รายการผ้าทอผู้ไทย ผ้าลายขอจับกับ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ปี ๒๕๖๗

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 28 ก.พ. 2024
  • มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร รายการ : ผ้าทอผู้ไทย ชื่อเรียกในท้องถิ่น : ผ้าลายขอจับกับ
    #ผ้าทอผู้ไทย มีหลากหลายลวดลาย แต่ในที่นี้จะนำเสนอ “ผ้าลายขอจับกับ” ซึ่งเป็นผ้าลายโบราณของชาวผู้ไทย มีทั้งชนิดของผ้าฝ้าย และผ้าไหม .. !
    “ผ้าลายขอจับกับ” เป็นผ้าโบราณชาวผู้ไทย ผ้าผืนนี้เป็นมรดกตกทอดรุ่นสู่รุ่น ซึ่งมีการทอผ้าลายขอจับกับ ก่อนปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ประมาณ ๑๑๗ ปีมาแล้ว) ผู้ที่ทอผ้าลายนี้ ได้เก็บผ้าผืนนี้ไว้เป็นอย่างดี แทบไม่ได้เอาผ้าผืนนี้ออกมาโชว์ลายผ้ามากนัก จึงทำให้ลายผ้าดังกล่าวไม่ได้ถูกนำออกมาเผยแพร่ จึงทำให้ไม่มีการแกะลายผ้าออกมา ซึ่งผ้าลายดังกล่าวจะไม่มีที่อื่นๆ นอกจากพิพิธภัณฑ์ผ้าลายโบราณ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ท่านั้น (คำว่า “กับ” เป็นคำพูดของชาวผู้ไทย ความหมายของคำว่า “กับ” คือ “กลับ” ฉะนั้นความหมายของ “ผ้าลายขอจับกลับ” คือ ผ้าลายขอที่กลับด้านกัน นั่นเอง)
    #ลักษณะพิเศษหรือเอกลักษณ์ของผ้าทอผู้ไทย หรือผ้าลายขอจับกลับ ซึ่งเป็นผ้าลายโบราณของชาวผู้ไทย มีหลายลายด้วยกัน ประกอบด้วย
    ๑.ลายที่อยู่ข้างในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งการทำกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนไว้ เพื่อให้มีลวดลายต่างๆ อยู่ภายในกรอบ เพิ่มความสวยงามประกอบด้วย
    ๑.๑ ลายจับกับ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีเครือร่าย 4 แถว และมีลวดลายต่างๆ อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
    ๑.๒ ลายขอ ข้างในจะมีลักษณะกับหันหลังชนกัน แต่ข้างนอกจะหันหน้าเข้าหากัน
    ๑.๓ ลายตุ้มใจป่อง (ตุ้มเจ๋อป่อง) เป็นการทำลายตุ้มที่ออกแบบให้ภายในตุ้มมีช่องว่าง มีลักษณะเป็นรู
    ๑.๔ ลายเครือร่าย ๔ แถว ซึ่งปกติที่อื่นจะมีไม่เกิน ๓ แถว ด้านในเป็นช่อดอกไม้เกิดจากจินตนาการของผู้ทอ (คล้ายโคมไฟระย้า)
    ๑.๕ ลายตุ้ม ๕ ไม้ลายหมากจับ เกิดจากการทำลายหมากจับเป็นลายพื้นฐานก่อนการทอผ้าออกแบบสร้างสรรค์โดยเอาหมากจับมาเรียงเป็นเครือขึ้นมา
    ๑.๖ ลายปอโอบ จะมีลักษณะเป็นเส้นยาว (สีขาว)
    ๑.๗ ลายปอตี๊ด จะมีลักษณะเป็นเส้นปะเล็กๆ (สีขาว)
    ๒. ลายที่อยู่ภายนอกกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ประกอบด้วย
    ๒.๑ ลายขอ จะมีลักษณะกับหันหลังชนกัน แต่ข้างนอกจะหันหน้าเข้าหากัน
    ๒.๒ เขตแดน หรือเส้นตรง จะมีทั้งด้านบน และด้านล่างของผ้าเพื่อแสดงให้เห็นว่าผ้า ที่ทอนั้นถูกต้อง และลวดลายต่างๆ นั้นตรงกัน
    ๒.๓ ลายนาคน้อย หรือลายพญานาค จะทำทั้งด้านบนและด้านล่าง อยู่ตรงเชิงผ้าซึ่งจะดูเขตแดนเป็นตีนผ้า ซึ่งลายนาคน้อยนี้ จะมีเป็นกลุ่มๆ ละ ๕ ตัว หันหน้าไปทางเดียวกัน และมีลายตุ้มมาขั้น ข้างบนลายนาคน้อย จะไม่มีการโอบสีแดง ส่วนข้างล่าง(ตีนซิ่น) จะมีการโอบสีแดง ลายนาคเลยชัดเจน เพื่อเป็นการโชว์ลายผ้าและความชัดเจน บ่งบอกผู้สวมใส่ว่าเป็นตีนซิ่น ซึ่งลายนาคนี้มาจากความเชื่อที่ว่า ถ้าผู้ที่สวนใส่ลายนาคจะทำให้มีความอุดมสมบูรณ์
    #บุคคลอ้างอิง (ผู้ให้ข้อมูล/ให้สัมภาษณ์ ) : นางสาวนรินทิพย์ สิงหะตา หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองสูงเหนือ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

ความคิดเห็น •