THAI SME-GP : ทางรอด SME ด้วยโอกาสตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 ก.พ. 2021
  • มาตรการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
    ความเป็นมา
    กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 โดยกฎกระทรวงกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ได้ขึ้นบัญชีรายการพัสดุและบัญชีรายชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
    สิทธิประโยชน์
    1. กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือก : กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการ และสินค้าหรือบริการของ SME ที่ สสว. ได้ขึ้นบัญชีไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการ SME โดยให้หน่วยงานของรัฐ ดำเนินการดังนี้
    (1) พิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดของหน่วยงานของรัฐก่อนเป็นลำดับแรก
    - หากมีผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกจากรายชื่อที่อยู่ในบัญชีนั้น
    - หากมีผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่จังหวัด น้อยกว่า 3 ราย ให้พิจารณาจากบัญชีรายชื่อที่ สสว. ขึ้นบัญชีไว้ทั้งหมด
    - หากไม่มีรายชื่อผู้ประกอบการ SME ตาม (1) และข้อ (2) ให้จัดซื้อจัดจ้างตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
    (2) กรณีจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) : ให้แต้มต่อด้านราคาแก่ SME ร้อยละ 10 หากผู้เสนอราคาเป็น SME ตามบัญชีรายชื่อที่ สสว. ได้ขึ้นบัญชีไว้ สามารถเสนอราคาได้สูงกว่าราคาต่ำสุดของผู้เสนอราคารายอื่นไม่เกินร้อยละ 10 โดยระบบ e-GP จะคำนวณคะแนนให้อัตโนมัติ
    เงื่อนไขสำคัญ
    เป็นผู้ประกอบการ SME ที่ขึ้นทะเบียนสินค้า/บริการ ไว้ที่ thaismegp.com ที่คุณสมบัติเป็นไปตามนิยาม SME ที่ สสว. กำหนด (ธูรกิจภาคการผลิต รายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี ธุรกิจภาคการค้า ภาคบริการ ไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อปี)
    การขึ้นทะเบียน
    SME ขึ้นทะเบียนออนไลน์ด้วยตนเองที่ www.thaismegp.com
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 6

  • @SMEONETH
    @SMEONETH  3 ปีที่แล้ว +1

    www.thaismegp.com

  • @noteks3378
    @noteks3378 3 ปีที่แล้ว +2

    ทางทฤษฎีดูดีนะ แต่ในทางปฏิบัติสวนทางกัน ทำงานซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
    เพิ่มปัญหาและขั้นตอนให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย
    หน่วยงานแต่ละหน่วยทำงานกันคนละแบบ เพราะความเข้าใจในระเบียบที่แตกต่างกัน
    ยิ่งในสภาวะแบบนี้ ยิ่งเป็นการสร้างภาระ เพิ่มต้นทุน และไม่รู้ว่าเป็นต้นตอของปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างได้ไหม

    • @khaijioii
      @khaijioii 2 ปีที่แล้ว

      แต่ละหน่วยงาน โดยฉพาะระดับใหญ่ๆ พยายามหาผลงาน โดยไม่ได้คำนึงถึงความคุ้มค่าที่ได้รับ

  • @moonoy501
    @moonoy501 3 ปีที่แล้ว +2

    ไม่น่าจะเป็นทางรอดนะคะ น่าจะเป็นทางตันมากกว่า ข้ามเขตไม่ได้คือตายอย่างเดียวเลย อยู่นนทบุรีแต่ลูกค้าอยู่กทม. ฆ่ากันชัดๆ ยิ่งสถานการณ์แบบนี้ด้วย มาตรการนี้ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเลยเป็นการซ้ำเติม รอปิดกิจการได้เลย

  • @wertypop1255
    @wertypop1255 3 ปีที่แล้ว +1

    เหมือนจะช่วยแต่ทำให้บริษัทจังหวัดอื่นพังเพราะว่าไม่ได้รับการพิจารณาเป็นอันดับแรกสต๊อกของวางแผนเป็นปีสุดท้ายขายไม่ได้เพราะในจังหวัดก็มีสุดท้ายเจ๊ง