พระรูปเหมือน ฟาโรห์ตุตันคาเมนสลักขึ้นจากไม้ พบในสุสานของพระองค์บันทึกเรื่องราวในปลาย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 พ.ค. 2024
  • พระรูปเหมือน ฟาโรห์ตุตันคาเมนสลักขึ้นจากไม้ พบในสุสานของพระองค์
    บันทึกเรื่องราวในปลายพระชนม์นั้นไม่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน มีการศึกษาขนานใหญ่หลายครั้งเพื่อวินิจฉัยสาเหตุการสิ้นพระชนม์ นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายปีเพื่อวินิจฉัยว่า เหตุใดทุตอังค์อามุนซึ่งเสวยราชย์เมื่อพระชนม์ราว 9 ถึง 10 ชันษาจึงสวรรคตเมื่อพระชนม์ประมาณ 18 ถึง 19 ชันษา แต่สาเหตุดังกล่าวก็ยังเป็นที่อภิปรายกันมากอยู่ในทุกวันนี้
    ร่ำลือกันว่า ทุตอังค์อามุนทรงถูกปลงพระชนม์ มีหลายทฤษฎีที่เสนอแนะกันขึ้นมา 1 ในนั้นว่า ชันสูตรพระสิรัฐิแล้วพบรอยรอย 1 จึงน่าเชื่อว่า ทรงถูกตีพระเศียรจนถึงแก่พระชนม์ ทฤษฎีอื่นว่า ชันสูตรพระชงฆ์แล้วเชื่อว่า พระชงฆ์หักจนนำไปสู่การสิ้นพระชนม์
    นอกจากนี้ มีการสันนิษฐานว่า ประชวรพระโรคบางประการ เช่น กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrome), กลุ่มอาการปัญญาอ่อน (mental retardation), กลุ่มอาการโฟรลิช (Fröhlich syndrome), กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter syndrome), กลุ่มอาการต่อต้านแอนโดรเจน (androgen insensitivity syndrome), กลุ่มอาการอะโรมาเทสเกินพอดี (aromatase excess syndrome) ประกอบกลุ่มอาการทางรอยประสานกระดูกกะโหลกแบ่งซ้ายขวา (sagittal craniosynostosis syndrome) หรือโรคลมชักแบบ temporal lobe อนึ่ง ในเดือนมิถุนายน 2010 นักวิทยาศาสตร์เยอรมันแถลงว่า มีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่า ทุตอังค์อามุนสิ้นพระชนม์เพราะโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell disease) แต่ผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ไม่ยอมรับทฤษฎีนี้ โดยอ้างว่า ไม่ได้ใช้วิธีวิจัยที่เหมาะสม
    ในปี 2005 มีนักวิชาการเสนอว่า ก่อนสิ้นพระชนม์ พระชงฆ์ขวาหัก น่าเชื่อว่า พระอาการดังกล่าวติดเชื้อลุกลามนำไปสู่การสิ้นพระชนม์ ต่อมาวันที่ 14 กันยายน 2012 ดอกเตอร์ (Hutan Ashrafian) อาจารย์และศัลยแพทย์จากราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) สนับสนุนทฤษฎีเรื่องโรคลมชักแบบ temporal lobe เขาเชื่อว่า โรคลมชักน่าจะเป็นสาเหตุให้ทรงล้มอย่างแรงจนพระชงฆ์หัก
    ในปี 2005 นั้นเอง คณะวิจัยโบราณคดี รังสีวิทยา และพันธุกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย เยเฮีย กัด (Yehia Gad) และโซมาเอีย อิสมาอิล (Somaia Ismail) นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยแห่งชาติ (National Research Centre) ในกรุงไคโร พร้อมด้วยอัชรัฟ เซลิม (Ashraf Selim) และซาฮาร์ ซาลีม (Sahar Saleem) อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไคโร (Cairo University) กับทั้งคาร์สเทิน พุสช์ (Carsten Pusch) อาจารย์มหาวิทยาลัยเอเบอร์ฮาร์ดคาลส์ (Eberhard Karls University) ประเทศเยอรมนี อัลเบิร์ต ซิงก์ (Albert Zink) จากสถาบันมัมมี่และมนุษย์หิมะยูแรก (EURAC-Institute for Mummies and the Iceman) ประเทศอิตาลี และพอล กอสต์เนอร์ (Paul Gostner) จากโรงพยาบาลกลางบอลซาโน (General Hospital of Bolzano) ประเทศอิตาลี ร่วมกันตรวจพระศพทุตอังค์อามุนโดยวิธีถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ เชื่อว่า พระองค์มิได้สิ้นพระชนม์เพราะทรงถูกตีพระเศียร นอกจากนี้ ในพระกายยังพบความบกพร่องแต่กำเนิดซึ่งมีมากในหมู่เด็กที่เกิดจากการร่วมประเวณีระหว่างญาติสนิท ญาติสนิทที่สมสู่กันจะส่งกรรมพันธุ์ที่เป็นอันตรายผ่านไปยังบุตร บุตรที่บิดามารดาเป็นญาติสนิทกันจึงมักมีความบกพร่องทางพันธุกรรมอย่างเห็นประจักษ์ อนึ่ง ที่เคยตรวจพบว่า พระตาลุโหว่นั้น ก็สันนิษฐานว่า เป็นผลมาจากความบกพร่องทางพันธุกรรมดังกล่าวด้วย จึงมีการตรวจสอบต่อไปว่า ทุตอังค์อามุนทรงกำเนิดมาจากพระบิดาและพระมารดาที่เป็นพระญาติสนิทกันหรือไม่

ความคิดเห็น •