กระทรวงแรงงาน/นายจ้างฯคัดค้านขึ้นค่าแรง/ค้านขึ้น400บาท/ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย/ECON THAI/เทป1/2

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 พ.ค. 2024
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและ
    อุตสาหกรรมไทย(อีคอนไทย) โดยร่วมกับสภาองค์การนายจ้างอีก 15 สภาองค์การนายจ้าง ประกอบด้วย
    1. สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (สภา1 ) 2. สภาองค์การนายจ้างสภาอุตสาหกรรมเอ็สเอ็มอีแห่งประเทศไทย (สภา 3 ) 3. สภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค (สภา 4 ) 4. สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ (สภา 5 )5. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย (สภา 6 ) 6. สภาองค์การนายจ้างไทยสากล (สภา 7 )7. สภาองค์การนายจ้างการเกษตรธุรกิจอุตสาหกรรมไทย(สภา 8 ) 8. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจ การค้าและบริการไทย (สภา 9 ) 9. สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย(สภา 10 ) 10. สภาองค์การนายจ้างไทย(สภา 11 ) 11. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจ และอุตสาหกรรมแห่งชาติ(สภา12 ) 12. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจอุตสาหการไทย (สภา13 ) 13. สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อีแห่งประเทศไทย(สภา14 ) 14. สภาองค์การนายจ้างบริการไทย(สภา15 ) 15. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว-ภาค 8 (สภา 16)
    โดยได้ร่วมกันแถลงข่าว คัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งได้มีความเห็นต่อประเด็นการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท ว่า การปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังมีปัญหาจากปัจจัยหลายประการที่มีความผันผวน เช่น ค่าเงินบาท ราคาพลังงาน มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ ผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมกันนี้จะได้นําเสนอ ยื่นเรื่องคัดค้านในการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศ ต่อประธานคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
    1. ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ แต่ควรใช้หลักการตามกฏหมายโดยยึดแนวปฏิบัติจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดในแต่ละจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) เป็นผู้พิจารณาให้สอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่
    2. ในการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำควรจะพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการ
    ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเพียงอัตราค่าจ้างของแรงงานแรกเข้าที่ยังไม่มีฝีมือ
    ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนมาตรการทางภาษี ลดอุปสรรคต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเป็นการจูงใจให้
    ผู้ประกอบการและแรงงานให้ความสําคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill เพื่อส่งเสริมแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้
    สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
    3. การพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจควรให้มีการรับฟังความคิดเห็น
    และศึกษาถึงความพร้อมของในแต่ละพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจรวมทั้งควรให้มีการหารือร่วมกับ
    ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
    4. นอกเหนือจากการยกระดับรายได้ของแรงงานแล้ว ภาครัฐควรสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายในการดํารงชีพ ให้แก่ภาคแรงงานในขั้นพื้นฐาน เช่น ในการจัดหาจัดซื้อ สินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูกลงอีกด้วย
    นอกจากนี้สภาองค์การนายจ้าง จะมีการนําหนังสือคัดค้านการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทพร้อมกันทั่วประเทศเสนอต่อประธานกรรมการค่าจ้างด้วย
    ซึ่งการแถลงข่าวในครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นในงานฉลองครบรอบ 30 ปี ของการก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ครบรอบ 30 ปี อีคอนไทย ณ ห้อง Royal Jusmine ชั้น L โรงแรมจัสมินซิตี้ สุขุมวิท 23

ความคิดเห็น •