บทสวดมนต์ วิรูปักเข ขันธะปะริตตะคาถา ๙ จบ "บทแผ่เมตตาแก่พญานาคราชทุกตระกูล

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 22 ม.ค. 2021
  • สวดโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต
    ..ขันธปริตร เป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1]
    สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2]
    เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน [3]
    ขณะที่อรรถกถาชาดก ยังมีตัวบทเอ่ยถึงที่ของขันธปริตรเช่นกัน โดยเรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตเคยสอนขันธปริตรเมื่อครั้งที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นฤๅษีที่ป่าหิมพานต์ได้พำนักอยู่ร่วมกับฤๅษีเป็นอันมาก ขณะนั้นมีฤๅษีตนหนึ่งถูกงูกัดเสียชีวิต จึงสอนขันธปริตรแก่พวกฤๅษีเพื่อป้องกันภัยจากอสรพิษ [4]
    ..โดยทั่วไปแล้วพระปริตร จะเริ่มต้นด้วยบทขัด ซึ่งอธิบายที่มาที่ไปและอานิสงส์ของการสวดสาธยายพระปริตรนั้นๆ ซึ่งขันธปริตรก็เช่นเดียวกัน โดยเริ่มจากบทขัดขันธปริตร แล้วจึงตามด้วยคาถา ซึ่งยกมาจากอหิราชสูตร
    เนื้อหาของบทขัดของขันธปริตรมีดังนี้ "สัพพาสีวิสะชาตีนัง/ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ/ยัง นาเสติ วิสัง โฆรัง/เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง/อาณาเขตตัมหิ สัพพัตถะ/สัพพะทา สัพพะปาณินัง/สัพพะโสปิ นิวาเรติ /ปะริตตัง ตัง ภะณามะ เห ฯ" โดยมีคำแปลดังนี้ "พระปริตรย่อมป้องกันพิษและอันตรายอื่นๆ ของสัตว์ทั้งปวงได้ตลอดเขตแห่งอำนาจทุกแห่งเสมอ เหมือนทิพยมนต์และโอสถทิพย์ที่ขจัดพิษร้ายของอสรพิษทั้งปวง ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด" [5]
    จากนั้นจึงเริ่มคาถาของพระปริตร
    "พระพุทธมนต์..เสียงสวด พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต
    ช่อง สำรอง. พระธรรมคําสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    "สำหรับท่านที่ชอบสวดมนต์ และชอบฟังบทสวดมนต์"
    "พระพุทธมนต์.."วัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ บทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา
    เพื่อเทิดทูนเคารพบูชา คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า
    เพื่อเป็นอานิสงส์เป็นประโยชน์แก่พุทธมามกะ พุทธบริษัทชาวพุทธสืบต่อไปฯ
    ..ทั้งนี้ทางช่อง ต้องขอขอบพระคุณ ผู้ที่มีส่วนสร้างผลงานภาพ สำหรับนำมาประกอบวีดีโอ
    ตลอดทั้งผู้มีส่วนทุกท่าน ไว้เป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ด้วย
    "จัดทำเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน..ไม่มีการจำหน่าย หรือ มีค่าตอบแทนใดๆ"
    [จัดตั้งช่องธรรมะโดย พระทรงวุฒิ ถิรจิตฺโต]

ความคิดเห็น • 22

  • @user-il8md2vz3u
    @user-il8md2vz3u  3 ปีที่แล้ว +1

    ..ขันธปริตร เป็นส่วนหนึ่งของอหิราชสูตร บทว่าด้วยพระสูตรที่กล่าวถึง พญางูทั้ง 4 สกุล หรือ เรียกย่อว่า ขันธปริตต์เพียงแต่ว่า ขันธปริตร สวดเฉพาะคาถา หรือบทกวีท้ายอหิราชสูตร โดยเนื้อหาในพระไตรปิฎกอยู่ในอังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (อง. จตุกฺก. 21.67.83) และในพระวินัยปิฎก จูฬวรรค (วิ. จูฬ. 7.251.8) อีกทั้งยังพบในชาดก ทุกนิบาต (ขุ. ชา. 27.105.56) [1]
    สำหรับประวัติของพระปริตรนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี มีภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด เหล่าภิกษุจึงได้กราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า ที่ภิกษุดังกล่าวถูกงูกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาแก่พญางูทั้ง 4 ตระกูล คืองูตระกูลวิรูปักษ์ งูตระกูลเอราบถ งูตระกูลฉัพยาบุตร และงูตระกูลกัณหาโคมดม แล้วตรัสสอนให้แผ่เมตตางูทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งก็คือคาถาขันธปริตรนั่นเอง [2]
    เนื้อความในอหิสูตร หรืออหิราชสูตรกล่าวถึงที่มาของขันธปริตร ไว้ดังนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในเมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง 4 ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู 4เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ 1 ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ 1 ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาปุตตะ 1 ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู 4 จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง 4 นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู 4 จำพวกนี้เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน [3]
    ขณะที่อรรถกถาชาดก ยังมีตัวบทเอ่ยถึงที่ของขันธปริตรเช่นกัน โดยเรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด พระพุทธองค์ตรัสว่า ตถาคตเคยสอนขันธปริตรเมื่อครั้งที่ยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นฤๅษีที่ป่าหิมพานต์ได้พำนักอยู่ร่วมกับฤๅษีเป็นอันมาก ขณะนั้นมีฤๅษีตนหนึ่งถูกงูกัดเสียชีวิต จึงสอนขันธปริตรแก่พวกฤๅษีเพื่อป้องกันภัยจากอสรพิษ [4]
    ..โดยทั่วไปแล้วพระปริตร จะเริ่มต้นด้วยบทขัด ซึ่งอธิบายที่มาที่ไปและอานิสงส์ของการสวดสาธยายพระปริตรนั้นๆ ซึ่งขันธปริตรก็เช่นเดียวกัน โดยเริ่มจากบทขัดขันธปริตร แล้วจึงตามด้วยคาถา ซึ่งยกมาจากอหิราชสูตร
    เนื้อหาของบทขัดของขันธปริตรมีดังนี้ "สัพพาสีวิสะชาตีนัง/ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ/ยัง นาเสติ วิสัง โฆรัง/เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง/อาณาเขตตัมหิ สัพพัตถะ/สัพพะทา สัพพะปาณินัง/สัพพะโสปิ นิวาเรติ /ปะริตตัง ตัง ภะณามะ เห ฯ" โดยมีคำแปลดังนี้ "พระปริตรย่อมป้องกันพิษและอันตรายอื่นๆ ของสัตว์ทั้งปวงได้ตลอดเขตแห่งอำนาจทุกแห่งเสมอ เหมือนทิพยมนต์และโอสถทิพย์ที่ขจัดพิษร้ายของอสรพิษทั้งปวง ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด" [5]
    จากนั้นจึงเริ่มคาถาของพระปริตร

    • @misspawineethowmor4225
      @misspawineethowmor4225 2 ปีที่แล้ว +1

      ขอนอบน้อมกราบพอจ. โยมยายชวด ท่านชอบฟังเสียงสวดมนต์หรือสาธายายมนต์เป็นเสียงพระไทยยาธายาย เสียงของพระศรีลังกาโยมยายชวดฟังไม่รุ้เรื่องจ้าวคะ กราบลา

  • @user-ie9bp5je2t
    @user-ie9bp5je2t ปีที่แล้ว +1

    บ้านเรามีงูเห่า ขอบคุณมากนะคะ สาธุๆๆ จะฝึกสวดนะคะ🙏🙏🙏

  • @muthitaployyindee6323
    @muthitaployyindee6323 ปีที่แล้ว +1

    กราบอนุโมทนาค่ะ

  • @user-do1dv3se6u
    @user-do1dv3se6u ปีที่แล้ว +1

    ❤❤❤❤

  • @user-jh3oe4br8s
    @user-jh3oe4br8s 8 หลายเดือนก่อน

    น้อมกราบสาธุสาธุสาธุเจ้าค่ะ

  • @MaxXMinD-KQ11ThaiLanD11
    @MaxXMinD-KQ11ThaiLanD11 9 หลายเดือนก่อน

    อนุโมทนาสาธุครับ

  • @mauymauymauy277
    @mauymauymauy277 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุ.ขอส่วนอุทีศบุญกุสนให้ปู่ย่าพญานาคทังหลายทังปวงจ่งได้รับบุญที่ลุกหานทำให้มีเเต่ความสุข.ลุกหลานก็มีความสุข

  • @user-xq3xv6tt6l
    @user-xq3xv6tt6l 2 ปีที่แล้ว +2

    สาธุสาธุ🤚🤚🤚

  • @ohotawan05
    @ohotawan05 3 ปีที่แล้ว +3

    กราบสาธุ สาธุ สาธุค่ะ 🙏

  • @user-il8md2vz3u
    @user-il8md2vz3u  3 ปีที่แล้ว +7

    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”

  • @user-uh9ep8yw1j
    @user-uh9ep8yw1j 2 ปีที่แล้ว +3

    วันนี้....
    😷วันพระ🙏
    สวดได้ไพเราะจับ💙
    น่าเลื่อมใส​🙏

  • @chanakanjaymart6950
    @chanakanjaymart6950 2 ปีที่แล้ว +1

    กราบสาธุ

  • @user-ct8he6jg3j
    @user-ct8he6jg3j 2 ปีที่แล้ว +2

    สาธุคับ

  • @kmpoy6597
    @kmpoy6597 2 ปีที่แล้ว +2

    กลาบสาธุครับ

  • @nipathaweesin9780
    @nipathaweesin9780 2 ปีที่แล้ว +1

    กราบสาธุสาธุสาธุค่ะ

  • @nagamantra2502
    @nagamantra2502 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุค่ะ🙏🙏🙏

  • @user-yn9wn8ky1z
    @user-yn9wn8ky1z 2 ปีที่แล้ว +1

    🙏🙏🙏

  • @user-li8bp6fd6g
    @user-li8bp6fd6g 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุสาธุสาธุค่ะขอให้ลูกมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองด้วยเถิคสาธุ🙏🙏🙏

  • @user-hl2wb4nu8m
    @user-hl2wb4nu8m 2 ปีที่แล้ว +1

    น้อมกราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับสาธุสาธุสาธุอนุโมทามิ

  • @sirichai2u817
    @sirichai2u817 3 ปีที่แล้ว +3

    กราบ​สาธุ​กราบ​สาธุ​กราบ​สาธุ​ขอพระ​บารมี​พระพุทธ​พระธรรม​พระสงฆ์​โปรด​คุ้มครอง​ปกป้อง​รักษา​โลก​มนุษย์​ให้​ปลอดภัย​จาก​ภัยพิบัติ​ปราศจาก​โรคภัย​ปราศจาก​ภัย​ธรรมชาติ​ทั้งหมด​ทั้งปวง​ตลอด​กัลป​นาน​เทอญ​ฯลฯ​กราบ​สาธุ​กราบ​สาธุ​กราบ​สาธุ​