พิธีทอดผ้าบังสุกุล : งานฌาปนกิจ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ต.ค. 2024
  • พิธีทอดผ้าบังสุกุล ในงานฌาปนกิจ
    ความหมายของ บังสุกุล อ้างอิงจาก wikipedia
    ก่อนอื่นคำว่าบังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล
    คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์
    การทอดผ้าบังสุกุล เป็นการทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยทอดวางผ้าไตรจีวร หรือผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดาผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ เพื่อให้ท่านพิจารณานำไปใช้ ซึ่งในงานฌาปนกิจ จะมีการใช้ภูษาโยงหรือด้ายสายโยง (สายสิญจน์) โยงจากโลงศพ หรือภาพผู้ล่วงลับ มายังพระ แล้วทอดผ้าให้ท่านพิจารณาเปรียบเสมือนสมัยพุทธกาลที่ชาวบ้านทิ้งผ้าไว้ตามป่าช้า เป็นผ้าที่เขาแขวนไว้บ้าง หรือเป็นผ้าของคนที่เสียชีวิตแล้วบ้าง บทสวดมนต์ที่นำมาสวดพิจารณาผ้าบังสุกุล จึงเกี่ยวกับความไม่เที่ยงของสังขาร
    (อะนิจจา วะตะ สังขารา)
    ลำดับพิธีงานฌาปนกิจ โดย buddhabuddha
    ก่อนที่จะเริ่มพิธีฌาปนกิจ โดยปกติแล้วทางเจ้าภาพ ญาติพี่น้อง และเพื่อน ของผู้ล่วงลับก็จะมีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลเป็นครั้งสุดท้าย โดยนิมนต์พระสงฆ์ (จำนวนตามที่เจ้าภาพต้องการ เช่น 10 รูป)
    ถวายภัตตาหารเพล
    การแสดงพระธรรมเทศนา (ถ้ามี) ภายหลังเสร็จสิ้นจากถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์แล้ว อาจจะมีการแสดงพระทธรรมเทศนา และต่อด้วยพระสงฆ์สวดมาติกาและทอดผ้าบังสุกุล จบลงที่เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร

ความคิดเห็น •