โขน 2472
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 9 ก.พ. 2025
- โขนหลวงชักรอก ในงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิ์ฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภาพรรณี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โปรดให้คณะโขนหลวงสวนมิสกวัน จัดแสดงขึ้น เมื่อคืนวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๔๗๒ เป็นโขนชักรอก เรื่องามเกียรติ ตอนศึกมังกรกรรฐ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จทอดพระเนตร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวงจัดการถ่ายทำภาพยนตร์การแสดงโขนไว้ เป็นตอน ๆ ตลอดเรื่อง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชร ได้ทรงอำนวยการถ่ายภาพยนตร์ตลอดเวลา เจ้าหน้าที่ผู้ถ่ายมีหลวงกลการเจนจิตเป็นหัวหน้า นอกจากนี้ยังมีนายมานิต วสุวัต นายกระแส วสุวัต ได้ไปช่วยการถ่ายทำเป็นพิเศษด้วย
การแสดงคืนนั้นมีผู้ชมซึ่งประกอบด้วยเจ้านายทุกชั้นทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ข้าราชการใหญ่น้อย พ่อค้าหลายชาติภาษา นักข่าวหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ รวมจำนวนประมาณ ๘๐๐ คนซึ่งล้นที่นั่ง
โขนชักรอกที่แสดงถวายหน้าพระที่นั่งครั้งนี้ เป็นโขนรุ่นเล็ก ซึ่งยังมีคำนำหน้าชื่อว่าเด็กชายทั้งสิ้น ตัวที่แสดงให้เห็นความคล่องแคล่วแก่ตาผู้ชมก็คือ ด.ช.บุญสม สายาคม เป็นพระราม ด.ช.เดช ปัญญาพล เป็นพระลักษณ์ ด.ช.ทองย้อย ทองเพิ่ม เป็นสุครีพ ด.ช.สาลี เวชมนัส เป็นทศกรรฐ์ ด.ช.ทองหยัด ทองเพิ่ม เป็นมังกรกรรฐ์ นอกนั้นก็ล้วนแต่แก่หัด แสดงได้ดีไม่เก้อเขินเลย มีการชักรอกอยู่หลายตอน แม้แต่ลูกศรที่แผลงไปก็ลอยในอากาศอย่างน่าดู ตัวมังกรกรรฐ์ที่ถูกศรพระรามตกลงมาตายจากอากาศนั้น ก็ตกลงมาจริง ๆ ตายอย่างไม่กระดิกเลย เพราะใช้รูปหุ่นทำแทน เริ่มแสดงเวลา ๒๒.๒๐ น. เลิกราว ๑.๓๐ น. รวม ๓ ชั่วโมงเศษ
หอภาพยนตร์ได้รับมอบฟิล์ม “โขน” ซึ่งเป็นเศษฟิล์มเนกาตีฟในกรุภาพยนตร์ของกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง จากการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งแม้ว่าเป็นเศษฟิล์มที่เหลือจากการตัดต่อ มิใช่ฟิล์มที่ได้รับการค้ดเลือกเพื่อนำออกเผยแพร่ ซึ่งคาดว่าได้หายสาบสูญแล้ว ฟิล์มที่เหลือนี้ จึงมีค่าเป็นหลักฐานบันทึกการแสดงโขนชักรอกหน้าพระที่นั่งที่เชื่อว่ามีการจัดทำอย่างสมบูรณ์ที่สุดในสมัยนั้น และเป็นโขนรุ่นเด็ก ซึ่งผู้แสดงทั้งหลาย ต่อมาเมื่อเติบโตขึ้นได้กลายเป็นศิลปินโขนระดับครูบาอาจารย์ของชาติ เช่น ด.ช.บุญสม สาญาคม คือ อาจารย์อาคม สาญาคม
นอกจากนี้ ยังเป็นผลงานภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นขีดความสามารถของช่างถ่ายหนังมือเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือหลวงกลการเจนจิต ในการถ่ายการแสดงสดบนเวทีในเวลากลางคืน
ฟิล์ม ๓๕ มม. / ขาวดำ / เงียบ
ปี ๒๔๗๒
ผู้สร้าง กองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าว กรมรถไฟหลวง
ชุดสวยตระการตามากค่ะ ทำฉากได้สวยมาก บรรพบุรุษของเราสมัยก่อนเก่งจริงๆ ค่ะ ประเทศเราเจริญด้านศิลปวัฒนธรรมมานานมาก ชื่นชมทางหอภาพยนตร์ที่เก็บฟิล์มได้ดี เสียดายที่ไม่ได้ยินเสียงนะคะ
2472 อย่างเฟี้ยว มีชักรอก เหาะเหินเดินอากาศ สร้างสรรค์ทันสมัยสุด ๆ
ตอนนี้โดนกัมพูชาเคลมว่าเป็นของชาติกัมพูชา คนไทยต้องช่วยกันรักษามรดกทางวัฒนธรรมไทยไว้ตราบนานเท่านาน
ต้องเอาคลิปนี้ให้ชาวโลกดู กัมพูชาจะกลายเป็นตัวตลกทันทีเลย😂
Extremely rare footage. What a National Treasure ! Truly Siamese art form.
โขนในสมัยรัชกาลที่7 ที่โรงละครสวนมิกสักวัน เสียดายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง รื้อ และโอนย้ายพัสดุข้าวของมากรมศิลปากร
ชฎาพระและชฎานางสวยมากกกกค่ะ อยากให้กรมศิลป์ฯเปลี่ยนชฎาพระมาเป็นแบบนี้บ้าง แบบปัจจุบันคือใส่ดอกไม้ไหวจนเสียทรง
สวยงามมากในอดีต
ขอบคุณครับ..
ที่นำมาเผยแพร่ให้ชมกัน..90กว่าปีผ่านมาแล้ว
ศิลปะของไทยมีเอกลักษณ์ โดดเด่นทุกแขนง
ในคลิปได้เห็นการแสดง
ของเด็กๆในยุคนั้น น่าทึ่งมากครับ
โดยส่วนตัวปรับความเร็วให้เป็น ×0.75กำลังดีครับ
*ปุ่ม3จุด ขวามือบนของคลิป
เลือกความเร็วในการเล่น0.75×ครับ😴
นักเรียน หนุ่มๆสาวๆทั้งนั้นเลย ฉากอลังการเครื่องทรงออกแสงสะท้อนระยิบระยับ พร้อมเพรียงมากๆ เสียดายไม่มีเสียง ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ครับ 🙏🙏🙏
ดูจากในคลิป น่าจะเป็นตอน ศึก แสงอาทิตย์ ดำเนินเรื่องไปจนถึง ศึกอินทรชิตแผลงศรพรหมมาสตร์ มากกว่านะครับ
ไม่ทราบว่าแสดงตอนชื่ออะไรนะคะ ถ้าผู้ที่ชำนาญด้านการแสดงหรือผู้ที่สนใจในเนื้อหาที่เก่งๆ ดูแล้วจะทราบทันทีว่าเป็นตอนไหนของเรื่อง แต่ดิฉันเองไม่มีความรู้เลย ได้แต่ชอบดูเท่านั้นเองค่ะ
It's Siamese Khon in 1929.
โขนเวทีใหญ่เลยครับงานนี้
ฟิล์มยังสภาพดีอยู่เลย ทำไมฟิล์มภาพยนตร์เรื่องที่มีการแสดง เช่น กลัวเมีย หลอกเมีย เพลงหวานใจ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ สามปอยหลวง แก่นกะลาสี จึงไม่ได้โชคดีเหลือรอดมาแบบนี้
ขอบคุณมากครับที่นำภาพเก่าเล่าอดีต ทรงคุณค่ามากครับ
ชอบครับ/ในอดีตไม่เคยดูๆยังได้ดู_ขอยคุณครับ
ในยุค ร.6 เป็นยุคที่ละคร โขน รุ่งเรืองที่สุด ใครเป็นขุนนางต้องมีโขน ละครเป็นคณะของตนเองจะเป็นคนโปรด ร.6 จะพระราชทินนามให้ตามความสามารถของแต่ละคน ละครที่ดังมากในยุคนี้คือคณะปรีดาลัยของกรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ เจ้าของละครเรื่องสาวเครือฟ้า และรุ่งเรืองมาถึง ร.7 หลังจากเกิดการปฏิวัติ โขน ละคร เริ่มจางลงและไปเจริญรุ่งเรืองที่ จ.อ่างทอง
ละครเวที ละครเพลง มีต่อไปจนถึงยุค 2490 แล้วเสื่อมไปเองเพราะภาพยนตร์เข้ามาแทนที่ ยิ่งยุคสงครามโลก รัฐบาล จอมพล ป ส่งเสริมละครเวที หรือละครเพลงแนวปลุกใจ รักชาติมาก ๆ เพลงปลุกใจเช่น ต้นตระกูลไทย หนักแผ่นดิน เลือดสุพรรณ ฯลฯ ก็มาจากละครเวทีในยุคจอมพล ป ส่วน โขน ไม่เคยเสื่อม เพราะมีการตั้งกรมศิลปากร กับวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในปี 2477 เพื่อฝึกหัดด้านนาฏศิลป์ รวมถึงโขน โดยเฉพาะ ส่วนละครปรีดาลัย ภายหลังพระนางเธอลักษมีลาวัลย์ (พระธิดา) รับไปทำต่อ ช่วง 2475 ถึง 2489 โดยเน้นเป็นการกุศล นำเงินช่วยเหลือรัฐบาล และกองท้พ ช่วงสงครามโลก
อลังการมาก
ถ้าเป็นภาพสี จะได้เห็นสีสันที่สวยงามของชุดโขนว่าสวยงามแค่ไหน
ผมชอบดูครับ
ในคลิป เหล่านักแสดงที่รำโขนเป็นเด็กหรือวัยผู้ใหญ่กันคะ เห็นว่าตัวเล็ก ๆ กัน แล้วหน้าก็ดูเด็กด้วย เลยไม่แน่ใจว่าเป็นโขนของวัยโตแล้ว หรือเด็ก
ปล. อึ้งมากที่ในอดีตเขาสร้างสรรค์การแสดงได้งดงามตระการตาขนาดนี้ บรรพบุรุษเราเก่งกันมากจริง ๆ
❤❤❤🇹🇭🇹🇭🇹🇭
❤
ยังมีอีกม้วนมั้ยครับ หรือว่าเหลือรอดมาเพียงเท่านี้
ทำไมผมขนลุกจัง
งานถ่ายทำหนังเงียบของพี่น้องวสุวัต ตลอดเรื่องคงหลายม้วน ?...ตอนนั้นคงยังไม่เริ่มทำหนังเสียง...
เสียงไม่มีมีแต่ภาพเคลื่อนไหวดำขาว
ทรงคุณค่า หาดูยากยิ่ง
ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้ชมนะคะ
สมัยนั้นเหมนทำไรอยู่
คนแต่ก่อนรูปร่างเล็กเพราะกินปลา
เด็กๆแสดงทั้งนั้นครับ ไม่มีผู้ใหญ่เลย
อ่านคำบรรยาย เข้าใจแล้ว ครับ แต่ โตแล้วรูปร่างก็ยังเล็กอยู่ จึงรำไทยได้ชะมดชะม้อย เหมือนตุ๊กตา...🎶🎶🎵🎵🥁🥁🥁
คนตัวใหญ่ๆเอาไปใช้แรงงานครับ
คนสมัยนั้นตัวเล็กจังครับ
เขาให้เด็กแสดงครับ ไม่ใช่ผู้ใหญ่
ทุกคนในคลิปเป็นขี้เถ้าหมดแล้ว
แสดงโขนมีความพริ้วมาก ซึ่งปัจจุบันเทียบไม่ติดเลย
นักแสดงเด็กเหล่านี้ยังมีใครมีชีวิตอยู่บ้างมั้ยครับ
ถ้าอยู่อายุคง100ปีครับ😂😂
ถ้าจะมีชีวิตอยู่ก็คงจะมีอายุเป็นหลัก100ปีแล้วค่ะ