#รุกขมูลอยู่โคนไม้

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 พ.ค. 2024
  • #บอกเล่าเก้าสิบ: #รุกขมูลอยู่โคนไม้
    ------------------------------------
    สืบเนื่องจากตนเองได้มีโอกาส "#ไปปฏิบัติธรรม" ทดลองฝึกหัดจิตใจ โดยการอธิษฐานขอไปนอนกางเต็นท์ "#อยู่กับธรรมชาติ" ใต้ต้นไม้ใหญ่ภายในบริเวณวัด เป็นเวลาสัก 1อาทิตย์ คือตั้งแต่วันที่ 4-11 เม.ย. 2567 (รวม8คืน)
    ตนเองก็จะขอโอกาสถ่ายทอด เรื่องราวและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากเหตุการณ์นี้ให้คนที่สนใจได้อ่านกันนะ
    .
    ------------------------------------
    #สัมผัสทางโลก (แคมป์ปิ้ง)
    .
    1. Back to the Nature
    "#Grounding" คำนี้เป็นคำใหม่สำหรับตนเองนะ เพิ่งเคยจะได้ยินมา 3-4ปีนี้เอง มันคือการที่ร่างกายและจิตใจ ของเรารู้สึกได้ถึงความผ่อนคลาย และเบาใจลง เวลาที่เราได้สัมผัสกับ สถานที่ที่เป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น สนามหญ้า ลานดิน สวนสาธารณะ น้ำตก ลำธารใส่ หรือชายหาดริมทะเล ด้วยการเดินเล่นเท้าเปล่า หรือนั่งเล่นสูดรับบรรยากาศธรรมชาติ หรือการออกไปแคมป์ปิ้ง
    มันคือการให้ร่างกายของเราได้สัมผัส ได้เชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยตรง เพื่อรับพลังงานจากธรรมชาติบ้าง ธรรมชาติช่วยเยียวยาและบำบัดเราได้ (Healing)
    เพราะปัจจุบันของทุกคน ก็คงใช้ชีวิตอยู่แต่ในเมือง ในบ้้าน ในที่ทำงาน อยู่กับความวุ่นวายของวัตถุและเทคโนโลยี ทั้งตึกอาคาร รถยนต์บนถนน อุปกรณ์ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
    .
    2. นอนกลางดิน กินกลางทราย
    ส่วนตัวแล้วก็พอจะถูกกับจริตเก่าของตนเองตั้งแต่สมัยเป็นโยมแล้ว เคยได้ไปเที่ยวแคมป์ปิ้ง ตั้งแต่ยุึคแบกเป้แบกเต็นท์ขึ้นรถตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย จนมาถึงยุคทำงาน4-5ปีก่อน แบบยัดทุกอย่างใส่รถไปแคมป์ปิ้ง(คาร์แคมป์ปิ้ง)
    จัดเตรียมที่พัก ทำอาหารกิน นั่งคุยกันเบาๆ เดินเล่นนั่งดูธรรมชาติ
    .
    3. ไปเรียนรู้ อยู่ลำบาก
    แน่นอนมันไม่สบายเหมือนอยู่กับบ้านตัวเองแน่ๆ ไม่มีแอร์ ไม่มีอุปกรณ์ครบๆ (แต่ทุกวันนี้ ก็มีอุปกรณ์แคมป์ออกมาล่อกิเลสเพียบ ถ้าเงินถึง กำลังพร้อม คนแบกมี ก็เอาไปได้ 555)
    ส่วนตัวก็ชอบและเข้าใจนะ ได้ไปฝึกจิตฝึกใจตัวเองดี คิดว่าเหมาะกับกิจกรรมกลุ่มนะ ทั้งกลุ่มครอบครัวพ่อแม่ลูก ญาติพี่น้อง หรือกลุ่มเพื่อนเรียน เพื่อนทำงาน แต่อาจไม่ค่อยเหมาะกับ กลุ่มที่ยังไม่ค่อยสนิทใจกัน รู้นิสัยใจคอกันดีเท่่าไหร่
    ทั้งผู้ชาย(บางคนก็สำอาง) ทั้งผู้หญิง ทั้งเด็กๆลูกๆ ได้ไปเรียนรู้อยู่ลำบาก ได้ฝึกฝนแบ่งหน้าที่ แบ่งความรับผิดชอบ ได้เห็นความสามัคคี ได้เห็นความเห็นแก่ตัว ได้เห็นน้ำใจของคน ฯลฯ
    ต้องเจอหมดทุกสภาพทุกรูปแบบ ทั้งฝน แดด ร้อน หนาว, ทั้งมด แมลง ยุง จิ้งจก ตุ๊กแก ฯลฯ
    .
    ------------------------------------
    #สัมผัสทางธรรม (ปฏิบัติธรรม)
    .
    4. ที่ใดมีทุกข์ ที่นั่นมีธรรม
    4.1 "#จงมองทุกข์ให้เห็นเถิด #เห็นทุกข์ก็คือเห็นธรรมนั่นเอง" พระพุทธเจ้าจึงตั้งให้ทุกข์เป็นด่านที่1 ในอริยสัจ4 เลย
    กล่าวคือ ทุกคนต้องเจอทุกข์ก่อน ถึงจะเรียนรู้ เข้าใจ และคิดหาทางปรับปรุงแก้ไข หาทางพ้นทุกข์ต่อไปได้ ถ้าทุกคนไม่เจอทุกข์ หรือหลบหนีทุกข์ ก็จะไม่รู้จักวิธีการจัดการกับทุกข์
    .
    อยากให้ทุกคนปรับทัศนคติใหม่ว่า การเจอทุกข์ เจออุปสรรค เจอความยากลำบาก เจอปัญหาเข้ามา ไม่ใช่เป็นเรื่องของกรรม ของเวรที่เราทำไว้ หรือสวรรค์กลั่นแกล้ง
    แต่เป็นเรื่องที่ทุกคน ใครๆก็ต้องเจอ ไม่ว่ายากดีมีจน มันเหมือนเป็นบททดสอบ หรือแบบฝึกหัดที่เราจะต้องเจอ แต่แค่คนละรูปแบบแตกต่างกันไปเท่านั้น ตามแต่เหตุปัจจัยของแต่ละคน
    .
    4.2 #ทุกข์เป็นอนิจจัง
    แม้แต่ทุกข์ ก็เป็นของไม่เที่ยง เป็นสิ่งชั่วคราว ตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ
    1) คงที่อยู่ตลอดกาลไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนรูปเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา
    2) มีการเกิด การเสื่อม และต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา
    .
    4.3 #ทุกข์เป็นอนัตตา
    แม้แต่ทุกข์ ก็เป็นของไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของคน ของเขา ของเรา ของใคร
    1) มีสภาพว่างเปล่า หาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้
    2) หาเจ้าของไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
    3) ไม่อยู่ในอำนาจ บังคับบัญชา ควบคุมของใคร ใครก็บังคับควบคุมไม่ได้
    .
    5. อยู่กับตัวเอง "มีกาย ใจ จิต"
    5.1 การออกมาอยู่กับธรรมชาติตอนกลางคืน มาภาวนา มานั่งสมาธิ มาหลับนอน เราจะได้ยินเสียงของธรรมชาติมาครบจัดเต็ม เซอร์ราวด์รอบทิศทาง 555 อาทิเช่น เสียงใบไม้ปลิวลม กิ่งไม้เสียดสี, เสียงจิ้งหรีด จักจั่น, เสียงปลาในน้ำตะครุบเหยื่อ ฯลฯ
    เพราะความเงียบจะทำให้กาย ใจ จิตของเรามีความตื่นตัว ทำให้จิตชัด, อินทรีย์ชัด, ความรู้สึกชัด, อายตนะผัสสะการรับรู้ชัดเจน
    ในสายการปฏิบัติธรรม ถือว่าเป็นสภาวะที่เอื้อเฟื้อต่อการทำสมาธิ, การกำหนดจิต, และการทำกรรมฐานมาก
    .
    5.2 เคยฟังอาจารย์คึกฤทธิ์บอกประมาณว่า "พระพุทธองค์สอนให้เรา เอาจิตจับไว้กับกายเท่านั้น (รูปขันธ์) ให้ดูลม รู้ลมหายใจเข้าออก แค่นี้เพียงพอแล้ว เอาจิตกำกับไว้ที่ลมหายใจเท่านั้น นี่คือ "อานาปานสติ"
    ต้องไม่เอาจิตหลุดไปจับที่ใจเลย (นามขันธ์อีก4ตัว)
    - (วิญญาณ) ไม่ต้องสนใจ รูปรสกลิ่นเสียงอะไรเข้ามากระทบ
    - (สังขาร) ไม่ต้องไปนึกคิดปรุงแต่ง เรื่องที่ยังไม่เกิด
    - (สัญญา) ไม่ต้องไปนึกจำ เรื่องเก่าผ่านมาแล้ว
    - (เวทนา) ไม่ต้องรู้สึกสุขทุกข์ ยินดียินร้าย พอใจไม่พอใจ
    .
    6. ได้ปัญญา มา1ปิ๊ง
    6.1 "#มรรคไม่ได้ดับทุกข์, #แต่มรรคดับสมุทัย"
    ตนเองได้ความคิดนี้มาตอนคืนที่5/8 (ถ้าจำไม่ผิด) ตอนนั้นนั่งสมาธิฟังคลิปหลวงตามหาบัว ท่านสอนเรื่องอริยสัจ4
    ตอนเรียนหนังสือ หรือคนทั่้วไปก็จะท่องจำขึ้นใจ ติดหูติดปากว่า
    - ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    - สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์
    - นิโรธ คือ ความดับทุกข์
    - มรรค คือ แนวปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มี8ข้อ
    ตนเองคิดมาตลอดว่า "มรรคคือตัวดับทุกข์, คือเครื่องมือไปดับทุกข์" แต่ถ้าพูดให้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง ก็คือ
    . 6.2 "มรรคคือแนวปฏิบัติเพื่อไปดับสมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ต่างหาก) เมื่อสาเหตุแห่งทุกข์ดับ = ตัวทุกข์ก็จะดับไปโดยปริยาย
    อ่านบทความ(ฉบับเต็ม)
    ส่วนที่เหลือต่อจนจบ คลิก
    bit.ly/3QGc3mb
    .

ความคิดเห็น •