ระบำดาวดึงส์ วนศ นครศรีธรรมราช

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ส.ค. 2022
  • ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐาน ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องขี้นประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี การแสดงเรื่องนี้จัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ ริมถนนอัษฎางค์ (วังบ้านหม้อ) ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อร้องของระบำพรรณนาถึงความงดงามความโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และความมโหฬารตระการตาในทิพย์สมบัติของพระอินทร์ ตลอดจนความงดงามของเหล่าเทวดานางฟ้าในสรวงสวรรค์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา (หม่อมเจ้าในพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์) เป็นผู้คุม ฝึกหัดคิดท่ารำ ต่อมาการแสดงชุดนี้ได้นำมาจัดเป็นชุดเอกเทศ จึงนำออกด้วยเพลงเหาะ และรำตามเนื้อร้องในเพลงตะเขิ่ง เจ้าเซ็น แล้วจบท้ายด้วยเพลงรัว นับเป็นระบำชุดหนึ่งที่ได้ปรับปรุงทางดนตรี และทางรำให้ได้กะทัดรัด จนเป็นนาฏศิลป์ไทยชุดหนึ่งที่ได้ยึดถือเป็นแบบระบำแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบแผนสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
    รูปแบบ และลักษณะการแสดง
    เป็นการรำของเหล่าเทวดานางฟ้า ลักษณะท่ารำที่สำคัญ คือท่ารำจะไม่มีความหมายตรงกับเนื้อร้อง แต่จะเป็นท่ารำที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดทั้งเพลง ท่ารำบางท่าได้ปรับปรุงเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ได้แก่ การใช้ท่ารำยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่อก และขยับฝ่ามือตบอกเบา ๆ ตามจังหวะพร้อมการเคลื่อนเท้าไปด้วย กล่าวกันมาว่าท่ารำแบบนี้ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชาของสมเด็จ พระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยทรงเลียนแบบมาจากการเต้นทุบอกในพิธีเต้นเซ็นของชนนับถือลัทธิศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซนซึ่ง ฝรั่งเรียกว่า Shiites โดยทรงปรับท่าทางให้ดูนุ่มนวลอ่อนช้อยไปตามหลักนาฏศิลป์ไทย
    การรำขั้นตอนที่ ๑
    รำออกในเพลงเหาะ (เป็นท่ารำที่แสดงการเดินทางเป็นรูปขบวนของเหล่าเทวดานางฟ้า กระบวนท่ารำเป็นมาตรฐานที่ใช้สืบต่อกันมา )
    ขั้นตอนที่ ๒
    รำตามบทร้องในเพลงตะเขิ่ง (เนื้อร้องกล่าวถึงความงามทั่วสรรพางค์กายของเทวดานางฟ้า) เพลงเจ้าเซ็น (เนื้อร้องแสดงถึงความงดงามอลังการในวิมานที่ประทับของพระอินทร์)
    ขั้นตอนที่ ๓
    รำเข้าตามทำนองเพลงรัว

ความคิดเห็น •