เที่ยวเต็มอิ่ม อร่อยฟิน “งานเทศกาลกระท้อนหวานของดีเมืองลพบุรี” ปี 2567

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 มิ.ย. 2024
  • เที่ยวเต็มอิ่ม อร่อยฟิน
    “งานเทศกาลกระท้อนหวานของดีเมืองลพบุรี” ปี 2567
    ////////////////
    เริ่มแล้ว อย่างเป็นทางการ !!! “เทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี” ครั้งที่ 31 ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม นี้
    ค่ำวันนี้ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 19.00 น. ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ว่าที่ร้อยตรี ทรงพล แป้นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานเปิดงาน "เทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี ครั้งที่ 31 ประจำปี 2567" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ผลผลิตกระท้อนหวานและของดีอำเภอเมืองลพบุรีให้อยู่ในความนิยมของตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกไม้ผลแทนการปลูกข้าวหรือทำนา ซึ่งสามารถที่จะยึดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมของเกษตรกร ได้ จนปัจจุบันกระท้อนลพบุรี หรือที่รู้จักในนาม "กระท้อนหวานลพบุรี" ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือ GI
    ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การแสดง "ดนตรีจิตอาสา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การ “รำวงย้อนยุค” โดยชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การแสดงของชาติพันธุ์ การแสดงดนตรี ลูกทุ่ง นอกจากนี้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระท้อนหวานเมืองลพบุรี การแปรรูปกระท้อน การแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP จังหวัดลพบุรี การจัดแสดงพันธุ์ไม้ และสินค้าของดีเมืองลพบุรีอีกมากมายมาจำหน่ายให้แก่ประชาชนเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดลพบุรี อีกด้วย
    รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า “กระท้อนตะลุง” อำเภอเมืองลพบุรี เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง ได้รับความนิยมจากตลาดมากขึ้นทุกปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดี สิ่งสำคัญก็มาจากการจัดงานเพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ผลผลิตของกระท้อน ทำให้กระท้อนลพบุรี เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปอย่างแพร่หลาย สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยว เข้ามาเยี่ยมชมงาน และจับจ่าย ซื้อหาสินค้าต่างๆ ภายในงาน ได้อย่างครบครัน สิ่งสำคัญที่อยากจะฝากและขอความร่วมมือ พี่น้องเกษตรกรก็คือ เรื่องคุณภาพกระท้อน ความปลอดภัยของผู้บริโภค และไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อ ให้คิดเสมอว่า ผู้ผลิตอยู่รอด ผู้บริโภคปลอดภัยจากการบริโภคผลผลิตไร้สารเคมีต่าง ๆ และส่งเสริมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ดูโดดเด่น น่าซื้อหา เป็นการเพิ่มมูลค่าอีกทางหนึ่งด้วย ที่สำคัญ “กระท้อนตะลุง” ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่น ของจังหวัดลพบุรี ซึ่งจังหวัดลพบุรี ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนกระท้อนตะลุง เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI แล้ว
    สำหรับไฮไลท์สำคัญของการเปิดงานในครั้งนี้เป็นการจำหน่ายกระท้อนให้กับพี่น้องประชาชนที่มาเที่ยวชมงานในกิโลกรัมละ 1 บาท จำนวน 200 กิโลกรัม ซึ่งจำกัดสิทธิ์ในการซื้อ 1 คน สามารถซื้อได้ 2 กิโลกรัม ซึ่งบรรยากาศเป็นไปความคึกคักในช่วงของการเปิดงาน
    นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
    ผู้อำนวยการ ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ

ความคิดเห็น •