เปิดสาระสำคัญ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม คู่สมรสเพศเดียวกันมีสิทธิ์อะไรบ้าง?

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 มี.ค. 2024
  • สภาผ่านร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณา หากคลอดออกมา ไทยก็จะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ร่างกฎหมายนี้
    การประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ มีวาระสำคัญคือ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ ที่รู้จักกันในชื่อร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ในวาระที่ 2 และ 3 หลังจากที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
    นายดนุพร ปุณณกันต์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคในฐานะประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าวรายงานถึงการทำงานของคณะกรรมาธิการ ประเด็นสำคัญ ได้ย้ำว่า การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ทำเพื่อคนไทยทุกคน โดยกฎหมายฉบับนี้จะคุ้มครองคนกลุ่มหนึ่งที่อาจจะเรียกว่าเป็น LGBT ผู้ชายข้ามเพศ ผู้หญิงข้ามเพศ กฎหมายฉบับนี้จะเป็นการคืนสิทธิ์ให้คนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นสิทธิที่พวกเขาไม่เคยได้รับ และ สำหรับชายหญิงทั่วไปเคยได้รับสิทธิอย่างไร ทุกคนจะไม่เสียสิทธิ์แม้แต่น้อย กฎหมายฉบับนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของความเท่าเทียม
    ทั้งนี้หากร่างกฎหมายนี้ผ่านออกมา ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม เราจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาเนื้อหาของร่างกฎหมายไปทีละมาตรา จนจบทั้งหมด 68 มาตรา ใช้เวลาทั้งสิ้น 5 ชั่วโมงเศษ สุดท้าย ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก 400 เสียง ต่อ 10 เสียง ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ในวาระที่ 3
    ซึ่งภายหลังการลงมติเสร็จสิ้น สส.พรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างปรบมือแสดงความยินดี และมีการร่วมกันถ่ายรูปกับธงสีรุ้ง
    โดยสาระสำคัญในกฎหมายสมรสเท่าเทียมนั้น เป็นการคืนสิทธิให้แก่บุคคล เช่น
    -การแก้ไขคำว่า ชาย-หญิง-สามี-ภริยา เป็นคำว่า บุคคล-ผู้หมั้น-ผู้รับหมั้น และคู่สมรส เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้น หรือ คู่สมรส ไม่ว่าจะมีเพศใดก็ตาม
    บุคคลสามารถหมั้นและสมรสกันได้ เมื่อทั้งสองฝ่าย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
    เมื่อบุคคล 2 คน ไม่ว่าจะเพศเดียวกัน หรือต่างเพศกัน จดทะเบียนสมรสร่วมกันแล้ว ก็จะมีสภานะ "คู่สมรส" ดังนั้น ก็จะไปเข้าเงื่อนไขในกฎหมายอื่น ๆ ที่รองรับสิทธิประโยชน์ของ "คู่สมรส" เช่น สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส, สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญา เช่นเดียวกับสามี-ภรรยา, สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต, สิทธิรับบุตรบุญธรรม, สิทธิการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย, สิทธิจัดการศพ, สิทธิได้รับประโยชน์ และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงคู่สมรส ยังสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ พร้อมรับรองถึงกฎหมาย หรือระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีใด อ้างถึงสามี ภริยา หรือสามีภริยา ให้ถือว่าอ้างตามคู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ด้วย
    นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทน และเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีคู่หมั้น หรือคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง ไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าเพศใด ให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน (จากเดิมฟ้องไม่ได้ เช่น หาก สามีไปมีชายอื่น ฟ้องหย่าไม่ได้ แต่กฎหมายใหม่ฟ้องหย่าได้)
    ภายหลัง ที่ประชุมสภาฯ ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว คุณบรู๊ค ดนุพร ปุณณกันต์ ในฐานะประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย พร้อมด้วย นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย /ครูธัญ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงความสำเร็จของสภาฯ ที่ได้ให้ไว้กับประชาชนในการร่วมกันกับทุกพรรค ผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ก่อนปิดสมัยประชุม ในเดือนเมษายน
    คุณบรู๊ค ดนุพร บอกว่า การผ่านร่างกฎหมายครั้งนี้ แม้จะมี สส.บางท่าน มีข้อจำกัดในด้านศาสนา ไม่สามารถโหวตเห็นชอบได้ แต่ ถือว่าทุกคนมีความสมัครสมานสามัคคี ไม่แบ่งว่าเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ขั้นตอนหลังจากนี้ จะไปสู่ประชุมวุฒิสภา ให้ความเห็นชอบ ก่อนมีผลบังคับใช้ต่อไป
    ส่วน ครูธัญ ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ บอกว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียม วันนี้ ได้ให้สิทธิ ศักดิ์ศรี สวัสดิการ กับกลุ่มคนทุกเพศ แต่ยังมีสเต็ปที่ต้องก้าวต่อไป (หมายถึงยังมีกฎหมายอัตลักษณ์ทางเพศ เรื่องของคำนำหน้านาม ที่จะตามเข้ามาสู่การพิจาณรา ในสมัยประชุมหน้า ) หลังแถลงเสร็จ ทั้ง 3 ท่าน มีการทำมือเป็นรูปหัวใจด้วย
    อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : ch3plus.com/news/social/ruang...
    -------------------------
    รายการ #เรื่องเด่นเย็นนี้
    เรื่องเด่นเย็นนี้ วันที่ 27 มีนาคม 2567
    ออกอากาศ ทุกวันจันทร์ - ศุกร์
    ทางช่อง 33 HD เวลา 16.30 - 18.00 น.
    ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
    ch3plus : www.3plusnews.com
    facebook : / 3plusnews
    Twitter : / 3plusnews
    TH-cam : / 3plusnews
    TikTok : / 3plusnews

ความคิดเห็น • 28

  • @user-gr2oj2os2j
    @user-gr2oj2os2j หลายเดือนก่อน +6

    ดีค่ะ ใครมีชู้ก็สามารถ​ฟ้องหย่าได้ครอบคลุมทุกเพศด้วย เยี่ยมๆๆๆ

  • @prakobonsri3388
    @prakobonsri3388 หลายเดือนก่อน +5

    สุดยอดประเทศไทย

  • @aoypalm4289
    @aoypalm4289 14 วันที่ผ่านมา

    ดีใจที่ทุกอย่างเท่าเทียบกันทุกเพศ

  • @chaiyasitlakhawijit3482
    @chaiyasitlakhawijit3482 หลายเดือนก่อน +9

    ดีใจด้วยครับผมขอชื่นชมทั้งเพื่อไทยและ.ก.ก.ที่ช่วยกันผลักดันจนกฎหมายได้ผ่านแน่นอนครับ

    • @darkyuzuruotonashi1524
      @darkyuzuruotonashi1524 หลายเดือนก่อน

      ผ่านชัวร์เลย

    • @Olga-Olga827
      @Olga-Olga827 หลายเดือนก่อน

      อยากเห็นธนาธรแต่งงานกับพิธา เศรษฐาแต่งงานกับทักษิณ จังค่ะ คงประหลาดดีพิลึก 🤣🤣😂😂
      ไม่เอา Wokeism, ไม่เอา Western cultural Imperialism จร้า

  • @user-ft6gg5kt7t
    @user-ft6gg5kt7t 5 วันที่ผ่านมา

    ขอบคุณขอบคุณขอบคุณ❤❤

  • @user-pt2su9ii7m
    @user-pt2su9ii7m หลายเดือนก่อน

    ใช้ได้วันไหนเอ่ย🎉🎉❤❤

  • @DD-uw9xq
    @DD-uw9xq หลายเดือนก่อน +1

    🎉🎉🎉🎉🎉🎉

  • @chanampon7756
    @chanampon7756 18 วันที่ผ่านมา

    ดีเหมือนกันแบบนี้ฟ้องได้ทุกเพศเท่าเทียมกันหมด

  • @user-us6lq3my8u
    @user-us6lq3my8u 9 วันที่ผ่านมา

    เมื่อไหร่จะสมรศได้

  • @mr.perunsakkampnath4564
    @mr.perunsakkampnath4564 หลายเดือนก่อน

    อุบาก

    • @chanampon7756
      @chanampon7756 18 วันที่ผ่านมา

      ฉลาดน้อยอีกละ

  • @teelee8480
    @teelee8480 หลายเดือนก่อน +4

    สิทธิ์ในสินสมรส และสิทธิ์ในบุตรล่ะคับ เท่าเทียมคู่ชายหญิงใหม่ ผมกับผัวชาวจีนอยากมีลูกด้วยกันสักคน

    • @sriwichaisriwichai-je4ub
      @sriwichaisriwichai-je4ub หลายเดือนก่อน

      น่าจะเท่าเทียมกันทั้งหมดนะ เพราะเขาใช้คำว่า "เท่าเทียม"

    • @pepsiguitarlist6496
      @pepsiguitarlist6496 หลายเดือนก่อน +1

      ​@@sriwichaisriwichai-je4ub ผ่านแค่สมรสเท่าเทียมแต่บุพการีลำดับแรกถูกตีตก

    • @XGus
      @XGus หลายเดือนก่อน

      หมายถึง ชาย+ชาย ต้องการมีบุตรในสายเลือด ใช่ใหม

    • @Norratee05
      @Norratee05 หลายเดือนก่อน

      อันนี้ยังไม่มีนะครับเพราะเขายังถกเถียงกันอยู่เรื่องบุพการีลำดับที่1 ว่าจะใช้อย่างไร แต่การจะมีบุตร หรืออุ้มบุญก็เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเลยครับ ถ้าอุ้มบุญก็ลองไปศึกษาและ ปรึกษาแพทย์และทนายดูครับ เพราะต้องทำหลายอย่างเลย😊

  • @Thepdee_mep_studio
    @Thepdee_mep_studio หลายเดือนก่อน +2

    ไม่ต้องรอก้าวไกล เพื่อไทยก็ทำได้

    • @darkyuzuruotonashi1524
      @darkyuzuruotonashi1524 หลายเดือนก่อน +3

      ตลกดี

    • @user-rl4cj4en3g
      @user-rl4cj4en3g หลายเดือนก่อน +1

      แปลก เนอะส่วนใหญ่โหวด เห็นด้วย😂 มีแค่ 10 ที่ไม่เห็นด้วย😂

    • @XGus
      @XGus หลายเดือนก่อน

      @@user-rl4cj4en3g ใครมั่งนะ 😂

    • @themaximoff2949
      @themaximoff2949 หลายเดือนก่อน

      ก็มีมั่งสีสั่น 5555

    • @Thepdee_mep_studio
      @Thepdee_mep_studio หลายเดือนก่อน

      @@user-rl4cj4en3g แล้วก้าวไกลทำอะไร วันๆนึง นอนจากเป็นฝ่ายค้านในสภา 🤣