๒๑.การแสดงนาฏดนตรีคณะดุริยพันธุ์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 7 ก.พ. 2025
  • นาฏดนตรี (ลิเก) คณะดุริยพันธุ์ เป็นคณะลิเกวิทยุ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ์ เป็นผู้รวบรวมเพื่อนฝูงญาติมิตรมาร่วมร้องและบรรเลงเพื่อส่งเข้าประกวดนาฏดนตรีทางสถานีวิทยุกระจายเสียง (ลิเกวิทยุ) ของกรมโฆษณาการ โดยเน้นท้องเรื่องที่มีเนื้อหาปลุกใจให้รักชาติ การประกวดในครั้งนั้นคณะดุริยพันธุ์ได้รับรางวัลที่ ๓ แต่นั้นมา คณะดุริยพันธุ์จึงหันมาแสดงลิเกวิทยุมากขึ้น แม้ว่าครูเหนี่ยวถึงแก่กรรม ก็ยังคงมีการแสดงต่อไปอีกหลายปี
    ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ (ศิลปินแห่งชาติ) เป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมแสดงลิเกวิทยุคณะดุริยพันธุ์มาโดยตลอด ด้วยประสบการณ์ดังกล่าวจึงทำให้ครูมีความเชี่ยวชาญในการขับร้องและแสดงลิเกได้อย่างยอดเยี่ยม จนกระทั่งในสมัยที่ครูเข้าทำงานที่สถานีโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม ครูได้เป็นเจ้าของรายการลิเกทีวี “คณะสุรางค์รัตน์” ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำการแสดงลิเกมาเผยแพร่ทางโทรทัศน์ในยุคแรกๆ โดยมีการออกตัวลิเก ร้องและรำกันอย่างสนุกสนานเป็นที่ถูกใจผู้ชมเป็นอย่างมาก
    นาฏดนตรีที่นำเสนอในชุดนี้ คัดลอกมาจากเทปรีลของ น.สพ.สวรรค์ วรรณบูรณ์ เป็นการแสดง นาฏดนตรีวิทยุของคณะดุริยพันธุ์ เพื่อเข้าประกวดชิงรางวัลนายกรัฐมนตรี บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง ควบคุมวงโดยครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์ และครูสืบสุด ดุริยประณีต ออกอากาศในวันจันทร์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ นำเสนอในท้องเรื่อง “มรดกของไทย” ครูสุรางค์ได้ร่วมขับร้องกับนักแสดงที่มีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิ ครูอาคม สายาคม ครูสุมิตร ขำศิริ ครูทองหล่อ บุญบันเทิง ครูศิริ ดุริยพันธุ์ ครูอิสระ ประสงค์ธรรม และครูสุธรรม บุญบันเทิง ผลงานในชุดนี้คัดเลือกมานำเสนอเฉพาะช่วงที่ครูสุรางค์ขับร้อง โดยครูรับบทเป็นลั่นทม เนื้อเรื่องในช่วงนี้มีอยู่ว่า สินชัย (แสดงโดยครูอิสระ ประสงค์ธรรม) เป็นบิดาของลั่นทม ได้วางอุบายเพื่อให้ลั่นทมไปดักพบชูไท (คู่รักของลั่นทม แสดงโดยครูทองหล่อ บุญบันเทิง) เพื่อสืบความบางอย่าง ลั่นทมปฏิเสธบิดาจนโดนเฆี่ยนตี จึงจำใจทำตามคำสั่งของบิดา โดยพาชูไท มาทานข้าวที่บ้านและซักถามเพื่อสืบความ ลั่นทมรู้ทันบิดาของตนเองว่าแอบใส่ยาพิษลงไปในข้าว จึงรีบปัดช้อนและห้ามไม่ให้ชูไททานข้าว จากนั้นความชุลมุนวุ่นวายต่างๆ จึงเกิดขึ้น
    ท่านสามารถดาวน์โหลดเพลงและเอกสารประกอบได้ที่ drive.google.c...
    ท่านสามารถรับฟังบทเพลงได้ทางเพจ “คีตานุสรณ์ ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์”
    / gitanusara.surangduriy...
    ท่านสามารถอ่านเอกสาร E-Book "สาราคีตานุสรณ์ ครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์" ได้ที่
    anyflip.com/bo...

ความคิดเห็น •