วีรพร นิติประภา: เพราะสังคมไทยเลี้ยงคนไม่โต การอ่านจึงสำคัญ - The Moment

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 12 ต.ค. 2024
  • “สังคมเรามันเลี้ยงคนไม่โตอะ ให้ทำนู่นนี่นั่น แต่ไม่พยายามให้เขายืนได้ด้วยตนเอง”
    .
    ‘วีรพร นิติประภา’ หรือ ‘พี่แหม่ม’ นักเขียนนวนิยาย เจ้าของรางวัลซีไรต์ 2 สมัย ให้เวลานั่งคุยยาว ๆ ในรายการ The Moment ถึงเรื่องราวส่วนตัวที่มีทั้งเล่าออกอากาศได้ และเรื่องที่ขอเก็บไว้เมาท์กันหลังไมค์ ก่อนจะฉายภายให้เห็นแนวคิดในการเลี้ยงลูก และความหมายของการมีชีวิต ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับ ‘การอ่าน’ อย่างยากที่จะแยกได้
    .
    “พี่ก็หวังว่าเขา (ลูกชาย) จะเป็นนักอ่านที่แตกฉาน หาทางไปเองได้ สมมติฉันตกท่อตาย เธอก็ยังอยู่ได้ ซึ่งก็ดังคาด เขาก็ไม่ได้มีชีวิตพิเศษกว่าใคร ก็มีช่วงที่เขาผิดหวัง มีช่วงที่เขาลำบาก ช่วงที่เขารู้สึกแย่ แล้วเขาก็มีหนังสือ ดูเหมือนเขาจะฉลาดขึ้นทุกครั้ง นั่นหมายความว่าการอ่านช่วยให้เขาสามารถเข้าใจชีวิตเขาเอง โครงสร้างของปัญหา แล้วก็ผ่านอุปสรรคได้” พี่แหม่มกล่าวถึงผลสำเร็จจากการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับลูกชาย
    .
    ในขณะเดียวกันก็ย้ำให้เห็นว่า การอ่านสำคัญต่อการพัฒนาของประเทศชาติ เพราะเป็นดั่งเครื่องมือให้เหล่านักอ่านใช้เสาะแสวงหาความหมายของการมีชีวิต
    .
    “เราไม่คุยกันเรื่องชีวิต ไม่เหมือนประเทศอื่นที่จะถามว่าชีวิตคืออะไร เราไม่ได้ถามเด็ก ๆ ว่า ชีวิตคืออะไรเลย เขาคิดว่าชีวิตคืออะไร แล้วคนส่วนใหญ่ แม้กระทั่งคนโต ๆ หรือคนแก่ ก็คือเกิดมาทํางานจ่ายภาษีแล้วก็ตาย
    .
    “เราไม่แสวงหาความหมายของการมีอยู่ของ ซึ่งมันสําคัญที่สุด แล้วมันสําคัญสําหรับประเทศชาติด้วย เราไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นมนุษย์งานแล้วก็ตาย…”
    .
    ติดตามบทสัมภาษณ์ของนักเขียนนวนิยายระดับตัวแม่ ที่ใช้ ‘ความเป็นแม่’ ขับเคลื่อนการเขียน และขับเคลื่อนสังคม ไปพร้อมกัน ที่คลิปด้านล่าง
    .
    นาที 1.19 ซิกเนเจอร์ของพี่แหม่ม วีรพร นิติประภา
    นาที 2.02 ใฝ่ฝันอยากเป็น 'นักร้องลูกทุ่ง' นาที2.39 เรียนเลขานุการ-ทำงานฆษณา ก่อนเป็นนักเขียน
    นาที 5.30 เริ่มเขียนนวนิยายตอนอายุ 48 ปี
    นาที 6.03 'ลูกชาย' คือแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือ
    นาที 9.25 มีเหตุผลอะไรที่เราต้องหยุดโต ** (การเติบโตคือทั้งชีวิต ถ้าคุณไม่คิดว่าชีวิตนี้คือการเติบโต ก็คือคุณแก่แล้วพัง)
    นาที 10.59 การมีลูกเป็นการเติบโตทางใจ
    นาที 13.26 ทำไมต้องปลูกฝัง 'นิสัยรักการอ่าน' ให้ลูก
    นาที 16.20 การอ่านสำคัญกับประเทศชาติอย่างไร?
    นาที 18.40 ปัญหาที่มากับ 'ชุดนักเรียน'
    นาที 19.50 สิ่งที่น่าเห็นใจสำหรับ 'เด็กรุ่นใหม่'
    นาที 23.27 ความหมายของ 'ชีวิต' สำหรับวีรพร นิติประภา
    .
    สัมภาษณ์: พาฝัน ศรีเริงหล้า
    ลำดับภาพ: สิมิลัน จำนงค์ทอง
    .
    #ThePeople #TheMoment #วีรพร_นิติประภา #นักเขียน #ซีไรต์ #แม่ #ความหมายของชีวิต #การอ่าน #หนังสือ

ความคิดเห็น • 14

  • @donutsomsay6402
    @donutsomsay6402 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา +12

    ชอบฟังมากค่ะ ยิ่งตอนที่บอกว่าเด็กเจนz ไม่สามารถคุยกับผู้ใหญ่เจนอื่นๆได้ หรือคุยได้ยาก เราว่ามันใช่มากๆ

    • @MikeThena
      @MikeThena 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา +1

      ใช่ครับ ขนาดแชทใน IG ยังดองเลยครับ จะไปคุยกับใครรู้เรื่อง

  • @zukitdesign
    @zukitdesign 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา +4

    😊 ประเด็นน่าสนใจ

  • @whateverwethought
    @whateverwethought 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา +2

    สนุกมากครับ ชอบไอเดียเรื่องการใช้ชีวิต แล้วก็เรื่องการเปิดให้ลูกค้นหาพื้นที่ และความเป็นตัวของเค้าเอง

  • @Siriyapage
    @Siriyapage วันที่ผ่านมา +6

    ชอบอีพีนี้มาก ๆ เลยค่ะ

  • @niang_fatfinger
    @niang_fatfinger วันที่ผ่านมา +4

    ขอบคุณที่กล้าสอน แล้วเรื่องแชร์ข่าวเฟคนิวส์นี่มีวิธีรับมือมั๊ยคะ อยากทราบการรับมือกับการแชร์เฟคนิวส์มากเลยค่ะ

  • @chutbodeesiripoon8041
    @chutbodeesiripoon8041 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา +4

    --โครตดี--

  • @Stoppollution
    @Stoppollution 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา +1

  • @kimjin7512
    @kimjin7512 วันที่ผ่านมา +2

    ฟังจบแล้วอยากไปหาหนังสืออ่านมาดองแล้วครับ😅

  • @sivapornmiyauchi9942
    @sivapornmiyauchi9942 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา +2

    ปัญหาบ้านคนรวยอะนะ…..

  • @papuatv9835
    @papuatv9835 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา +2

    เรื่องแต่งชุดนักเรียน ไม่ได้ทำให้เกิดการปิดกั้นความคิดสร้างสรร คนละอย่าง อย่าเหมารวม

    • @vijjamanja
      @vijjamanja 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา +3

      ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการได้คิด การแต่งตัวก็เป็นการคิดอย่างหนึ่ง นักเรียนไม่ได้เลือกชุดก็ไม่ได้ฝึกคิดไปหนึ่งเรื่อง ไม่ได้เลือกทรงผม ไม่ได้เลือกแม้กระทั่งสีโบว์ผูกผม ฯลฯ การที่ไม่ได้เลือกอะไรมากนักก็ทำให้ไม่ได้คิดอะไรมากนัก

    • @papuatv9835
      @papuatv9835 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

      @@vijjamanja ไม่ได้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการใส่ชุดรักเรียน แต่ผมโตมาจากการเรียนโรงเรียนที่สอนให้ภูมิใจและให้เกียรติในเครื่องแบบที่ใส่ เมื่อออกนอกโรงเรียน ควรใส่เสื้อในกางเกง ไม่ใส่รองเท้าเหยียบส้น
      แต่เรื่องความคิดสร้างสรร การแสดงออกทางความคิด โรงเรียนสนับสนุนเต็มที่ ทำกิจกรรมได้ด้วยความคิดตัวเองได้เต็มที่
      การฝึกตัวเองให้มีระเบียบวินัย รู้จักเคารพ"กติกา" เป็นสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้ ซึ่ง มัน"คนละเรื่อง"กับการมีความคิดสร้างสรร ไม่ควรเอามารวมกัน
      จะอ้างว่า เด็กไม่ได้เลือกชุด จะไม่ได้ฝึกคิดได้ยังไง? ....เค้าไม่ได้บังคับให้ใส่24ชั่วโมง 7วันนะ กลับไปบ้าน ไปเดินห้างกับเพื่อนวันหยุด อยากใส่อะไร สร้างสรรอะไร ก็ใส่ไปสิ