รายการวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ ตอนที่11 "เเป้งพวง เสน่ห์ความหอมเเบบไทยในอดีต" 11-IT3-ประภัสสร บุญยิ้ม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 31 ต.ค. 2024
  • รายการวิชาชีพคหกรรมศสตร์เพื่อการสอนขอเสนอ “เเป้งพวง” เสน่ห์ความหอมเเบบไทยที่มาตั้งเเต่อดีตซึ่งในปัจจุบันนี้ยากที่จะพบเห็น สวัสดีค่ะดิฉันประภัสสร บุญยิ้ม จะพาทุกท่านไปเรียนรู้ประวัติ เเนวคิด ขั้นตอนการทำ เเละประโยชน์ ของ “เเป้งพวง เสน่ห์ความหอมเเบบไทยในอดีต"
    ประวัติความเป็นมา
    แป้งพวงถือเป็นเครื่องหอมไทยชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เเต่เดิมแป้งพวงประดิษฐ์เฉพาะภายในพระราขวังเท่านั้นเพื่อใช้แทนพวงดอกไม้ช่อดอกไม้ ใช้ในการบูชาพระ และเสียบซ้องผมของนางในภายในวังต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการเผยแพร่ แป้งพวงออกสู่นอกรั้วพระราชวังโดยการจัดสอนอบรมแก่ข้าราชบริพารและลูกหลานของผู้มีชาติตระกูล ผู้เป็นสาวไทยในยุคสมัยนั้นจะต้องฝึกฝนหยดแป้งพวงให้เป็นมิฉะนั้นจะอับอายในความเป็นหญิงหากทำไม่ได้ การประดิษฐ์เเป้งพวงให้ประณีตงดงามจึงอยู่คู่กับความภาคภูมิใจของหญิงไทยแต่โบราณมา
    เเนวคิด
    แป้งพวงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ทดแทนดอกไม้สดสำหรับบูชาพระหรือเสียบในซองผมซึ่งดอกไม้สดนั้นมีอายุการใช้งานที่สั้น แป้งพวงคือการนำแป้งหินมาอบด้วยร่ำควันเทียนกำยานผสมด้วยกลิ่นหอมจากน้ำดอกไม้น้ำอบไทย ทำจนข้นพอดีใส่ในกรวยแล้วหยอดบนเส้นด้ายที่รองด้วยใบตองพอแห้งดีแล้วก็ยกเส้นด้ายที่มีเม็ดแป้งหอมนั้นมาอบร่ำอีกหลายๆครั้งพอได้เส้นแป้งที่อบร่ำเสร็จแล้วนำมาเขาช่อเป็นพวง ซึ่งในปัจจุบันก็มีการเข้าช่อแป้งพวงหลากหลายรูปแบบทั้งพวงยาวพวงสั้นการทำเป็นพวงห้อยระย้า หรือการเข้าเป็นพวงมาลัย
    วัสดุ/อุปกรณ์
    1 แป้งหินบดละเอียด 500 กรัม
    2 น้ำอบไทย 1 ขวด
    3 ควันเทียน 1 วง
    4 สีผสมอาหารสีชมพู 1ซอง
    5 ด้ายสีขาวยาว 30 ซม 20 เส้น
    6 ริบบิ้นเส้นเล็กสีทอง 1 ม้วน
    7 ช้อนผสม 1 ด้าม
    8 กล่องก้นลึก 1 กล่อง
    9 ใบตอง 1 ใบ
    10 เทปใสหน้าเล็ก 1 ม้วน
    11 ปืนกาว/เเท่งกาว
    12 กรรไกร
    (ขั้นตอน)
    ขั้นตอนการทำแป้งพวง แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่
    1 ขั้นตอนการผสมแป้ง
    2 ขั้นตอนการหยอดแป้ง (หยอดลอย เเละหยอดราบพื้น)
    3 ขั้นตอนการเข้าช่อแป้งพวง
    ขั้นตอนการผสมแป้ง
    1 นำแป้งหินบดละเอียด 500 กรัมเทลงในถ้วยผสม
    2 นำน้ำอบไทยค่อยๆรินเทใส่ในถ้วยผสมที่เทเป้งหินเเล้ว ใช้ช้อนค่อยๆคนผสมให้เเป้งมีความข้นเหนียวไม่เหลว
    3 ตักเเบ่งเเป้งครึ่งหนึ่งออก ใส่ถุงพลาสติกเเล้วมัดปากถุง (เเป้งสีขาว)
    4 เทสีผสมอาหารสีชมพูที่เตรียมไว้ลงในเเป้งอีกครึ่งหนึ่งในถ้วยผสม คนผสมจนเเป้งมีสีชมพู ตักเเป้งใส่ถุงพาสติกเเล้วมัดปากถุง (เเป้งสีชมพู)
    ขั้นตอนการหยอดเเป้ง
    1 นำกล่องก้นลึกรองด้านล่างด้วยใบตอง
    2 นำด้ายที่ตัดเตรียมไว้แล้วขึงลงบนปากกล่องด้วยเทปใสโดยเว้นระยะห่างปลายด้ายทั้งสองด้านถึงปากถึงปากกล่องด้านละ 5 ซม.
    3 ตัดมุมถุงแป้ง 1 มุม หยอดเม็ดแป้งลงบนเส้นด้ายที่ขึงไว้ทีละเส้น โดยให้มีขนาดเม็ดเเป้งเเละระยะห่างของเม็ดเเป้งเท่าๆกัน หยอดจนสุดปลายกล่อง
    4 หยอดเเป้งสีขาว10เส้น เเละสีเขียว10เส้น
    5 เมื่อหยอดเเป้งเสร็จเเล้วนำไปตากเเดดให้เเห้งสนิท
    ขั้นตอนการเข้าช่อแป้งพวง
    1 เเกะเส้นเเป้งที่ตากจนเเห้งเเล้วออกจากกล่อง
    2 รวบสีเขียวเเละสีขาวเข้าเป็นพวงเดียวกันมัดด้วยด้าย
    3 ตัดปลายด้ายด้ายล่างออก
    4 นำเเป้งพวงใส่เข้าไปใส่กล่อง จุดควันเทียนปิดฝา อบทิ้งไว้ 30นาที-1ชั่วโมง
    5เมื่ออบควันเทียนเสร็จเเล้วนำริบบิ้นมาติดเป็นห่วงคล้องเเละติดโบว์ด้วยปืนกาว
    การนำไปใช้ประโยชน์
    นำไปบูชาพระ
    นำไปประดับผม หรือสวมคอ
    เป็นของฝากของที่ระลึก
    จัดตกเเต่งสถานที่ให้มีกลิ่นหอม
    การเก็บรักษา
    ไม่ควรทุบหรือปบีบเม็ดเเป้งเพราะจะทำให้เม็ดเเป้งเเตก
    ไม่ควรให้โดนน้ำเพราะเม็กเเป้งจะหลุดออกจากเส้นด้าย
    หากกลิ่นหอมจางลงสามารถนำไปอบควันเทียนใหม่ได้ หรือน้ำอบไทยใส่ขวดเสปย์ฉีดพรมลงบนเเป้งได้
    เป็นไงบ้างคะกับความรู้ ขั้นตอนการทำ เเป้งพวง ไม่ยากเลยใช่หรือไม่คะนอกจากจะได้เเป้งพวงหอมๆเเล้วยังเป็นการฝึกสมาธิที่ดีอีกด้วยค่ะ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหาย สำหรับวันนี้รายการวิชาชีพคหกรรมศาสตร์เพื่อการสอน เเป้งพวง เสน่ห์ความหอมเเบบไทยในอดีต ดิฉันประภัสสร บุญยิ้ม ขอลาไปก่อนสวัสดีค่ะ
    วีดิทัศน์เพื่อการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์ สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
    11-IT3 ประภัสสร บุญยิ้ม
    ขอขอบคุณ : อาจารย์ ดร.สุชญา ฉัตรวิชญะ อาจารย์ที่ปรึกษา
    สถานที่ถ่ายทำ : ปรัชญาเเมนชั่น
    ดนตรีประกอบ : ขิมบรรเลงเพลงไทย
    เเหล่งสืบค้นข้อมูล : Kantion Blog คุณรักนันท์
    เเละรายการสาระน่ารู้เรื่องของหอม ตอนที่13
    ช่องrmutk channel โดยท่านอาจารย์นันทวัน กลิ่นจำปา

ความคิดเห็น •