เพลงฉิ่งพระฉันเพลเรื่องกระบอก [คณะพาทยรัตน์]

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 1 ต.ค. 2024
  • ฉิ่งพระฉันเพลเรื่องกระบอก สำนวนฆ้องครูช่อ สุนทรวาทิน ‘มือเล่น’ หรือ ‘มือจริง’ และเรื่องเล่า ‘ศึกนอกศึกใน’ เป็นมาอย่างไรแน่ในความหมายครูทรัพย์ เซ็นพานิช
    ตั้งใจฟังอย่างจับใจความ ผลงานบรรเลงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ‘พาทยรัตน์’ หรือคณะบ้านใหม่หางกระเบน ตระกูล ‘เกิดผล’ โดยเฉพาะเพลง ตะท่าร่า [ตักธารา] ฝั่งน้ำ ท่าน้ำ ฟองน้ำ คลื่นกระทบฝั่ง คลื่นใต้น้ำ ที่แสดงหลักฐานร่องรอยรูปธรรม ต่อกรณี ‘ทางฆ้อง’ ที่ไม่ตีทำนองหลักอย่างคุ้นเคยปัจจุบัน
    แต่สร้างรูปแบบทำนองฆ้อง ที่จัดกระสวนใหม่ให้ละเอียดและลึกขึ้นอีกทบ เพื่อสวมทับแทนที่ทำนองฆ้องพื้นฐานปกติ เป็นจุดๆ แต่ละช่วงเพลง [ไม่ทำทั้งหมด]
    โดยเฉพาะเป็น ‘มือบังคับ’ ที่เครื่องดนตรีต่างชนิดในวงปี่พาทย์ ต้องแปรทางให้สอดคล้องกลมกลืนตามทำนองฆ้องที่ตั้งใจทำขึ้นอีกทอดหนึ่ง ฟังอย่างทางระนาดเอกที่แสดงฝีมือในผลงานชุดนี้ โดยครูวิเชียร เกิดผล
    คนระนาดถ้าใจไม่ดีจริง หมายความว่าไม่แม่นเพลงหรือทำนองหลัก ก็โดนคนฆ้องจูงลงกระโถน อย่างเรื่องเล่าครูเตือน พาทยกุล ที่ฟังจากปากครูทรัพย์ เซ็นพานิช นักระนาดรุ่นพี่ ว่านอกจากเป็นแนวหน้านำทัพ ‘พาทยโกศล’ ประชันต่างวง ยังต้องใจแข็งมั่นคงระเเวดระวังแนวหลังด้วย เพราะครูช่อคนฆ้องเวลาซ้อมกับประชันจริงตีคนละเรื่องเดียวกัน
    นัยยะหนึ่ง แนวคิดบรรเลงฆ้องเพลงหมู่รูปแบบปี่พาทย์ฝั่งธนบุรี จึงอาจเรียกเป็นภาษาปากว่า ‘ขยันตี’ หมายความว่าต่างทำหน้าที่เครื่องดนตรีเฉพาะของตน ระนาดเป็นระนาด ฆ้องเป็นฆ้อง
    ฉิ่งพระฉันเพลเรื่องกระบอก สำนวนฆ้องครูช่อ สุนทรวาทิน จึงเป็น ‘มือจริง’ ที่ไม่ได้ตีปฏิภาณเฉพาะหน้าฉับพลัน แต่ตั้งอกตั้งใจเรียบเรียงแยบคาย รวมถึงไอยเรศเพลงโหมโรงและมือเชิดตัวหก ที่ตกทอดมาถึงและรักษาไว้ได้โดย ‘พาทยรัตน์’ ด้วย [ซึ่งแน่นอนว่า เป็นมือเล่นหรือมือจริงนั้นต้องพิจารณาเฉพาะเป็นกรณีๆ]
    ควบคุมบรรเลงและฝึกซ้อมโดยครูสำราญ เกิดผล งานบันทึกเสียงเพลงไทยของศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล บันทึกเสียงโดยนายศิขิน พงษ์พิพัฒน์ เพื่อจัดทำรายการวิทยุ ‘สังคีตภิรมย์’ เผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
    พิชชาณัฐ ตู้จินดา/ เรียบเรียง
    ณัฐวิท บุญมีมีไชย/ เอื้อเฟื้อต้นฉบับไฟล์เสียง

ความคิดเห็น • 14

  • @nichaunited8234
    @nichaunited8234 3 ปีที่แล้ว +5

    ในส่วนตัวในเพลงฉิ่งเรื่องนี้จะชอบมือฆ้องที่เล่นมือแบบที่น่าศึกษา การเรียงเพลงที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกับทางฝั่งพระนคร ทางสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ฟังเพราะกันคนละมุม ชอบในส่วนของ เพลงฉิ่งตวงพระธาตุ ๒ ชั้น มือฆ้องที่เล่นมือในเพลงสรรเสริญบารมี และหัวเพลงเร็วในส่วนท้าย

  • @addya8613
    @addya8613 3 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณอาจารย์เติ้ลมากครับที่นำมาลงให้ฟังกัน เพลงพระฉันเพลงชุดนี้ของบ้านท่านครูจางวางทั่ว หายจากวงการไปนานแล้ว ดีมากที่ได้นำมาเผยแพร่และเป็นการเชิดชูในวาระชาติกาลท่านครูจางวางทั่ว ๑๔๐ ปีในปีนี้ด้วย ปัจจุบันผู้บรรเลงเพลงชุดนี้เหลือมีชีวิตอยู่เพียง ๒ คน คือคนระนาดครูวิเชียร เกิดผล ปัจจุบันอายุ ๘๓ ปี กับทนาย ทราบว่าตอนนี้วงบ้านใหม่เก็บเพลงตระโหมโรงไว้ทั้งหมด ๒๗ ตัว ทุกเพลงเป็นเพลงเก่ามีชื่อเพลงและหน้าทับกำกับจังหวะ และเขียนบอกไว้เพลงไหนต้องตีกี่เที่ยวไว้ทุกเพลง ได้ยินว่ากำลังต่อให้ลูกศิษย์สายบ้านใหม่อยู่ คงจะออกบรรเลงในเร็วๆนี้

  • @jittaratnamoungngern7449
    @jittaratnamoungngern7449 3 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณมากค่ะดิฉันเป็นคนบ้านใหม่หางกระเบนฟังแล้วไพเราะมากค่ะชอบฟังดนตรีไทยตั้งแต่สมัยเด็กๆ. แล้วเดี๋ยวนี้ก็ยังฟังอยู่. พาทยรัตน์ พาทยโกศล. สวัสดีค่ะ

  • @warathepmuangchiang6552
    @warathepmuangchiang6552 2 ปีที่แล้ว +2

    ไพเราะจริงๆครับ ผมได้มีโอกาสต่อฉิ่งเรื่องนี้กับครูวิเชียร และยังใช้ซ้อมมืออยู่ตลอด ด้วยทางฆ้องที่ตียาก ตีบ่อยๆจะทำให้มือไม้คล้องตัว ยังจำได้แม่นยำดีครับ

  • @conservethaiartculture
    @conservethaiartculture 3 ปีที่แล้ว +3

    11:20 ตะท่าล่า

  • @surecomputer9539
    @surecomputer9539 2 ปีที่แล้ว +2

    ทางฆ้องดุมาก

    • @warathepmuangchiang6552
      @warathepmuangchiang6552 2 ปีที่แล้ว +3

      ตามแบบฉบับบ้านพาทยโกศลครับ ผมก็ศึกษาทางเพลงของที่นี่ มือฆ้องเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ตียากมาก ต้องต่อมือถึงจะตีได้ นี้แหละครับคือสเน่ห์ของเพลงบ้านนี้

  • @phapiroonilk8860
    @phapiroonilk8860 2 ปีที่แล้ว +1

    21:44 ฝั่งน้ำ

  • @phapiroonilk8860
    @phapiroonilk8860 2 ปีที่แล้ว

    25:17 ทะเลบ้า

  • @somchithamathappa9906
    @somchithamathappa9906 2 ปีที่แล้ว

    รูปที่ขึ้นจอ คือครูท่านใดครับ

    • @KOTAVAREE
      @KOTAVAREE  2 ปีที่แล้ว

      ครูช่อ สุนทรวาทิน ครับ

  • @Iwasbornin_
    @Iwasbornin_ 3 ปีที่แล้ว +4

    ผมเข้าใจมาตลอดปนกับคิดเองเออเองว่า คุณหลวงทับ ในตระกูลท่านคงมีพื้นเพละแวกใกล้ๆเคียงๆกับพระราชวังอยุธยาในยุคนั้น ทางเพลงส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงในพิธีกรรม แล้วมาดัดแปลงใส่เครื่องอื่นๆในช่วงสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ที่มีเครื่องชิ้นใหม่ๆเพิ่มขึ้นมา จากทางฆ้องที่มีอยู่เดิมของท่านตามที่ได้ยินมา ต่อมาในยุคของบุตรชายของท่านอย่างนายทั่ว ต่อมาเป็นจางวางทั่ว ท่านก็เริ่มแต่งพวกเพลงรับร้องเสภาขึ้นเรื่อยๆ ขณะเป็นนักดนตรีประจำวังบางขุนพรหม

    • @KOTAVAREE
      @KOTAVAREE  3 ปีที่แล้ว

      ขอบพระคุณครับ