ต้องขอขอบคุณพี่หลาม เพราะในยุคที่ทุกคนมุ่งหน้าไปพัฒนาแต่ Short video ยังคงมีช่องพี่หลาม และยังคงมีผู้ชมหลายๆท่ายที่ไม่ชอบ Short video อยู่ ผมและทุกๆคนในช่องนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนในความคิดว่าไม่จำเป็นต้่องทำ short video เสมอไป หรือไม่จำเป็นต้อง Jump cut ปล่อยๆ แค่ทำคอนเท้นแบบที่คุณอยากทำ แสดงความเป็นตัวคุณออกมาก็พอ
ชื่นชมพี่หลามครับ เป็นสื่อที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อะไรไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ไม่มั่ว ไม่ปั่น ดีกว่าเผยแพร่สิ่งผิดๆออกไป
@@avalanchefx ซ้ำซากเพราะพวกที่ล้อ มันไม่มีมุกใหม่ๆไงครับ เล่นแต่เรื่องเก่าๆ เค้าไปถึงไหนกันแล้ว
อันนี้ทะเลาะกันเรื่องอะไรรึ
@@Worrapongy.0408 ไม่รู้เหมือนกันครับ กำลังหาฟังเหมือนกัน น่าจะมีประเด็นข้อมูลอะไรไม่ถูกต้อง ผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนอะไรสักอย่างนี่ละมั้ง แล้วมีผู้ชมมาคอมเม้นท์ 23:46
สวัสดีครับพี่หลาม
ผมเป็นวิศกร Prototype Engineer ของ ASML ผมทำเครื่อง EUV กับ EXE ที่เนเธอแลนด์ เป็นวิดีโอที่นำเสนอประวัติศาสตร์ของ ASML ได้ดีมากครับ แต่ตัว Technical details ของ EUV ค่อนข้างคลาดเคลื่นไปหน่อย ถ้าพี่หลามอยากได้ข้อมูลเพิ่ม ผมยินดีให้คำปรึกษาเลยครับ.
สุดยอดมากครับที่พี่หาข้อมูลได้เยอะขนาดนี้
ขอช่องทางติดต่อหน่อยครับ อีเมล หรือเบอร์โทร
อาชีพคุณแมร่งโครตเท่ห์
สุดยอดเลยครับ
สุดยอดครับ เท่ห์มากๆ
มีสัมภาษณ์พิเศษพี่ท่านนี้สักตอนคงจะดีครับ 🙏🙏
ผมชอบพี่ช่องนี้ พูดได้กลางดี ไม่เยิ่นเย้อ ไม่เลี่ยน ตรงใจคนกลางดี ได้ความรู้ ตรงไปตรงมา ชัดเจน ใช้ศัพท์ง่ายๆ เข้าใจง่าย ไม่อวย คิดเหมือนคนทั่วไป สงสัยได้ตรงคนกลางๆ พูดตามจริง กลมกล่อม ลงตัว
เอาจริงๆ ผมแอบน้ำตาซึมระหว่างฟัง อันนี้ความรู้สึกส่วนตัวนะ ผมรู้สึกได้ว่าพี่หลามเป็นตัวของตัวเองสุดๆเลยคับ สำหรับ PodShark ตอนนี้ ขอบคุณอีกครั้งนะคับ สนุกจริงๆตอนนี้
ขอบคุณมากๆครับ
เช่นกันครับ .น้ำตาซึมช่วง ไฟไหม้แล้วช่วยกันไม่ทิ้งกัน.
อีกคลิปหนึ่ง ที่แกเป็นตัวของตัวเองแบบสุดๆ ที่ทำให้รู้จักพี่หลามมากขึ้นคือตอนไปแข่ง BMX ผมโคตรชอบเลยแล้วเพิ่งรู้ว่าแกเป็นคนที่มีมุมแบบนี้เหมือนกันเป็นคนที่เจ๋งมาก
@@mercury1996 เสียดายพี่หลามไม่ได้เรียนมาทางวิทยาศาตรหลัก ยากหน่อยนะ เอาใจช่วยครับ
ขอบคุณครับพี่หลาม ผมเป็นคนกัมพูชาครับ ผมติดตาม พอร์ตชาร์จของคนตลอดมา แล้วก็ชอบมากด้วย ชอบสิ่งที่ควรวิเคราะห์และคิด แล้วจะทำให้ผมมีความ เข้าใจได้ดีด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
ชีวิตคือการเรียนรู้จนวันตายแต่ต้องยอมรับความจริง ทุกอย่างเดินหน้าเราอยู่เฉยๆ=ถอยหลัง
ติดตามพีหลามดีได้ความรู้ แต่อย่าเคลมพี่หลามนะค่ะ
ออกุนบาต ขอบคุณครับ
@@พรทิพย์อุตส่าหะ-ฦ7ฬ อ้าว มาถึงก็จับผิดเค้าเลยนะ😅
ขอชื่นชมครับ พิมภาษาไทยได้เก่งมาก
ต้องขอขอบคุณพี่หลาม เพราะในยุคที่ทุกคนมุ่งหน้าไปพัฒนาแต่ Short video ยังคงมีช่องพี่หลาม และยังคงมีผู้ชมหลายๆท่ายที่ไม่ชอบ Short video อยู่
ผมและทุกๆคนในช่องนี้ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนในความคิดว่าไม่จำเป็นต้่องทำ short video เสมอไป
หรือไม่จำเป็นต้อง Jump cut ปล่อยๆ แค่ทำคอนเท้นแบบที่คุณอยากทำ แสดงความเป็นตัวคุณออกมาก็พอ
พวกช็อตสั้นใว้ดูเพื่อความเฮฮา แก้เครียด ครับ ส่วนพอตชาค ใว้ดูเพื่อเสริมสร้างปัญญา เพิ่มตรรกระเหตุผล ไปเถียง สลิ่มเชียร์จีน 😆😆😆😆
เนื้อหาดีมากครับ ชื่นชมพี่หลามครับ ขอแก้ไขให้พี่หลามครับ Philips ก่อตั้งปี ค.ศ.1891 พี่หลามแจ้งเป็น 1981 ครับ เข้าใจว่าเนื้อหาเยอะอาจมีผิดพลาดกันได้ครับ
เป็น2ชม ที่ทำให้เกิดปัญญามากเลยครับ ขอบคุณในความตั้งใจศึกษา มาเล่าให้พวกเราฟังกันนะครับ❤🙏
ขอบคุณสำหรับความรู้และสาระดีๆครับ เล่าเรื่องได้สนุก ฟังเป็นกันเองไม่เครียด ฟังพี่หลาม แล้วรู้สึกเหมือนเข้าไป ค้นคว้าหาหนังสือ ในห้องสมุด จนเจอตำรา ที่ดีๆ ที่อ่านแล้วกระจ่าง เข้าใจง่าย จนต้องแนะนำให้คนอื่นมาอ่านต่อ ขอกราบงามๆเลยครับ
เยี่ยมมากครับ...ถ้าให้หาข้อมูลเองคงใช้เวลาเป็นเดือน ปวดหัวแทน. ผมเคยมีความรู้ทางด้าน semiconductor chemistry & physics อยู่บ้าง เมื่อปี 1986 (2529) แต่เปลี่ยน field ไปทาง biochemical engineering & genetic engineering อยู่พักหนึ่ง..ติดตาม microchip อยู่บ้าง เข้าใจ deep-uv & extream- uv , laser & laser lithography พื้นฐาน... คุณหลามเก่งมากครับ ที่อะธิบายได้ขนาดนี้ แต่ผู้ติดตามก็ต้องมีพื้นทาง physics , chemistry & Technology บ้าง ขอบคุณมากครับสำหรับ ความรู้ & ข้อสรุปของคำถามต่างๆ...ติดตามต่อครับ
ฟังเพลิน หาข้อมูลได้เก่งจริงๆ ทำอย่างไรครับจะได้ทำรายงานได้ดีๆแบบนี้
อธิบายไล่เรียงได้ดีครับ
เรื่องสิทธิบัตรที่พี่ว่ามีคนมาแย้ง เข้าใจว่าจะเป็นเรื่องของการผลิตแสงE-UVที่พี่หลามเหมือนจะเล่าข้ามไปนะครับ แน่นอนว่ากระบวนการจัดการกับแสงอาจจะเป็นของASML แต่วิธีการผลิตแสง ตัวนั้นรู้สึกจะเคยอ่านเจอว่าเป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ.... ง่ายๆคือ รัฐบาลสหรัฐมีเอี่ยวแทบจะทุกช่วงเวลา แทบจะทุกจุดสำคัญของธุรกิจเลย
อเมริกาคงให้ทุนไม่อั้น กรณีอาวุธยุทโธปกรณ์เอกชนผลิตให้ แต่จะขายให้ใครไม่ได้ถ้ารัฐบาลไม่ไฟเขียว
เครื่องรวมแสงคือบริษัท cymer ของฮอลแลนด์ครับ asml ซื้อนานแล้ว
ข้อมูลแน่น สรุปได้ดีมากจริง ๆ ครับ ทำให้มองเห็นความยากและซับซ้อนในการผลิตชิพ ผมดูบางคลิปของทาง ASML มีบางประเด็นที่ยาก ๆ ทาง physics อย่าง light diffusion ระดับคลื่อนเล็กทำให้ความคมภาพที่ยิงมันไม่ได้ แถมยังให้ข้อมูลแนวกั๊ก ๆ ไม่พูดเยอะ และมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบลึก ๆ เรื่องของผลประโยชน์อีก
ปกติเวลาฟัง PodCast จะหลับง่าย พอฟังพี่หลาม เหมือนฟังเฉลยอึ้งๆ ทุก 2 นาที นอนไม่หลับเลยครับ 🤭🤭🤭
ต้องขอชม คุณ หลามที่มีความรู้ อย่างน้อยก็พอเห็น scope ในการผลิต Chip ได้ดีมาก ผมเอง เคยทำงาน ใน โรงงาน Ic เเละ wafer fab มาก่อน ยังพอเข้าใจในหลักการ ที่คุณ อธิบาย หัวข้อวันนี้ ให้ความรู้ผมมากครับ
ฟังเพลินมากเลยครับ ฟังมาชั่วโมงครึ่งยังไม่จบ แต่ขอพักก่อน เดี๋ยวกลับมาฟังต่อ ขนาดฟังเฉยๆยังเหนื่อยเลยครับ คนพูดนี่ต้องสุดยอดจริงๆ
หาข้อมูลมาเล่า จนมีข้อมูลมาเล่าได้
เล่าเป็นขั้นตอนให้คนไม่เคยมีความรู้มาก่อนเลยสนใจฟังได้ยาวได้ (ถ้าทำโดยตัวคนเดียวก็คงไม่ต้องหลับต้องนอน) และเป็นคนที่พูดมีระดับเสียงเดิม ชัดเจน เป็นกันเอง มีแทรกในรายละเอียดในบางช่วงทำให้คนฟังไม่เบื่อ
คลิปนี้ถือว่าเป็นประโยชน์มาก เล่าได้สนุกฟังง่ายๆ ขอบคุณครับ
คุณหลามเล่าได้สนุกมาก ทำให้คนฟังก็ลืมintelไปเหมือนกัน😂
ฟังแบบไม่ไปไหนไม่เปิดเวปอื่น นั่งดูสนุกมากๆ สำหรับคนชอบคอมพิวเตอร์และอิเล็คทรอนิค ขอบคุณครับ
ชอบรายการนี้เพราะเอาคนที่ไม่รู้ แต่ใฝ่รู้แล้วเอามาถ่ายทอดให้ฟัง ฟังเข้าใจง่าย ขอบคุณมากครับ
ยอดเยี่ยมมากครับ ได้ความรู้อย่างลึกซึ้งมากๆ ผมตั้งใจฟัง เข้าสมองอย่างมากเลย
ทำไมตอนเรียนหนังสือ ไม่ตั้งใจฟังแบบนี้ว้าาา
ขอบคุณพี่หลาม สำหรับการให้ความรู้ ที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน แต่ที่ชอบที่สุดคือ ช่วงสรุป 15 นาทีสุดท้ายครับ เจอกันบ่อยๆ นะครับ
พี่หลาม clip นี้สุดยอดเลยครับ ชอบมากๆครับ รู้เลยว่าใช้เวลาในการหา เรียบเรียงข้อมูลนานขนาดไหน และ ยิ่งเอามาเรียบเรียงพูดยิ่งยากมาก ที่จะให้ฟังรู้เรื่อง ตอนฟังก็เข้าใจรู้เรื่องครับ แต่จบแล้วลืมเกือบหมด เพราะ detail เรื่องราวมันเยอะจริงๆ แต่รู้แล้วทำไม ASML ถึงผูกขาด และ US แบน จีนได้ เรื่อง chip
หนังสือ Chip way อ่านจนมึน ฟังพี่หลามแล้วไปอ่านต่อ จะได้เข้าใจง่ายขึ้น ขอบคุณเนื้อหาดีดี
ได้ความรู้ดีๆมากเลยครับ
อยากให้สรุป หลายๆกลุ่ม เริ่มจากตัวแม่ NVDA ASML TSM SMCI QCOM AVGO MU
และตัวหลักอื่นๆในอุตสาหกรรม semiconductor คับ
ต่อเนื่องไป AI 😅
ข้อมูลแน่นมากๆครับพี่หลาม ผมเคยทำงานเป็น software engineer อยู่บริษัท ผลิต semiconductor ของญี่ปุ่น ได้คลายสงสัยหลายเรื่องเลยครับ ❤
ถ้าเราสามารถซื้อเครื่องมาผลิตชิปขายเหมือนtsmc ได้น่าจะดี😄
ซื้อทัังasml canon nikon เลย
แล้วขายราคาต่างกัน
อยาก ทราบ บริษัท ที่สร้าง Giga Press สำหรับ ทำรถยนต์ ทั้งหลาย
เคยได้ยินว่าเป็นบริษัทในอิตาลี
เก่งมาก สามารถเล่าเรื่องไกลตัวดูไม่น่าสนใจ ให้ฟังสนุกได้
แจ่มแจ้งชัดเจนเลยครับพี่หลาม
เป็นคลิปที่ดีมากเลย
ช่วงนาที่ที่26 พี่หลามพูดออกมาจากใจจริงๆ ผมเข้าใจความรู้สึกพี่ครับ พี่เป็นสื่อคุณภาพและมีความรู้ให้กับผมตลอดมาหลายปี ผมเองได้ความรู้ประเทืองปัญญาจากพี่และทีมงานครับ ขอเป็นกำลังใจให้พี่ครับ❤
ฟังแล้วหลับฝันดีทุกตอน ยกเว้นตอนจักรวาลที่เอาคนอื่นมาพูดฟังไม่สนุกเลย
ฟังจนหลับ สองชั่วโมง โห แต่สนุกครับ ฟังจนเข้าใจ จนแปลกใจว่า SMIC ยังใช้เครื่อง DUV ผลิตชิปตัวใหม่ยังไงทั้งๆ ที่ yield ต่ำ อาจเป็นเพราะผลิตแผ่นเวเฟอร์ได้ถูกๆ เลยทำทิ้งทำขว้างได้หรือเปล่า?
สุดยอดพี่หลาม ฟังเสมอครับ ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และไม่ปั่น จริง เป็นจริง ไม่รู้บอกไม่รู้ นับถือครับ
นี้แหละครับจุดเด่นของพี่หลามที่คนทำตามได้ยาก ขอบคุณที่มาให้ความรู้มากๆครับทำต่อไปเรื่อยๆครับ ชอบมากๆ
ผมนึกว่าหลักการควันตั๊ม มันคือการส่งข้อมูล ไม่น่าใช่ขนาด คือปกติเราใช้ไฟฟ้าส่ง อยากไวกว่านั้นก็ส่งด้วยแสง แต่ควันตั๊ม มันสามารถส่งข้อมูลได้ไวกว่าแสง ไวขนาดที่ว่า เปลี่ยนสภานะต้นทาง ปลายทางจะรับข้อมูลทันทีโดยที่ไม่มีการเดินทางของข้อมูล แล้วปกติเราส่งผ่านตัวนำ ด้วยสถานะ ไม่ 0 ก็ 1 คือไม่ ติด(VCC) ก็ดับ (GND) ควานตั๊มมันมีสถานะมากกว่า ติด กับ ดับ ยกตัวอย่างเหมือนสถานะมันเป็นสี ที่มีมากกว่า ดำกับขาว อาจจะมีสี 1 แสนสี อันนี้สมมุติ มันก็สื่อสารได้ 1 แสนรูปแบบ ส่วนถ้าเป็นทางไฟฟ้า ทำใมมีแค่ติดกับดับ จริงๆ ติดน้อย ติดมาก ติดสุดๆ คือระดับ แรงดัน มันก็มีเรียกว่าอนาล็อก แต่มันมีความผิดพลาดได้สูง ระยะทางสั้น จริงเอามาสื่อสารไม่ได้
ยกตัวอย่าง ง่ายๆ มีคนอยู่บนตึกไม่มีอะไรสื่อสารกันได้นอกจากไฟฉาย การที่อีกคนจะสั่งอีกคนได้ คือต้องตกลงกันก่อน ว่าถ้าเปิดไฟ ให้ยืนนะ ถ้าปิดไฟ ให้นั่งลง มีไฟฉายอันเดียว มันก็ได้แค่ นั่ง กับ ยืน สั่งนอนไม่ได้ วิธีเดียว คือ ต้องเล่นกับเวลา เช่น ถ้าเห็นไฟติด ให้เริ่มจดสถานะพร้อมกับเวลา วินาทีที่ 1 ถ้าไฟเปิดก็เขียนเลข 1 วินาทีต่อไป ก็จดไปเรื่อยๆ จนครบจำนวน วินาทีที่ตกลงกัน อันนีข้อมูลมากก็ใช้เวลามาก เช่น ส่ง 250 ต้องใช้เวลา 8 วินาทีกว่าจะครบสถานะที่มีค่าถึงตรงนั้น อยากให้เร็วขึ้นก็ตกลงเวลาที่จดให้ถี่ขึ้น ก็เพิ่มความถี่ไป แต่ถ้ามีไฟฉาย 8 ดวงพอดี ง่ายเลย ไม่ต้องนับเวลา จดลำดับตามไฟฉายที่เห็นเลย ก็เมือนเพิ่มเส้นทางข้อมูล แต่ถ้าเป็นควันตั๊ม มันเหมือน มีไฟฉายจำนวนมากที่แสดงข้อมูลที่ส่งผ่านในครั้งเดียว จะเห็นว่า CPU ช้าหรือเร็ว มีปัจจัยคือเส้นทางในการส่งข้อมูลมากน้อยแค่ไหน การเดินทางของของข้อมูลรวดเร็วแค่ไหน แล้วตกลงพลังการประมวนผลคืออะไร สำหรับผมนะมันไม่มีอะไรเลยใน CPU นอกจากการส่งข้อมูล ซึ่งก็เคยได้ยิน ได้ฟังแต่ไม่ชัวว่า ไอ้ อัพควากกับดาวควาก แม้อยู่กันคนละกาแล็กซี มันสามารถมีปฏิสัมพันกันได้โดยทันที หมายความว่าไง หมายความว่า มันส่งข้อมูลกันได้แบบเรียลทาม ไม่ต้องมีตัวกลาง มันแฟนตาซีมากๆ ผมก็ไม่ได้เชื่อหรอก เล่าสู่กันฟัง ส่งไฟฟ้า เครื่องร้อนน่ารำคาญมาก แต่นั่นแหละ มันไม่สามารถใช้ได้ในสภาวะปกติ จะต้องเย็นจัดมากๆ ซึ่งเท่าที่รุ้เย็นขนาดที่ว่าตัวนำแทบไม่มีความต้านทาน
อันนี้อธิบายได้ดีได้ถูกต้องเลยครับ เหมือนพี่หลามจะไปเข้าใจผิด เกี่ยวกับขนาดว่าทรานซิสเตอร์ ต้องเล็กเท่า ควอนตัม
มีประโยชน์มากเลยครับ เพื่อมีใครกำลังจะพัฒนาอุตสาหกรรม จะได้ดูคลิปนี้
ขอบคุณในการค้นคว้าข้อมูล แล้วมาสรุปให้พวกเราฟังครับ
คลิปพี่หลามดีมากครับ ผมเปิดไม่เกิน5นาที หลับสบาย ผมหลับยากด้วยครับ คลิปดีมากๆ 😂😂 แซวๆๆ🙏
ฟังเพลินมากครับ 1ชั่วโมง 57นาที ฟังตั้งแต่เริ่มจนจบโดยไม่กดข้ามเลย ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆครับ
ชอบ ep. นี้มากเลยครับ ข้อมูลแน่นๆ
แต่ขออนุญาตเสริมช่วงท้ายที่พูดผิดเกี่ยวกับ Quantum computers นิดหน่อยนะครับ
มันไม่ได้ใช้ transistor ครับและไม่เกี่ยวอะไรกับการย่อขนาด transistor ครับ เป็นคนละทฤษฎีเลย
classical computers ใช้ transistor เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับ digital logic (0 และ 1)
ส่วนระบบ quantum computers จะอยู่ใช้ quantum bits (qubits) ซึ่งจะคำนวนต่างๆโดยใช้คุณสมบัติของกลศาสตร์ควอนตัมแทนครับ
ส่วนถ้าถามว่างั้นใช้อะไรทำ ตอนนี้มีหลายอย่างมากครับแต่ละบ.ก็ใช้ไม่เหมือนกัน เช่น
- Superconducting qubits: based on superconducting circuits cooled to extremely low temperatures -> IBM, Google
- Quantum dots: based on electrons -> Microsoft
- Photonic qubits: particles of light (photons) -> Xanadu Quantum Technologies
etc.
สิ่งที่เป็นคอขวดของ Quantum computers มีหลายอย่าง แต่ผมว่า ณ ตอนนี้ที่สำคัญๆคือ
Error Rates and Decoherence กับ Scalability มันทำให้ qubit เสถียร์เป็นเวลานานๆยาก น่ะครับ
เป็นเรื่องที่ถ้าแก้ปัญหาหลักๆได้มันจะมาแรงมากๆ (ถ้าได้นะครับ 🤣)
ก็เพราะ Qbit มันมีแค่ทฤษฎีไงครับ จึงไม่เคยมีตัวตนเสียที
แน่ละว่าไม่เกี่ยวกับ transistor แบบที่เรารู้จัก แต่ก็ยังไม่เคยมีใครผลิต q-transistor ได้ และมองไม่เห็น time-line ว่าจะมีแนวทางพัฒนาของจริงได้อย่างไร
สรุปเนื่อหาดีมากๆครับ ผมดูถึงตอนจบ มีความเห็นว่าระดับ quantum จะไม่สามารถสร้างเป็นชิพได้ เพราะ quantum เป็นลักษณะของพฤติกรรม มีขนาดเป็นขอบเขตที่เกิดพฤติกรรม ไม่ได้เป็นวัสดุที่มีขนาด และแผ่นซิลิกอนก็เป็นวัสดุระดับอะตอม ยิงอะตอมให้แตกเป็น 2 อันมันก็จะแตกกลายเป็นอะตอมสารชนิดอื่น เสียคุณสมบัติสารกึ่งตัวนำไปหมด ก็จะกลายเป็นเทคนิคอื่นไปเลยที่ต้องก้าวข้ามซิลิกอนไป ถึงจะทำได้ ก็ต้องรอเทคทางวัสดุศาสตร์มาเป็นวัตถุดิบต้นน้ำแทนซิลิกอนเวเฟอร์อีกที
ฟัง2วันถึงจะจบ ไม่รู้พี่หลามหาข้อมุลนานแค่ไหน สนุกมากคับ
ไม่เคยฟัง PodShark ไหนนานได้ขนาดนี้เลยครับ ขอบคุณ ข้อมูลดีๆจากช่องพี่หลาม ครับ FCพี่หลามนะครับ และเป็นกำลังใจให้พี่หลามทำPodSharkต่อไปนะครับ ผมนั่งฟังตั้งแต่วินาทีแรกยันจบเลยครับ พี่หลามเล่าประวัติ ASML ได้ดีและสนุกมากเลยครับ
ถูกต้องครับอะไรไม่ทราบ เราก็ต้องยอมรับว่าไม่ทราบ ณ เวลานั้น แล้วค่อยไปหาข้อมูลครับ การที่จะมานั่งเดา แล้วนำมาออกสื่อ มันทำให้ผู้รับข้อมูลรับแบบผิด ๆ ไปด้วย แม้แต่ตอนทำงานเองก็ตาม ถ้าเราไม่ทราบก็ต้องยอมรับ แล้วไปหาข้อมูลมาเพื่อที่จะทำงานนั้นต่อครับ ไม่งั้นผิดไปแล้วบางอย่างมันแก้ไขอะไรไม่ได้เลย (ประสบการณ์ทำงานล้วน ๆ )
เป็นคลิปที่ยาวมากเลยครับผมฟังตั้งแต่ต้นจนจบ บรรยายชัดเจนมาก สายสัมพันธ์ของบริษัทต่างๆ คนเราใช่ว่าจะพูดอะไรก็ได้ เมื่อเทคโนโลยีถึงทางตัน❤❤
คำถาม intel เคยเป็นจ้าวจักรวาลมาก่อน ไม่ต่างจาก ibm แล้วมันตกจากบันลังได้ยัวไง และเมื่อไหร่ ทำไมเราไม่รู้เรื่องอะไรเลยตอนมันตก ให้tsmc กับ samsung และ hkhinix อยากรู้ช่วง blank นี้
สุดครับพี่หลาม ทั้งเนื้อหา สาระ ข้อมูลแน่นมาก ได้ความรู้สุดๆครับ ฟังไปดูภาพประกอบไป ก็เข้าใจตามได้ดีครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากทั่วสารทิศครับ 👏👏👏 👍👍👍 🎉🎉🎉
มีข้อมูลมาพูดคุยได้ไม่ติดขัดระดับนี้
นับถือมีความรู้ระดับสารานุกรมครับ
อยากรู้จริงๆว่า ใช้ทีมงานช่วยหาข้อมูลกี่คน และตัวเองใช้เวลาอ่าน/
หาข้อมูลวันละกี่ชั่วโมงครับ
ผมจบวิศวะ แต่เมื่อ 50 กว่าปีที่ผ่าน
จึงไม่ได้มีความรู้ด้านนี้แม้แต่น้อย
แต่ชอบรู้ทุกเรื่อง(กว้างๆ)
ฟังเหตุผลประกอบถึงที่มาที่ไป
ทำไม เพราะอะไรจึงตัดสินใจทำ
มีมุมมอง/แก้ไขให้สำเร็จได้อย่างไร
เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ไปสู่ความสำเร็จ
เปิดมาเจอก็จะฟังจนจบทุกครั้ง
ยอดเยี่ยมมากครับ คุ้มค่ากับการฟังครับ ขอชื่นชม
เป็นตอนที่สุดยอดจริงๆ ชอบตอนที่ จุดคุ้มทุน 😁 ปรับไม่เป็นก็เกมส์ไป
ผมเห็นด้วยในเรื่องยังไงจีนก็ตามหลังไปอีกสักพักเลย ในด้านเทคโนโลยี ตามที่พี่หลามบอกเลย นี้ไม่รวมถึงระบบ Software ด้วย ไปจนถึงการออกแบบสถาปัตกรรมใหม่ ถ้าจีนยังพยายามลอกสิ่งที่ฝรั่งทำ + โดนเขากีดกัน ยังไงก็ยาก แต่ถ้าวันไหนที่จีน breakthrough วิทยาการได้เมื่อไห วันนั้นเราค่อยมาว่ากัน
ขอบใจมากครับ ที่นำความรู้มาเล่าสู่กันฟังให้ใด้รับรู้ถึงเรื่องความเป็นมาหรือต้นกำเนิดก่อนจะมาเป็น CPU ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ครับ
ขอบคุณครับ เจ๋งมากของแทร่..!!👍👍👍 สุดยอดของการนำภาพมาบรรยายเลย ❤❤❤
ข้อมูลดีมาก ชื่นชมการสืบค้นและการนำเสนอครับ
ผมนั่งฟังพี่หลาม ใช้เวลา 3 วันครับ กว่าจะจบ ฟังไปด้วย ทำงานไปด้วย ดีมากครับ ผมอยากรู้มาตั้งนานแล้วครับ แต่ไม่รู้จะฟังที่ไหน
หาสไตล์การพูดแบบหลามยากตลก/สนุก เป็นกำลังใจให้ทำต่อไปเรื่อยๆ ได้ความรู้ดีมาก
ถ้าพี่หลามว่าไม่ใช่เรื่องสิทธิบัตร งั้นแสดงว่าที่นายอาร์มพูดไว้ในคลิป สงคราม semiconductor ประมาณนาทีที่22ก็ผิดใช่มั้ยครับ
น่าจะเป็นสัญญาเดียวกันกับบริษัทที่ผลิตอาวุธให้กองทัพอเมริกาต้องรักษาไว้
เขาไปเข้าใจว่าเครื่องที่ใช้ผลิตเป็นสิทธิบัตรของเนเธอร์แลนด์ ตัวเครื่องที่ประกอบออกมาอ่ะใช่ แต่อุปกรณ์ด้านในที่ใช้หลายๆอย่างมีสิทธิบัตรของสหรัฐอยู่ ASML ไม่สามารถวิจัย และผลิตทุกอย่างได้หมดด้วยตัวเอง นายอา์มพูดถูกแล้ว
ฟังพี่หลามไม่ได้ฟังข่าว แต่ฟังความรู้ประดับสมอง❤❤❤
ฟังตั้งแค่ต้นจนจบ สนุกมากครับ นี่ถ้ามีเรื่องสายลับคงสุดๆของความตื่นเต้นอาจช็อคตายแน่เลย😊
Grearfull to have a chance to listen to the program to the end, sir.😊😊😊
สุดยอดข้อมูล ครับ ถ้าข้อมูลลึกกว่านี้คงจะมีสัก 100 วีดีโอได้ ครับ ยอดเยี่ยม
อมก. สนุกม้ากกกก ประวัติศาสตร์ธุรกิจระดับผู้ขับเคลื่อนโลก อย่างมัน ทำให้เห็นที่มา คอนเนคชั่น การเมือง ของผู้เล่นต่างๆ มันมากกกก
ได้ความรู้เพิ่มมากมายยยย ขอบคุณครับ และเป็นคลิบแรกที่เห็นพี่หลามสีหน้าเคร่งเครียดยาวนานที่สุด....
ฟังแล้วได้ความรู้มากเกี่ยวกับธุรกิจวงกสรนี้เลยครับ ขอบคุณพี่หลามมากครับ
มองคิดเล่นๆนะ รังสีแกมม่า รังสีเอ็กซ์ รังสีคอสมิค สามารถผลิตชิปได้มั้ย แทน UV
พี่หลาม..รบกวนทำ podshark ประวัติ yamaha หน่อยได้ไหม ขอบคุณครับ
ชอบ ep นี่มากครับข้อมูลลึกดีฟังเพลินเลย
ติดตามและสงสัยเรื่องนี้มายาวนาน
อยากให้พี่หลามเปิดผู้ถือหุ้น asml เอาแบบล่ะเอียดหน่อยครับ
ทำเนื้อหาออกมาได้เยี่ยมแล้วครับ สู้ๆ และขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ชอบบทความนี้ครับ ผมจินตนาการว่าถ้าจะทำชิปที่เร็วที่เล็กระดับอะตอมได้ ในตัวทรานซิสเตอร์น่าจะเป็นลำแสงโฟตอนไปเลยครับ
หุ้นฟิลลิปยังเหลือหรือเปล่าครับ
เลิกทำแล้วหรอครับ ชอบมากฟังก่อนนอนอย่างเพลิน
เลิฟๆๆ อยากฟัง 12-13ขั้นตอน ผลิตเซมิมากๆ ดันๆๆๆๆ พี่หมอก ข้อมูลหนักหัวมาก บอกเลยว่า คุ้มค่า1:57ชม ความรู้แน่นๆๆ🥰💖🙏
ผมอยากให้ลุงหลามทำ podshark กำเนิดเกมคอมพิวเตอร์ครับ
พี่หลาม น่าจะเรียน อิเล็กทรอนิกส์ นะครับ สิ่ง ที่พีสนใจ และทำ พอตแคช ผมได้เรียนมาเป็นส่วนใหญ่ เป็นสาขาที่สนุก แต่คำนวณ จนหัวแทบระเบิด และเอาที่คำนวณ มาทดลอง แต่ที่เรียนไป เรามีโอกาสต่อยอด ในเมื่อก่อนน้อยไป แต่ปัจจุบัน คงสนุกกว่านั้นเยอะ แต่เราก็แก่ไปแล้ว ควันตั้ม เหมือนวิญาน รู้ว่ามี แต่ยัง พิสูจน์ หรือสร้างหรือ พัฒนาและควบคุม ยังไงละ
คำถามครับ
เพราะอะไรเค้าถึงไม่ขยายขนาดชิปครับ
ในเมื่อจุดมุ่งหมายคือเพื่มจำนวนทรานซิชเตอร์นะครับ
แอปเปิ้ลขยายครับ เพราะแอปเปิ้ลทำทุกอย่างเองหมด
แต่ฝั่งพีซี มันมีลิขสิทธิ์พวกSocketอยู่ ถ้าเปลี่ยนบ่อยๆผู้ผลิตเมนบอร์ดเปลี่ยนตามไม่ไหวเสียเงินเยอะ
ส่วนมือถือ ขยายไม่ได้เพราะความกว้างบอร์ดไม่พอ
ฟังพี่หลามแล้วเปิดโลกมากครับ...โดยเฉพาะเรื่องค`วันตั้ม😂มันจะมีอยู่บางช่องเอาเทคโนโลยีควันตั้มมาพูดแบบอีกไม่นานมันจะมาอะครับ😂
ขอบคุณพี่หลาม ที่ตั้งใจทำคลิปมาให้ความรู้ครับ
ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลดีๆ แต่จีนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะต้องสร้างเครื่องผลิตชิปคุณภาพระดับโลกให้ได้
ยากมาก ขนาดอเมริกายังทำเองไม่ได้
ชอบพอร์ตช้างสไตล์นี้มากครับ ไม่ชอบสไตล์ประวัติศาสตร์ คลิปนี้ทำให้นึกถึง ตอนที่ 1 กับตอนที่ 2 solid state Battery แล้วก็เรื่องคลองไทย อยากให้พี่หลามทำพอร์ตชาร์จเป็นแนวนี้เยอะๆครับ แนว Hard Talk ในเรื่องประเด็นคำถามถกเถียง อัพเดท เอาข่าวล้ำหน้านี่แหละที่คนสนใจมาเจาะ รายละเอียด
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
คำถามเปิดมาน่าสนใจมากครับ
ทำไมคลิปนี้หน้าพี่หลามเบลอ ๆ นะครับ ดูสนุก ได้ความรู้ ตามดู PodShark ทุกตอนครับ ✌✌
ถ้าทำelectron write จะสามารถเขียนเวเฟอร์ได้เล็กลง ไม่ต้องใช้เลนส์ แต่ใช้สนามแม่เหล้กแทนเลนส์ในการคุมการเขียนเวเฟอร์
บ้านเราถ้ายังไม่เริ่มตามเราจะรั้งท้ายแน่โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของไทยตอนนี้มีแต่สินค้าโลกเก่าที่แพ้สินค้าจากจีนหมดแล้วแต่คนไทยยังทนงตัวดูถูกสินค้าจากจีนทั้งที่กำลังการผลิตและส่งออกไทยแพ้เขาอย่างราบคาบ
แน่นอนอยู่แล้ว ไทยแม่งผลิตอะไรไม่ได้เพราะคนในชาติไม่สนับสนุน
ไทยเคยมี ALPHATEC ELECTRONICS ในยุคบิ๊กจิ๋ว แต่เจ๊งไม่เป็นท่า
สรุปคือต้อง ปะติดวัด ประเทศถึงจะเจริญได้
ฟังแล้ว เคลียร์ พี่หลามอธิบายได้ดีครับ ข้อมูลฟังแล้วเข้าใจ
ความรู้ทรงคุณค่ามากๆ ทำต่อไปเรื่อยๆเลยนะครับพี่หลาม รักมากๆ😊😊
ข้อมูลสุดยอดมากนั่งฟังตั้งใจกว่าตอนเรียนอีก สงสัยนิดนึงครับทำไมถึงใช้ Hydrogen ลดอุณหภูมิแทนที่จะใช้ Nitrogen หรอครับ ยังไงยังอยากฟังขั้นตอน 12-14 ขั้นตอนอยู่ครับ
ชอบตรงสายสัมพันธ์ตอนไฟไหม้จริงๆ แบบนี้ไม่น่าแปลกใจที่จะพากันเจริญ
ชื่นชมครับ สำหรับความทุ่มเท แล้วนำมาเผยแพร่ให้
แสงยิงไปที่แผ่นเวเฟอร์ มันกลายเป็นวงจรที่มี transistor , Capasistor , Resistor ยังไงเหรอครับ
มันเป็นเหมือนการก่อโครงสร้างหลักของตึกน่ะครับ แต่ยังต้องไปกั้นห้องตกแต่งวางระบบต่างๆต่อไปอีกนะครับ ไม่ใช่จบแค่นั้นแล้วเสร็จ แต่การขึ้นโครงคือสำคัญสุดแล้วครับ ถ้าทำได้ไม่ดี อย่างอื่นก็ไม่ดีตามไปด้วย
ผมอาจจะอธิบายไม่ถูกหลักการมากนัก แต่ อธิบายแบบนี้จะเข้าใจและนึกภาพง่าย
@@Nohandhhgle ถ้าเปรียบเป็นโครงสร้างตึก แต่มันเล็กขนาดนั้น จะไปต่อเติมยังไงครับ แค่โครงสร้างตึกก็ทำเล็กขนาดนั้นยากแล้วไม่ใช่เหรอครับ ผมยังไม่เข้าใจอ่ะครับ 555
ก็น่าจะต้องไปศึกษา vlsi มั้ง
ในเวเฟอร์ หนึ่งเลเยอร์จะมีหลายชั้นที่แตกต่างกัน
transistor ก็ npn, pnp น่าจะใช้ 2 ชั้น มีชั้นนึงมันทำหน้าที่เหมือนสวิตช์กำหนดการไหลของกระแสระหว่าง 2 ฝั่งบนชั้นเดียวกัน
capacitor ความจุต่ำ ก็น่าจะออกแบบขนานกันที่มีขนาดความกว้างและระยะห่างตามค่าความจุที่ออกแบบ
resistor ก็ใช้ transistor โดยสวิตช์เปิดปิดไม่สุด เพื่อกำหนดค่าความต้านทานได้
แสงที่เขายิงก็ยิงสกัดวงจรทีละเลเยอร์ ไปตามการออกแบบ
ผมเองก็ไม่มั่นใจว่าเข้าใจถูกไหม
@@jiratpokin ลองค้นหาว่า Thin film Technology ดูครับ พวกนั้นจะเป็นกระบวนการต่อไป จาก เครื่องนี้ แต่ในยุคใหม่ๆ ไม่แน่ใจว่าใช้เทคนิคไหนกันแล้ว เพราะ ความละเอียดมันมากขี้น ที่ทางมหาวิทยาลัยสอนมาจะเป็นแบบ ที่มันสาธารณะมาแล้วครับ แต่ก็ถือว่าเป็น พื้นฐานก่อนจะไปยุคใหม่ๆ ในปัจจุบัน
สนุกมากครับ ขอบคุณที่ทำคลิปนี้ออกมาเกือบ 2 ชั่วโมงไม่เบื่อเลยครับ ขอบคุณครับ
ธุรกิจ IC : Assembly and Test ในไทย Signetics=> Philips Semiconductor=>NXP ในปัจจุบัน
ขอบคุณมากค่ะพี่สำหรับข้อมูล asml กำลังเล็งหุ้นตัวนี้อยู่เลยทำการบ้านไว้ 🙏🙏🙏
ฟังเพลินและสนุกมากครับ ขอบคุณพี่หลามที่รวบรวมข้อมูลแล้วย่อสรุปให้ฟังอย่างเข้าใจง่าย สนุกจริงๆครับ
1:22:43 ตัวเครื่องจริงกิไฟไม่มากแต่กินแบบเซี้ยววินาทีจำนวนมากยกตัวอย่างว่าประมาณxxxx kwในมิลละวินาที แล้วปัญหาก็อยู่ตรงนี้เพราะปัจจุบันไม่มีอะไรจ่ายไฟฟ้าแบบนี้ได้ดังนั้นวิธีแก้คือเพิ่มกำลังไฟฟ้าจำนวนมากว่าxxเท่าเพื่อให้ได้กำลังไฟxxxxในมิลวินาที
อยากฟังเรื่องนี้พอดีเลย ไม่มีคนเล่า ในที่สุดพี่ก็เอามาเล่า
เครื่องDUV ใช้ไฟ 30 MW คือการใช้ไฟระดับโรงงานไปแล้ว ถ้า500MW ต้องสร้างโรงไฟฟ้าไว้ใกล้ๆ โรงงานผลิตชิพ
ขอบคุณครับ กำลังสงสัยอยู่พอดี