การแสดงสร้างสรรค์ เพลงสุวรรณเมกฆะหมาขนคำ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
ฝัง
- เผยแพร่เมื่อ 16 พ.ย. 2024
- งานวิจัยสร้างสรรค์เรื่องการสร้างสรรค์ เพลง สุวรรณเมกฆะหมาขนคำ มีวัตถุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เหตุปัจจัยที่นำไปสู่แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ทำนองเพลง
สุวรรณเมกฆะหมาขนคำ และเพื่อสร้างสรรค์บทเพลง สุวรรณเมกฆะหมาขนคำ
ผลการวิจัยพบว่า วรรณกรรมพื้นบ้านล้านนา เรื่อง สุวรรณเมกฆะหมาขนคำ เป็นชาดก
นอกนิบาต ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง ซึ่งทราบว่ามีพระภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ได้รจนารังสรรค์ขึ้น
และใช้เทศนา เพื่อถ่ายทอดคติสอนใจให้แก่ชาวล้านนาในอดีต อีกทั้งเป็นการถ่ายทอดแบบ
ปากต่อปาก เรียกว่า มุขปาฐะ ต่อมามีผู้นำวรรณกรรมดังกล่าวมาประพันธ์และเป็นบทค่าว
จากการศึกษาและวิเคราะห์ พบว่าในวรรณกรรมดังกล่าว มีปรากฏเนื้อหาอารมณ์ตัวละคร
อยู่ ๕ ลักษณะ ได้แก่ อารมณ์โศกเศร้า ร่าเริง รัก กล้าหาญ และคติธรรม ซึ่งเป็นพื้นที่แห่ง
แรงบันดาลสู่การสร้างสรรค์ประพันธ์เพลง
โดยคณะผู้วิจัยได้ยึดหลักแนวคิดการสร้างสรรค์ตามแบบการประพันธ์เพลงทางดุริยางคศิลป์
และแนวคิดการประพันธ์เพลงของอาจารย์รักเกียรติ ปัญญายศ
เพลงสุวรรณเมกฆะหมาขนคำ แบ่งการบรรเลงขับร้องออกเป็น ๓ ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ ๑ พรากเมือง
ช่วงที่ ๒ เรืองรัก
ช่วงที่ ๓ ประจักษ์ชัย
วงดนตรีที่ใช้เป็นวงดนตรีพื้นเมืองร่วมสมัย
ผสมผสานเครื่องดนตรีในวิถีพหุวัฒนธรรม
ที่ปรึกษาด้านงานวิจัยสร้างสรรค์
ดร. กษมา ประสงค์เจริญ
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร. อุดม ชัยทอง
ที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ ดร. วรพัฒน์ ประชาศิลป์ชัย
ที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย