รวมผลงานเพลงครูมงคล อมาตยกุล ศิลปิน คุณรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 ธ.ค. 2024
  • รวมผลงานเพลงครูมงคล อมาตยกุล ศิลปิน คุณรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
    1.แน่แล้วหรือ
    • "แน่แล้วหรือ" รุ่งฤดี...
    2.คิดถึงทุกวัน
    • "คิดถึงทุกวัน" รุ่งฤดี...
    3.ฝันรักจากคุณ
    • "ฝันรักจากคุณ" รุ่งฤดี...
    4.คิดถึงรอยจูบ
    • "คิดถึงรอยจูบ" รุ่งฤดี...
    5.ถ้าฉันเป็นดอกฟ้า
    • "ถ้าฉันเป็นดอกฟ้า" รุ่...
    6.สวรรค์บ้านเฮา
    • "สวรรค์บ้านเฮา" รุ่งฤด...
    7.ดึกแล้วน้องรอ
    • "ดึกแล้วน้องรอ" รุ่งฤด...
    8.พิษรัก
    • "พิษรัก" รุ่งฤดี แพ่ง...
    9.รอยจารึก
    • "รอยจารึก" รุ่งฤดี แพ...
    10.พิศวาทวาย
    • "พิศวาทวาย" รุ่งฤดี แ...
    ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ประวัติครูมงคล อมาตยกุล
    นักดนตรี นักแต่งเพลง ผู้ก่อตั้งวงดนตรีมงคล อมาตยกุล และวงดนตรีจุฬารัตน์ เกิดเมื่อ
    วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑ ที่อำเภอพระนคร บุตรของอำมาตย์เอก พระยาวินิจวิทยาการ (กร อมาตยกุล) ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยคนแรก ณ ที่ตั้งปัจจุบัน กับหม่อมหลวงผาด เสนีวงศ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดชนะสงคราม โรงเรียนหอวัง โรงเรียนปทุมคงคา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชั้น ม.๗ ก. พ.ศ.๒๔๗๘ มีเพื่อนร่วมชั้น สมหมาย ณ นคร, และ ม.๘ ค. พ.ศ.๒๔๘๐ รุ่นเดียวกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์, พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา, ส.อาสนจินดา
    ศึกษาต่อที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงชั้นปีที่ ๔ จึงหยุดเรียน เพราะมหาวิทยาลัยหยุดการเรียนการสอน เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้หันไปเล่นดนตรีสากล ตั้งคณะละครวิทยุ และแต่งบทละคร เล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุ และได้เป็นนักแต่งเพลง เรียบเรียงเสียงประสาน และเป็นหัวหน้าวงดนตรีของเทศบาลนครกรุงเทพ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้ร่วมวงดนตรีดุริยะโยธิน ก่อนจะลาออกมาตั้งวงดนตรี มงคล อมาตยกุล เป็นของตนเอง รับแสดงตามโรงภาพยนตร์ หรืองานลีลาศ ร่วมกับ ป. ชื่นประโยชน์ เนียน วิชิตนันท์ ร้อยแก้ว รักไทย ไพบูลย์ บุตรขัน มีนักร้องประจำวงเช่น วงจันทร์ ไพโรจน์ นริศ อารีย์ ลัดดา ศรีวรนันท์ ปรีชา บุณยเกียรติ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นหัวหน้าห้องบันทึกแผ่นเสียงของห้างดี. คูเปอร์ จอห์นสัน และได้ช่วยสนับสนุนการบันทึกเสียงของครูเพลงหลายท่าน เช่น ครูไพบูลย์ บุตรขัน
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ครูมงคลได้ก่อตั้งวงดนตรีจุฬารัตน์ ซึ่งเป็นวงประเภท Big Band มีศิลปินหลัก ซึ่งสร้างลูกศิษย์ลูกหาให้กับวงการเพลงทั้งลูกทุ่งลูกกรุง เป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปอง ปรีดา, นคร ถนอมทรัพย์, ทูล ทองใจ และ พร ภิรมย์ ทั้ง ๔ คนนี้ ท่านตั้งสมญาว่า สี่ทหารเสือของจุฬารัตน์ รวมทั้งนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น ชาย เมืองสิงห์ ทูล ทองใจ พร ภิรมย์ พนม นพพร ศรีไพร ใจพระ ประจวบ จำปาทอง ปอง ปรีดา สังข์ทอง สีใส หยาด นภาลัย บุปผา สายชล สุชาติ เทียนทอง นพดล ดวงพร เพลงที่ มีชื่อเสียง เช่น "ช่างร้ายเหลือ" "ยังคอย" "ค่อนคืน" และอีกหลายท่าน รวมทั้งที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ
    ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดเพลงหนึ่งคือเพลง "เย้ยฟ้าท้าดิน" ประพันธ์ขึ้นเพื่อประกอบละครเรื่อง เทพบุตรฮ่อ ของ ส. อาสนจินดา โดยมี สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ เป็นผู้ขับร้องในปี พ.ศ. ๒๔๙๗, และอีกหลายเพลง เช่น เพลง "ค่อนคืน" เพลง"ยังคอย" ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร, เพลง "ช่างร้ายเหลือ" ขับร้องโดย วงจันทร์ ไพโรจน์ เพลง "เขมรไล่ควาย" ขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ เพลง "เทพีเชียงใหม่" ขับร้องโดย ปอง ปรีดา และ ท่านยังได้แต่งเพลง “หอมกลิ่นกุหลาบ” ให้แก่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ขับร้องโดย กิตติคุณ เชียรสงค์ และ ไพจิตร อักษรณรงค์
    ครูมงคล อมาตยกุล ได้รับ ๓ รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๙ สาขาดนตรีและเรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยมจากเพลง "ตัวไกลใจยัง" ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์คำแหง, เพลง"ความหลังฝังใจ"ขับร้องโดย ทูล ทองใจ และเพลง"อยากจะบอกรักแต่ไม่กล้า" ซึ่งเดิมชื่อเพลง"ในดวงใจ" โดยมีชรินทร์ นันทนาคร ขับร้องอัดแผ่นเสียงไว้ก่อนหน้าแล้ว แต่ครูมงคลหยิบเพลงนี้ขึ้นมาเปลี่ยนชื่อใหม่แล้วส่งเข้าประกวด ซึ่งในวันนั้นทูลจะต้องร้องเพลง"ความหลังฝังใจ" ในงานประกวดอยู่แล้วจึงให้ทูลเป็นผู้ขับร้องเพลงนี้ด้วยเลยทำให้ในปี ๒๕๒๒ ครูมงคลได้รับรางวัลในคราวเดียวกันถึง ๓ เพลง
    ช่วงบั้นปลายชีวิต ครูมงคลมีปัญหาด้านสุขภาพ จึงยุบวงดนตรีจุฬารัตน์ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒ สิริอายุ ๗๑ ปี
    m.mgronline.co....
    ประวัติวงดนตรีจุฬารัตน์
    poccom19.wixsi....
    th.wikipedia.o....
    #ลิขสิทธิ์คำร้องทำนองของครูมงคล อมาตยกุล
    ผู้ดูแลลิขสิทธิ์: คุณกษิรา อมาตยกุล
    Mobile: 095 4616141
    Email: jumm.6141@gmail.com

ความคิดเห็น •