ยังเหมือนกัน ขณะครองราชย์
นามสกุลสุริยวงศ์ จันทรวงศ์ ในอีสานใต้ แถบสุรินทร์นั่นแหละ เขาสืบเชื้อสายมา
ผู้สร้าง. นครวัด
ถ้าอีสาน ในสมัยนั้น แปลตามปัจจุบันคือตะวันออกเฉียงเหนือ
แล้วคนที่อยุ่ในสมัยนั้น เอาตรงไหนเป็นจุดศูนย์กลาง
เว้นเสียแต่ว่า อิสาน หรือ อีศาน จะแปลว่า พระศิวะหรือพระรุทร
น่าคิดและน่าค้นหาครับศูนย์กลางอยู่บริเวณไหน
ขอ links references นอยครับท่าน
ฉันว่าเจนจบมากกว่ามั้ง
Chola มาจากอินเดียชาวสิงหล อาจมาจากอำนาจพระเจ้าอโศกมหาราชประวัติศาสตร์ของเซเดย์แค่แค่การสันนิษฐาน ไม่ตรง
ขอบคุณค่ะ
เอาละไกล้บ้านสะด้วยหลักศิลาเจนละ ไม่พลาดแน่ มองเปรียนกะไบบุนดลัน
ถ้ามีคนผ่านสอบน้อยลงทีนี้คนไม่สอบกันละ
❤️🇰🇭❤️🇹🇭
ก็เจนจบประจักษ์จริงกำจัดน้ำใจหยาบสันดานบาปแห่งชายหญิง
ตาลุงเซเดย์จะเหมาหมดว่าประเทศแถวนี้เป็นของประเทศอาณานิคมฝรั่งเศสอย่างกัมพูชา