ตำนานนิทานไทย เรื่อง ถนนสิบสามห้าง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 18 ม.ค. 2024
  • ตำนานนิทานไทย ชุด นามบ้านนามเมือง ตอน
    ถนนสิบสามห้าง
    เป็นอีกหนึ่งเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ภาคภูมิใจนำเสนอในแบบฉบับของ เจนภพ จบกระบวนวรรณ นะครับ ด้วยความมานะพยายามที่จะบันทึกและเก็บเกี่ยวเรื่องราวของ ตำนาน - นิทานท้องถิ่น - นามบ้านนามเมือง ให้เป็นที่เป็นทางเท่าที่จะทำได้
    เอาเท่าที่มีเวลาจะทำนะครับ สัญญาว่าจะพยายามทำไปเรื่อยๆ ครับ แต่เอากำหนดกฎเกณฑ์ไม่ได้ว่าจะต้องมีเป็นประจำทุกเมื่อนั่นเมื่อนี่ เพราะ ช่องสถานีเจนภพ มีหลายคอลัมน์ ครับ ก็เลยต้องสลับๆ กันไปตามโอกาสอำนวย
    วันนี้ นามบ้านนามเมือง พาไปเดินเตร็ดเตร่แถวๆ บางลำพู นี่เองครับ บางลำพู บางทีก็ถนัดหรือชอบที่จะเขียนว่า บางลำภู นะครับ ไม่ทราบเหตุผลเหมือนกัน น่าจะเป็นเพราะ ภ สำเภา มันสวยกว่า พ พาน ก็เป็นไปได้
    ไม่ทราบว่า ท่านคุ้นเคยกับชื่อ ถนนสิบสามห้าง หรือไม่ครับ หรือ คุ้นชื่อแต่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน? เอาล่ะ วันนี้มีคำตอบครับ
    กราบขอบพระคุณ บทความ หรือ สารคดีดีๆ ของ ท่านสมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี นะครับ ท่านเขียนเรื่อง ถนนสิบสามห้าง ไว้ได้ละเอียดมากๆ ใฅรสนใจเชิญไปค้นหามาอ่านได้เลยครับ ละเอียดยิบเต็มไปด้วยข้อมูลหลักฐานแน่นๆ เชิงวิชาการเลยครับ อาจจะอ่านยากไปนิด ก็เป็นธรรมดาของบทความ หรือ สารคดีเชิงวิชาการที่จะต้องอุดมสมบูรณ์ด้วยรายละเอียดที่ค้นคว้ามานี่แหละครับ ถ้า ขี้เกียจอ่านก็แนะนำว่า พาลูกหลานไปเที่ยว “ พิพิธบางลำพู “ สักครั้งสองครั้ง ดีมากๆ จะทำให้เรารู้จัก บางลำพู ได้เป็นอย่างดีเลยครับ และ ถือเป็น ซิตี้มิวเซียมตัวอย่าง ที่สมควรเอาเยี่ยงไปสร้างที่อื่นๆ อย่างนี้ด้วยให้ทั่วประเทศไปเลย จะทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งครับ
    ถนนสิบสามห้าง สร้างขึ้นมาในรัชสมัย ในหลวง รัชกาลที่ ๕ ครับ แต่ระบุปี พ.ศ.แน่นอนไม่ได้ สร้างจำลองหรือถอดแบบอย่างมาจาก มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ที่กลุ่มพ่อค้าชาวจีนรวมตัวกันแล้วสร้างเป็นเหมือนอาคารสมาคม มีไว้ทำมาค้าขายและคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เหตุที่ชื่อ สิบสามห้าง ก็เพราะพ่อค้าเขารวมตัวกันตั้งร้านค้าได้ ๑๓ ร้าน ๑๓ ห้าง นั่นเอง
    พ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาทำมาค้าขายในประเทศไทย โดยเฉพาะในละแวกบางลำพู เป็นพ่อค้าชาวจีนกลุ่มใหญ่ที่ทำให้กิจการค้าขายในละแวกนี้เจริญรุ่งเรืองมาก ในหลวง รัชกาลที่ ๕ ท่านโปรดให้สร้างถนนขึ้นมาในพื้นที่เมืองพระนครอยู่แล้ว ที่นี่ก็เช่นกัน โปรดให้ถมคลองแล้วสร้างเป็นถนน สอดรับกับการก่อสร้างอาคารร้านค้าอยู่ริมคลองเดิมเหมือนในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ในที่สุดจึงเรียกขาน ถนนที่สร้างใหม่เส้นนี้ว่า ถนนสิบสามห้าง
    อาคารปัจจุบันที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ริมถนนสิบสามห้าง ไม่ใช่อาคารเก่าแก่ตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๕ นะครับ แต่เป็น อาคารสร้างใหม่สมัย ในหลวง รัชกาลที่ ๙ ส่วน อาคารเดิมอีกส่วนหนึ่งอันเป็นที่ตั้งของ ไปรษณีย์บางลำพู อันนั้น สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ ๗ แต่ทั้ง ๒ อาคารที่เราเห็นในปัจจุบันก็ล้วนตั้งอยู่บนที่ตั้งของอาคารเดิมนั่นเอง
    ถนนสิบสามห้าง มีความยาว เพียงแค่ ๑๕๐ เมตร เท่านั้นเอง คู่ขนานไปกับ ถนนบวรนิเวศน์ ปัจจุบันมีสวนหย่อมขนาดเล็กคั่นกลางอยู่ ซึ่งสวนหย่อมนี้ก็สร้างขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๑๙ นี่เอง โดยพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนหย่อมที่ปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของส้วมสาธารณะของ ก.ท.ม.ก็คือ หลุมหลบภัยเดิม ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒
    ถนนสิบสามห้าง นี่ย้อนกลับไปเมื่อราวๆ เกือบ ๗๐ ปีที่แล้ว ในห้วงเวลาของ ปี พ.ศ.๒๔๙๙ - ๒๕๐๑ เป็นที่ชุมนุมของบรรดาขาโจ๋ในยุคอันธพาลครองเมือง ซึ่งมีเรื่องเล่าขานกันมายาวนานจนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์โด่งดังด้วย เพราะบริเวณแถบนี้ทั้งหมดถือว่าเป็นแหล่งเศรษฐกิจการค้าขายที่เฟื่องฟูมากๆ ในยุคสมัยนั้น แม้ในปัจจุบัน บางลำพู กับ ถนนสิบสามห้าง ก็ไม่ใช่เมืองร้าง ถนนร้าง แต่อย่างใด
    ทั้งหมดนี้คือ สาระดีๆ ที่ คอลัมน์ “ ตำนานนิทานไทย “ ของ ช่องยูทูปช่องสถานีเจนภพ พยายามนำเสนอครับ ได้โปรดร่วมกันกดไลค์ กดแชร์ กดซับสะไคร้ ติดตามเป็นกำลังใจกันด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
    ============================================
    ติดต่อประสานงานหรือถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
    -081-815-4247,097-160-7761
    ติดตามเจนภพได้ที่
    Facebook : เจนภพ จบกระบวนวรรณ
    TH-cam : สถานีเจนภพ
  • เพลง

ความคิดเห็น • 4

  • @ekalukkhamplod1721
    @ekalukkhamplod1721 4 หลายเดือนก่อน

    ชอบมากครับอาจารย์ เปิดความรู้ใหม่เลยครับผม

    • @user-sp2wf8rl2i
      @user-sp2wf8rl2i  4 หลายเดือนก่อน

      ขอบพระคุณนะครับ

  • @sukonsiripoksup8981
    @sukonsiripoksup8981 4 หลายเดือนก่อน

    พี่เป็นเด็กวัดสังเวชเมื่่อสมัยมัยมต้น คุ้นเคยกับสถานที่เหล่านี้...ชีวิตเด็กก็เป็นเด็กสตรีวรนาถเทเวศน์ภาพความทรงจำสถานที่เหล่านี้ไม่เคยลืมเลือน...ขอบคุณมากที่นำความทรงจำสถานที่เหล่านี้สู่สาธารณชน

    • @user-sp2wf8rl2i
      @user-sp2wf8rl2i  4 หลายเดือนก่อน +1

      ขอบพระคุณครับพี่ที่ยังติดตามน้องตลอดมา