บทสวดขันธปริตร 1 จบ
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 18 พ.ย. 2024
- ขันธปริตร
เรื่องเล่าสมัยพุทธกาลว่า พระภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดที่ เท้า ทนพิษไม่ไหวถึงแก่มรณภาพ เมื่อ พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง จึงตรัสสอนให้พระภิกษุรู้จักแผ่เมตตาแก่สกุลพญางูทั้งสี่ คือ พญางูวิรูปักข์ พญางูเอราบถ พญางูฉัพยาบุตร และพญางูกัณหาโคตมะ ซึ่งมีเนื้อความว่า ไมตรีของเราจงมีแก่สกุลพญางูทั้งสี่ ตลอดทั้งสัตว์สองเท้า สี่เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ทั้งหลาย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้นมีประมาณไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย เราทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ขอสัตว์ร้ายจงหลีกไป ในทางความเชื่อพระพุทธมนต์บทนี้ใช้ภาวนาป้องกันอสรพิษทุกชนิดได้
*******************************************
เกร็ดความรู้ ท้าววิรูปักษ์ และพญานาค 4 ตระกูล
ปรากฎ ชื่อ ในบทขันธปริตร
ท้าววิรูปักษ์ เป็นหนึ่งในสี่จาตุมหาราชผู้ปกครองทิศตะวันตก และเป็นเทพเจ้าแห่งนาคทั้งปวง (แต่ทรงเป็นเทวดาที่เป็นเจ้าแห่งนาค) นอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงในขันธปริตร (โบราณเรียกพระปริตรกันงู) บทสวดเจ็ดตำนาน สวดเพื่อให้สวัสดิภาพจากพวกสัตว์มีพิษทั้งหลาย เพราะท้าวมหาราชพระองค์นี้ทรงมีนาคเป็นบริวาร
ตระกูลของพญานาค พญานาคส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าแห่งงู จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา และพญานาคแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
1. ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง
2. ตระกูลเอราปถ พญานาคตระกูลสีเขียว
3. ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง
4. ตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
การเกิดของพญานาค จะสามารถเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
1. เกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที
2. เกิดแบบสังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม
3. เกิดแบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์
4. เกิดแบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่