ฝึกกรรมฐาน **ใช้หนี้ที่ติดตัวมา** เสียงธรรม หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 8 ต.ค. 2024
  • กรรม หมายถึง การกระทำ คำนี้สามารถกล่าวถึง หลักการทางจิตวิญญาณของเหตุภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า กฎแห่งกรรม เมื่อเจตนาและการกระทำของบุคคลหนึ่ง (เหตุ) ส่งผลต่ออนาคตของบุคคลนั้น (ผล)
    เจตนาและการกระทำที่ดีจะเป็นกรรมดีและไปเกิดใหม่, บังเกิดใหม่ในภพภูมิที่ดีกว่าหมายรวมถึงสวรรค์และอาณาจักรแห่งความบริบูรณ์ในคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลาม ในขณะที่เจตนาและการกระทำที่ไม่ดีก่อให้เกิดกรรมชั่วและไปเกิดใหม่ในภพภูมิที่เลวร้ายและทุกข์ทรมานสาหัสยิ่งกว่า
    หลักปรัชญาของกรรมมีความใกล้ชิดกับแนวคิดการกลับชาติมาเกิดในศาสนาแบบอินเดียหลายสำนัก โดยเฉพาะศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ศาสนาเชน และศาสนาซิกข์ เช่นเดียวกันกับลัทธิเต๋า ซึ่งกล่าวไว้ว่า กรรมในปัจจุบันส่งผลต่อชีวิตในชาติหน้าใน สังสารวัฏ และการบังเกิดใหม่ในคริสต์ศาสนาและศาสนาอิสลามหรือชีวิตหลังความตายที่รออยู่
    กรรม 12 ประเภท
    ในหนังสือวิสุทธิมรรค ซึ่งแต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ พระเถระชาวอินเดีย ได้แบ่งกรรมไว้ 12 ประเภท ตามกาลเวลา ตามหน้าที่ และตามความหนักเบา
    กรรมให้ผลตามเวลา
    ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
    อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
    อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
    อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล คือให้ผลเสร็จไปแล้ว หรือหมดโอกาสจะให้ผลต่อไป
    กรรมให้ผลตามหน้าที่
    ชนกกรรม กรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
    อุปถัมภกกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้ากรรมเดิมหรือชนกกรรมแต่งดี ส่งให้ดียิ่งขึ้น กรรมเดิมแต่งให้ชั่ว ก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
    ปุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม คอยเบียนชนกกรรม เช่นเดิมแต่งมาดี เบียนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว เบียนให้ดี
    อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับทีเดียวลงเป็นขอทานหรือตายไปเลย หรือเดิมชนกกรรมแต่งไว้เลวมาก กลับทีเดียวเป็นพระราชาหรือมหาเศรษฐีไปเลย
    กรรม
    ความเชื่อในเรื่องกรรม
    ความหมายและชนิดของกรรม
    กรรม 12 ประเภท
    การให้ผลของกรรม
    กฎแห่งกรรม
    กรรม 12 ประเภท
    ในหนังสือวิสุทธิมรรค ซึ่งแต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ พระเถระชาวอินเดีย ได้แบ่งกรรมไว้ 12 ประเภท ตามกาลเวลา ตามหน้าที่ และตามความหนักเบา
    กรรมให้ผลตามเวลา
    ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
    อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
    อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
    อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล คือให้ผลเสร็จไปแล้ว หรือหมดโอกาสจะให้ผลต่อไป
    กรรมให้ผลตามหน้าที่
    ชนกกรรม กรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
    อุปถัมภกกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้ากรรมเดิมหรือชนกกรรมแต่งดี ส่งให้ดียิ่งขึ้น กรรมเดิมแต่งให้ชั่ว ก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
    ปุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม คอยเบียนชนกกรรม เช่นเดิมแต่งมาดี เบียนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว เบียนให้ดี
    อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับทีเดียวลงเป็นขอทานหรือตายไปเลย หรือเดิมชนกกรรมแต่งไว้เลวมาก กลับทีเดียวเป็นพระราชาหรือมหาเศรษฐีไปเลย
    กรรมให้ผลตามความหนักเบา
    ครุกรรม กรรมหนัก กรรมฝ่ายดี เช่น ทำสมาธิจนได้ฌาน กรรมฝ่ายชั่ว เช่นทำอนันตริยกรรม มีฆ่าบิดามารดาเป็นต้น เป็นกรรมที่จะให้ผลโดยไม่มีกรรมอื่นมาขวางหรือกั้นได้
    พหุลกรรม กรรมที่ทำจนชิน
    อาสันนกรรม กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย หรือที่เอาจิตใจจดจ่อในเวลาใกล้ตาย อาสันนกรรม ย่อมส่งผลให้ไปสู่ที่ดีหรือชั่วได้ เปรียบเหมือนโคแก่ที่อยู่ปากคอก แม้แรงจะน้อย แต่เมื่อเปิดคอกก็ออกได้ก่อน
    กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือ เจตนาไม่สมบูรณ์ อาจจะทำด้วยความประมาทหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็อาจส่งผลดีร้ายให้ได้เหมือนกัน ในเมื่อไม่มีกรรมอื่นจะให้ผลแล้ว
    แหล่งที่มาในหนังสือวิสุทธิมรรค
    ซึ่งแต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ พระเถระชาวอินเดีย

ความคิดเห็น •