Khorat Geopark "Cuesta & Fossil Land" TH version
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 7 ก.พ. 2025
- จากอนุทวีปอินโดไชน่า สู่ ดับเบิลเควสตา ดินแดนแห่งซากดึกดำบรรพ์เชื่อมโยงอารยธรรม 4,000 ปี จากสายน้ำลำตะคลองสู่อารยธรรมทวารวดี “ศรีจนาศะ” ไขเรื่องราวในอดีต สร้างคุณค่าให้กับวิถีชีวิตชุมชนที่นี่ โคราชจีโอพาร์ค
โคราชจีโอพาร์ค ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ รวมพื้นที่ 3167 ตารางกิโลเมตร มีความโดดเด่นทางด้านธรณีวิทยาในระดับนานนาชาติที่พบฟอสซิลไดโนเสาร์หลายพันชิ้น ฟันไดโนเสาร์มากกว่า 200 ชิ้น โดยพบไดโนเสาร์อิกัวโนดอนสายพันธ์ใหม่ของโลกแล้ว 3 สกุล มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบฟอสซิลไม้กลายเป็นหินกระจายทั้งบนผิวดินและใต้ดินในทุกอำเภอ รวมทั้ง ยังพบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์มากถึง 10 สกุล จาก 55 สกุลที่พบทั่วโลก นอกจากนั้นโคราชจีโอพาร์ค ยังมีภูมิประเทศเขาเควสตาหรือรูปเขาอีโต้ที่สวยงามสองแนวคู่ขนานที่เรียกว่า เขาดับเบิลเควสตา จำนวนมากกว่า 20 เขา
โคราชจีโอพาร์คมีความหลากหลายทางธรรมชาติของป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังที่ผูกพันกับวิถีชีวิตผู้คนมานานนับ 4,000 ปี รวมทั้ง ก่อกำเนิดอารยธรรมหินทรายที่มีอายุกว่า 1,000 ปี กระจายอยู่หลายจุดในพื้นที่
จากความโดดเด่นในแหล่งมรดกทางธรณีวิทยา ธรรมชาติ และวัฒนธรรม จำนวน 39 แหล่ง ใน 5 อำเภอ ทำให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยวจีโอพาร์คหรือจีโอทัวร์ขึ้น จำนวน 8 เส้นทาง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ช้างดึกดำบรรพ์ และไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานโคราชจีโอพาร์คทั้ง 8 เส้นทาง
โคราชจีโอพาร์คถ่ายทอดเรื่องราวผ่านเครือข่ายการอนุรักษ์ โดยขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมยังเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายโรงเรียนจีโอพาร์ค ทั้ง 5 อำเภอ มีอบรมณ์ให้ความรู้บุคลากรทางการศึกษา รวมทั้ง จัดทำหลักสูตรโคราชจีโอพาร์ค เข้ามาใช้ในโรงเรียน เครือข่ายชุมชนโคราชจีโอพาร์คดำเนินงานขับเคลื่อนภายใต้การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เชื่อมโยงกับโคราชจีโอพาร์ค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน เครือข่ายภาครัฐและเอกชน ในการดำเนินการสนับสนุนงบประมาณและโครงสร้างพื้นฐาน
การขับเคลื่อนโคราชจีโอพาร์คมีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จากการขับเคลื่อนผ่านชุมชน วัด และโรงเรียน จึงเกิดเป็นโมเดลบวร ในการดำเนินภารกิจอย่างต่อเนื่องทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมงานวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน การเพิ่มมูลค่าให้กับแหล่งท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งเสริมบทบาทกลุ่มสตรี ให้มีอาชีพผ่านการท่องเที่ยวจีโอทัวร์ ส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องราวของทรัพยากรบ้านเกิดของตนเอง เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนสืบไป