ปลามังกร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 ก.ย. 2024
  • ปลาตะพัด หรือปลามังกร
    ชื่ออังกฤษ Asian Arowana, Bonytongue fish
    ชื่อวิทยาศาสตร์ Scheropages formosus, Muller and Schlegel
    ถิ่นอาศัย แม่น้ำ และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย เช่น จันทบุรี ระยอง และตราด ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย
    ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาวแบนข้าง เมื่ออายุน้อยบริเวณแนวสันหลังจากจงอยปาก ไปจนถึงบริเวณโคนหางเกือบเป็นเส้นตรง แต่ในปลาอายุมากขึ้นบริเวณหลังจะโค้งขึ้นเล็กน้อย บริเวณท้องแบนเป็นสัน สีลำตัวบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเทา หรือเทาอมเขียว เกล็ดด้านข้างลำตัวเป็นสีเงิน เกล็ดมีขนาดใหญ่ จำนวนเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวมีประมาณ 24 เกล็ด ปากกว้างมากและยื่นเฉียงขึ้นข้างบน มีฟันแหลมคมบนขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง มีหนวดสั้น ๆ ที่ขากรรไกรล่าง ลักษณะคล้ายขนนก 1 คู่ ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านหางยาวถึงโคนหาง ครีบก้นยาวถึงโคนหางเช่นเดียวกัน ครีบหางมนกลม ครีบทุกครีบมีสีน้ำตาลอ่อน เทา หรือเทาอมเขียว
    ปลาตะพัดเป็นปลาขนาดใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ยาวถึง 1 เมตร มีไข่จำนวนน้อย ปลาขนาดน้ำหนัก 3 กก. มีจำนวนไข่เพียง 37 ฟอง ไข่มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.72 ซม. เมื่อวางไข่จะฟักไข่ในปาก อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ลูกปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก กุ้ง กบ เขียด หรืออาหาร มีชีวิตที่ลอยอยู่ผิวน้ำ
    ปัจจุบันถือว่าเป็นปลาที่หายาก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ความคิดเห็น •