สมมุติ & วิมุติ ฝึกจิตแยกให้ออกระหว่างสมมุติบัญญัติ วิมุติ เสียงธรรม โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 เม.ย. 2024
  • แบ่งปันบันทึกเสียงคำเทศสอน หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ตอนเรื่องสมมุติบัญญัติ และวิมุติ การฝึกจิต ต้องเข้าใจทั้งสองคำนี้และแยกให้ออก การฝึกปฏิบัติจะพัฒนาได้รวดเร็ว
    "สมมุติบัญญัติ" คือ สิ่งไม่มีลักษณะของสภาพธรรม แต่ เป็น เรื่องราว ที่เกิดจากการคิดนึก สมมติ บัญญัติขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีได้เพราะอาศัย สภาพธรรมที่มีจริงเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เห็นเป็นคน เป็นสัตว์ ขณะนั้น เป็นสมมติบัญญัติแล้ว เป็นเรื่องราว ที่เป็นสัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ บัญญัติว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นต้น แต่เพราะอาศัยสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก ที่มีการเห็น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตคิดนึก ในสีนั้น ปรากฏเป็นรูปร่าง สัณฐาน เป็นเรื่องราว เป็นสัตว์ บุคคล สิ่งต่างๆ ครับ และขณะแม้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่ มีการคิดนึกในเรื่องต่างๆ ขณะนั้น ก็เป็นการคิดนึกในสมมติ บัญญัติ เรื่องราวต่างๆ ที่เคยทรงจำไว้ ว่า เป็น สิ่งนั้น สิ่งนี้ แม้ที่จริง ไม่ได้มีลักษณะที่มีจริง แต่เป็นการคิดในเรื่องราว ที่สมมติ บัญญัติขึ้นในขณะที่คิดนึก
    "สมมติ บัญญัติ จึงไม่พ้นจากชีวิตประจำวันที่เป็นไป เพราะ ไม่มีปัญญา จึงถูกสมมติบัญญัติปิดบังปรมัตถ ไม่ให้รู้ว่าแท้ที่จริง เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งหนทางการอบรมปัญญา คือ การเข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรม และ เข้าใจถูกว่า เรื่องราว สมมติ บัญญัติไม่มีจริง ก็จะไถ่ถอนความยึดถือด้วยความเห็นผิดว่า เป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล"
    วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว่า
    พรหมจรรย์นี้มิได้มีลาภสักการะสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิได้มีกามสุขในสวรรค์เป็นอานิสงส์ มิได้มีการเข้าถึงความเป็นอันเดียวกับพรหมในพรหมโลกเป็นอานิสงส์ แต่ว่ามีวิมุตติเป็นอานิสงส์ ดังนี้
    ตทังควิมุตติ คือ การพ้นไปจากอำนาจของ "ตัวข้าพเจ้า-ของข้าพเจ้า" ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
    วิกขัมภนวิมุตติ คือความดับแห่ง "ตัวข้าพเจ้า" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
    สมุจเฉทวิมุตติ คือความดับ"ตัวข้าพเจ้า" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง
    เปรียบเทียบได้ว่า อย่างแรกนั้นอาศัยอำนาจของการประจวบเหมาะ อย่างที่ 2 หรืออย่างกลางนั้นอาศัยอำนาจของจิตที่ปฏิบัติถูกวิธี ส่วนอย่างที่ 3 หรืออย่างสูงนั้นอาศัยอำนาจของปัญญา
    วิมุตติ 2 คือ ความหลุดพ้นด้วยสมาธิและปัญญา ได้แก่
    1.เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ
    2.ปัญญาวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา ความหลุดพ้นแห่งจิตจากจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง
    นอกจากนี้ยังมี วิมุตติ 5 มีความหมายเดียวกับ นิโรธ 5
    ที่มาข้อมูลให้ความหมายสมมุติบัญญัติ เว็ปไซต์ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

ความคิดเห็น • 6

  • @user-lc1do1nd1g
    @user-lc1do1nd1g หลายเดือนก่อน +2

    น้อมกราบสาธุคะ

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ

  • @kimutawat-qi1wt
    @kimutawat-qi1wt หลายเดือนก่อน +1

    อนุโมทนาบุญกุศลมาค่ะ สาธุๆๆๆ

    • @Ami.Amornrat.psychologistTV
      @Ami.Amornrat.psychologistTV  หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณสำหรับการแสดงความคิดเห็นคะ