Khmer Sai-yok

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 เม.ย. 2020
  • ในบรรดาเพลงไทยที่มีแรงบันดาลใจในการประพันธ์มาจากความงามของธรรมชาติ เพลงเขมรไทรโยคดูจะมีชื่อเสียงที่สุดอีกเพลงหนึ่ง เนื่องจากความนิยมตั้งแต่แรกเผยแพร่สู่สาธารณชนจนกระทั่งปัจจุบันยังมิได้ลดน้อยลง เห็นได้จากนักดนตรีกลุ่มต่าง ๆ ที่ยังบรรเลงเพลงนี้อยู่เสมอ
    เพลงเขมรไทรโยคนี้เป็นพระนิพนธ์ใน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เจ้าฟ้าผู้ปรีชาในศิลปวิทยาการหลายแขนง โดยมีมูลเหตุและแรงบัลดาลใจดังที่ครูมนตรี ตราโมท และครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ดังนี้
    "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสตำบลไทรโยก จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชบริพารเป็นขบวนใหญ่ถึง ๒ ครั้ง คือ ใน พ.ศ. ๒๔๒๐ ครั้งหนึ่ง และ พ.ศ. ๒๔๓๑ อีกครั้งหนึ่ง อันระยะทางตั้งแต่ลำน้ำแควน้อยไปจนกว่าจะถึงตำบลไทรโยกนั้น ล้วนเป็นทัศนียภาพอันเกิดจาธรรมชาติที่งดงามอย่างประหลาด ในลำน้ำที่มีทั้งเรียว แก่ง เกาะ มากมาย สองฟากฝั่งก็มีพฤกษาชาตินานาชนิด ภูเขาน้ำพุและสัตว์ป่าส่งเสียงวิเวกวังเวง ล้วนแต่สิ่งที่นำอารมณ์ของกวีและศิลปินให้บังเกิดสุนทรียภาพในห้วงลึกและสร้างสรรค์สิ่งนั้นแสดงออกมาตามวิชาการของแต่ละท่าน เรื่องความงามของน้ำพุตามทางจนไปถึงไทรโยกนี้ ดูเหมือนพุใหญ่ที่ตำบลไทรโยกงามที่สุด อันบรรดาสัตว์ป่าที่เราไม่ค่อยจะได้พบเห็นภายในเมือง เช่น นกยูงนั้น ตั้งแต่เมืองกาญจนบุรีขึ้นไป ก็ชักจะมีชุกชุมขึ้นทุกที บางทีก็ลงมาอยู่ชายฝั่ง และเกาะอยู่บนต้นไม้หลาย ๆ ตัว ส่งเสียงวิเวกวังเวงระคนกับเสียงนกอื่นๆ ทำให้อารมณ์เพลิดเพลินยิ่งนัก
    ส่วนสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์นั้น ขณะที่โดยเสด็จพระราชดำเนินในครั้งแรก (พ.ศ. ๒๔๒๐) มีพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษา แต่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ทรงมีพระนิสัยโปรดทางดนตรีปี่พาทย์ แต่ทรงพระเยาว์ แม้ในการโดยเสด็จคราวนั้น ก็ยังคงนำเอาผืนระนาดเอกม้วนใส่เรือไปด้วย เวลาต้องพระประสงค์จะทรงตีก็คลี่ผืนระนาดนั้นผูกกับกราบเรือแทนรางระนาด นัยว่าทรงขยันในการตีระนาดเสียด้วย ไม่ว่าขึ้นพักแห่งใด ถึงเวลาว่างก็มักจะทรงตีระนาดเล่นเสมอ ๆ จนถึงแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤติธาดา ซึ่งมักจะประทับอยู่ด้วยกันแทบทุกแห่ง รับสั่งบ่นว่า “องค์จิตรนี่แหละตีระนาดหนวกหูพิลึก”
    การที่ได้ทรงโดยเสด็จพระราชดำเนินในครั้งแรกนี้ บรรดาความงามเพลิดเพลินของสถานที่และเสียงสัตว์นานาชนิด ก็ยังคงติดพระหฤทัยของสมเด็จฯ เจ้าฟ้า
    กรมพระยานริศฯ ตลอดมา
    ลุ พ.ศ. ๒๔๓๑ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ กำลังทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการอยู่ ในปีนั้นมีกำหนดว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสไทรโยกในตอนปลายปี เพราะฉะนั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ อันมีหน้าที่จะต้องจัดวงดนตรีและขับร้องถวายในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งจะมีในเดือนกันยายนปีนั้น จึงทรงปรับปรุงวงดนตรีในรูปวงมโหรี แต่มีซอฝรั่งผสมด้วยคันหนึ่งมีคนร้องทั้งหญิงและชาย คนร้องหญิงโดยมากเป็นคนของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และคนร้องฝ่ายชายเป็นทหารมหาดเล็กทั้งสิ้น ส่วนผู้บรรเลงเป็นทหารมหาดเล็ก ทหารหน้า ทหารรักษาพระองค์และกรมยุทธนาธิการ นอกจากทรงปรับปรุงและกำหนดเพลงที่จะขับร้องและบรรเลงจากเพลงเก่าแล้ว ยังทรงแต่งเพลงขึ้นใหม่อีกเพลงหนึ่ง โดยมีพระประสงค์ที่จะโฆษณาถึงความงาม ความเพลิดเพลินอันมีอยู่ในระหว่างทางจนถึงตำบลไทรโยกที่มีกำหนดการว่าจะเสด็จพระราชดำเนินประพาสในปลายปีนั้นด้วย ทำนองเพลงที่ทรงแต่งขึ้นนั้น ได้ทรงนำทำนองเพลงเขมรกล่อมลูก ๒ ชั้นของเก่ามาเป็นหลัก แล้วทรงแต่งขยายทำนองขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น ตามแบบแผนทฤษฏีของการแต่งเพลงไทย แต่แล้วทรงเห็นว่า หากจะยึดหลักทำนองเขมรกล่อมลูกให้ถูกต้องโดยตรงไปจนตลอดเพลง ความไพเราะอาจจะหย่อนไป จึงทรงแยกย้ายขยายทำนองให้กว้างขวางออกไปจนบางแห่งก็ไกลจากพื้นทำนองเพลงเขมรกล่อมลูกไปบ้าง แต่ยังทรงเรียกชื่อว่า “เขมรกล่อมลูก”
    ส่วนบทร้อง ก็ทรงนำเอาความทรงจำตั้งแต่โดยเสด็จพระราชดำเนินครั้งแรกมาเป็นแนวทางพระนิพนธ์ บทที่ทรงพระนิพนธ์ครั้งแรกเป็นดังนี้ คือ
    บรรยายยามตามแห่เสด็จยาตร ยังไทรโยกประพาสพนาสณฑ์
    น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
    ไม้ไล่หลายพรรค์คละขึ้นปะปน ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโตรกธาร
    น้ำพุพุ่งส้า เสียงฉ่าฉาดฉาน
    เห็นตระการ มันไหลคะโครมโครม
    มันไหลจ้อกจ้อก จ้อกจ้อกโครมโครม
    น้ำใสไหลจนดูหมู่มัศยา กี่เหล่าหลายว่ายมาก็เห็นโฉม
    น้องเอย เจ้าไม่เคยเห็น
    ยินปักษาซ้องเสียงเพียงประโคม ในยามเย็นพยับโพยมร้องเรียกรัง
    ฝูงนกยูงทอง เสียงร้องโด่งดัง
    หูเราฟัง มันดังกะโต้งโฮง
    มันดังกอกกอก กอกกอกกะโต๊งโฮง
    ได้นำออกบรรเลงถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยและได้รับความนิยมจากผู้ที่ได้ฟังเป็นอันมาก ทำให้ยิ่งเกิดความกระหายใคร่ที่จะตามเสด็จกันอย่างยิ่ง"
    ** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ **
    ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ
    ฉิ่งและกลองแขก : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20
    Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S
  • เพลง

ความคิดเห็น • 5