เลือกหัวขาตั้งอย่างไรให้จบ ไม่น้ำตาตกใน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 23 ก.ย. 2024
  • ใน Content ก่อนหน้าที่พี่โก๊ะแนะนำเรื่องการถ่ายภาพให้คมชัดว่าให้ใช้ขาตั้งกล้อง ก็เลยนึกได้ว่า ไม่ได้พูดเรื่องขาตั้งมานานมากแล้ว และตอนนี้เทคโนโลยีก็พัฒนาไปหลายอย่างละ วันนี้เรามาคุยเรื่อง หัวขาตั้ง กันสักหน่อย เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้หัวขาตั้งให้เหมาะกับงานและความชอบของเรา
    เริ่มจากเบสิค หัว Pan Head หรือหัวแพน หัวสามทาง แล้วแต่จะเรียกนะครับ อันนี้จะเหมาะกับการตั้งกล้องที่คุมทิศทางกล้องแยกจากกันในแต่ละแกน ต้องการความแข็งแรงสูงมากๆ กล้องใหญ่ หนัก อย่างการใช้กล้อง View กล้องวิดิโอ กล้อง Medium เลนส์ Super Telephoto มักใช้หัวแบบนี้ มันจะคุมตำแหน่งภาพได้ละเอียดมาก สามารถปรับนิดๆ หน่อยๆ ในแต่ละแกนได้เลย เวลาพี่โก๊ะทดสอบเลนส์กับกล้องด้วยชาร์จทดสอบ จะใช้หัวแพนเป็นหลัก ถ่ายภาพในสตูดิโอ Interior จะเหมาะมาก
    ข้อเสียของหัวแพนสมัยก่อนคือ ใหญ่และหนัก มีก้านเกะกะเวลาเดินทาง แต่รุ่นใหม่ๆ มีการออกแบบให้ก้านพับเก็บไว้ ใช้วัสดุที่เบาลงด้วย
    ถัดมาเป็นหัวที่คนนิยมใช้กันมากที่สุด คือ Ball Head จุดหมุนจะใช้บอลโลหะ ทำให้สามารถเคลื่อนกล้องได้อิสระแทบจะทุกทิศทาง ปรับได้เร็วมาก มีความแข็งแรง น้ำหนักเบา ปรับความหนืด และมีลูกเล่นต่างๆ ให้ใช้งานอีกหลายอย่าง เหมาะกับการถ่ายภาพแทบทุกอย่าง หัวบอลจะมีแบบปกติ และ Low Profile คือแกนบอลจะสั้น ทำให้มีความแข็งแรงสูง รับน้ำหนักได้เยอะกว่า หัวบอลจะไม่ค่อยมีอะไรยื่นออกมาเกะกะ เหมาะกับการเดินทางมากๆ
    หัวบอลไม่เหมาะกับการปรับตั้งทีละแกน มันจะปรับตำแหน่งยากกว่า เวลาล็อคอาจจะมีการขยับตำแหน่งบ้าง จึงไม่เหมาะกับงานละเอียดมากๆ
    Fluid Head หรือหัวแพนสำหรับงานวิดิโอ จะคล้ายๆ หัวแพน แต่ไม่สามารถปรับเอียงได้ ปรับได้เฉพาะแนวก้มเงยเท่านั้น หัวจะมีระบบปรับความหนืด เพื่อควบคุมไม่ให้หัวเคลื่อนที่เร็วเกินไป ให้ความนุ่มนวลเวลาเคลื่อนที่ รับน้ำหนักได้เยอะมาก เหมาะกับการถ่ายวิดิโอ มักจะตั้งความหนืดได้ด้วย
    Fluid Head ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพนิ่ง เพราะปรับแกนได้จำกัด ใหญ่ หนัก และเกะกะ แต่พวกใช้เลนส์ Super Telephoto จะชอบใช้เพราะแข็งแรงมาก และแพนกล้องได้นุ่มนวล
    Gimbal Head มักเรียกกันว่าเขาควาย เอาไว้ตั้งเลนส์ Super Telephoto มีความแข็งแรงสูงมาก สามารถเคลื่อนตัวได้เร็ว คล่องตัว ปลอดภัยว่าเลนส์จะไม่พลิกกระแทกกับขาตั้ง ที่สำคัญคือ ปรับสมดุลน้ำหนักที่ตกลงขาและตำแหน่งหมุนให้อยู่กลางเลนส์ได้ด้วย ทำให้เวลาใช้เลนส์ Super Telephoto จะสะดวก
    ข้อเสียคือ จะมีการสั่นไหวบางๆ เพราะว่าแก้นมันยาว น้ำหนักสูง และเกะกะอยู่พอควร เหมาะกับงานเฉพาะกิจ ไม่เหมาะกับการตั้งกล้องเพื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ นานๆ นะครับ
    Panoramic Head ออกแบบสำหรับการถ่ายภาพพาโนรามาโดนเฉพาะ สามารถตั้ง Nodal Point ได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้ถ่ายพาโนรามาแบบหลายชั้นได้โดยไม่เกิดพาราแรกซ์กับวัตถุระยะใกล้
    ข้อเสียคือ หนัก และมีชิ้นส่วนเยอะมาก มีโอกาสสั่นไหวสูงถ้าเจอลมปะทะแรง ควรใช้เฉพาะการถ่ายพาโนรามามากกว่า
    2Way Head เป็นหัวแพนที่เคลื่อนทีได้ 2 ทิศทางเท่านั้นคือ ไปด้านข้างกับก้มเงย เหมาะกับ Monopod เลนส์ Super Telephoto ทำงานได้เร็ว คล่องตัว น้ำหนักเบา และแข็งแรงมาก และยังใช้งานวิดิโอได้ด้วย แต่จะไม่นุ่มนวลแบบ Fluid Head นะครับ
    Gear Head เป็นหัวที่พี่โก๊ะชอบมากๆ ตอนหลังใช้หัวเกียร์แทนหัวบอลกับหัวแพนเลย ข้อดีของหัวเกียร์คือ ปรับได้ละเอียดยิบๆ ละเอียดกว่าหัวแพนซะอีก สามารถแยกทำงานทีละแกนได้ ในขณะที่ขนาดเล็ก ไม่มีแกนเกะกะ ทำงานได้รวดเร็ว ว่องไว เบา แข็งแรงพอตัว เหมาะกับการถ่ายภาพในทุกประเภทเลยละ ไม่ว่าจะ Landscpae Product Macro อะไรที่ต้องการความละเอียดในการปรับตั้ง หัวเกียร์เหมาะมาก
    ข้อเสียมีบ้างตรงระยะฟรีของเกียร์มีบ้างเล็กน้อย และความแข็งแรงไม่เท่าหัวบอลหรือหัวแพน โดยรวมแล้วเป็นหัวที่แนะนำให้ใช้งานเป็นอย่างยิ่งนะครับ
    ตอนนี้เราก็พอจะรู้จักหัวขาตั้งหลักๆ ในตลาดแล้วนะครับ ส่วนยี่ห้อไหนเป็นอย่างไรก็จะแตกต่างในรายละเอียดการทำงาน เลือกให้เหมาะกับเรา โดยเฉพาะหัวเฉพาะทาง เวลาถ่ายภาพจะได้สนุกด้วย สุนทรีย์ไปด้วยนะครับ

ความคิดเห็น • 3

  • @lorthar9965
    @lorthar9965 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ

  • @kamolchon
    @kamolchon 3 ปีที่แล้ว +1

    ผมน่าจะจบ Gear Head แน่ๆเลยครับ /
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆนะครับ

  • @TheVetit
    @TheVetit ปีที่แล้ว

    ถ้าถ่ายภาพนิ่ง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ในเลนส์เทเล อันไหนคือเหมาะสมที่สุดครับ พี่โก๊ะ